[ Map of Thailand ]
dp dmbc kk mp
"สวัสดีครับ มาหาใครครับ กรุณารอสักครู่ครับ เชิญครับ ขอบคุณครับ"
สำนักงาน
ผู้บังคับทหารอากาศดอนเมือง

ประวัติ , ผังการจัด

ทำไม? จึงเข้มงวดเรื่องทำบัตรผ่าน
การขอบัตรผ่านเข้า-ออก เขต ทอ.
การขับขี่ยานพาหนะในเขต ทอ.
กำหนดการปิด-เปิด ช่องทาง ทอ.
การขอใบอนุญาตประเภทบุคคล
การใช้ยานพาหนะในเขต บก.ทอ.
กฎ ระเบียบ แบบธรรมเนียมทหาร
ส.ค.ส. 2541 พระราชทานสู่ชาวไทย
กองทัพอากาศของท่าน
Royal Thai Air Force Day
งบประมาณ กองทัพไทย ปี 41
นโยบาย ทอ. ปีงบประมาณ 41
ข่าวสารในกิจการของทหารไทย
มาร์ชสี่เหล่า และเพลงปลุกใจ
การตรวจเยี่ยมสายวิทยาการ สห.
โครงการ สขว.ทอ.

โทรศัพท์ฉุกเฉิน ทอ.
แจ้งเหตุด่วน, เหตุร้าย 191
เพลิงไหม้ 192
รถพยาบาลฉุกเฉิน 194
อากาศยานอุบัติเหตุ 196
พัน.สห.ทอ. 2-2197 - 9
ศูนย์รวมข่าวดับเพลิง 2-2126,7
ศูนย์รับแจ้งเหตุ ทอ.ทุ่งสีกัน 3-0065
สถานีดับเพลิงย่อยทุ่งสีกัน 2-2129, 3-0083
ศูนย์โทรศัพท์กลาง ทอ. 523-6151, 523-6161


Supreme Command Headqurters
,
Royal Thai Armed Forces"

กรมธนารักษ์


ระเบียบกองทัพอากาศ
ว่าด้วยการกำหนดประเภทสี เครื่องหมายพิเศษ นามหน่วยสังกัดและ
อำนาจอนุมัติแจกจ่ายยานพาหนะของกองทัพอากาศ
พ.ศ.๒๕๓๖
-----------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกองทัพอากาศ ว่าด้วยการกำหนดประเภทสี เครื่องหมาย
พิเศษ นามหน่วยสังกัด และอำนาจอนุมัติแจกจ่ายยานพาหนะของกองทัพอากาศ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
สอดคล้องกับพระราชบัญญัติรถยนต์ทหาร พ.ศ.๒๔๗๖ ข้อบังคับทหารว่าด้วย การใช้รถยนต์ทหาร
พ.ศ.๒๔๘๐ กฎกระทรวงกลาโหม(ฉบับที่ ๕) พ.ศ.๒๕๐๒ ออกตามความในพระราชบัญญัติรถยนต์ทหาร
พ.ศ.๒๔๗๖ และระเบียบกระทรวงกลาโหมว่าด้วย รถราชการทหาร พ.ศ.๒๕๒๕ จึงวางระเบียบไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกองทัพอากาศ ว่าด้วยการกำหนดประเภท สี เครื่องหมายพิเศษ นามหน่วยสังกัด และอำนาจอนุมัติแจกจ่ายยานพาหนะของกองทัพ อากาศ พ.ศ.๒๕๓๖"
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
    ๓.๑ ระเบียบกองทัพอากาศ ว่าด้วยการกำหนดประเภทสี เครื่องหมายพิเศษ นามหน่วย
    สังกัดและอำนาจอนุมัติแจกจ่ายยานพาหนะของกองทัพอากาศ พ.ศ.๒๕๓๒
    ๓.๒ ระเบียบกองทัพอากาศ ว่าด้วยการกำหนดประเภทสี เครื่องหมายพิเศษ นามหน่วย
    สังกัดและอำนาจอนุมัติแจกจ่ายยานพาหนะของกองทัพอากาศ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๔
    ๓.๓ ระเบียบกองทัพอากาศ ว่าด้วยการกำหนดประเภทสี เครื่องหมายพิเศษ นามหน่วย
    สังกัดและอำนาจอนุมัติแจกจ่ายยานพาหนะของกองทัพอากาศ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๓๕
    บรรดาระเบียบและคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขดหรือแย้งกับ
    ระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๔ ให้เจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารอากาศ รักษาการตามระเบียบนี้และให้มีอำนาจตีความและ
วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ รวมทั้งการแก้ไขเพิ่มเติมและจัดทำคำอธิบาย

หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๕ ในระเบียบนี้
    ๕.๑ "รถยนต์สงคราม" หมายความว่า รถยนต์ทหารที่มีไว้เพื่อการสงคราม
    ๕.๒ "รถยนต์สงครามชนิดรบ" หมายความว่า รถยนต์ทหารที่จัดไว้สำหรับใช้ในการรบ
    ซึ่งติดตั้งอาวุธหรืออุปกร์สำหรับใช้ในกิจการรบโดยเฉพาะ
    ๕.๓ "รถยนต์สงครามชนิดช่วยรบ" หมายความว่า รถยนต์ทหารที่จัดไว้สำหรับใช้ใน
    กิจการสนับสนุนรบ
    ๕.๔ "รถยนต์ปกติ" หมายความว่า รถยนต์ทหารนอกเหนือจากรถยนต์สงคราม รวมทั้ง
    รถจักรยานยนต์ และรถจักรยานที่จัดไว้ใช้งานทางด้านธุรการ และส่งกำลังบำรุง แต่ถ้ามีความจำเป็น
    ก็สามารถนำไปใช้งานด้านยุทธการได้
    ๕.๕ "รถประจำตำแหน่ง" หมายความว่า รถยนต์นั่งที่จัดให้ผู้มีสิทธิได้รับรถประจำตำหน่ง
    ไว้ใช้ราชการเป็นประจำ
    ๕.๖ "รถรับรอง" หมายความว่า รถยนต์ที่จัดไว้เป็นพาหนะรับรองผู้บังคับบัญชาชั้นสูงหรือ
    บุคคลสำคัญ
    ๕.๗ "รถส่วนกลาง" หมายความว่า รถยนต์ที่จัดไว้เพื่อกิจการอันเป็นส่วนรวมของหน่วย
    ๕.๘ "รถเฉพาะการ" หมายความว่า รถยนต์ที่จัดไว้สำหรับใช้งานหน้าที่ใดที่หนึ่งโดยเฉพาะ
    และเรียกชื่อตามหน้าที่นั้น ๆ เช่น รถพยาบาล รถลากจูง เป็นต้น
    ๕.๙ "การจ่ายขั้นต้น" หมายความว่า การจ่ายที่ได้ระบุไว้ในอัตราจ่ายของหน่วย
    ๕.๑๐ "การจ่ายทดแทน" หมายความว่า การจ่ายทดแทนตามอัตราการจ่ายขั้นต้น ตามความจำเป็น เช่น ยานพาหนะคันเดิมถูกปลด จำหน่าย ส่งคืนหรือโอน เป็นต้นของหน่วย
    ๕.๑๑ "การจ่ายยืม" หมายความว่า การจ่ายที่ไม่ได้กำหนดไว้ในอัตราจ่าย แต่มีความจำเป็น และเป็นการจ่ายชั่วคราวเพื่อปฏิบัติภารกิจให้สำเร็จตามที่ได้รับมอบหมาย
    ๕.๑๒ "การใช้งานทางยุทธการ" หมายความว่า การใช้รถยนต์ในภารกิจทาง การรบ การสนับสนุนภารกิจของหน่วยในด้านการข่าว การส่งกำลังบำรุง ทั้งเมื่อเหตุการณ์ปกติ หรือไม่ปกติ รวมทั้งภารกิจในการสนับสนุนการฝึกภาคสนามด้วย
    ๕.๑๓ "การใช้งานทางธุรกิจ" หมายความว่า การใช้รถยนต์ในภารกิจขนส่ง และบริการทั่ว ๆ ไป ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการรบ หรือเป็นการขนส่งและบริการในเขตหลัง

หมวด ๒
การแบ่งประเภทรถ
ข้อ ๖ รถยนต์ของกองทัพอากาศแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ตามลักษณะการใช้งาน คือ รถยนต์
สงครามและรถยนต์ปกติ
    ๖.๑ รถยนต์สงคราม แบ่งเป็น
      ๖.๑.๑ รถยนต์สงครามชนิดรบ ได้แก่ รถเกราะ รถปืน หรือรถอื่น ๆ ที่ติดตั้งอาวุธ
      และอุปกรณ์สำหรับใช้ในกิจการรบโดยเฉพาะ
      ๖.๑.๒ รถยนต์สงครามชนิดช่วยรบ ได้แก่
        ๖.๑.๒.๑ รถยนต์บรรทุกที่ขับเคลื่อนทุกล้อ แบ่งเป็น ๓ ขนาดคือ
