n-pic.gif (5202 bytes)

Home ]

คำนำ ] เบื้องต้นเรื่องพระธาตุ ] พระธาตุเจดีย์ทั่วไทย ] [ พระธาตุเจดีย์องค์สำคัญ ] รวมภาพพระธาตุ ] ประวัติวัดพนัญเชิง ] สมุดเยี่ยม ]

 

1.s001.jpg (1673 bytes) วัดพระธาตุดอยกองมู
วัดพระธาตุดอยกองมูมีชื่อเรียกแต่เดิมว่าวัดปลายดอน ตั้งอยู่บนดอยกองมูทางทิศตะวันตกของตัวเมืองแม่ฮ่องสอนเป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองที่สำคัญที่สุด ประกอบด้วย พระธาตุเจดีย์ที่สวยงาม2 องค์ พระเจดีย์องค์ใหญ่สร้างโดย"จองต่องสู่" เมื่อ พ.ศ. 2403 ส่วนพระธาตุเจดีย์องค์เล็กสร้างเมื่อ พ.ศ. 2417 โดย"พญาสิงหนาทราชา"เจ้าผู้ครอง แม่ฮ่องสอนคนแรกจากวัดพระธาตุดอยกองมูนี้ สามารถมองเห็นภูมิประเทศและสภาพตัวเมืองแม่ฮ่องสอนได้อย่างชัดเจนและสวยงามมาก ปัจจุบันมีถนนลาดยางขึ้นสู่พระธาตุ ดอยกองมูเป็นระยะทางราว 5 กม.วัดนี้มีงานเทศกาลประจำปีหลายงานเช่น ในวันปีใหม่ วันสงกรานต์ โดยเฉพาะในวันออกพรรษาจะมีการตักบาตร ดาวดึงส์ หรือตักบาตร เทโวด้วย

2.s002.jpg (1742 bytes) วัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ
ผู้ที่จะไปนมัสการพระบรมธาตุดอยสุเทพมักจะลงนมัสการอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัยเพื่อความเป็นสวัสดิมงคล ครูบาศรีวิชัยเป็นผู้ริเริ่มชักชวนให้ประชาชนชาวเหนือร่วมแรงร่วมใจ กันสร้างถนนจากเชิงดอยขึ้นไปสู่วัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ โดยเริ่มลงมือเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2477และแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2478 รวมระยะทางจากเชิงดอยไปถึง วัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ 10 กม. วัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ เดินทางตามถนนห้วยแก้วผ่านอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัยไปตามทางคดเคี้ยวขึ้นเขา ระหว่างทางจะมองเห็น ตัวเมืองเชียงใหม่อยู่เบื้องล่าง ระยะทางจากเชิงดอยประมาณ 11 กม. เมื่อขึ้นมาถึงจะมองเห็นบันไดทอดยาวขึ้นไปสู่วัดและมีนาค 2 ตัวอยู่สองข้างบันไดซึ่งสูง 300 กว่าขั้น วัดพระธาตุดอยสุเทพนี้เป็นวัดที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 3,051 ฟุตจะมีงานประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุในวันเพ็ญวิสาขบูชาทุกปี

3.s003.jpg (1753 bytes) พระธาตุดอยตุง
พระธาตุดอยตุง ตั้งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 17.5 ของทางหลวงหมายเลข1149 เป็นสถานที่บรรจุพระรากขวัญเบื้องซ้าย(กระดูกไหปลาร้า) ของพระพุทธเจ้าซึ่งนำมาจากมัธยม ประเทศนับเป็นครั้งแรกที่พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ได้มาประดิษฐานที่ล้านนาไทย เมื่อก่อสร้างพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุนี้ ได้ทำธงตะขาบ (ภาษา พื้นเมืองเรียกว่า ตุง)ใหญ่ยาวถึงพันวา ปักไว้บนยอดดอย ถ้าหากปลายธงปลิวไปไกลถึงเมืองไหน ก็กำหนดหมายเป็นฐานพระสถูปเพียงนั้นด้วยเหตุนี้ ดอยซึ่งเป็นที่ประดิษฐานปฐมเจดีย์แห่ง ล้านนาไทยจึงปรากฏนามว่า"ดอยตุง"จนบัดนี้ พระธาตุดอยตุงประดิษฐานอยู่ในกิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง เป็นปูชนียสถานที่สำคัญ เมื่อถึงเทศกาลนมัสการพระธาตุดอยตุงนี้ จะมีพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศใกล้เคียง เช่น ชาวเชียงตุงใน รัฐฉาน ประเทศสหภาพพม่า ชาวหลวงพระบาง เมืองเวียงจันทน์ เดินทางเข้ามานมัสการทุกปี

