[ Map of Thailand ]
dp dmbc kk mp
"สวัสดีครับ มาหาใครครับ กรุณารอสักครู่ครับ เชิญครับ ขอบคุณครับ"
สำนักงาน
ผู้บังคับทหารอากาศดอนเมือง

ประวัติ , ผังการจัด

ทำไม? จึงเข้มงวดเรื่องทำบัตรผ่าน
การขอบัตรผ่านเข้า-ออก เขต ทอ.
การขับขี่ยานพาหนะในเขต ทอ.
กำหนดการปิด-เปิด ช่องทาง ทอ.
การขอใบอนุญาตประเภทบุคคล
การใช้ยานพาหนะในเขต บก.ทอ.
กฎ ระเบียบ แบบธรรมเนียมทหาร
ส.ค.ส. 2541 พระราชทานสู่ชาวไทย
กองทัพอากาศของท่าน
Royal Thai Air Force Day
งบประมาณ กองทัพไทย ปี 41
นโยบาย ทอ. ปีงบประมาณ 41
ข่าวสารในกิจการของทหารไทย
มาร์ชสี่เหล่า และเพลงปลุกใจ
การตรวจเยี่ยมสายวิทยาการ สห.
โครงการ สขว.ทอ.

โทรศัพท์ฉุกเฉิน ทอ.
แจ้งเหตุด่วน, เหตุร้าย 191
เพลิงไหม้ 192
รถพยาบาลฉุกเฉิน 194
อากาศยานอุบัติเหตุ 196
พัน.สห.ทอ. 2-2197 - 9
ศูนย์รวมข่าวดับเพลิง 2-2126,7
ศูนย์รับแจ้งเหตุ ทอ.ทุ่งสีกัน 3-0065
สถานีดับเพลิงย่อยทุ่งสีกัน 2-2129, 3-0083
ศูนย์โทรศัพท์กลาง ทอ. 523-6151, 523-6161


Supreme Command Headqurters
,
Royal Thai Armed Forces"

กรมธนารักษ์



ระเบียบกองทัพอากาศ
ว่าด้วยการดับเพลิงและกู้ภัย
พ.ศ.๒๕๓๗
-----------------------
เพื่อให้การปฏิบัติการเกี่ยวกับการดับเพลิงและกู้ภัย ในพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยดับเพลิงและกู้ภัย
ของกองทัพอากาศดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน
จึงวางระเบียบไว้ดังนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกองทัพอากาศ ว่าด้วยการดับเพลิงและกู้ภัย พ.ศ.๒๕๓๗"
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
    "๓.๑ "หน่วยดับเพลิงและกู้ภัยของกองทัพอากาศ" หมายความว่า หน่วยดับเพลิงและกู้ภัย
    ในสายวิทยาการดับเพลิงและกู้ภัยของกรมช่างโยธาทหารอากาศ
    ๓.๒ "หัวหน้าหน่วยดับเพลิงและกู้ภัย" หมายความว่า หัวหน้าหน่วยดับเพลิงและกู้ภัยของหน่วยขึ้นตรง
    กองทัพอากาศ กองบิน หน่วยบิน ฝูงบิน ศูนย์ควบคุมและรายงาน และสถานีรายงาน
ข้อ ๔ ให้เจ้ากรมช่างโยธาทหารอากาศ รักษาการตามระเบียบนี้ และมีอำนาจออกระเบียบหรือคำสั่ง
ปลีกย่อย โดยไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม

มาตรา ๑
หน้าที่และความรับผิดชอบ
ข้อ ๕ หัวหน้าหน่วยดับเพลิงและกู้ภัย มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้
    ๕.๑ จัดให้มีมาตรการป้องกันและการปฏิบัติเมื่อเกิดเพลิงไหม้อาคารสถานที่ หรือทรัพย์สิน
    ของทางราชการที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ ตลอดจนมาตรการปฏิบัติเมื่ออากาศยานเกิดเหตุฉุกเฉินหรือ
    อุบัติเหตุในเขตควบคุมการบินของแต่ละสนามบินขึ้นไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีนายทหารนิรภัย
    การบินและนายทหารนิรภัยภาคพื้นของส่วนราชการนั้น ๆ เป็นที่ปรึกษาและช่วยเหลือ
    ๕.๒ สำรวจและประสานกับนายทหารนิรภัยการบินและนายทหารนิรภัยภาคพื้นของ
    ส่วนราชการนั้น ๆ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันและปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน อุบัติเหตุ และ
    เพลิงไหม้ในเขตพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการนั้น ๆ
    ๕.๓ จัดให้มีสิ่งอุปกรณ์และยานพาหนะที่ใช้ในการดับเพลิงและกู้ภัยให้เพียงพอและ
    เหมาะสมกับภารกิจกับให้ดำเนินการปรนนิบัติบำรุง ตรวจสอบและทดลองใช้งาน สิ่งอุปกรณ์
    ตลอดจนยานพาหนะ โดยให้ปฏิบัติตามคำแนะนำทางเทคนิคของสิ่งอุปกรณ์นั้น ๆ อย่างเคร่งครัด
    ๕.๔ จัดให้มีอุปกรณ์ แผนที่ พิกัด อากาศยานอุบัติเหตุ (Crash Grid Map) ประจำหน่วย
    ดับเพลิง และประจำรถดับเพลิงทุกคัน
    ๕.๕ จัดให้มีรูปภาพพร้อมรายละเอียดในส่วนที่เกี่ยวกับการดับเพลิงและกู้ภัยของ
    อากาศยานแบบต่าง ๆ ที่มีประจำการอยู่ในกองทัพอากาศ
    ๕.๖ จัดให้มีอุปกรณ์สัญญาณแจ้งเหตุร้ายประจำหน่วย (กริ่งไฟฟ้าสำหรับให้สัญญาณ
    เกิดเหตุเพลิงไหม้ อากาศยานประสบอุบัติเหตุหรือลงฉุกเฉิน)
    ๕.๗ จัดให้มีการสำรวจแหล่งน้ำดับเพลิง ตรวจท่อน้ำดับเพลิง ตรวจป้องกันอัคคีภัยและ
    สำรวจเส้นทางภายในบริเวณพื้นที่ที่รับผิดชอบเป็นประจำ
    ๕.๘ จัดให้มีการฝึกซ้อมและฝึกอบรมเกี่ยวกับการดับเพลิงอากาศยานการดับเพลิงอาคาร
    การช่วยเหลือผู้ประสบภัยออกจากอากาศยาน อาคานและยานพาหนะอื่น ๆ โดยหมุนเวียนฝึกอบรม
    ตามหัวข้อการฝึก ตามผนวกที่แนบ
    ๕.๙ จัดรถดับเพลิงและ/หรือรถกู้ภัยไปเตรียมพร้อม กรณีอากาศยานเกิดเหตุฉุกเฉิน
    อากาศยานลำเลียงคนป่วย (Air Evacuation) อากาศยานถ่ายอาวุธ วัตถุระเบิดหรือสารซึ่งเกิด
    อันตรายได้ง่าย (Mazardous Materials) ตามความจำเป็นและเหมาะสม
    ๕.๑๐ ส่งรถดับเพลิงและ/หรือรถกู้ภัยตลอดจนรถลำเลียงน้ำ ออกไปดำเนินการดับเพลิง
    ที่เกิดขึ้นกับอากาศยาน อาคารสถานที่ ในบริเวณพื้นที่ที่รับผิดชอบและนอกพื้นที่รับผิดชอบ
    เมื่อได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา
    ๕.๑๑ จัดรถดับเพลิงและ/หรือรถกู้ภัยไปเตรียมพร้อม ในขณะที่อากาศยานบุคคลสำคัญ
    (VIP) ทำการขึ้นหรือลงในพื้นที่ที่รับผิดชอบ
    ๕.๑๒ ประกอบกำลังเข้าร่วมกับกำลังทหารอากาศโยธิน ในการปราบปรามสลัดอากาศ
    ๕.๑๓ ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา

มาตรา ๒
การปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน อุบัติเหตุหรือเกิดเพลิงไหม้
ข้อ ๖ การดับเพลิงและกู้ภัยอากาศยาน ให้ถือระเบียบกองทัพอากาศ ว่าด้วยนิรภัยการบิน พ.ศ.
๒๕๒๕ ผนวก ๖ เรื่อง การปฏิบัติเมื่ออากาศยานเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือเกิดอุบัติเหตุในเขตการบินของ
สนามบินดอนเมือง เป็นแนวทางในการปฏิบัติ
ข้อ ๗ เมื่อพบเห็นหรือได้รับแจ้งอากาศยานเกิดเหตุฉุกเฉิน เกิดอุบัติเหตุหรือเกิดเพลิงไหม้
อากาศยานหรืออาคารสถานที่ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ ให้ส่งรถดับเพลิง รถบรรทุกน้ำดับเพลิงและรถกู้ภัย
จำนวนตามความเหมาะสม เดินทางไปยังที่เกิดเหตุทันทีและดำเนินการช่วยชีวิตผู้ประสบภัยและดับเพลิง
ตามเทคนิคที่ถูกต้อง
ข้อ ๘ จัดส่งชุดเจ้าหน้าที่ดับเพลิงและกู้ภัยพร้อมเครื่องมือและอุปกรณ์กู้ภัยเดินทางไปกับ
หน่วยบินค้นหาและช่วยชีวิต ณ ที่ตั้งนั้นทันทีที่ได้รับแจ้งเหตุหรือได้รับการร้องขอ
ข้อ ๙ เมื่อเกิดเหตุอุบัติภัยเหตุหรือสาธารณภัยขึ้นในพื้นที่ที่รับผิดชอบ ให้จัดส่งพาหนะพร้อม
เจ้าหน้าที่ เครื่องมือและอุปกรณ์ ตามความเหมาะสมกับเหตุการณ์ เดินทางไปยังที่เกิดเหตุและดำเนินการ
ช่วยเหลือทันที
ข้อ ๑๐ กรณีที่เกิดอุบัติเหตุหรือสาธารณภัยขึ้นนอกพื้นที่รับผิดชอบและได้รับการร้องขอความ
ช่วยเหลือ ให้รายงานผู้บังคับบัญชาเพื่ออนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติให้ไปช่วยเหลือให้ประกอบกำลังยานพาหนะ
เครื่องมือและอุปกรณ์ พร้อมเจ้าหน้าที่ตามเหมาะสม เดินทางไปให้ช่วยเหลือยังที่เกิดเหตุทันที เมื่อไปถึง
ที่เกิดเหตุให้รายงานตัวต่อผู้มีอำนาจสูงสุด ณ ที่นั้น หรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ การอำนวยการหรือการ
สั่งการใด ๆ ให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ
ข้อ ๑๑ กรณีเกิดเหตุอุบัติเหตุร้ายแรงหรือเกิดไฟไหม้รายใหญ่ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ไม่สามารถ
ควบคุมสถานการณ์ได้ด้วยกำลังพลและอุปกรณ์ที่มีอยู่ ให้ติต่อขอรับการสนับสนุนกำลังพล อุปกรณ์
การดับเพลิงและกู้ภัยได้ได้แก่ กำลังทหารอากาศโยธิน กรมขนส่งทหารอากาศ แผนกขนส่งหรือฝ่ายขนส่ง
หมวดขนส่ง แล้วแต่กรณี หรือหน่วยดับเพลิงของส่วนราชการอื่น ๆ ณ ท้องถิ่นนั้น ๆ

มาตรา ๓
การปฏิบัติเมื่อเพลิงสงบหรือเหตุฉุกเฉินพ้นวิกฤติ
ข้อ ๑๒ ให้ถอนกำลังกลับที่ตั้งเหลือกำลังส่วนหนึ่งเตรียมพร้อมไว้ ณ ที่เกิดเหตุ แล้วให้บริการกับ
รถดับเพลิง รถกู้ภัย รถลำเลียงน้ำ ตลอดทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ทันทีที่กลับเข้าที่ตั้ง
ข้อ ๑๓ กำลังส่วนที่เหลือเตรียมพร้อมไว้ ให้สำรวจทั่วบริเวณ ถ้าพบสิ่งล่อแหลมแก่อันตราย ได้แก่
วัสดุสิ่งของที่เป็นอันตรายหรือเป็นพิษ ซากปรักหักพังที่อาจหลุด โค่นล้ม หรือพังทลายได้ ให้หาวิธีป้องกัน
อันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้จากสิ่งเหล่านั้น แต่ทั้งนี้ปฏิบัติการใด ๆ ต้องพยายามรักษาร่องรอย พยานหลักฐาน
ต่าง ๆ ไว้เสมอ ให้แจ้งเตือนอันตรายแก่บุคคลที่จะเข้าไปยังที่เกิดเหตุและให้ถอนกำลังกลับทันทีเมื่อเห็นว่า
ปลอดภัยแล้ว
ข้อ ๑๔ ให้ความร่วมมือและอำนวยความสะดวกกับเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการสืบสวน
หาสาเหตุของอุบัติภัยนั้น ๆ