          ๖.๑.๒.๑.๑ ขนาดเล็กสามารถบรรทุกน้ำหนักปฏิบัติการใน
          ภูมิประเทศได้ ตั้งแต่ ๑/๒ ลงมา
          ๖.๑.๒.๑.๒ ขนาดกลางสามารถบรรทุกน้ำหนักปฏิบัติการใน
          ภูมิประเทศได้มากกว่า ๑/๒ แต่ไม่เกิน ๒ ๑/๒ ตัน
          ๖.๑.๒.๑.๓ ขนาดใหญ่สามารถบรรทุกน้ำหนักปฏิบัติการใน
          ภูมิประเทศได้ ตั้งแต่ ๒ ๑/๒ ขึ้นไป
        ๖.๑.๒.๒ รถเฉพาะการที่ขับเคลื่อนได้ทุกล้อ
        ๖.๑.๒.๓ รถอื่น ๆ ที่ติดตั้งอุปกรณ์เพื่อช่วยในการรบหรือที่กำหนดให้ใช้
        งานทางยุทธการ รวมทั้งรถที่จัดเข้าอยู่ในอัตราการจัด และยุทโธปกรณ์
        ๖.๑.๒.๔ รถพ่วงและรถกึ่งพ่วง ซึ่งใช้พ่วงกับรถยนต์สงครามชนิดรบ
        และชนิดช่วยรบทุกชนิด
    ๖.๒ รถยนต์ปกติ แบ่งเป็น
      ๖.๒.๑ รถยนต์นั่ง ได้แก่
        ๖.๒.๑.๑ รถยนต์นั่งขนาดเล็กมีความจุกระบอกสูบตั้งแต่ ๑,๓๐๐ ลูกบาศก์
        เซนติเมตร ลงมา
        ๖.๒.๑.๒ รถยนต์นั่งขนาดกลางมีความจุกระบอกสูบตั้งแต่ ๑,๓๐๑
        ลูกบาศก์เซนติเมตร ถึง ๑,๘๐๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร
        ๖.๒.๑.๓ รถยนต์นั่งขนาดใหญ่มีความจุกระบอกสูบตั้งแต่ ๑,๘๐๑
        ลูกบาศก์เซนติเมตร ขึ้นไป
      ๖.๒.๒ รถยนต์ตรวจการณ์ ได้แก่
        ๖.๒.๒.๑ รถยนต์ตรวจการณ์ขนาดเล็กมีความจุกระบอกสูบตั้งแต่
        ๑,๓๐๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร ลงมา
        ๖.๒.๒.๒ รถยนต์ตรวจการณ์ขนาดกลางมีความจุกระบอกสูบตั้งแต่
        ๑,๓๐๑ ลูกบาศก์เซนติเมตร ถึง ๑,๘๐๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร
        ๖.๒.๒.๓ รถยนต์ตรวจการณ์ขนาดใหญ่มีความจุกระบอกสูบตั้งแต่
        ๑,๘๐๑ ลูกบาศก์เซนติเมตร ขึ้นไป
      ๖.๒.๓ รถยนต์บรรทุก ได้แก่
        ๖.๒.๓.๑ รถยนต์บรรทุกขนาดเล็ก สามารถบรรทุกน้ำหนักใช้งาน
        บนถนนได้ ตั้งแต่ ๑ ตัน ลงมา
        ๖.๒.๓.๒ รถยนต์บรรทุกขนาดกลาง สามารถบรรทุกน้ำหนักใช้งาน
        บนถนนได้มากกว่า ๑ ตัน แต่ไม่ถึง ๕ ตัน
      ๖.๒.๔ รถยนต์โดยสาร ได้แก่
        ๖.๒.๔.๑ รถยนต์โดยสารขนาดเล็ก มีจำนวนที่นั่งทั้งผู้โดยสารและ
        พลขับรถ ตั้งแต่ ๑๕ ที่นั่งลงมา
        ๖.๒.๔.๒ รถยนต์โดยสารขนาดกลาง มีจำนวนที่นั่งทั้งผู้โดยสารและ
        พลขับรถ ตั้งแต่ ๑๖ ถึง ๓๐ ที่นั่ง
        ๖.๒.๔.๓ รถยนต์โดยสารขนาดใหญ่ มีจำนวนที่นั่งทั้งผู้โดยสารและ
        พลขับรถ ตั้งแต่ ๓๑ ที่นั่งขึ้นไป
      ๖.๒.๕ รถเฉพาะการที่ไม่ได้ติดตั้งอุปกรณ์สำหรับใช้ในการรบ หรือช่วยรบและ
      ไม่ได้จัดไว้ใช้งานทางยุทธการ
      ๖.๒.๖ รถอื่น ๆ ที่ไม่ได้ติดตั้งอุปกรณ์สำหรับใช้ในการรบ หรือช่วยรบ หรือ
      ที่จัดไว้ใช้งานทางธุรการ
      ๖.๒.๗ รถพ่วง และรถกึ่งพ่วง ซึ่งใช้พ่วงกับรถยนต์ปกติ ทุกชนิด
      ๖.๒.๘ รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน ให้จัดอยู่ในประเภทรถยนต์ปกติโดย
      อนุโลม