4.s004.jpg (1524 bytes) วัดพระธาตุช่อแฮ
วัดพระธาตุช่อแฮ อยู่ที่ตำบลป่าแดง ห่างจากตัว-เมืองแพร่ไปตามถนนช่อแฮประมาณ 9 กม.(ใช้เส้นทางหมายเลข 1022)สร้างเมื่อพุทธศตวรรษที่ 19 ในสมัยพญาลิไท ขุนลั่วอ้ายก้อมชาวละว้าได้สร้างองค์พระธาตุบุด้วยทองดอกบวบ สูง 33 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ10 เมตร ย่อมุมไม้สิบสองอันเป็นศิลปะเชียงแสนเพื่อเป็นที่ประดิษฐาน พระเกศาธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธาตุช่อแฮนี้ ได้มาจากชื่อผ้าแพรชั้นดี ซึ่งทอมาจากสิบสองปันนา ชาวบ้านนำมาผูกบูชาพระธาตุทุกปีจะมีงานนมัสการ พระธาตุในวันขึ้น11ค่ำ-15 ค่ำ เดือน 4 (ประมาณเดือนมีนาคม) ของทุกปี

5.
s005.jpg (1505 bytes) วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร
วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูนห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 150 เมตร มีถนนล้อมรอบสี่ด้าน คือ ถนนอัฏฐารสทางทิศเหนือ ถนนชัยมงคลทางทิศใต้ถนนรอบเมืองทางทิศตะวันออก และถนนอินทยงยศทางทิศตะวันตก สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.1651 ในรัชสมัยพระเจ้าอาทิตยราชต่อมาได้รับ การบูรณะ ต่อเติมมาเป็นลำดับภายในบริเวณวัดพระธาตุหริภุญชัยยังมีสิ่งที่น่าสนใจ คือ ซุ้มประตู ก่อนที่จะเข้าไปในบริเวณวัดต้องผ่านซุ้มประตูก่ออิฐถือปูน ประดับลวดลายวิจิตรพิสดารเป็นฝีมือโบราณสมัยศรีวิชัย ประกอบด้วยซุ้มยอดเป็นชั้นๆเบื้องหน้าซุ้มประตูมีสิงห์ใหญ่คู่หนึ่งยืนเป็นสง่าบนแท่นสูงประมาณ 1  ม. สิงห์คู่นี้ปั้นขึ้นในสมัยพระเจ้าอาทิตยราช เมื่อทรงถวายวังให้เป็นสังฆาราม เมื่อผ่านซุ้มประตูเข้าไปแล้วจะเห็นวิหารหลังใหญ่เรียกว่า"วิหารหลวง" เป็นวิหารหลังใหญ่มีพระระเบียงรอบด้านและมีมุขออกทั้งด้านหน้า และด้านหลัง เป็นวิหารที่สร้างขึ้นใหม่แทนวิหารหลังเก่าซึ่งถูกพายุพัดพังทลายไปเมื่อ พ.ศ.2466 วิหารหลวงใช้เป็นที่บำเพ็ญกุศลและประกอบศาสนากิจทุกวันพระภายในวิหารประดิษฐานพระปฏิมาใหญ่ก่ออิฐถือปูน ลงรักปิดทอง บนแท่นแก้วรวม 3 องค์และพระพุทธปฏิมาหล่อโลหะขนาดกลางสมัยเชียงแสนชั้นต้น และชั้นกลางอีกหลายองค์ พระบรมธาตุหริภุญชัยเป็นพระเกศบรมธาตุบรรจุในโกศทองคำ ประดิษฐานในพระเจดีย์ตั้งอยู่หลังวิหารหลวงเป็นเจดีย์แบบล้านนาไทยแท้ๆที่ลงตัวสวยงามประกอบด้วยฐานปัทม์แบบฐานบัวลูกแก้วย่อเก็จต่อจากฐานบัวลูกแก้วเป็นฐานเขียงกลมสามชั้น ตั้งรับองค์ระฆังกลม บัลลังก์ย่อเหลี่ยมเจดีย์มีลักษณะใกล้เคียงกับ พระธาตุดอยสุเทพที่จังหวัดเชียงใหม่ สูง 25 วา 2 ศอก ฐานกว้าง

