[ Map of Thailand ]
dp dmbc kk mp
"สวัสดีครับ มาหาใครครับ กรุณารอสักครู่ครับ เชิญครับ ขอบคุณครับ"
สำนักงาน
ผู้บังคับทหารอากาศดอนเมือง

ประวัติ , ผังการจัด

ทำไม? จึงเข้มงวดเรื่องทำบัตรผ่าน
การขอบัตรผ่านเข้า-ออก เขต ทอ.
การขับขี่ยานพาหนะในเขต ทอ.
กำหนดการปิด-เปิด ช่องทาง ทอ.
การขอใบอนุญาตประเภทบุคคล
การใช้ยานพาหนะในเขต บก.ทอ.
กฎ ระเบียบ แบบธรรมเนียมทหาร
ส.ค.ส. 2541 พระราชทานสู่ชาวไทย
กองทัพอากาศของท่าน
Royal Thai Air Force Day
งบประมาณ กองทัพไทย ปี 41
นโยบาย ทอ. ปีงบประมาณ 41
ข่าวสารในกิจการของทหารไทย
มาร์ชสี่เหล่า และเพลงปลุกใจ
การตรวจเยี่ยมสายวิทยาการ สห.
โครงการ สขว.ทอ.

โทรศัพท์ฉุกเฉิน ทอ.
แจ้งเหตุด่วน, เหตุร้าย 191
เพลิงไหม้ 192
รถพยาบาลฉุกเฉิน 194
อากาศยานอุบัติเหตุ 196
พัน.สห.ทอ. 2-2197 - 9
ศูนย์รวมข่าวดับเพลิง 2-2126,7
ศูนย์รับแจ้งเหตุ ทอ.ทุ่งสีกัน 3-0065
สถานีดับเพลิงย่อยทุ่งสีกัน 2-2129, 3-0083
ศูนย์โทรศัพท์กลาง ทอ. 523-6151, 523-6161


Supreme Command Headqurters
,
Royal Thai Armed Forces"


