[ Map of Thailand ]
dp dmbc kk mp
"สวัสดีครับ มาหาใครครับ กรุณารอสักครู่ครับ เชิญครับ ขอบคุณครับ"
สำนักงาน
ผู้บังคับทหารอากาศดอนเมือง

ประวัติ , ผังการจัด

ทำไม? จึงเข้มงวดเรื่องทำบัตรผ่าน
การขอบัตรผ่านเข้า-ออก เขต ทอ.
การขับขี่ยานพาหนะในเขต ทอ.
กำหนดการปิด-เปิด ช่องทาง ทอ.
การขอใบอนุญาตประเภทบุคคล
การใช้ยานพาหนะในเขต บก.ทอ.
กฎ ระเบียบ แบบธรรมเนียมทหาร
ส.ค.ส. 2541 พระราชทานสู่ชาวไทย
กองทัพอากาศของท่าน
Royal Thai Air Force Day
งบประมาณ กองทัพไทย ปี 41
นโยบาย ทอ. ปีงบประมาณ 41
ข่าวสารในกิจการของทหารไทย
มาร์ชสี่เหล่า และเพลงปลุกใจ
การตรวจเยี่ยมสายวิทยาการ สห.
โครงการ สขว.ทอ.

โทรศัพท์ฉุกเฉิน ทอ.
แจ้งเหตุด่วน, เหตุร้าย 191
เพลิงไหม้ 192
รถพยาบาลฉุกเฉิน 194
อากาศยานอุบัติเหตุ 196
พัน.สห.ทอ. 2-2197 - 9
ศูนย์รวมข่าวดับเพลิง 2-2126,7
ศูนย์รับแจ้งเหตุ ทอ.ทุ่งสีกัน 3-0065
สถานีดับเพลิงย่อยทุ่งสีกัน 2-2129, 3-0083
ศูนย์โทรศัพท์กลาง ทอ. 523-6151, 523-6161


Supreme Command Headqurters
,
Royal Thai Armed Forces"

