Ganesha.Net กษัตริย์ไทยกับพระพิฆเณศวร์      108 เทพแห่งสรวงสวรรค์    ดูก่อนหน้านี้ กลับสู่หน้าหลัก ดูถัดไป

กษัตริย์ไทยกับพระพิฆเณศวร์  
  

| ชื่อมหาเทพที่สำคัญ | บทบาทสำคัญ | ฐานะและสถานภาพ | ตำนานพระคเณศความหมายของส่วนต่าง ๆ
ฤทธิ์แห่งปัญญา
วิธีพิชิตศัตรู |  การอภิเษกสมรส | ตำนานแห่งการเสียงา | การอวตานและพระนาม | ปางพระคเณศ 

 

กษัตริย์ไทยกับพระพิฆเณศวร์ 

  
ภารตวิทยามาแพร่หลายอย่างจริงจังในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่หก ทั้งนี้เนื่องจากพระองค์ได้ศึกษาที่ประเทศอังกฤษ และทรงสนใจภารตวิทยาอยู่มาก   ดังนั้นพระองค์จึงทรงมีความเข้าใจถ่องแท้ในพิธีกรรมต่าง ๆของฝ่ายพราหมณ์หรือฮินดูเป็นอย่างมาก

   
ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงได้นำรูปเคารพของพิฆเณศวร์มาใช้ในรัชสมัยของพระองค์ ตามอย่างที่ปฏิบัติกันมาแต่โบราณพระองค์ท่านได้กำหนดให้พระคเณศเป็นดวงตราเครื่องหมายวรรณคดีสโมสร โดยดวงพระราชลัญจกรรูปกลมองค์นี้ตามตำแหน่งคือ ดวงพระราชลัญจกรรูปกลม ศูนย์กลางกว้าง 3 นิ้ว 3 อนุกระเบียด (7 เซนติเมตร) ลายเป็นรูปพระคเณศนั่งแท่น แวดล้อมด้วยลายกนกสวมสังวาลย์นาคหัตถ์ขวาเบื้องบนถือวัชระเบื้องล่างถืองาหัตถ์ซ้ายเบื้องบนถือบ่วงบาศ เบื้องล่างถือครอบน้ำ (ขันน้ำมนต์หรือ หม้อน้ำ)

  
เมื่อปี 2480  พระพิฆเณศวร์ได้กลายเป็นดวงตราประจำกรมศิลปากรโดยลายกลางเป็นพระคเณศรอบวงกลมมีลวดลายเป็นดวงแก้ว 7 ดวง อันมีความหมายถึง ศิลป์วิทยาทั้ง 7 แขนงคือ ช่างปั้น, จิตรกรรม, ดุริยางค์ศิลป์, นาฏศิลป์, วาทศิลป์, สถาปัตยกรรม, อักษรศาสตร์ ฉะนั้นชนทั้งหลายจึงนับถือพระคเณศเป็นบรมครูทางศิลปะ
   
 
ในสมัยอยุธยานั้น ลัทธิพราหมณ์ ฮินดูยิ่งชัดเจนขึ้น เพราะไม่ว่าจะเป็นชื่อราชธานี (อยุธยา) หรือพระนามของกษัตริย์ที่ขึ้นต้นด้วย สมเด็จพระรามาธิบดี ก็คืออิทธิพลที่ได้มาจากมหากาพย์รามเกียรติ์นั่นเอง
  
  
สมัยพระเจ้าปราสาททองในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพระราชหัตถเลขา มีเรื่องเกี่ยวกับการรื้อย้ายเทวสถานพระอิศวรและพิธีลบศักราช ซึ่งเป็นพิธีของพราหมณ์
  
  
สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีการจัดพิธีตรียัมปวายและมีบันทึกว่า เคยจัดข้าวของจากอยุธยาไปทำพิธีที่เทวสถานเมืองนครศรีธรรมราช และทรงโปรดให้มีการหล่อรูปพระพิฆเณศวร์ และทรงนับถือเป็นบรมครูช้าง นอกจากนี้ยังได้เกิดวิทยาการแขนงต่างๆ อันมีพื้นฐานจากแขนงวิชาอุปเวทและอาถรรพเวท 

   
   
 
 
Ganesha.Net   
 

 

 

 ปีที่ปรุงปรุง: 2546

 

 108  เทพแห่งสรวงสวรรค์

 
 
   

ลักษณะความสำคัญ

ความหมายของหนูกับช้าง
กษัตริย์ไทยกับพระพิฆเณศ
ลักษณะทางปติมากรรม

พิธีกรรมทางศาสนา

 การอธิษฐาน
การขอพร
พิธีกรรมบวงสรวงบูชา
การบูชาในโอกาสต่าง ๆ
คาถาบูชาพระพิฆเณศ
 
ดูก่อนหน้านี้ กลับสู่หน้าหลัก ดูถัดไป

Webmaster : webmaster


Copyright © Ganesha.Net
พระพิฆเณศดอทเน็ต แห่งประเทศไทย จำกัด
( โอม คเณศายะนะมะ )