poet2543.gif (2019 bytes)

Hotmail    Yahoomail

7smooth.gif (5359 bytes)

7 Days smooth at surf...

การแต่งร้อยกรอง
Bl002901bbalb.gif (879 bytes)  คำประพันธ์ไทย  Bl002901bbalb.gif (879 bytes)

กลอน กลอนสี่   กลอนแปด  กลอนนิราศ  กลอนสักวา  กลอนเปล่า และ วรรณรูป  ฯลฯ
โคลง โคลงสี่สุภาพ   ฯลฯ
ร่าย ร่ายโบราณ   ร่ายยาว   ฯลฯ
กาพย์ กาพย์ยานี ๑๑  กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘  ฯลฯ
ฉันท์ ฉันท์ ๘  
ฉันท์ ๑๑
ฉันท์ที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่
             - ภูมิพลอดุลยเดชฉันท์ ๑๔
             - รพีพัฒนฉันท์ ๖
             - ฯลฯ
ฯลฯ

Thailand

aniLColbar.gif (4491 bytes)

กลอนสี่

Kor4.gif (2619 bytes)

ตัวอย่าง

       เค็กไทยวันนี้                        ต้องดีต้องเก่ง
  ต้องช่วยตัวเอง                            ต้องเร่งก้าวไป
       ซื่อสัตย์อดทน                        ฝึกฝนวินัย
  เรารักเมืองไทย                           ร่วมใจทำดี

กฎ-  
๑.  บทหนึ่งมี ๒ บาท บาทที่ ๑ เรียกว่าบาทเอกมี ๒ วรรค
     คือวรรคสลับและวรรครับ บาทที่ ๒ เรียกว่าบาทโทมี ๒
     วรรค คือวรรครองและวรรคส่ง แต่ละวรรคจะมีคำวรรค
     ละ ๔ คำรวมบทหนึ่งมี ๑๖ คำ
๒.  สัมผัสมีดังนี้
     คำสุดท้ายของวรรคสลับ สัมผัสกับคำที่ ๒ ของวรรครับ
     คำสุดท้ายของวรรครับสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรครอง
     คำสุดท้ายของวรรครอง สัมผัสกับคำที่ ๒ ของวรรคส่ง
ถ้าจะแต่งบทต่อไปต้องให้คำสุดท้ายของวรรคส่งของบทต้น
สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรครับของบทต่อไปเสมอ เรียกว่า
สัมผัสระหว่างบท

aniLColbar.gif (4491 bytes)

กลอนแปด

               กลอนแปดเป็นกลอนสุภาพที่มีผู้นิยมแต่งกันมากที่สุด เนื่องจากจำนวนคำไม่มากไม่น้อยเกินไป สามารถเก็บความได้พอดีถือเป็นกลอนพื้นฐานของกลอนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกลอนนิราศ กลอนนิทาน ฯลฯ

Kor8.gif (2936 bytes) กฎ-  
๑.  บทหนึ่งมี ๒ บาท บาทที่ ๑ เรียกว่าบาทเอกมี
     ๒ วรรค คือวรรคสลับและวรรครับ บาทที่ ๒
     เรียกว่าบาทโทมี ๒ วรรค คือวรรครองและวรรคส่ง
     แต่ละวรรคจะมีคำวรรค ละ ๘ คำ
๒.  สัมผัสมีดังนี้
     คำสุดท้ายของวรรคสลับ สัมผัสกับคำที่ ๓หรือ ๕
     ของวรรครับ
     คำสุดท้ายของวรรครับ สัมผัสกับคำสุดท้ายของ
     วรรครอง
     คำสุดท้ายของวรรครอง สัมผัสกับคำที่ ๓ หรือ ๕
      ของวรรคส่ง
ถ้าจะแต่งบทต่อไปต้องให้คำสุดท้ายของวรรคส่งของ
บทต้น สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรครับของบทต่อไป
เสมอ เรียกว่าสัมผัสระหว่างบท
ตัวอย่าง
                  บัดเดี๋ยวดังหง่างเหง่งวังเวงแว่ว                      สะดุ้งแล้วเหลียวแลชะแง้หา                 
  เห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งออกมา                                                   ประคองพาขึ้นไปจนพนบรรพต         
                  แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์                            มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด              
  ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด                                           ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน                                                                                                    (พระอภัยมณี)            

aniLColbar.gif (4491 bytes)