กรมช่างโยธาทหารอากาศ

โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช

โรงพยาบาลจันทรุเบกษา

กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง


ข้อบังคับกระทรวงกลาโหม
ว่าด้วย ระเบียบจัดการทางคดี
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ.๒๕๑๑
-----------------------------
โดยเป็นการสมควรเพิ่มเติมข้อบังคับทหารว่าด้วย ระเบียบจัดการทางคดี ที่ ๙๑๐๙๐๙/๒๔๗๗
ลง ๑๓ พ.ย. ๗๗ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ซึ่งได้ตราข้อบังคับขึ้นไว้ดังต่อไปนี้.-
หมวด ๑
จับ
ฯ ล ฯ
ข้อ ๔. ผู้มีอำนาจจับบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารในเวลาปกติ ซึ่งกระทำความผิดอาญาได้ตาม
ข้อบังคับนี้คือ.-
    ก. สารวัตรทหารแห่งมณฑลทหาร หรือจังหวัดทหาร ซึ่งมีหน้าที่รักษาเขตพื้นที่ ๆ ทำการจับนั้น
    ข. ผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกจับ
ข้อ ๕. ผู้มีอำนาจจับจะจับโดยพลการ โดยคำสั่งของผู้บังคับบัญชา หรือโดยมีผู้ร้องขอก็ได้
ข้อ ๖. ในกรณีที่มีผู้ร้องขอ ผู้มีอำนาจจับจะต้องสอบให้ปรากฏเหตุผล สมควรที่จะจับเสียก่อน เหตุผลนี้จะได้มาจากคำแจ้งความโดยสาบาลตัว หรือพฤติการณ์อย่างอื่นก็ได้
ข้อ ๗. ในการจับ จะปฏิบัติต่อผู้ถูกจับ เสมือนผู้กระทำความผิดมิได้
ข้อ ๘. ห้ามมิให้ใช้วิธีจับเกินกว่าที่จำเป็น เพื่อป้องกันมิให้ผู้มีถูกจับมีอำนาจติดตามจับกุมผู้นั้น
ได้ทันที โดยไม่ต้องมีคำสั่งใดอีก
ข้อ ๙.
ฯ ล ฯ
ข้อ ๑๐. เหตุที่จะจับได้มีดังต่อไปนี้.-
    ก. เมื่อผู้ควรถูกจับ ซึ่งถูกสงสัย โดยมีเหตุอันควรนั้น ไม่สามารถแสดงตัวให้เป็นที่เชื่อถือได้
    หรือเป็นผู้ไม่มีบัตรประจำตัว หรือหนังสื่อสำคัญอื่น ๆ สำหรับแสดงตัวของข้าราชการทหาร
    ข. เมื่อมีคำสั่งของทางข้าราชการทหาร ให้จับผู้ควรถูกจับนั้น
    ค. เมื่อผู้ต้องหาซึ่งมิได้ถูกควบคุมอยู่นั้น ไม่มาตามคำสั่งเรียกหรือตามนัด โดยไม่มีข้อแก้ตัว
    อันควรก็ดี ได้หนีไปก็ดี มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน
    โดยทางตรงหรือทางอ้อมก็ดี
    ง. เมื่อผู้ต้องหา ซึ่งถูกปล่อยตัวชั่วคราวนั้น มิสามารถนำสัญญาประกันให้จำนวนเงินสูง
    กว่าเดิม หรือหาหลักประกันมาเพิ่มหรือให้ดีกว่าเดิมตามบทบัญญัติแห่งข้อบังคับนี้
    จ. เมื่อพบผู้ควรถูกจับ กำลังพยายามกระทำความผิด หรือพบโดยมีพฤติการณ์อันควรสงสัย
    ว่าผู้นั้น จะกระทำความผิดโดยมีเครื่องมือ อาวุธ หรือวัตถุอย่างอื่นอันสามารถอาจใช้ในกระทำ
    ความผิด
    ฉ. เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ควรถูกจับนั้น ได้กระทำความผิดมาแล้วจะหลบหนี
