[ Map of Thailand ]
dp dmbc kk mp
สำนักงาน
ผู้บังคับทหารอากาศดอนเมือง

ประวัติ , ผังการจัด

ทำไม? จึงเข้มงวดเรื่องทำบัตรผ่าน
การขอบัตรผ่านเข้า-ออก เขต ทอ.
การขับขี่ยานพาหนะในเขต ทอ.
กำหนดการปิด-เปิด ช่องทาง ทอ.
การขอใบอนุญาตประเภทบุคคล
การใช้ยานพาหนะในเขต บก.ทอ.
การแต่งเครื่องแบบ ทอ.
ส.ค.ส. 2541 พระราชทานสู่ชาวไทย
กองทัพอากาศของท่าน
Royal Thai Air Force Day
งบประมาณ กองทัพไทย ปี 41
นโยบาย ทอ. ปีงบประมาณ 41
ข่าวสารในกิจการของทหารไทย
การตรวจเยี่ยมสายวิทยาการ สห.
โครงการ สขว.ทอ.

โทรศัพท์ฉุกเฉิน ทอ.
แจ้งเหตุด่วน, เหตุร้าย 191
เพลิงไหม้ 192
รถพยาบาลฉุกเฉิน 194
อากาศยานอุบัติเหตุ 196
พัน.สห.ทอ. 2-2197 - 9
ศูนย์รวมข่าวดับเพลิง 2-2126,7
ศูนย์รับแจ้งเหตุ ทอ.ทุ่งสีกัน 3-0065
สถานีดับเพลิงย่อยทุ่งสีกัน 2-2129, 3-0083
ศูนย์โทรศัพท์กลาง ทอ. 523-6151, 523-6161


Supreme Command Headqurters
,
Royal Thai Armed Forces"

กรมธนารักษ์


กองทัพอากาศของท่าน
RTAF MEMORIAL

    ประวัติกองทัพอากาศ
  • กองทัพอากาศในปัจจุบัน
  • กองทัพอากาศกับโครงการพระราชดำริ
  • ค่านิยมหลัก กองทัพอากาศ 2550
  • การพัฒนากองทัพอากาศในสภาวการณ์ปัจจุบัน
  • โรงเรียนนายเรืออากาศ
  • วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ
  • โรงเรียนจ่าอากาศ