ในการพิจารณาแบ่งขนาดของรถยนต์ปกติ ตามข้อ ๖.๒ ให้พิจารณาขนาดของรถประกอบ ด้วย เพื่อให้การแบ่งชนาดของรถยนต์เป็นไปด้วยความเหมาะสม
อนึ่ง รถยนต์ปกติหากมีความจำเป็นต้องนำไปใช้เป็นรถยนต์สงคราม ก็ให้กระทำได้
หมวด ๓
สีของยานพาหนะ
ข้อ ๗ รถยนต์สงคราม
    ๗.๑ รถยนต์สงครามชนิดรบ ตัวรถและกันชน หน้า-หลัง ให้ใช้สีพราง ให้กรมขนส่ง
    ทหารอากาศ เป็นหน่วยกำหนดวิธีพราง และจำนวนของสีที่จะใช้ให้เหมาะสมกับภูมิประเทศ
    (สีพรางประกอบด้วย สีเขียวขี้ม้า สีเขียว สีน้ำตาล และสีดำ)
    ๗.๒ รถยนต์สงครามชนิดช่วยรบ ให้ใช้สีน้ำเงินเข้ม (AIRFORCE BLUE) ที่กันชน
    หน้า-หลัง ให้ใช้สีดำ
    ๗.๓ รถพยาบาลสนาม ให้มีเครื่องหมายกากบาทสีแดงที่ด้านหน้า-ด้านหลังและด้านข้าง
    ทั้งสองของตัวรถขนาดตามความเหมาะสม
ข้อ ๘ รถยนต์ปกติ
    ๘.๑ รถยนต์นั่ง รถยนต์โดยสารขนาดเล็ก รถยนต์ตรวจการณ์ รถจักรยานยนต์
    รถจักรยาน และรถยนต์ที่ใช้ในภารกิจลับให้ใช้สีตามความเหมาะสม
    ๘.๒ รถยนต์โดยสารขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ตัวรถให้ใช้สีน้ำเงินเข้ม (AIRFORCE
    BLUE) ที่กันชน หน้า-หลัง ให้ใช้สีดำ ยกเว้นรถมีกันชนเป็นวัสดุสังเคราะห์หรือชุบโครเมี่ยม
    อยู่แล้วให้ใช้ตามสภาพเดิม
    ๘.๓ รถยนต์บรรทุกทุกขนาด ตัวรถให้ใช้สีน้ำเงินเข้ม (AIRFORCE BLUE) ที่กันชน
    หน้า-หลัง ให้ใช้สีดำ ยกเว้นรถมีกันชนเป็นวัสดุสังเคราะห์หรือชุบโครเมี่ยมอยู่แล้วให้ใช้ตาม
    สภาพเดิม
    ๘.๔ รถเฉพาะการให้ใช้สีดังนี้
      ๘.๔.๑ รถลำเลียงน้ำ ตัวรถให้ใช้สีเหลือง ที่กันชน หน้า-หลัง ให้ใช้สีดำ
      ๘.๔.๒ รถลำเลียงเชื้อเพลิงและเติมเชื้อเพลิง ตัวรถให้ใช้สีเหลือง ที่กันชน หน้า-หลัง ให้ใช้สีสะท้อนแสง แดงสลับขาว
      ๘.๔.๓ รถดับเพลิง ตัวรถและกันชน หน้า-หลัง ให้ใช้สีแดง
      ๘.๔.๔ รถพยาบาลปกติ ตัวรถและกันชน หน้า-หลัง ให้ใช้สีขาว ห้องผู้ป่วยส่วนที่
      เป็นกระจกของด้านข้างทั้งสอง และประตูหลัง ให้ ๒/๓ ของกระจกตั้งแต่ส่วนล่างเป็น
      กระจกฝ้า (PROSTED GLASS) ให้มีเครื่องหมายกากบาทสีแดงที่ด้านข้างทั้งสองของ
      ตัวรถมีแถบสีแดงขนาดกว้าง ๕ นิ้ว ยาว ๑๕ นิ้ว ตัดกัน ส่วนด้านหน้าและหลังตัวรถ ให้มี
      เครื่องหมายกากบาทสีแดงตามความเหมาะสม
      ๘.๔.๕ รถลำเลียงผู้ป่วย ตัวรถใช้สีน้ำเงินเข้ม (AIRFORCE BLUE) ที่กันชน หน้า-หลัง ให้ใช้สีดำ มีเครื่องหมายกากบาทสีแดงที่ด้านหน้า-หลัง และด้านข้างทั้งสอง ขนาดตามความเหมาะสม
      ๘.๔.๖ รถเอกซเรย์ และรถติตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล
      หรือตรวจสอบเครื่องวัดต่าง ๆ ตัวรถและที่กันชน หน้า-หลัง ให้ใช้สีขาว
      ๘.๔.๗ รถกำปั่นเงิน ตัวรถใช้สีน้ำเงินเข้ม (AIRFORCE BLUE) ที่กันชน หน้า-หลัง ให้ใช้สีดำ
      ๘.๔.๘ รถบรรทุกศพ ตัวรถและกันชน หน้า-หลัง ให้ใช้สีดำ
      ๘.๔.๙ รถลากจูง รถพ่วง และรถกึ่งพ่วง ตัวรถใช้สีน้ำเงินเข้ม (AIRFORCE BLUE)