กลอนนิราศ

                     นิราศ แปลว่า การจากไป การพรากไป   ในทางฉันทลักษณ์ หมายถึง บทประพันธ์ที่พรรณนาถึงการจากถิ่น
ฐานที่อยู่ไปในที่ต่างๆและต้องรำพึงรำพัน การจากคนรัก ถ้าไม่มีก็ต้องสมมติขึ้น จึงจะนับว่าถูกต้องตามแบบนิยมของ นิราศ

KorN.gif (3343 bytes) กฎ-
๑.    ขึ้นต้นด้วยวรรครับของบาทเอก ส่วนวรรค
      สลับเว้นว่างไว้
๒.  วรรคหนึ่งใช้คำตั้งแต่ ๗ ถึง ๙ คำ
๓.    สัมผัสและความไพเราะอื่นๆเหมือนกับ
       กลอนแปด
๔.   กลอนนิราศ มักนิยมขึ้นต้นด้วยคำว่า "นิราศ"
       จบด้วย บาทโท และคำสุดท้ายจะต้องลงด้วย
       "เอย" เสมอ
ตัวอย่าง


                                                                       ๐ นิราศร้างห่างเหเสน่หา
     ปางอิเหนาเศร้าสุดถึงบุษบา                        พระพรายพาพัดน้องเที่ยวล่องลอย
                                                        ฯลฯ                                                
     ครั้นกรวดน้ำสำเร็จเสด็จกลับ                     เข้าห้องหับโหยให้พระทัยหมอง
    ทุกเช้าค่ำรำลึกเฝ้าตรึกตรอง                        จนขาดครองคราวสวาทนิราศเอย
                                                                             (นิราศอิเหนา       สุนทรภู่)

aniLColbar.gif (4491 bytes)

กลอนสักวา

KorS.gif (2470 bytes) กฎ-
๑.  กลอนสักวาบทหนึ่งมี ๘ วรรค หรือ ๒ คำ
     กลอน วรรค หนึ่งใช้คำตั้งแต่ ๖-๙ คำ ถ้าจะ
     แต่งบทต่อไป ต้องขึ้น บทใหม่ ไม่ต้องมี
     สัมผัสเกี่ยวข้องกับบทต้น
๒.  ต้องขึ้นต้นด้วยคำว่า "สักวา" และลงท้าย
      ด้วยคำว่า "เอย"
๓.  สัมผัสและความไพเราะ เหมือนกับกลอน
      สุภาพ
ตัวอย่าง
                     ๐ สักวาหวานอื่นมีหมื่นแสน           ไม่เหมือนแม้นพจมานที่หวานหอม
กลิ่นประเทียบเปรียบดวงพวงพยอม                      อาจจะน้อมจิตโน้มด้วยโลมลม
แม้นล้อลามหยามหยาบไม่ปลาบปลื้ม                    ดังดูดดื่มบอระเพ็ดต้องเข็ดขม
ผู้ดีไพร่ไม่ประกอบชอบอารมณ์                             ใครฟังลมเมินหน้าระอาเอย
                                      (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ    กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ)       

aniLColbar.gif (4491 bytes)

กลอนเปล่า และ วรรณรูป

กลอนเปล่า
งานร้อยกรองประเภทหนึ่งที่ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ใช้สัมผัส ใช้กลวิธีในการแต่งอย่างอิสระ โดยมีลักษณะ
พื้นฐานคือเขียนวรรคละหนึ่งบรรทัด และไม่บังคับสัมผัส
  ปัจจุบันนิยมแต่งกัน
ไม่บังคับสัมผัสอย่างร้อยกรอง แต่ใช้ลีลาและจังหวะโวหารแบบร้อยกรอง จึงไม่จัดอยู่ในคำประพันธ์แบบ
ร้อยแก้ว