  • ประวัติกองทัพอากาศ
    จการบินของไทยเริ่มต้นในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อมีชาวต่างประเทศ ได้นำเครื่องบินมาแสดงให้ชาวไทยได้ชมเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2454 อันทำให้ผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกองทัพในสมัยนั้น พิจารณาเห็นว่าประเทศไทยจำเป็นต้องมีเครื่องบินไว้เพื่อป้องกันภัยที่จะเกิดแก่ประเทศชาติในอนาคต
    ด้วยเหตุนี้กระทรวงกลาโหม จึงได้ตั้ง "แผนกการบิน" ขึ้นในกองทัพบก พร้อมทั้งได้คัดเลือกนายทหารบก 3 คน ซึ่งมีคุณสมบัติ เหมาะสมไปศึกษาวิชาการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศษ อันได้แก่ พันตรีหลวงศักดิ์ ศัลยาวุธ ร้อยเอกหลวงอาวุธสิขิกร และ ร้อยโททิพย์ เกตุทัต
    ทั้ง 3 ท่านนี้ ในเวลาต่อมาได้รับพระราชทานยศและบรรดาศักดิ์ตามลำดับ คือ พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นาวาอากาศเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์ และนาวาอากาศเอก พระยาทะยานพิฆาต และกองทัพอากาศ ได้ยกย่องให้เป็น "บุพการีของกองทัพอากาศ"
    ในขณะที่นายทหารทั้งสามกำลังศึกษาวิชาการบินอยู่นั้น ทางราชการได้สั่งซื้อเครื่องบินรวมทั้งมีผู้บริจาคเงินร่วมสมทบซื้อด้วยเป็นครั้งแรก จำนวน 8 เคื่อง คือ เครื่องบินเบรเกต์ปีก 2 ชั้น จำนวน 4 เครื่อง และ เครื่องบินนิเออปอรต์ปีกชั้นเดียว จำนวน 4 เครื่อง อันอาจกล่าวได้ว่ากำลังทางอากาศของไทยเริ่มต้นจากนักบินเพียง 3 คน และเครื่องบินอีก 8 เครื่องเท่านั้น
    การบินของไทยในระยะแรกได้ใช้สนามม้าสระปทุมหรือราชกรีฑาสโมสรในปัจจุบันเป็นสนามบิน แต่ด้วยความไม่สะดวกหลายประการ บุพการีทั้ง 3 ท่าน จึงได้พิจารณาหาพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการบินและได้เลือกเอาตำบลดอนเมืองเป็นที่ตั้งสนามบิน พร้อมทั้งได้ก่อสร้างอาคาร สถานที่ โรงเก็บเครื่องบินอย่างถาวรขึ้น เมื่อการโยกย้ายกำลังพล อุปกรณ์ และเครื่องบินไปไว้ยังที่ตั้งใหม่เรียบร้อยแล้ว ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2457 กระทรวงกลาโหมจึงได้มีคำสั่งยกแผนกการบินขึ้นเป็น "กองบินทหารบก" ซึ่งถือได้ว่ากิจการบินของไทยได้วางรากฐานอย่างมั่นคงขึ้นแล้วตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา กองทัพอากาศจึงถือเอา วันที่ 27 มีนาคม ของทุกปี เป็น "วันกองทัพอากาศ" (พ.ศ.2457 - พ.ศ. 2540)
    นับแต่นั้นมาบทบาทของกำลังทางอากาศก็ได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญและมีการพัฒนาอย่างเป็นลำดับ นับตั้งแต่การเข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ ๑ กับพันธมิตรในยุโรป เมื่อปี พ.ศ.2460 ซึ่งทำให้ชื่อเสียงและเกีรยติภูมิของชาติเป็นที่ยอมรับและยกย่องเป็นอย่างมาก และทางราชการได้ยกฐานะ กองบินทหารบกขึ้นเป็น "กรมอากาศยานทหารบก" ในเวลาต่อมา
    กำลังทางอากาศได้พัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติทางด้านต่าง ๆ อันเป็นรากฐานของกิจการหลายอย่างในปัจจุบัน อาทิ การบินส่งไปรษณีย์ทางอากาศ การส่งแพทย์และเวชภัณฑ์ทางอากาศ เป็นต้น
    ในปี พ.ศ.2464 กระทรวงกลาโหมได้พิจารณาเห็นว่า กำลังทางอากาศมิได้เป็นกำลังเฉพาะในด้านยุทธศาสตร์ทางทหารเท่านั้น แต่มีประโยชน์อย่าง กว้างขวางต่อกิจการด้านอื่น ๆ อีกด้วย จึงได้แก้ไขการเรียกชื่อจาก กรมอากาศยานทหารบก เป็น "กรมอากาศยาน" และเป็น "กรมทหารอากาศ" ในเวลาต่อมา โดยให้อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมโดยตรง พร้อมทั้งได้มีการกำหนดยศทหาร และการเปลี่ยนแปลงเครื่องแบบจากสีเขียวมาเป็นสีเทาดังเช่นบัจจุบัน
    วันที่ 9 เมษายน พ.ศ.2480 กรมทหารอากาศได้ยกฐานะเป็น "กองทัพอากาศ" นาวาอากาศเอก พระเวชยันต์รังสฤษฎ์ เป็นผู้บัญชาการทหารอากาศคนแรก กำลังทางอากาศได้พัฒนาไปอย่างมากมาย และได้เป็นกำลังสำคัญในการปกป้อง รักษาอธิปไตยของชาติ อาทิ สงครามกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศษ และสงครามมหาเอเชียบูรพา รวมทั้งเข้าร่วมกับกองกำลังสหประชาชาติในสงครามเกาหลีและร่วมกับพันธมิตรในสงครามเวียตนาม
    ได้มีประกาศกองทัพอากาศ ลง วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2540 กำหนดวันสำคัญของกองทัพอากาศ เพื่อการประกอบงานพิธีเป็น 2 วัน คือ
    1. วันที่ 27 มีนาคม เป็น "วันที่ระลึกกองทัพอากาศ" (Royal Thai Air Force Commemoration Day)
    2. วันที่ 9 เมษายน เป็น "วันกองทัพอากาศ" (Royal Thai Air Force Day)

