สำนักงาน ผู้บังคับทหารอากาศดอนเมือง
ประวัติ , ผังการจัด
ทำไม? จึงเข้มงวดเรื่องทำบัตรผ่าน
การขอบัตรผ่านเข้า-ออก เขต ทอ.
การขับขี่ยานพาหนะในเขต ทอ.
กำหนดการปิด-เปิด ช่องทาง ทอ.
การขอใบอนุญาตประเภทบุคคล
การใช้ยานพาหนะในเขต บก.ทอ.
การแต่งเครื่องแบบ ทอ.
ส.ค.ส. 2541 พระราชทานสู่ชาวไทย
กองทัพอากาศของท่าน
Royal Thai Air Force Day
งบประมาณ กองทัพไทย ปี 41
นโยบาย ทอ. ปีงบประมาณ 41
ข่าวสารในกิจการของทหารไทย
มาร์ชสี่เหล่า และเพลงปลุกใจ
โครงการ สขว.ทอ.

โทรศัพท์ฉุกเฉิน ทอ.
แจ้งเหตุด่วน, เหตุร้าย 191
เพลิงไหม้ 192
รถพยาบาลฉุกเฉิน 194
อากาศยานอุบัติเหตุ 196
พัน.สห.ทอ. 2-2197 - 9
ศูนย์รวมข่าวดับเพลิง 2-2126,7
ศูนย์รับแจ้งเหตุ ทอ.ทุ่งสีกัน 3-0065
สถานีดับเพลิงย่อยทุ่งสีกัน 2-2129, 3-0083
ศูนย์โทรศัพท์กลาง ทอ. 523-6151, 523-6161



 Supreme Command Headqurters, Royal Thai Armed Forces"



กรมธนารักษ์
|
การตรวจเยี่ยมสายวิทยาการเหล่าสารวัตรทหารอากาศ ฝูงบิน 207 จังหวัดตราด
- เมื่อปี พ.ศ. 2520 กองทัพอากาศได้เริ่มจัดตั้งหน่วยบินเล็ก ๆ คือ หมวดบิน 7102 โดยบรรจุ บ.ต.2 จำนวน 2 เครื่อง มาประจำการเป็นครั้งแรกที่จังหวัดตราด ดินแดนที่มีพื้นที่จังหวัดเป็นรูป
หัวช้าง สุดปลายชายแดนด้านตะวันออกของไทย มีภารกิจในการบินยุทธวิธี สนับสนุนหน่วยกำลัง
ภาคพื้น ปกป้องอธิปไตยของชาติบริเวณพรมแดนด้านตะวันออก กระทั่งปัจจุบันกลายมาเป็น ฝูงบิน 207 (ตราด)
- ที่ตั้งของฝูงบิน 207 อยู่ในเขตเทศบาลเมืองตราด มีพื้นที่ 417 ไร่ เรียกได้ว่าอยู่ใจกลางเมือง
เพราะอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดไม่ไกลนัก ฝูงบินนี้มีสภาพเป็นฐานบินหน้าของ ทอ. จึงมีหน่วย
ขึ้นตรงสายงานต่าง ๆ ครบเหมือนกองบิน แต่ย่อส่วนลงมามาก แม้แต่ทางวิ่งยังย่อส่วนยาวเพียง ๑๒๐๐ ฟุต
- จังหวัดตราด เป็นจังหวัดชายแดนเล็กๆ สุดด้านชายฝั่งตะวันออกของประเทศไทยต่อจาก
จังหวัดจันทบุรี มีเนื้อที่ 2,819 ตารางกิโลเมตร มีทิวเขาบรรทัดเป็นพรมแดนกั้นอาณาเขตระหว่าง
ประเทศไทยกับประเทศกัมพูชาทางด้านตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ตามทางหลวงสายที่สั้น
ที่สุด คือ สายบางนา-ชลบุรี-แกลง-จันทบุรี-ตราดเป็นระยะทางประมาณ 315 กิโลเมตร
- ใน ร.ศ. 112 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศส
ยอมยกดินแดนจังหวัดตราด และเกาะช้างทั้งหมด ตั้งแต่แหลมสิงห์ไปจนถึงเกาะกูด รวมทั้งเมือง
ปัจจันตคีรีเขตร (เกาะกง) ให้แก่ฝรั่งเศส เพื่อให้ถอนทหารออกจากจันทบุรี 23 มี.ค. 2449
ได้ยอมยกดินแดนเมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ รวมทั้งเมืองปัจจันตคีรีเขตรให้กับ
ฝรั่งเศสเพื่อแลกเอาเมืองตราด เกาะต่าง ๆ ตั้งแต่แหลมสิงห์ไปจนถึงเกาะกูด กับเมืองด่านซ้าย
ฝั่งขวาของแม่น้ำโขง และฝรั่งเศสยอมถอนทหารออกไปเมื่อ 6 กรกฏาคม 2450 ชาวจังหวัดตราด
จึงได้ถือเอาวันที่ 23 มีนาคม 2449 เป็นวัน "ตราดรำลึก" โดยฝ่ายไทยมี พระยามหาอำมาตยาธิบดี
ซึ่งในขณะนั้นเป็นพระยาศรีเทพ ตำแหน่งปลัดทูลฉลอง กระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าผู้แทน