      ที่กันชน หน้า-หลัง ให้ใช้สีเหลืองสลับดำ
      ๘.๔.๑๐ รถกู้ภัย ตัวรถให้ใช้สีเหลือง ที่กันชน หน้า-หลัง รวมทั้งบริเวณขอบ ๆ
      ที่ยื่นออกมานอกตัวรถ ให้ใช้สีสะท้อนแสงเหลืองสลับดำ
      ๘.๔.๑๑ รถสารวัตรทหารที่ติดไฟสัญญาณ วับ - วาบ ตัวรถให้ใช้สีน้ำเงินเข้ม
      (AIRFORCE BLUE) ยกเว้นประตูด้านหน้าทั้งสองด้านให้ใช้สีขาว และมีเครื่องหมาย
      สัญลักษณ์ของสารวัตรทหารอากาศ พร้อมติดอักษรนามหน่วยอยู่ใต้เครื่องหมายสัญลักษณ์
      ด้วยสีน้ำเงินหรือสีดำ ขนาดตามความเหมาะสมที่กันชน หน้า - หลัง ให้ใช้สีตามประเภทรถ
      ๘.๔.๑๒ ข้อยกเว้นรถเฉพาะการที่มีกันชนเป็นวัสดุสังเคราะห์ หรือชุบโครเมี่ยม
      อยู่แล้ว ให้ใช้ตามสภาพเดิม
    ๘.๕ รถเฉพาะการประเภทอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากนี้ การใช้สีให้ทำความตกลงกับ
    กรมส่งกำลังบำรุงทหารอากาศ เป็นผู้กำหนดสี
ข้อ ๙ ยานพาหนะที่ได้รับมาใช้ราชการใหม่ หากไม่สามารถจัดหายานพาหนะที่มีสีตามระเบียบนี้ได้ ให้ใช้สีเดิมจนกว่าจะครบอายุการซ่อมสีใหม่ทั้งคัน จึงให้เปลี่ยนสีที่ได้กำหนดไว้ตามระเบียบนี้
หมวด ๔
เครื่องหมายพิเศษและอักษรนามหน่วย
ข้อ ๑๐ รถยนต์สงคราม ป้ายทะเบียนให้มีเครื่องหมายปีกกับดาวและเลขทะเบียนสีแดง บนพื้นสีขาว โดยให้เครื่องหมายปีกกับดาวอยู่หน้าเลขทะเบียน
ข้อ ๑๑ รถยนต์ปกติ ป้ายทะเบียนให้มีเครื่องหมายปีกกับดาว และเลขทะเบียนสีขาว บนพื้นสีดำ โดยให้เครื่องหมายปีกกับดาวอยู่หน้าเลขทะเบียน
ข้อ ๑๒ ขนาดของป้ายทะเบียนให้มีขนาดกว้าง ๑๕ เซนติเมตร ยาว ๔๘ เซนติเมตร ยกเว้นรถที่มี
ที่ติดตั้งป้ายทะเบียนจำกัด รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน ให้เพิ่ม-ลดขนาดลงตามความเหมาะสม
ข้อ ๑๓ ให้ติดอักษรนามหน่วยกับรถยนต์ของกองทัพอากาศทุกคัน โดยใช้อักษรย่อตามที่กำหนดไว้
ในระเบียบกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยการใช้อักษรนามหน่วย และตามที่กองทัพอากาศได้สั่งการไว้ หน่วยใด
ไม่มีอักษรย่อนามหน่วย ให้ใช้คำเต็ม
ข้อ ๑๔ ให้ติดอักษรย่อนามหน่วยดังนี้
    ๑๔.๑ รถยนต์สงคราม ให้ติดอักษรนามหน่วยขึ้นตรงกองทัพอากาศไว้ที่กันชน หน้าหลัง หากไม่มีกันชนให้ติดอักษรย่อนามหน่วย ไว้ที่ตัวรถด้านหน้าและด้านหลัง
    ๑๔.๒ รถยนต์ปกติให้ติดอักษรนามหน่วยขึ้นตรงกองทัพอากาศ ไว้ที่ด้านข้างทั้งสองด้าน
    และติดอักษรย่อนามหน่วยรอง ของหน่วยขึ้นตรงกองทัพอากาศ ไว้ที่กันชนด้านหน้าและด้านหลัง
    หากไม่มีกันชนให้ติดอักษรย่อนามหน่วยรองของหน่วยขึ้นตรงกองทัพอากาศไว้ที่ตัวรถด้านหน้า
    และด้านหลัง
ข้อ ๑๕ อักษรย่อนามหน่วยใช้สีขาว เว้นแต่เมื่อใช้สีขาวแล้วไม่ชัดเจน หรือต้องการพรางให้ใช้
สีน้ำเงิน หรือสีดำแทนตามความเหมาะสม
ข้อ ๑๖ ขนาดของอักษรย่อนามหน่วยสำหรับติดด้านข้างรถ
    ๑๖.๑ รถยนต์ขนาดเล็กและรถพ่วงให้ใช้อักษร กว้าง ๑๖ เซนติเมตร สูง ๑๐ เซนติเมตร ตัวอักษรหนา ๑ ๑/๒ เซนติเมตร