มาตรา ๔
บทเบ็ดเตล็ด
ข้อ ๑๕ ให้หน่วยดับเพลิงและกู้ภัยต่าง ๆ ในกองทัพอากาศ สนับสนุนหน่วยงานทุกหน่วยของ
กองทัพอากาศเมื่อมีการร้องขอ ให้มีการบรรยายและสาธิตการป้องกัน และระงับเพลิงให้ข้าราชการ
ลูกจ้าง และครอบครัว รวมทั้งจัดให้มีการบรรยาย และสาธิตให้กับหน่วยงานในพื้นที่รับผิดชอบตาม
ห้วงระยะเวลาที่เหมาะสม
ข้อ ๑๖ ให้จัดเจ้าหน้าที่ออกสำรวจแหล่งน้ำธรรมชาติและท่อน้ำดับเพลิง ในพื้นที่รับผิดชอบให้อยู่
ในสภาพใช้ประโยชน์ในการดับเพลิงได้เมื่อต้องการ
ข้อ ๑๗ จัดให้มีการฝึกอบรมวิธีช่วยเหลือผู้ประสบภัย ออกจากอากาศยานแต่ละแบบที่มีประจำการ
อยู่ ณ สนามบินนั้น ๆ โดยประสานกับนายทหารนิรภัยการบิน
ข้อ ๑๘ ให้หน่วยดับเพลิงและกู้ภัยต่าง ๆ ในกองทัพอากาศ มีอำนาจออกข้อปฏิบัติหรือระเบียบ
ปฏิบัติภายในส่วนราชการ เป็นการเพิ่มเติมให้รัดกุมและเหมาะสมกับงานของหน่วยนั้น ๆ ได้โดยไม่ขัดหรือ
แย้งกับระเบียบนี้
    ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๓๗
    (ลงชื่อ) พลอากาศเอก ศิริพงษ์ ทองใหญ่
    (หม่อมราชวงศ์ ศิริพงษ์ ทองใหญ่)
    ผู้บัญชาการทหารอากาศ


ผนวก
หัวข้อการฝึกอบรมพนักงานดับเพลิง ฯ และพลขับรถดับเพลิง
๑. วิธีใช้และบำรุงรักษารถดับเพลิงอากาศยานหนัก
๒. วิธีใช้และบำรุงรักษารถดับเพลิงอากาศยานเคลื่อนที่เร็ว
๓. วิธีใช้และบำรุงรักษารถดับเพลิงอาคาร
๔. วิธีใช้และบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำดับเพลิง
๕. วิธีใช้และบำรุงรักษารถกู้ภัยและช่วยชีวิต
๖. วิธีใช้และบำรุงรักษาระบบกว้าน
๗. วิธีใช้และบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและชุดโคมไฟฟ้าชักเลื่อนประจำรถกู้ภัย ฯ
๘. วิธีใช้และบำรุงรักษาเครื่องตัด/ถ่างใช้กำลังไฮดรอลิค
๙. วิธีใช้และบำรุงรักษาเครื่องเลื่อยยนต์
๑๐. วิธีใช้และบำรุงรักษาหมอนลมยกสิ่งกดทับ
๑๑. วิธีใช้และบำรุงรักษาเครื่องช่วยหายใจ
๑๒. วิธีใช้และบำรุงรักษาหน้ากากหายใจ
๑๓. วิธีใช้และบำรุงรักษาเครื่องดูดควัน/เป่าลม
๑๔. วิธีใช้และบำรุงรักษาเครื่องชาร์ตแบตเตอรี่และระบบไฟฟ้าช่วยติดเครื่องยนต์รถกู้ภัย
๑๕. วิธีทดสอบการทำงานของเครื่องสูบโดยการทดสอบสูบแห้ง
๑๖. วิธีทดสอบการทำงานของระบบผสมโฟมดับเพลิง
๑๗. วิธีใช้และบำรุงรักษาระบบผงเคมีแห้งดับเพลิง
๑๘. วิธีใช้และบำรุงรักษาแม่แรงค้ำยัน
๑๙. วิธีใช้และบำรุงรักษาเครื่องกู้ภัย/ช่วยชีวิต
๒๐. วิธีใช้และบำรุงรักษาเครื่องมืองัดทำลาย
๒๑. วิธีใช้และบำรุงรักษาเครื่องมือดับเพลิง
๒๒. วิธีใช้และบำรุงรักษาสายดับเพลิงและท่อดูด
๒๓. วิธีใช้และบำรุงรักษาหัวฉีดดับเพลิง
๒๔. วิธีใช้และบำรุงรักษาระบบป้องกันตัวเองของรถดับเพลิง
๒๕. วิธีควบคุมเพลิงเพื่อป้องกันการไหม้ลุกลาม
๒๖. วิธีควบคุมเพลิงเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย
๒๗. วิธีดับเพลิงที่ลุกไหม้อากาศยาน
๒๘. วิธีช่วยเหลือผู้ประสบภัยออกจากอากาศยาน
๒๙. วิธีดับเพลิงที่ลุกไหม้อาคาร
๓๐. วิธีการถ่ายทอดน้ำจากรถบรรทุกน้ำ
๓๑. วิธีสูบน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ
๓๒. วิธีสูบน้ำจากท่อดับเพลิง
๓๓. วิธีถือหัวฉีดชนิดต่าง ๆ และวิธีฉีดน้ำ
๓๔. วิธีวางสายแบบทางตรง
๓๕. วิธีวางสายแบบทางกลับ
๓๖. วิธีต่อสายส่งน้ำและท่อสูบน้ำประจำรถ
๓๗. วิธีบรรทุกสายแบบต่าง ๆ
๓๘. วิธีทอดบันไดและวิธีแบกสายขึ้นทางบันได
๓๙. วิธีวางสายส่งน้ำแบบวิ่งสาย
๔๐. วิธีเข้ารถดับเพลิงที่ถูกต้องและปลอดภัย
๔๑. วิธีใช้ขวานชนิดต่าง ๆ
๔๒. วิธีใช้เครื่องมือตัดท่อระบบที่นั่งดีดตัวได้
๔๓. วิธีใช้เชือกผูกรัดและโยงยึดสิ่งต่าง ๆ
๔๔. วิธีใช้ระบบควบคุมฉีดน้ำ/โฟมแบบ ELECTRO PNEUMATIC
๔๕. วิธีใช้ระบบควบคุมแบบ PNEUMATIC
๔๖. วิธีใช้ระบบควบคุมแบบคันโยก (MANUAL)
๔๗. ฝึกวิธีการปฐมพยาบาลฉุกเฉิน
    ๔๗.๑ ฝึกการเข้าเฝือกชั่วคราวและเฝือกลม
    ๔๗.๒ ฝึกการนวดหัวใจ
    ๔๗.๓ ฝึกการช่วยหัวใจ
    ๔๗.๔ ฝึกการห้ามเลือด
    ๔๗.๕ ฝึกการป้องกันและแก้ไขอาการช๊อค
    ๔๗.๖ ฝึกการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยที่กระดูกสันหลังได้รับอันตราย
๔๘. วิธีการเตรียมพร้อมกรณีต่าง ๆ
๔๙. วิธีสูบฉีดน้ำขณะขับเคลื่อนรถ
๕๐. วิธีใช้ปืนฉีดและสายแฮนด์ไลน์ควบคุมเพลิง