รัฐบาลไทย ฝ่ายฝรั่งเศสมีมองซิเออร์รูซโซเรซิดังเป็นหัวหน้าผู้แทนรัฐบาลฝรั่งเศส ได้กระทำพิธีส่ง
และรับมอบกัน ณ ศาลากลางจังหวัด
- ในระหว่างสงครามอินโดจีน จังหวัดตราดถูกโจมตีโดยกองเรือรบฝรั่งเศส ราชนาวีไทยได้
เข้าขัดขวางและเกิดยุทธนาวีที่เกาะช้างขึ้น การรบในครั้งนี้สร้างชื่อเสียงให้แก่กองทัพเรือไทย
ในความกล้าหาญมากแม้ว่าฝ่ายไทยจะต้องเสียเรือรบหลวงชลบุรี เรือรบหลวงสงขลาและ
เรือรบปืนธนบุรีไป 3 ลำก็ตาม
- คำขวัญประจำจังหวัดนครราชสีมา "เมืองพลอยแห่งสยาม หมู่เกาะงามครึ่งร้อย อร่อยระกำแสนหวาน สุนัขพันธุ์ไทยหลังอาน อนุสรณ์สถานเขาล้าน บวรสถานยุทธนาวี (เกาะช้าง) เส้นทางดีสู่กัมพูชา ศูนย์การค้าชายแดน"
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ
ทิศใต้
ทิศตะวันออก
ทิศตะวันตก
|
จดจังหวัดจันทบุรีและประเทศกัมพูชา
จดอ่าวไทย
จดประเทศกัมพูชา มีทิวเขาบรรทัดเป็นเส้นกั้นเขตแดน ตั้งแต่ตอนกลางของจังหวัด มาตลอดด้านตะวันออก ระยะทางประมาณ 200 กิโลเมตร
จดจังหวัดจันทบุรี ที่แม่น้ำเวฬุเป็นเส้นกั้นเขตแดน
|
- การปกครอง
- จังหวัดตราดแบ่งการปกครองออกเป็น 5 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ คือ
อำเภอเมืองตราด อำเภอเขาสมิง อำเภอแหลมงอบ
อำเภอคลองใหญ่ อำเภอบ่อไร่ กิ่งอำเภอเกาะกูด
- การเดินทางสู่จังหวัดตราด
- ทางรถยนต์ จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางไปได้ 2 สาย คือ
- 1. สายบางนา-ตราด(เส้นทางหลวงหมายเลข 3) ผ่านชลบุรี-ระยอง-จันทบุรี-ตราด ระยะทางประมาณ
385 กิโลเมตร
- 2. สายบางนา-ชลบุรี-แกลง-จันทบุรี-ตราด ระยะทางประมาณ 315 กิโลเมตร
- ทางรถโดยสารประจำทาง สำหรับนักท่องเที่ยวที่ใช้บริการรถโดยสารประจำทาง
มีบริการรถโดยสารทั้งแบบธรรมดาและปรับอากาศออกจากสถานีขนส่งเอกมัย ถนนสุขุมวิท วันละหลายเที่ยว รายละเอียดติดต่อโดยตรงที่
สถานีขนส่งเอกมัย โทร.391-2504 (รถธรรมดา) และ 391-4164 (รถปรับอากาศ)
- สถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดตราด
- อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลแห่งที่สี่ มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 650 ตา-รางกิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะต่าง ๆ 47 เกาะเรียงรายตั้งแต่เขตอำเภอแหลมงอบ อำเภอเมืองและอำเภอคลองใหญ่ เกาะที่สำคัญที่สุด คือเกาะช้าง นอกจากนี้ยังมีเกาะอื่นๆ ที่ยังคงสภาพความสวยงามตามธรรมชาติ ได้แก่ เกาะคลุ้มเกาะเหลาใน เกาะง่าม เกาะไม้ซี้ใหญ่ เกาะหวายเกาะรัง เกาะกระ ฯลฯ ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2525
- เกาะช้าง ตั้งอยู่ในเขตอำเภอแหลมงอบเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ รองจาก
เกาะภูเก็ต มีเนื้อที่ประมาณ 429 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเขาสูง มีผาหินสลับซับซ้อน
ยอดเขาที่สูงที่สุดได้แก่ เขาสลักเพชร (สูง 744เมตร) รองลงไปได้แก่ เขาจอมประสาทและเขาหอม มีสภาพป่า
อุดมสมบูรณ์ส่วนใหญ่เป็นป่าดิบเขา อันเป็นบ่อเกิดของ