    ๑๖.๒ รถยนต์ขนาดกลาง และรถพ่วงให้ใช้อักษร กว้าง ๑๒ เซนติเมตร สูง ๒๐ เซนติเมตร ตัวอักษรหนา ๓ เซนติเมตร
    ๑๖.๓ รถยนต์ขนาดใหญ่ รถพ่วง และรถกึ่งพ่วงให้ใช้อักษร กว้าง ๑๔ เซนติเมตร สูง ๒๔ เซนติเมตร ตัวอักษรหนา ๓ เซนติเมตร
    ๑๖.๔ รถจักรยานยนต์ รถจักรยาน และรถซึ่งมีพื้นที่ติดอักษรนามหน่วยจำกัด ให้พิจารณา
    ตัวอักษรตามความเหมาะสม
ข้อ ๑๗ ขนาดของอักษรย่อนามหน่วย นามหน่วยรองสำหรับติดที่กันชน ใช้อักษรกว้าง ๔.๕ เซนติเมตร สูง ๗ เซนติเมตร ตัวอักษรหนา ๑.๒ เซนติเมตร
ข้อ ๑๘ ข้อยกเว้น
    ๑๘.๑ สำหรับรถยนต์ซึ่งสังกัดและใช้งานในหน่วยดังต่อไปนี้
      ๑๘.๑.๑ วิทยาลัยการทัพอากาศ
      ๑๘.๑.๒ โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ
      ๑๘.๑.๓ โรงเรียนนายทหารอากาศอาวุโส
      ๑๘.๑.๔ โรงเรียนจ่าอากาศ
      ๑๘.๑.๕ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
      ๑๘.๑.๖ โรงพยาบาลจันทรุเบกษา
      ๑๘.๑.๗ สำนักงานผู้บังคับทหารอากาศดอนเมือง
      ๑๘.๑.๘ กรมสารวัตรทหารอากาศ กองพันสารวัตรทหารอากาศ และกองร้อย
      สารวัตรทหารอากาศ (เฉพาะรถที่ติดไฟสัญญาณ วับ - วาบตามข้อ ๘.๔.๑๑)
      ๑๘.๑.๙ กองดุลิยางด์ทหารอากาศ
      ๑๘.๑.๑๐ ศูนย์ส่งกลับทางอากาศ
      ๑๘.๑.๑๑ กองบิน ฝูงบินสนาม และฐานบินสำรอง
      ๑๘.๑.๑๒ ศูนย์สนับสนุนทางอากาศโดยตรง
      ๑๘.๑.๑๓ ศูนย์ควบคุมและรายงาน สถานีควบคุมและรายงานและสถานีรายงาน
รถยนต์สงครามให้ติดอักษรย่อนามหน่วยดังกล่าวข้างต้น ไว้ที่กันชนหน้าและ กันชนหลัง หากไม่มีกันชนให้ติดอักษรนามย่อหน่วยไว้ที่ตัวรถด้านหน้าและด้านหลัง
รถยนต์ปกติให้ติดอักษรย่อนามหน่วยขึ้นตรงกองทัพอากาศ ไว้ที่ด้านข้าง ทั้งสองด้านและติดอักษรย่อนามหน่วยรอง ของหน่วยขึ้นตรงกองทัพอากาศ ไว้ที่กันชนด้านหน้า และด้านหลัง หากไม่มีกันชนให้ติดอักษรย่อนามหน่วยรองของหน่วยขึ้นตรงกองทัพอากาศไว้ที่ ตัวรถด้านหน้าและด้านหลัง
    ๑๘.๒ รถของส่วนราชการใดที่มีเหตุผล และความจำเป็นจะไม่ใช้เครื่องหมาย พิเศษและอักษรนามหน่วยกับรถยนต์ปกติตามข้อบังคับทหารว่าด้วยการใช้รถยนต์ทหารซึ่งใช้ตาม คำสั่งกระทรวงกลาโหม ลง ๑ มีนาคม ๒๔๘๐ และประสงค์จะใช้ป้ายทะเบียน เช่นเดียวกับ รถส่วนบุคคลทั่วไป ให้ส่วนราชการนั้นรายงานเหตุผล ให้กรมขนส่งทหารอากาศและกรม- ส่งกำลังบำรุงทหารอากาศพิจารณาตามลำดับ เพื่อดำเนินการขออนุมัติจนถึงปลัดกระทรวง กลาโหม เพื่อขอยกเว้นการใช้เครื่องหมายพิเศษและอักษรนามหน่วย ได้เท่าที่ความจำเป็น อย่างแท้จริง และเมื่อได้รับอนุมัติแล้ว ให้กรมส่งกำลังบำรุงรายงานให้สำนักตรวจเงินแผ่นดิน ทราบด้วย รถที่จะขอป้ายทะเบียนเช่นเดียวกับรถส่วนบุคคลได้จะต้องเข้าหลักเกณฑ์ดังนี้.-
      ๑๘.๒.๑ รถประจำตำแหน่ง
      ๑๘.๒.๒ รถส่วนกลางซึ่งจัดไว้ใช้ในภารกิจราชการลับ การรักษาความ ปลอดภัยหรือปฏิบัติงานในพื้นที่ปฏิบัติการของผู้ก่อการร้าย