กองทัพอากาศในปัจจุบัน
กองทัพอากาศมีภารกิจที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2503
ไว้ว่า "กองทัพอากาศมีหน้าที่เตรียมกำลังกองทัพอากาศ และป้องกันราชอาณาจักร มีผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ"
ในปัจจุบันกองทัพอากาศ การจัดส่วนราชการกองทัพอากาศตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ และกำหนดหน้าที่ส่วนราชการกองทัพอากาศ กองบัญาชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม พ.ศ.2538 โดยจัดกลุ่มหน่วยงานตามภาระหน้าที่เพื่อให้ง่ายต่อการปฏิบัติ ออกเป็น 5 ส่วน คือ
1. ส่วนบัญชาการ
หน้าที่ปกครองบังคับบัญชาส่วนราชการต่าง ๆ ข้าราชการและลูกจ้างและปฏิบัติตามภารกิจของ กองทัพอากาศ และภารกิจอื่น ๆ ที่มิได้มอบหมายให้ส่วนราการใด ๆ โดยเฉพาะ ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ ประกอบด้วย
  • สำนักงานเลขานุการกองทัพอากาศ (สน.ลก.ทอ.)
  • กรมสารบรรณทหารอากาศ (สบ.ทอ.)
  • กรมกำลังพลทหารอากาศ (กพ.ทอ.)
  • กรมข่าวทหารอากาศ (ขว.ทอ.)
  • กรมยุทธการทหารอากาศ (ยก.ทอ.)
  • กรมส่งกำลังบำรุงทหารอากาศ (กบ.ทอ.)
  • สำนักงานปลัดบัญชีทหารอากาศ (สปช.ทอ.)
  • กรมจเรทหารอากาศ (จร.ทอ.)
  • สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศทหารอากาศ (สท.ทอ.)
2. ส่วนกำลังรบ
ประกอบด้วย กองบัญชาการยุทธทางอากาศ หน้าที่เตรียมกำลังทางอากาศ กำลังภาคพื้นและ ระบบควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ ของกองบัญชาการยุทธทางอากาศให้พร้อมปฏิบัติการตามที่ กองทัพอากาศกำหนด ผู้บัญชาการกองบัญชาการยุทธทางอากาศ เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ แบ่งส่วนราชการออกเป็น
  • กองบัญชาการ
  • กรมสารบรรณทหารอากาศ (สบ.ทอ.)
  • กองพลบินที่ 1 (พล.บ.1)
  • กองพลบินที่ 2 (พล.บ.2)
  • กองพลบินที่ 3 (พล.บ.3)
  • กองพลบินที่ 4 (พล.บ.4)
  • กรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ (คปอ.)
  • หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน (อย.)
  • โรงเรียนการบิน (รร.การบิน)
3. ส่วนยุทธบริการ
ประกอบด้วย กองบัญชาการสนับสนุนทหารอากาศ หน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการส่งกำลังบำรุง ทั้งปวงตามที่กองทัพอากาศกำหนด ผู้บัญชาการกองบัญชาการสนับสนุนทหารอากาศ เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ แบ่งส่วนราชการออกเป็น
  • กองบัญชาการ
  • กรมสารบรรณทหารอากาศ (สบ.ทอ.)
  • ศูนย์ส่งกำลังบำรุง (ศกบ.)
  • กรมช่างอากาศ (ชอ.)
  • กรมสื่อสารทหารอากาศ (ส.ทอ.)
  • กรมสรรพาวุธทหารอากาศ (สพ.ทอ.)
  • กรมอิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศ (อท.ทอ.)
  • กรมการลาดตระเวนทางอากาศ (ลวอ.)
  • กรมแพทย์ทหารอากาศ (พอ.)
  • กรมพลาธิการทหารอากาศ (พธ.ทอ.)
  • กรมช่างโยธาทหารอากาศ (ชย.ทอ.)
  • กรมขนส่งทหารอากาศ (ขส.ทอ.)
4. ส่วนการศึกษา ประกอบด้วย กองบัญชาการฝึกศึกษาทหารอากาศ หน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกศึกษาของกำลังพล ของกองทัพอากาศ ตามที่กองทัพอากาศกำหนด ผู้บัญชาการกองบัญชาการฝึกศึกษาทหารอากาศ เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ แบ่งส่วนราชการออกเป็น
5. ส่วนกิจการพิเศษ ประกอบด้วย
  • กรมการเงินทหารอากาศ (กง.ทอ.)
  • กรมสวัสดิการทหารอากาศ (สก.ทอ.)
  • ศูนย์วิทยาศาสตร์และพัฒนาระบบอาวุธกองทัพอากาศ (ศวอ.ทอ.)
  • สำนักงานตรวจบัญชีทหารอากาศ (สตช.ทอ.)
  • สำนักงานผู้บังคับทหารอากาศดอนเมือง (สน.ผบ.ดม.)