    ช. เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่า ผู้ควรถูกจับนั้นได้กระทำความผิดและแจ้งด้วยว่าได้ร้องทุกข์
    ไว้แล้ว
    ซ. เมื่อผู้ควรถูกจับนั้น ได้กระทำความผิดซึ่งหน้า คือความผิดซึ่งเห็นกำลังกระทำหรือ
    พบในอาการใด ซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าผู้นั้น ได้กระทำความผิดมาแล้วสด ๆ
ข้อ ๑๑. ที่ซึ่งทำการจับกุมได้นั้น มีดังนี้.-
    ก. ในที่สาธารณสถาน คือบรรดาที่ต่าง ๆ ซึ่งราชการมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้
    ข. บนถนนหลวง คือที่หรือถนนหรือทางบกต่าง ๆ ซึ่งสาธารณะนั้นมีความชอบธรรมที่จะ
    ใช้เป็นทางสัญจร และนับรวมตลอดถึงทางรถไฟ หรือทางรถรางที่มีรถเดินสำหรับให้คนโดยสาร
    นั้นด้วย
    ค. บนทางหลวง คือบรรดาทางบก และทางน้ำทั่วไป ซึ่งใช้เป็นทางสัญจรสำหรับสาธารณชน
ข้อ ๑๒. ห้ามมิให้จับในที่รโหฐาน คือที่ต่าง ๆ ซึ่งมิใช้ที่สาธารณสถาน ไม่ว่าจะเป็นที่มีเคหสถานหรือ
เป็นที่ว่างเปล่าก็ดี ซึ่งปกติสาธารณชนไม่มีความชอบธรรมจะเข้าไม่ได้เป็นอันขาด เว้นแต่เมื่อที่รโหฐานนั้น
อยู่ในบริเวณบ้านเรือน โรงเรียนของทหาร ในโรงทหารหรือหน่วยทหารพักแรม พักร้อนของทหาร หรือ
ในขณะที่อยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร และการจับนั้นต้องได้รับอนุญาตหรือรับคำสั่งจาก
เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ซึ่งเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาเหนือรโหฐานนั้น กับต้องได้รับความยินยอมจากผู้ที่
ครอบครองเคหสถานก่อนจับด้วย เว้นแต่เมื่อผู้ต้องถูกจับเป็นตัวเจ้าของบ้านเอง และโดยปกติควรจะทำการ
จับแต่ในเวลากลางวัน กับต้องมีผู้ปกครองบังคับบัญชาเหนือที่รโหฐานนั้น หรือผู้แทนซึ่งเป็นนายทหาร
สัญญาบัตรร่วมเข้าไปในที่รโหฐานนั้นนั้นด้วย
ข้อ ๑๓. ห้ามมิให้จับในพระราชวัง หรือในที่ซึ่งพระมหากษัตริย์และพระมเหสี หรือผู้สำเร็จราชการ
แทนพระองค์ประทับหรืออยู่เป็นอันขาด
ข้อ ๑๔. ในการจับนั้น ผู้ซึ่งทำการจับต้องแจ้งเหตุผลแก่ผู้ที่จะถูกจับนั้นว่าเขาต้องถูกจับ แล้วสั่งให้
ผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของผู้จับหรือผู้ถูกจับ หรือที่ควบคุมตัวผู้ต้องหาพร้อมด้วยผู้จับ แต่ถ้าจำเป็นก็ให้
จับตัวไป
ข้อ ๑๕. ถ้าผู้ซึ่งจะถูกจับขัดขวาง หรือจะขัดขวางการจับหรือหลบหนี หรือพยายามจะหลบหนี
ผู้จับมีอำนาจใช้วิธีหรือความป้องกันทั้งหลายเท่าที่เหมาะแก่พฤติการณ์แห่งเรื่องในการจับผู้นั้น
ข้อ ๑๖. ผู้จับหรือผู้รับตัวผู้ถูกจับไว้ มีอำนาจค้นตัวผู้ถูกจับและยึดสิ่งของต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิด
อันตราย หรือที่อาจใช้เป็นพยานหลักฐาน รักษาไว้ได้นานเท่าที่จำเป็นแก่กรณี

