แรงงานเด็กคืออะไร

     แรงงานเด็ก คือ ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป แต่ยังไม่ถึง 18 ปี  ส่วนเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปีลงมา ห้ามนายจ้างจ้างเป็นลูกจ้างโดยเด็ดขาด ผู้ฝ่าฝืนจะมีโทษ ตามมาตรา 148 แห่ง พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 200,000.-บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ส่วนผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ถือว่าไม่ใช่แรงงานเด็ก

กฎหมายคุ้มครองแรงงานเด็ก
     นื่องจากเด็กมีสภาพร่่างกายที่ไม่แข็งแรงเหมือนผู้ใหญ่ สติปัญญา ยังไม่พร้อมเหมือนผู้ใหญ่  จึงมีกฎหมายคุ้มครองการใช้แรงงานเด็กเป็นพิเศษ  ดังนี้
     1.งานที่ห้ามจ้างเด็กทำงาน 
          - งานหลอม เป่า หล่อ รีดโลหะ
          - งานปั๊มโลหะ
          - งานใช้เลื่ื่อยเดินด้วยพลังงานไฟฟ้า หรือเครื่องยนต์
          - งานใต้ดิน ใต้น้ำ อุโมงค์
          - งานทำความสะอาดเครื่องจักร หรือเครื่องยนต์  ขณะที่เครื่องกำลังทำงาน
          - งานบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป
          - งานที่ทำเกี่ยวกับความเย็นจัด
          - งานที่อยู่ในอุณหถูมิสูงกว่า 45 องศาเซลเซียส
          - งานที่ใช้เครื่องเจาะกระแทก
          - งานที่มีเสียงดังติดต่อกันเกิน 85 เดซิเบล (เอ) ในการทำงานวันละ 8 ชั่วโมง
          - งานที่เกี่ยวกับสารเคมีที่เป็นอันตราย วัตถุมีพิษ วัตถุระเบิด หรือวัตถุไวไฟ
          - งานที่เกี่ยวกับจุลชีวันเป็นพิษ เช่น ห้องชันสูตรโรค งานดูแลผู้ป่วยโรคติดต่อ เป็นต้น
          - งานขับหรือบังคับรถยก ปั้นจั่นที่ใช้พนักงานเครื่องยนต์หรือไฟฟ้า
          - งานเกี่ยวกับกัมตภาพรังสี

     2.สถานที่ห้ามลูกจ้างเด็กทำงาน
         
- โรงฆ่าสัตว์
          - สถานที่เล่นการพนัน
          - สถานที่เต้นรำ รำวง หรือรองเง็ง
          - สถานที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย และบริการ  โดยมีผู้บำเรอสำหรับปรนนิบัติลูกค้า หรือโดยมีที่สำหรับพักผ่อนหลับนอน หรือมีบริการนวดให้แก่ลูกค้า


 
 

 



           


พบเห็นการใช้แรงงานเด็กไม่ถูกต้องไม่เป็นธรรมโปรดแจ้ง สรจ.อุดรธานี

 

 โทร.0-4222-2284, 0-4224-3329

การส่งเสริมการศึกษาของลูกจ้างเด็ก
     
เนื่องจากเด็กอายุยังน้อยควรได้รับการพัฒนาการด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม และการเรียนหนังสือ ดังนั้น กฎหมายกำหนดให้ลูกจ้างเด็กมีสิทธิลาเพื่อเข้าประชุม อบรม สัมมนา รับการฝึก หรือลาเพื่อการอื่น ที่จัดโดยสถานศึกษา หรือหน่วยงานที่อธิบดีเห็นชอบ โดยนายจ้างต้องอนุญาตให้ลาและจ่ายค่าจ้างเต็มไม่เกินปีละ 30 วัน

หน้าที่ของนายจ้างที่จ้างลูกจ้างเด็ก
    
-
นายจ้างต้องแจ้งการจ้างลูกจ้างเด็กต่อพนักงานตรวจแรงงาน ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่จ้างลูกจ้างเด็ก
     -  จัดทำบันทึกสภาพการจ้างไว้ในสถานประกอบการ กรณีที่มีัการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างเดิม
      - แจ้งการสิ้นสุดการจ้างลูกจ้างเด็กต่อพนักงานตรวจแรงงานภายใน 7 วัน นับแต่วันที่เลิกจ้าง
      - จ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างเด็กในจังหวัดอุดรธานีอย่างน้อยต้องไม่น้อยกว่าวันละ 133 บาท

อกสารประกอบการแจ้งการจ้างลูกจ้างเด็ก
    
1.แบบแจ้งการจ้างแรงงานเด็กแบบ คร.2 (ขอที่เจ้าหน้าที่)
       2.สำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อเด็ก จำนวน 1 ชุด
       3.กรณีแจ้งการเลิกจ้าง ใช้แบบ คร.3 (ขอที่เจ้าหน้าที่)


วันเวลาที่ห้ามลูกจ้างเด็กทำงาน
    
- ห้ามลูกจ้างเด็กทำงานระหว่างเวลา 22.00 - 06.00 น. ยกเว้นอธิบดีอนุญาต
     - กรณีลูกจ้างเด็กเป็นผู้แสดงภาพยนตร์ ละคร หรือการแสดงอย่างอื่นที่คล้ายคลึงกันทำงาน ในเวลา 220.00 - 06.00 น.ได้ แต่ต้องจัดให้เด็กได้พักผ่อนตามสมควร
     - ห้ามลูกจ้างเด็กทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด
     - นายจ้างต้องจัดให้เด็กได้พักระหว่างทำงานหลังจากทำงานมาแล้วไม่เกิน 4 ชั่วโมงและให้เด็กพักได้วันละไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมงติดต่อกัน และในแต่ละ 4 ชั่วโมงที่ทำงานต้องจัดให้เด็กได้พักอีกตามสมควร

การจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างเด็ก
    -
ห้ามนายจ้างจ่ายค่าจ้างของลูกจ้างเด็กให้แก่คนอื่น
-ห้ามเรียกหรือรับเงินประกันจากลูกจ้างเด็ก
-ห้ามนำเงินก้อนที่จ่ายล่วงหน้าให้แก่พ่อ แม่ หรือปกครองเด็ก มาหักจากค่าจ้างของลูกจ้างเด็ก