6.s006.jpg (1632 bytes) พระธาตุพนม
พระธาตุพนม ประดิษฐาน ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารในเขตอำเภอธาตุพนม ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 50 กม.(ทางหลวงหมายเลข 212) ผลจากการขุดค้น ทางโบราณคดีลงความเห็นว่าพระธาตุพนมสร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ.1200-1400 ภายในองค์พระธาตุบรรจุพระอุรังคธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ลักษณะของ สถาปัตยกรรมมีแหล่งที่มาที่เดียวกันกับปราสาทของขอม และได้ทำการบูรณะเรื่อยมา ในปี พ.ศ.2485 ได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ขึ้นเป็น"วรมหาวิหาร"ต่อมาในวันที่11สิงหาคม 2518 เวลา 19.38 น.พระธาตุพนมได้ล้มทลายลงทั้งองค์ เนื่องจากความเก่าแก่ขององค์พระธาตุพนมและประจวบ กับระหว่างนั้นฝนตกพายุพัดแรงติดต่อมาหลายวัน ประชาชนทั้งประเทศได้ร่วมบริจาคทุนทรัพย์และรัฐบาลได้ก่อสร้างองค์พระธาตุขึ้นใหม่ตามแบบเดิม การก่อสร้างนี้เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2522 นอกจากพระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุในองค์พระธาตุแล้ว ยังมีของมีค่ามากมายนับหมื่นชิ้นโดยเฉพาะฉัตรทองคำ บนยอดพระธาตุ มีน้ำหนักถึง 110 กิโลกรัม ปัจจุบันองค์พระธาตุสูง 53.60 เมตร เป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมสูงแลดูสง่างาม งานนมัสการองค์พระธาตุเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 12 ค่ำ ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี

7.
s007.jpg (1762 bytes) พระปฐมเจดีย์
พระปฐมเจดีย์ มีมาแต่เมื่อครั้งพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดีย ทรงส่งสมณทูตเดินทางมาเผยแพร่ พระพุทธศาสนายังดินแดนสุวรรณภูมิ และเมื่อประมาณ พ.ศ. ๓๐๐ ก็ได้มีการสร้าง พระปฐมเจดีย์ขึ้นเป็นครั้งแรก และผ่านความเจริญเรื่อยมาหลายยุคหลายสมัย จนกลายเป็นเมืองร้างในที่สุด เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 17 จนมาถึงในสมัยรัตน โกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดฯให้บูรณะพระปฐมเจดีย์ ซึ่งอยู่รกร้างกลางป่า ซึ่งไช้เวลาถึง 17 ปี มาเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว มื่อปี พ.ศ.2413วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรวิหารเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดราชวรมหาวิหาร เป็นที่ประ-ดิษฐานองค์พระปฐมเจดีย์ที่ใหญ่และสูงที่สุดของไทย องค์พระปฐมเจดีย์เป็นเจดีย์ที่เก่าแก่มากที่สุดมีความสูง 3 เส้น 1 คืบ 10 นิ้ว ฐานวัดโดยรอบได้ 5 เส้น 17 วา 3 ศอกต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6ได้ทรงบูรณะวัดพระปฐมเจดีย์ให้ สง่างามยิ่งขึ้น และถือว่าวัดพระปฐมเจดีย์เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 6