หมวด ๒
ควบคุม
ข้อ ๑๗. ในการควบคุมจะปฏิบัติต่อผู้ต้องหาเสมือนกระทำผิดมิได้
ข้อ ๑๘. ผู้ต้องหาที่ถูกควบคุม ย่อมมีสิทธิ์ที่จะได้รับการเยี่ยมพอสมควร
ข้อ ๑๙. การควบคุมผู้ต้องหาไม่ว่าในกรณีใด ๆ นั้น ผู้ต้องหาที่ถูกควบคุมจักต้องได้รับแจ้งเหตุผล
พร้อมทั้งรายละเอียดตามสมควร ในการที่ถูกควบคุมโดยมิชักช้า
ข้อ ๒๐. ผู้ต้องหาที่ถูกควบคุมย่อมมีสิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความเป็นการเฉพาะตัว
ข้อ ๒๑. ห้ามมิให้ใช้วิธีควบคุมเกินกว่าที่จำเป็น เพื่อป้องกันมิให้ผู้ต้องหาหนีเท่านั้น
ข้อ ๒๒. ห้ามมิให้ควบคุมผู้ต้องหาไว้เกินกว่าจำเป็นตามพฤติการณ์แห่งคดีในกรณีซึ่งเป็นความผิด
ลหุโทษ จะควบคุมผู้ต้องหาไว้ได้เท่าเวลาที่จะถามคำให้การและจะรู้ตัวว่าใคร และที่อยู่ของเขาอยู่ที่ไหน
เท่านั้น
ข้อ ๒๓. ห้ามมิให้ควบคุมผู้ต้องหาไว้เกินกว่า ๔๘ ชั่วโมง นับแต่เวลาที่ผู้ต้องหามาถึงที่ควบคุม
แต่มิให้นับเวลาเดินทางตามปกติที่นำตัวผู้ต้องหามาควบคุมรวมเข้าไว้ในกำหนดเวลา ๔๘ ชั่วโมงนั้นด้วย
ข้อ ๒๔. ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเพื่อทำการสอบสวน หรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นจะยืดเวลาเกินกว่า
๔๘ ชั่วโมงก็ได้เท่าเหตุจำเป็น แต่มิให้เกิน ๗ วัน
ข้อ ๒๕. ถ้าเกิดความจำเป็นที่จะควบคุมผู้ต้องหาไว้เกินกำหนดในข้อ ๒๔. เพื่อให้การสอบสวน
เสร็จสิ้น ให้ยื่นรายงานต่อผู้มีอำนาจสั่งลงโทษ เพื่อขอให้สั่งควบคุมผู้ต้องหานั้นไว้
ข้อ ๒๖. ในกรณีความผิดอาญาที่ได้กระทำลง มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน ๖ เดือน หรือปรับ
ไม่เกิน ๕๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้มีอำนาจสั่งลงโทษมีอำนาจสั่งควบคุมหลายครั้งติด ๆ กันได้ แต่
ครั้งหนึ่งต้องไม่เกิน ๑๒ วัน และรวมกันทั้งหมดต้องไม่เกิน ๔๘ วัน
ข้อ ๒๗. ในกรณีความผิดอาญา มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน ๖ เดือนแต่ไม่ถึง ๑๐ ปี หรือปรับ
เกินกว่า ๕๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้มีอำนาจสั่งลงโทษมีอำนาจสั่งควบคุมหลายครั้งติด ๆ กันได้ แต่
ครั้งหนึ่งต้องไม่เกิน ๑๒ วัน และรวมกันทั้งหมดต้องไม่เกิน ๔๘ วัน
ข้อ ๒๘. ในกรณีความผิดอาญาที่อัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่ ๑๐ ปีขึ้นไปและมีโทษปรับหรือไม่
ก็ตาม ผู้มีอำนาจสั่งลงโทษมีอำนาจสั่งควบคุมหลายครั้งติด ๆ กันได้ แต่ครั้งหนึ่งต้องไม่เกิน ๑๒ วัน และ
รวมกันทั้งหมดต้องไม่เกิน ๔๘ วัน
ข้อ ๒๙. ในกรณีที่กำหนดการสั่งควบคุมหมดไป ให้ผู้มีอำนาจสั่งลงโทษสั่งปล่อยผู้ต้องหา เว้นแต่
ผู้ต้องหาได้ถูกฟ้อง หรือได้มีการขอให้ควบคุมต่อไปอีก ภาย ในอำนาจของผู้มีอำนาจสั่งลงโทษ
ข้อ ๓๐. คำสั่งควบคุมต้องจัดการให้เป็นไปตามนั้น และภายในขอบเขตอำนาจของผู้มีอำนาจสั่ง
ลงโทษ
ข้อ ๓๑. เมื่อมีการอ้างว่าผู้ต้องหาถูกควบคุมโดยไม่ชอบด้วยข้อบังคับนี้บุคคลเหล่านี้มีสิทธิ์ร้องต่อ
ผู้มีอำนาจสั่งลงโทษ ขอให้สั่งปล่อยคือ
    ก. ผู้ต้องหาเอง
    ข. สามีภริยา หรือญาติของผู้ต้องหา หรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง
    ค. อัยการทหาร
    ง. ผู้ควบคุม
ข้อ ๓๒. เมื่อได้รับคำร้องตามข้อ ๓๑ ให้ผู้มีอำนาจสั่งลงโทษพิจารณาโดยด่วน ถ้าเป็นที่พอใจผู้มี
อำนาจสั่งลงโทษว่าการควบคุมนั้น ไม่ชอบด้วยข้อบังคับนี้ก็ให้ผู้มีอำนาจสั่งลงโทษปล่อยตัวผู้ต้องหาไปเสีย
ในทันที