      ๑๘.๒.๓ รถรับรอง
    ๑๘.๓ รถดับเพลิงและรถกู้ภัย ของสำนักงานผู้บังคับทหารอากาศดอนเมือง
    หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน ให้ติดอักษรย่อนามหน่วยขึ้นตรงกองทัพอากาศ ความว่า
    "หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน" ในบรรทัดแรก และความว่า "กองทัพอากาศ" ไว้ใต้อักษรย่อ
    นามหน่วยขึ้นตรงกองทัพอากาศ ที่ด้านข้างรถทั้งสองด้าน โดยให้ตัวอักษร ความว่า "กองทัพอากาศ"
    ใช้คำเต็มเป็นอักษรสีขาว ขนาดตัวอักษรกว้าง ๑๒ เซนติเมตร สูง ๒๐ เซนติเมตร ตัวอักษรหนา
    ๒ ๑/๒ เซนติเมตร และให้ติดอักษรย่อนามหน่วยรองความว่า "สำนักงานผู้บังคับทหารอากาศ" ไว้ที่
    กันชนหน้าและกันชนหลัง

หมวด ๕
อำนาจแจกจ่ายยานพาหนะ
ข้อ ๑๙ การแจกจ่ายรถยนต์สงคราม รถยนต์ปกติตามอัตราจ่ายที่ได้รับอนุมัติรวมทั้ง การจ่ายรถประจำตำแหน่ง รถรับรอง รถยนต์นั่งส่วนกลาง และ/หรือการจ่ายทดแทน ให้อยู่ ในอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงกองทัพอากาศที่บังคับบัญชาคลังใหญ่
ข้อ ๒๐ การจ่ายรถประจำตำแหน่ง ให้พิจารณาจ่ายให้ดังนี้
    ๒๐.๑ นายทหารยศชั้นนายพลอากาศ ที่ดำรงตำแหน่งตั้งแต่เจ้ากรม หรือ เทียบเท่าขึ้นไป
    ๒๐.๒ นายทหารยศชั้นนายพลอากาศ หรือนายทหารยศชั้นนาวาอากาศเอก ซึ่งรับเงินเดือนนาวาอากาศเอกพิเศษขึ้นไป ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็น รอง ผู้ช่วย เสนาธิการ หรือเทียบเท่าของผู้มีตำแหน่ง ตามข้อ ๒๐.๑
    ๒๐.๓ นายทหารยศชั้นนายพลอากาศ ที่เทียบเท่ากับข้าราชการนอกกระทรวง กลาโหมซึ่งคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ได้รับรถประจำตำแหน่ง
ข้อ ๒๑ การจ่ายรถยนต์นั่งส่วนกลาง ให้พิจารณาจ่ายให้นายทหารยศชั้นนายพลอากาศ สังกัดกองทัพอากาศที่ไม่ไดี้รับการจ่ายรถประจำตำแหน่ง ตามที่กรมขนส่งทหารอากาศสามารถ จัดสนับสนุนให้ได้
ข้อ ๒๒ การจ่ายยืมให้ปฏิบัติตามระเบียบกองทัพอากาศ ว่าด้วยการพัสดุและฉบับแก้ไข เพิ่มเติมหรือคู่มือ ว่าด้วยการพัสดุของกองทัพอากาศและฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
    ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๓๖
    (ลงชื่อ) พลอากาศเอก กันต์ พิมานทิพย์
    (กันต์ พิมานทิพย์)
    ผู้บัญชาการทหารอากาศ


ตามระเบียบ ทอ.ว่าด้วยการกำหนดประเภทสี เครื่องหมาย นามหน่วย สังกัด และอำนาจอนุมัติแจกจ่ายยานพาหนะของกองทัพอากาศ พ.ศ.๒๕๓๖
กำหนดให้รถสารวัตรทหารที่ติดไฟสัญญาณ วับ - วาบ ตัวรถให้ใช้สีน้ำเงินเข้ม ยกเว้นประตูด้านหน้า
ทั้งสองด้านให้ใช้สีขาว และมีเครื่องหมายสัญลักษณ์ของสารวัตรทหารอากาศ พร้อมติดอักษรนามหน่วยอยู่ใต้
เครื่องหมายสัญลักษณ์ด้วยสีน้ำเงินหรือสีดำขนาดตามความเหมาะสม ที่กันชน หน้า - หลัง ให้ใช้สีตาม
ประเภทรถ รายละเอียดตามแบบ

เครื่องหมายสัญลักษณ์ของสารวัตรทหารอากาศ


รูปเครื่องหมายสัญลักษณ์ของ สห.