หมายเหตุ
๑. หัวข้อการฝึกที่กำหนดไว้นี้ ใช้หมุนเวียนฝึกได้ตลอดปี หัวข้อใดที่ฝึกไปแล้ว แต่ยังไม่คล่องตัว
หรือชำนาญดีพอ ให้จัดฝึกซ้อมซ้ำจนกว่าจะเกิดความชำนาญ
๒. เครื่องมือดับเพลิงอาจมีไม่เหมือนกันทุกหน่วย ดังนั้นหัวข้อใดไม่มีเครื่องมือจะฝึกก็ไม่ต้อง
กำหนดไว้ในตารางฝึก
๓. หัวข้อการฝึกที่กำหนดไว้นี้เป็นหัวข้อหลัก แต่ละหน่วยอาจนำไปแบ่งย่อย หัวข้อออกได้ตาม
ความเหมาะสม เช่น หัวข้อวิธีช่วยเหลือผู้ประสบภัยออกจากอากาศยาน อาจแบ่งออกได้ดังนี้
    ๓.๑ วิธีช่วยเหลือผู้ประสบภัยออกจาก เครื่องบินแบบ เอฟ-๕ เอ, บี, อี และ เอฟ
    ๓.๒ วิธีช่วยเหลือผู้ประสบภัยออกจาก เครื่องบินแบบ เอฟ-๑๖ เอ, บี, ดังนี้เป็นต้น
๔. การฝึกช่วยเหลือผู้ประสบภัยออกจากอากาศยาน ให้ประสานและขอรับการสนับสนุนจาก
นายทหารนิรภัยการบินหรือนายทหารยุทธการของฝูงก่อนทุกครั้ง
๕. การฝึกวิธีการปฐมพยาบาล ให้ขอรับการสนับสนุนวิทยากรจากโรงพยาบาลหรือหมวดแพทย์
ของที่ตั้งนั้น ๆ
เหตุด่วน, เหตุร้าย แง ศูนย์ควบคุมและสั่งการ พัน.สห.ทอ. โทร. 534-2117 - 9 ทอ. 2-2197 - 9
แจ้งเบาะแสแหล่งอบายมุข, ยาเสพติดให้โทษ, แหล่งการพนัน ผบ.พัน.สห.ทอ. โทร. 534-2113 โทรสาร. 523-7596
E-mail:dmbc4@ksc.th.com