หมวด ๓
ปล่อยชั่วคราว
ข้อ ๓๓. คำร้องขอให้ปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราว โดยไม่ต้องมีประกัน หรือมีประกัน และหลักประกัน
ผู้ต้องหา หรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง ย่อมยื่นได้ต่อผู้มีอำนาจสั่งลงโทษ
ข้อ ๓๔. เมื่อได้รับคำร้องให้ปล่อยชั่วคราว ให้ผู้มีอำนาจสั่งลงโทษรีบสั่งโดยฟังพิจารณาโดยอาศัย
หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ประกอบกับการวินิจฉัยคำร้องนั้น คือ
    ก. ความหนักเบาแห่งข้อหา
    ข. พยานหลักฐานมีเพียงใด
    ค. พฤติการณ์ต่าง ๆ แห่งคดีเป็นอย่างไร
    ง. เชื่อถือผู้ร้องขอประกัน หรือหลักประกันได้เพียงใด
    จ. ผู้ต้องหาน่าจะหลบหนีหรือไม่
    ฉ. ภัยอันตราย หรือความเสียหายที่จะเกิดจากการปล่อยชั่วคราวมีเพียงใดหรือไม่
    ช. ถ้ามีคำค้านของผู้จับ ผู้สอบสวน หรืออัยการทหาร แล้วแต่กรณี ผู้มีอำนาจสั่งลงโทษ
    พึงรับประกอบการวินิจฉัยได้
ข้อ ๓๕. ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่ ๑๐ ปีขึ้นไป ถ้ามีคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว
ผู้มีอำนาจสั่งลงโทษจะต้องถามผู้จับ ผู้สอบสวน หรืออัยการทหารว่าจะคัดค้านประการใดหรือไม่
ข้อ ๓๖. ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกในอัตราอย่างสูงตั้งแต่ ๑ ปีขึ้นไป ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวต้องมีประกัน
และจะมีหลักประกันด้วยหรือไม่ก็ได้
ในคดีอย่างอื่นจะปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีประกันเลย หรือมีประกัน หรือมีประกันและหลักประกัน
ด้วยก็ได้
ข้อ ๓๗. เมื่อจะปล่อยชั่วคราว โดยไม่มีประกัน หรือมีประกัน และหลักประกันก่อนปล่อยไป
ให้ผู้ประกัน หรือผู้เป็นประกันลงลายมือชื่อในสัญญาประกันนั้น
ฯ ล ฯ
ข้อ ๔๕. การออกข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อใช้แก่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารในเวลาปกติตามความ
หมายแห่งประมวลกฎหมายอาญาทหารนั้น ให้ออกไปแต่เฉพาะข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ซึ่งโดยปกติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นผู้ลงนามให้ออกใช้โดยสมควรแก่กาลสมัย
ข้อ ๔๖. ส่วนราชการ หากเห็นสมควรที่จะได้มีการตราข้อความใดขึ้นเป็นข้อบังคับตามความหมาย
แห่งประมวลกฎหมายอาญาทหาร ไม่ว่าจะเพื่อการใด ก็ให้รายงานขึ้นมาตามลำดับ เพื่อขอให้กระทรวง
กลาโหมพิจารณาดำเนินการออกข้อบังคับกระทรวงกลาโหม เพื่อการนั้น ๆ ได้(๑)

ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๔๙๒
(ลงชื่อ) จอมพล ถ. กิตติขจร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

(๑) สมบูรณ์ จ่าภา, นาวาอากาศโท. คู่มือการปฏิบัติงานของสารวัตรทหารอากาศ พิมพ์ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๒๓.

เหตุด่วน, เหตุร้าย แง ศูนย์ควบคุมและสั่งการ พัน.สห.ทอ. โทร. 534-2117 - 9 ทอ. 2-2197 - 9
แจ้งเบาะแสแหล่งอบายมุข, ยาเสพติดให้โทษ, แหล่งการพนัน ผบ.พัน.สห.ทอ. โทร. 534-2113 โทรสาร. 523-7596
E-mail : dmbc4@ksc.th.com