8.s008.jpg (1617 bytes) พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง มีเนื้อที่ 25 ไร่ 2 งานวัดพระมหาธาตุเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชั้นวรมหาวิหาร เดิมชื่อวัดพระบรมธาตุ ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ประกาศจดทะเบียนวัดพระมหาธาตุเป็นโบราณสถาน นับเป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้ ตามตำนานกล่าวว่าสร้างมามากกว่า 1,500 ปีมีศิลปะการก่อสร้างแบบศรีวิชัย ต่อมาปี พ.ศ.1093 พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชได้ทำการก่อสร้างเจดีย์ขึ้นใหม่เป็นทรงสาญจิ และในปี พ.ศ.1770 พระเจ้าจันทรภาณุกษัตริย์ แห่งนครศรีธรรมราช จึงได้รับเอาพระภิกษุจากลังกามาตั้งคณะสงฆ์ และบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์ ให้เป็นไปตามแบบสถาปัตยกรรมลังกาอันเป็นแบบที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน คือ เป็นทรงระฆังคว่ำหรือโอคว่ำ มีปล้องไฉน 52 ปล้อง สูงจากฐานถึงยอด 37 วา ยอดสุดของปล้องไฉนหุ้มทองคำเหลืองอร่าม สูง 6 วา 1 ศอก แผ่เป็นแผ่นหนาเท่าใบลานหุ้มไว้ น้ำหนัก 800 ชั่ง(หรือ 960 กิโลกรัม) ภายในวัดพระมหาธาตุฯ มีโบราณวัตถุมากมายเก็บรักษาอยู่โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระวิหารหลวง ซึ่งเป็นศิลปะสมัยอยุธยา วิหารพระมหา ภิเนษกรม (พระทรงม้า)ทางขึ้นไปบนฐานองค์เจดีย์ วิหารทับเกษตรวิหารเขียนและวิหารโพธิ์ลังกา ซึ่งเป็นที่จัดแสดงโบราณวัตถุที่มีมูลค่ามากที่สุดในประเทศ ในปีงบประมาณ 2530 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการจัดทำโครงการพัฒนาสภาพกายภาพ วัดมหาธาตุวรวิหารขึ้น คือ ก่อสร้างรั้วพร้อมบ่อต้นไม้ด้านทิศเหนือ และ ทิศใต้ ห้องสุขา ขนาด 8 ที่ 1 หลัง และแผ่นป้ายแสดงประวัติและผังบริเวณวัด

9.s009.jpg (1570 bytes) พระบรมธาตุไชยา
วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร ตั้งอยู่ในเขตตำบลเวียง อำเภอไชยาห่างจากที่ตั้งอำเภอไชยา 1 กม. องค์พระเจดีย์เป็นโบราณสถานที่สร้างขึ้นตามแบบลัทธิมหายานตั้งแต่ครั้ง
อาณาจักรศรีวิชัยรุ่งเรือง รอบองค์พระธาตุมีเจดีย์เล็กๆ 4 ทิศ ล้อมรอบด้วยวิหารคดซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่ขนาดต่างๆ โดยรอบทั้ง 4 ด้าน พระธาตุไชยานับเป็น
ปูชนียสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาของจังหวัดสุราษฎร์ธานี

10.s010.jpg (1918 bytes) พระธาตุเรณู จังหวัดนครพนม

11.s011.jpg (1519 bytes) พระธาตุเชิงชุม จังหวัดสกลนคร

12.s012.jpg (1780 bytes) พระธาตุวัดช้างให จังหวัดปัตตานี