กองทัพอากาศกับโครงการพระราชดำริ
กองทัพอากาศได้สนับสนุนโครงการในพระราชดำริ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและสนอง พระราชดำริแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ในการบำบัดทุกข์บำรุงสุข ให้แก่ประชาชน และการพัฒนาประเทศอยู่หลายโครงการ ที่สำคัญได้แก่

โครงการฝนหลวง กองทัพอากาศได้เข้าร่วมในโครงการฝนหลวงมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2515 ด้วยการ สนับสนุนอากาศยานให้กับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการทำฝนหลวงอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ได้จัดตั้งเป็น "หน่วยบินปฏิบัติการฝนหลวง" ขึ้น โดยมีเครื่องบินที่เข้าร่วมปฏิบัติการหลายแบบด้วยกัน ได้แก่ เครื่องบินลำเลียงแบบ 2 (C-47) เครื่องบินลำเลียงแบบ 4 ก (C-123 K) เครื่องบินลำเลียงแบบ 9 (NOMAD) เครื่องบินโจมตีธุรการแบบ 2 (AU-23) และ เครื่องบินโจมตีแบบ 6 (A-37 B) สำหรับในปีมิ่งมหามงคลวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในปี 2539 กองทัพอากาศได้จัดทำโครงการปรับปรุงเครื่องบินปฏิบัติการฝนหลวง คือ เครื่องบินลำเลียงแบบ 2 (C-47) ให้มีความทันสมัยและมีขีดความสามารถในการปฏิบัติภารกิจการทำฝนหลวงได้ดียิ่งขึ้น

โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติในพื้นที่ของกองทัพอากาศ กองทัพอากาศได้เข้าร่วมกับกองบัญชาการทหารสูงสุด จัดทำโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติขึ้น ในพื้นที่ความรับผิดชอบของกองทัพอากาศทั่วประเทศ เพื่อสนองแนวพระราชดำริในการรักษาสภาพแวดล้อมและการรักษาสภาพป่าตามธรรมชาติ

โครงการปลูกป่าสวนรุกขชาติและสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ กองทัพอากาศร่วมกับจังหวัดสระแก้ว จัดทำโครงการปลูกป่า สวนรุกขชาติและสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ ที่อำเภอวัฒนานคร เพื่อให้เป็นสวนสาธารณะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจแก่พี่น้องประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนเป็นการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมของพื้นที่ในเขตความรับผิดชอบของกองทัพอากาศ ให้เกิดความงดงาม และเป็นระเบียบเรียบร้อย

การถ่ายภาพทางอากาศ เพื่อเป็นการสนองพระราชดำริในการแก้ปัญหาอุทกภัยและแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล กองทัพอากาศได้ดำเนินการถ่ายภาพทางอากาศ บริเวณที่เกิดอุทกภัยตลอดจนบริเวณที่มี ปัญหาการจราจรคับคั่ง ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประกอบพระราชวินิจฉัย จนทรงมีพระราชกระแสชมเชยแก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน อันนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่กองทัพอากาศเป็นอย่างยิ่ง

โครงการอนุรักษ์แนวปะการัง กองทัพอากาศได้จัดทำโครงการอนุรักษ์แนวปะการังและสัตว์ทะเลที่หายาก ที่บริเวณกองบิน 53 กองพลบินที่ 4 กองบัญชาการยุทธทางอากาศ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยยึดถือแนวพระราชดำริในเรื่องของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นอกจากนั้นกองทัพอากาศยังได้ยึดถือแนวพระราชดำริในการจัดกิจกรรม เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ และเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา


เหตุด่วน, เหตุร้าย แง ศูนย์ควบคุมและสั่งการ พัน.สห.ทอ. โทร. 534-2117 - 9 ทอ. 2-2197 - 9
แจ้งเบาะแสแหล่งอบายมุข, ยาเสพติดให้โทษ, แหล่งการพนัน ผบ.พัน.สห.ทอ. โทร. 534-2113 โทรสาร. 523-7596
E-mail:dmbc4@ksc.th.com


Return to the Top