ตัวอย่าง


วิ้งฟ้า
กลางวันเชื้อเชิญดวงอาทิตย์มา
เดินแจกแสงแดด
ไปทั่วห้วงจักรวาล
แจกใบให้ต้นไม่ใบหน้า
ทั่วทุกต้น
(พจนา   จันทรสันติ)

วรรณรูป หรือ กวีนิพนธ์รูปธรรม

จากกลอนเปล่ากวีนำเสนองาน ที่ใช้ตัวหนังสือประกอบกันเป็นรูปภาพที่ช่วยสื่อความหมายเป็นการ
ผสมผสานงานทัศนคติศิลป์และวรรณศิลป์เข้าด้วยกัน

ตัวอย่าง


กลางคืน

ท้องฟ้ายามกลางคืน
ดาว
ดาว
ดาว
ดาว
จันทร์
ดาว
ดาว
ดาว
ดาว
พื้นดินทุกแห่งเงียบหลับ    คงเหลือแต่เสียงร้องของแมลง
ลูกลูกนอนหลับสบาย                                                
                                 (จ่าง      แซ่ตั้ง)

aniLColbar.gif (4491 bytes)

  โคลงสี่สุภาพ

Cng4.gif (2436 bytes)

ตัวอย่าง

                เสียงลือเสียงเล่าอ้าง           อันใด   พี่เอย
          เสียงย่อมยอยศใคร                   ทั่วหล้า
          สองเขือพี่หลับใหล                   ลืมตื่น   ฤๅพี่
          สองพี่คิดเองอ้า                         อย่าได้ถามเผือ
                                 (ลิลิตพระลอ)

 

กฎ-
๑.  โคลงสี่สุภาพบทหนึ่งมี ๔ บาท บาทหนึ่งมี ๒ วรรค คือวรรค
     หน้ากับวรรคหลัง วรรคหน้าของทุกบาทมีวรรคละ ๕ คำ วรรค  
      หลังของบาทที่ ๑,๒ และ ๓ มีวรรคละ ๒ คำ ส่วนของบาทที่
      ๔ มี ๔ คำ รวมโคลงสี่สุภาพบทหนึ่งมี ๓0 คำ
๒.  สัมผัสมีดังนี้
      คำที่ ๗ ของบาทที่ ๑ สัมผัสกับคำที่ ๕ ของบาทที่ ๒ และ ๓
      คำที่ ๗ ของ บาทที่ ๒ สัมผัสกับคำที่ ๕ ของบาทที่ ๔
      ถ้าจะให้โคลงแต่งไพเราะขึ้น ควรมีสัมผัสใน และสัมผัสอักษร
      ระหว่างวรรคด้วย กล่าวคือ ควรให้คำสุดท้ายของวรรคหน้า     
      สัมผัสอักษรกับคำหน้าของวรรคหลัง จากตัวอย่าง ได้แก่คำ
       "อ้าง" กับ "อัน" "ใหล" กับ  "ลืม" 
๓.  เอกโท และคำเป็นคำตาย มีดังนี้
      ๑)  ต้องมีคำเอก ๗ แห่ง และคำโท ๔ แห่งตามตำเหน่งที่
           เขียนไว้
      ๒) ตำเหน่งคำเอกและโท ในบทที่ ๑ อาจสลับที่กันได้
      ๓) คำที่ ๗ ของบาทที่ ๑ และคำที่ ๕ ของบาทที่ ๒ และ ๓
           ห้ามใช้คำที่ มีรูปวรรณยุกต์
      ๔) ห้ามใช้คำตายที่ผันด้วยวรรณยุกต์โท ในตำเหน่งโท
      ๕) คำสุดท้ายของบทห้ามใช้คำตาย และคำที่มีรูปวรรณยุกต์ และเสียงที่นิยมกันว่าไพเราะ คือเสียงจัตวาไม่มีรูปหรือ
          ใช้เสียงสามัญก็ได้ เพราะเป็นคำจบ จะต้องอ่านเอื้อนลากเสียงยาว
      ๖) คำที่เป็นเอกโทษ แดละโทโทษ ไม่ควรฬช้อย่างยิ่ง เพราะเป็นการขอ ไปที่อย่างมักง่าย ทั้งทำให้รูปคำเสียไปด้วย
      ๗) คำตายใช้แทนคำเอกได้
๔.   ถ้าเนื้อความยังไม่สิ้นกระแส สามารถเติมคำสร้อยลงในท้ายบทที่ ๑ และ ที่ ๓ ได้อีก ๒ คำ 