กรมธนารักษ์


ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๖
---------------------
โดยปัจจุบัน อัตราการตายของประชากรจากอุบัติภัยสูงขึ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันอุบัติภัยใน
ประเทศไทยเป็นไปอย่ามีประสิทธิภาพ สมควรจัดตั้งคณะกรรมการ เพื่อให้มีอำนาจและหน้าที่รับผิดชอบ
ในการวางนโยบาย วางแผน ศึกษาวิจัย ประสานงาน และค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับอุบัติภัย วิธีการและ
มาตรการป้องกันอุบัติภัย
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๙ (๘) แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๘ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน
๒๕๑๕ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงออกระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบสำนักนายรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๖"
ข้อ ๒ ให้ใช้ระเบียบนี้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็น ต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
"อุบัติภัย" หมายความว่า ภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุเนื่องจากการจราจรทาง บก ทางน้ำหรือทางอากาศ อุบัติเหตุเนื่องจากการทำงาน และอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ในบ้านและในที่สาธารณะ
"หน่วยงานของรัฐ" หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม ราชการ ส่วนภูมิภาคราชการส่วนท้องถิ่น องค์การของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ
"นโยบาย" หมายความว่า หลักการสำคัญที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทาง ในการป้องกันอุบัติภัย
"แผนหลัก" หมายความว่า แผนการป้องกันอุบัติภัยเพื่อเป็นแนวทางสำหรับ หน่วยงานของรัฐปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในนโยบาย
ข้อ ๔ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า "คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ" เรียกโดยย่อว่า
"กปอ." ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
เป็นรองประธานกรรมการปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา อธิบดีกรมการ
ขนส่งทางบก อธิบดีกรมเจ้าท่า อธิบดีกรมตำรวจ อธิบดีกรมทางหลวง อธิบดีกรมแรงงาน อธิบดีกรมโรงงาน
อุตสาหกรรม ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการ
วิจัยแห่งชาติ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกินสี่คน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการ
คณะกรรมการจะแต่งตั้งกรรมการหรือบุคคลอื่นเป็นเลขานุการของคณะกรรมการก็ได้
ให้ผู้อำนวยการกอง กองงานคณะที่ปรึกษาและกรรมการ สำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
ของคณะกรรมการ
ให้นายกรัฐมนตรีเสนอชื่อบุคคลเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาแต่งตั้ง
เป็นกรรมการตามวรรคหนึ่ง
ข้อ ๕ กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ หรือในกรณีที่คณะรัฐมนตรี
แต่งตั้งกรรมการเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ได้รับแต่งตั้ง
ให้ดำรงตำแหน่งแทนหรือเป็นกรรมการเพิ่มขึ้น อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้
แต่งตั้งไว้แล้ว
กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอีกได้
ข้อ ๖ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามข้อ ๕ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
    (๑) ตาย
    (๒) ลาออก
    (๓) ต้องโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้
    กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
    (๔) เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
    (๕) เป็นบุคคลล้มละลาย
ข้อ ๗ องค์ประชุมและระเบียบการประชุมของ กปอ.ให้เป็นไปตามที่ กปอ.กำหนด
ข้อ ๘ ให้ กปอ.มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
    (๑) เสนอนโยบายและแผนหลักเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติภัยต่อคณะรัฐมนตรี
    (๒) เสนอแนะแนวทางปฏิบัติและประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐ ซึ่งรับนโยบาย
    และแผนหลักที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้วไปดำเนินการ
    (๓) จำทำข้อเสนอแนะและเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐ และปัญหา
    ข้อขัดข้องต่าง ๆ เสนอต่อนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี
    (๔) เสนอความเห็นหรือข้อสังเกตุต่อนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการให้มี
    กฎหมาย หรือแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติภัย
    (๕) ประสานงานและติดต่อขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศในการป้องกันอุบัติภัย
    (๖) สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการศึกษาอบรม การประชุม หรือสัมมนาเกี่ยวกับการ
    ป้องกันอุบัติภัย
    (๗) ประชาสัมพันธ์ด้านการป้องกันอุบัติภัยและด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
    (๘) ปฏิบัตืการในเรื่องที่เกี่ยวกับการป้องกันอุบัติภัยตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะ
    รัฐมนตรีมอบหมาย
ในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวข้างต้น กปอ.อาจมอบให้สำนักงานเลขานุการ กปอ.เป็นผู้ปฏิบัติ
หรือเตรียมข้อเสนอมายัง กปอ.เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไปได้
ข้อ ๙ ให้กองงานคณะที่ปรึกษาและกรรมการ สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่เป็น
สำนักงานเลขานุการ กปอ. รับผิดชอบงานธุรการ งาน ประชุม และมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
    ๑. เป็นหน่วยงานกลางในการประสานงาน ศึกษาและวิจัยอุบัติภัย และติดตามผล
    การปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติภัยของหน่วยงานของรัฐ เพื่อเสนอ กปอ.พิจารณา
    ๒. รวบรวมสถิติและข้อมูลเกี่ยวกับอุบัติภัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ
    ๓. ปฏิบัติงานตามที่ กปอ.มอบหมาย
ข้อ ๑๐ กปอ.จะแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่
กปอ.มอบหมายก็ได้
ให้นำข้อ ๗ มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม
ข้อ ๑๑ ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับระเบียบนี้ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินงาน
ของ กปอ.ตามระเบียบนี้
ข้อ ๑๒ ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้

เหตุด่วน, เหตุร้าย แง ศูนย์ควบคุมและสั่งการ พัน.สห.ทอ. โทร. 534-2117 - 9 ทอ. 2-2197 - 9
แจ้งเบาะแสแหล่งอบายมุข, ยาเสพติดให้โทษ, แหล่งการพนัน ผบ.พัน.สห.ทอ. โทร. 534-2113 โทรสาร. 523-7596
E-mail:dmbc4@ksc.th.com




LOCATION: [MY KING] [MY RTAF] [MY COUNTRY] [MY WEB]