๑. วัตถุประสงค์ สำหรับติดที่ประตูด้านหน้า ทั้งสองด้านของรถยนต์สารวัตรทหาร อากาศ ที่ติดไฟสัญญาณ วับ - วาบ หรือติดที่กระจกบังลมด้าน หน้ารถจักรยานยนต์ ได้โดยอนุโลม
๒. ขนาด ขนาดมาตรฐาน กว้าง ๔๔ ซม. สูง ๓๑ ซม. ฐานกว้าง ๑๖ ซม. และสามารถปรับขนาดได้ตามลักษณะของรถ
๓. ลักษณะและสี
    ๓.๑ เป็นรูปทรงเปลือกหอย พื้นสีฟ้า มีขอบสีเหลือง กว้าง ๑.๕ ซม. โดยรอบ
    ๓.๒ ภายในมีคำว่า "สารวัตรทหารอากาศ" สีเหลือง ขนาด ตัวอักษรสูง ๓ ซม. โค้งตามส่วนบนของรูป
    ๓.๓ ใต้คำว่า "สารวัตรทหารอากาศ" มีดาว ๕ แฉก ๘ ดวง สีขาวเรียงตามรูปโค้งของรูป ขนาด ๒.๕ ซม.
    ๓.๔ ตรงกลางของเครื่องหมาย เป็นรูปปืนพกรีวอลเวอร์ไขว้ สีดำ ทับอยู่บนปีกนก ๒ ปีก สีขาว รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์สีเหลือง
    ๓.๕ ด้านล่างของเครื่องหมาย มีภาษาอังกฤษคำว่า "AIR POLICE" สีเหลือง ขนาดตัวอักษร ๒.๕ ซม.
๔. ความหมาย
    ๔.๑ ปืนพกรีวอลเวอร์ไขว้ เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายสังกัด หมายถึง สารวัตรทหาร
    ๔.๒ ปีกนก เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายกองทัพอากาศ หมายถึง ความรวดเร็วในการปฏิบัติหน้าที่
    ๔.๓ ช่อชัยพฤกษ์ เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายสังกัด หมายถึง สัญลักษณ์ของทหารอากาศ
    ๔.๔ ดาว ๕ แฉก ๘ ดวง หมายถึง หน้าที่ของสารวัตรทหาร ๘ ประการ ตามข้อบังคับ กห. ว่าด้วยสารวัตรทหาร พ.ศ.๒๕๑๙
    ๔.๕ พื้นสีฟ้า หมายถึง สีประจำกองทัพอากาศ
    ๔.๖ ขอบและตัวอักษรสีเหลือง หมายถึง ความพร้อมปฏิบัติหน้าที่ตลอดเวลา
    ๔.๗ "AIR POLICE" เป็นภาษาสากล หมายความถึง สารวัตรทหารอากาศ ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับต่างประเทศได้
เหตุด่วน, เหตุร้าย แง ศูนย์ควบคุมและสั่งการ พัน.สห.ทอ. โทร. 534-2117 - 9 ทอ. 2-2197 - 9
แจ้งเบาะแสแหล่งอบายมุข, ยาเสพติดให้โทษ, แหล่งการพนัน ผบ.พัน.สห.ทอ. โทร. 534-2113 โทรสาร. 523-7596
E-mail:dmbc4@ksc.th.com




LOCATION: [MY KING] [MY RTAF] [MY COUNTRY] [MY WEB]