ต้นน้ำลำธาร ทำให้มีน้ำตกหลายแห่งบนเกาะ ชายหาดที่สวยงามอยู่ทางด้านตะวันตกของเกาะ บนเกาะช้างมีประชาชนอาศัยอยู่ถึง 8 หมู่บ้าน ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของ
เกาะช้าง ใกล้คลองธารมะยม ที่ด้านหน้ามีท่าเทียบเรือขนาดใหญ่ของอุทยานฯ
- การเดินทางไปเกาะช้าง
- จากแหลมงอบใช้เวลา 1-2 ชั่วโมง แล้วแต่จุดใกล้ไกลบนเกาะที่จะไปขึ้นฝั่ง สำหรับฝั่ง
ตะวันออกของเกาะสามารถเดินทางโดยทางเรือได้เกือบตลอดปี ส่วนด้านฝั่งตะวันตกของเกาะ
ประมาณเดือนพฤษภาคม-ตุลาคมจะมีลมมรสุมซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเดินเรือ
- จากตัวเมืองบริเวณหอนาฬิกาจังหวัดตราด มีรถสองแถวไปแหลมงอบระยะทาง 17 กิโลเมตร จาก
แหลมงอบเช่าเรือไปที่ทำการอุทยานฯ ระยะทาง 8 กิโลเมตร ใช้เวลา 45 นาที มีเรือโดยสารวิ่งระหว่างแหลม
งอบกับจุดต่างๆ บนเกาะช้างทุกวัน วันละ 1-2 เที่ยว หรือเช่าเหมาเรือ
ไป-กลับ ก็ได้
- สำหรับการดินทางภายในเกาะ ถนนที่มีอยู่เป็นทางเดินไม่สะดวกต่อการใช้ยานพาหนะ

- บริเวณยุทธนาวีเกาะช้าง จุดที่เกิดยุทธนาวีนี้ อยู่ทางตอนใต้ของเกาะช้าง ใกล้อ่าวสลักเพชร
เป็นบริเวณที่เกิดการสู้รบระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ในกรณีพิพาทเกี่ยวกับเขตแดนทางด้านตะวันออก
เมื่อวันที่ 17มกราคม 2484 โดยฝ่ายไทยสามารถขับไล่ข้าศึกให้ล่าถอยไปได้ แต่ต้องสูญเสีย
เรือรบหลวง 3 ลำ คือเรือรบหลวงสงขลา เรือรบหลวงชลบุรีและเรือรบหลวงธนบุรีและทหารอีก
จำนวนหนึ่ง ทุกปี ในวันที่ 17 มกราคม กองทัพเรือจึงถือเป็นวันทำบุญประจำปีเพื่ออุทิศส่วนกุศล
แก่ทหารเรือไทย ที่ได้สละชีวิตในการปฎิบัติหน้าที่เพื่อปกป้องแผ่นดินไทย
- งานเทศกาลและงานประเพณีประจำจังหวัดตราด
- งานวันตราดรำลึก เป็นงานประเพณีที่สำคัญงานหนึ่งของจังหวัด จัดขึ้นในวันที่ 23 มีนาคม
ของทุกปี ที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญที่
ฝรั่งเศสเข้ายึดครองเมืองตราด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำเนินวิเทโศบาย
ทางการเมืองระหว่างประเทศด้วยพระปรีชาสามารถ จนในที่สุดฝรั่งเศสยอมทำสัญญายกเมืองตราด
คืนให้แก่ประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2449 ชาวจังหวัดตราดจึงได้ร่วมกันจัดงานนี้ขึ้น ในงาน
จัดให้มีนิทรรศการ การประกวดธิดาตราดรำลึก การประกวดสุนัขหลังอาน การแสดงและ
การออกร้าน การจัดนิทรรศการทางประวัติศาสตร์ การจัดมหรสพต่างๆ
- งานวันระกำหวาน มีประมาณต้นเดือนมิถุนายน ในงานวันระกำหวาน มีการประกวด
ขบวนรถที่ประดับตกแต่งด้วยผลไม้นานาชนิด โดยเฉพาะระกำ และมีธิดาระกำหวานนั่งประจำ
รถด้วยขบวนแห่จะผ่านถนนสายสำคัญ และสิ้นสุดหน้าศาลากลางจังหวัด นอกจากนี้ยังมีการ
ประกวดสุนัขหลังอาน ประกวดผลไม้พืชผัก จัดตลาดนัดระกำหวาน นิทรรศการและการออกร้าน
ของหน่วยราชการ
เหตุด่วน, เหตุร้าย แจ้ง ศูนย์ควบคุมและสั่งการ พัน.สห.ทอ. โทร. 534-2117 - 9 ทอ. 2-2197 - 9
แจ้งเบาะแสแหล่งอบายมุข, ยาเสพติดให้โทษ, แหล่งการพนัน ผบ.พัน.สห.ทอ. โทร. 534-2113 โทรสาร. 523-7596
E-mail:sonortaf@ksc.th.com
|
|