aniLColbar.gif (4491 bytes)

ร่ายโบราณ

RaiB.gif (1735 bytes)


กฎ-
๑.  บทหนึ่งจะมีกี่วรรคก็ได้ แต่มักจะมีตั้งแต่ ๕ วรรคขึ้นไป
     และคำในวรรคหนึ่งๆ กำหนดไว้ ๕ คำทุกวรรค
๒.  สัมผัสมีดังนี้
      คำสุดท้ายของวรรคหน้า ต้องสัมผัสคำที่ ๑ หรือ ๒ หรือ
      ๓ ของวรรคถัดไปทุกวรรค ส่วนคำสุดท้ายบทนั้น ห้าม   
      ใช้คำตายและคำที่ผันด้วย วรรณยุกต์เอก โท ตรี จัตวา
๓.  เติมได้ ๒ คำตอนท้ายบท หรือจะเติมสลับกันไปทุกวรรค
      ก็ได้
ตัวอย่าง
                   ชมข่าวสองพี่น้อง           ต้องหฤทัยจอมราช            พระบาทให้รางวัล
          ปันเสื้อผ้าสนอบ                       ขอบใจสูเอาข่าว               มากล่าวต้องตัดใจ    บารนี
                                                                    (ลิลิตพระลอ)

aniLColbar.gif (4491 bytes)

ร่ายยาว

RaiY.gif (1962 bytes) กฎ-
๑.  บทหนึ่งจะมีกี่วรรคก็ได้ แต่มักจะมี
     ตั้งแต่ ๕ วรรค ขึ้นไป และคำในวรรค
     หนึ่งๆ ก็ไม่กำหนด ไว้ตายตัว มักจะ
     อยู่ระหว่าง ๗-๑๓ คำ
๒.  สัมผัสมีดังนี้
      คำสุดท้ายของวรรคต้น จะส่งสัมผัส
      ไปยังวรรค ต่อไปคำใดก็ได้ยกเว้นคำ
      แรกและคำสุดท้ายซึ่งไม่นิยมรับสัมผัส  
      ส่วนการสั่งและการรับสัมผัส ด้วยเอก
      โท ไม่ถือเป็นระเบียบเคร่งครัด การแต่ง
      ร่ายยาวผู้แต่งจะต้องรู้จักเลือกใช้ถ้อยคำ
       และ สัมผัสใน ให้มีจังหวะรับกันอย่าง 
       สละสลวยและจำนวนคำในวรรคหนึ่งๆ  
       ก็ไม่ควรยาวเกินกว่า ช่วงระยะหายใจ  
       ครั้งหนึ่งๆ

aniLColbar.gif (4491 bytes)

กาพย์ยานี ๑๑

Gap11.gif (2215 bytes)

ตัวอย่าง

     เรื่อยเรื่อยมารอนรอน                  ทิพากรจะตกต่ำ
สนธยาจะใกล้ค่ำ                              คำนึงหน้าเจ้าตราตรู
     เรื่อยเรื่อยมาเรียงเรียง                 นกเป็นเฉียงไปทั้งหมู่
ตัวเดียวมาพลัดคู่                               เหมือนพี่อยู่ผู้เดียวดาย
                             (กาพย์เห่เรือ     เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร)

กฎ-
๑.  บทหนึ่งมี ๒ บาท บาทหนึ่งมีสองวรรค วรรคแรกมี ๕ คำ
     วรรคหลังมี ๖ คำรวมเป็น ๑๑ คำ จึงเรียกว่ากาพย์ยานี ๑๑
๒.  สัมผัสมีดังนี้
       คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับคำที่ ๓ หรือ ๑,๒ ของ
       วรรคที่ ๒ คำสุดท้ายของ วรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้าย
        ของวรรคที่ ๓ ถ้ามีบทต่อไป จะต้องให้คำสุดท้ายของ
       บทต้น สัมผัสกับคำสุดท้ายของ วรรค ๒ ของบทต่อไป 
       ซึ่งถือเป็นสัมผัสระหว่างบท ถ้าจะให้คำสุดท้ายของวรรค
       ที่ ๓ สัมผัสกับคำที่ ๑ หรือ ๒ หรือ ๓   ของวรรคที่ ๔ ด้วย
       ก็จะเป็นการเพิ่มความไพเราะยิ่งขึ้น
๓.   ถ้อยคำที่ใช้ในวรรคเดียวกันนิยมให้มีสัมผัสในเหมือน
      กลอน จึงจะไพเราะ
๔.  คำสุดท้ายของบท ห้ามใช้คำตายหรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์
      และนิยมใช้เสียงวรรณยุกต์สามัญ หรือจัตวา

aniLColbar.gif (4491 bytes)

กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘

Gap28.gif (3046 bytes) กฎ-
๑.  บทหนึ่งมี ๗ วรรค วรรคนึ่งมี ๔ คำ รวมเป็น ๒๘ คำจึงเรียก
     ว่ากาพย์สุรางคนางค์ ๒๘
๒.  สัมผัสมีดังนี้
      คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑    สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒
      คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓    สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๕
      คำสุดท้ายของวรรคที่ ๕    สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๖
      ถ้าจะแต่งบทต่อไป ต้องให้คำสุดท้ายของวรรคที่ ๗ ของบท
      ต้นสัมผัส   กับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ ของบทต่อไปเสมอ
ตัวอย่าง
                                                            ๐   สุรางคนางค์
        เว้นวรรคจัดวาง                          ให้เห็นวิธี
        สัมผัสมีหลัก                                ควรวรรคละสี่
        ยี่สิบแปดมี                                   ครบบทจดจำ
                                                             ๐ สุรางคนางค์
        แต่งเป็นตัวอย่าง                          เหมาะสมคมขำ
        คิดนึกตรึกตรา                              เลือกหาถ้อยคำ
        สอดเสียงสูงต่ำ                            ฟังเพราะเสนาะแล
                                    (ฐะปะนีย์      นาครทรรพ)

aniLColbar.gif (4491 bytes)

อ้างอิงจากหนังสือ ลักษณะคำประพันธ์ไทย (รศ. วิเชียร    เกษประทุม)
หาซื้อได้ตามร้านหนังสือชั้นนำทั่วไป    ๕๐บาท

aniLColbar.gif (4491 bytes)
| Home | การแต่งร้อยแก้ว | การแต่งร้อยกรอง | วิธีการร่วมสนุก | About Us | Top |
Weekly Poems | วันจันทร์ | วันอังคาร | วันพุธ | วันพฤหัสบดี | วันศุกร์ | วันเสาร์ | วันอาทิตย์ |
| นวนิยาย | บทละคร | เรื่องสั้น | บทความ | เรื่องที่อยากเล่า | นิทาน | ตำนาน-ชาดก | แนะนำหนังสือ | สาระ-เกร็ดความรู้ |
7Smooth.com Group
Copy Right 1999

poet2543@hotmail.com | poet2543@7smooth.com