[ Map of Thailand ]
dp dmbc kk mp
"สวัสดีครับ มาหาใครครับ กรุณารอสักครู่ครับ เชิญครับ ขอบคุณครับ"
สำนักงาน
ผู้บังคับทหารอากาศดอนเมือง

ประวัติ , ผังการจัด

ทำไม? จึงเข้มงวดเรื่องทำบัตรผ่าน
การขอบัตรผ่านเข้า-ออก เขต ทอ.
การขับขี่ยานพาหนะในเขต ทอ.
กำหนดการปิด-เปิด ช่องทาง ทอ.
การขอใบอนุญาตประเภทบุคคล
การใช้ยานพาหนะในเขต บก.ทอ.
กฎ ระเบียบ แบบธรรมเนียมทหาร
ส.ค.ส. 2541 พระราชทานสู่ชาวไทย
กองทัพอากาศของท่าน
Royal Thai Air Force Day
งบประมาณ กองทัพไทย ปี 41
นโยบาย ทอ. ปีงบประมาณ 41
ข่าวสารในกิจการของทหารไทย
มาร์ชสี่เหล่า และเพลงปลุกใจ
โครงการ สขว.ทอ.

โทรศัพท์ฉุกเฉิน ทอ.
แจ้งเหตุด่วน, เหตุร้าย 191
เพลิงไหม้ 192
รถพยาบาลฉุกเฉิน 194
อากาศยานอุบัติเหตุ 196
พัน.สห.ทอ. 2-2197 - 9
ศูนย์รวมข่าวดับเพลิง 2-2126,7
ศูนย์รับแจ้งเหตุ ทอ.ทุ่งสีกัน 3-0065
สถานีดับเพลิงย่อยทุ่งสีกัน 2-2129, 3-0083
ศูนย์โทรศัพท์กลาง ทอ. 523-6151, 523-6161


Supreme Command Headqurters
,
Royal Thai Armed Forces"

กรมธนารักษ์


การตรวจเยี่ยมสายวิทยาการเหล่าสารวัตรทหารอากาศ
โรงเรียนการบิน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม, ๑๕-๑๖ มิ.ย.๔๑

โรงเรียนการบิน (Flying Training School) เป็นหน่วยกำลังรบ ขึ้นตรงต่อกองบัญชาการยุทธทาง
อากาศ ตั้งอยู่ที่ อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ๑๒ ธันวาคม ๒๔๘๔ เป็นหน่วยงานที่สังกัด
ส่วนการศึกษา (Educational Group) มีผู้บัญชาการโรงเรียนการบิน (พล.อ.ต.) เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
มีภารกิจดำเนินการฝึกอบรม และอำนวยการฝึกศึกษาให้แก่ศิษย์การบิน
โรงเรียนการบิน มีหน่วยงานขึ้นตรง ๙ หน่วย หน่วยสมทบ ๓ หน่วย มีเครื่องบินแบบ บ.ฝ.๑๖
(CT-4 A/B) บ.ฝ.๑๙ (PC-9) และ ฮ.๘ (BELL-206) เป็นเครื่องบินฝึกบรรจุประจำการโดยมีเที่ยวบินในการ
ปฏิบัติภารกิจมากกว่า ๑๘,๐๐๐ เที่ยวบินต่อปี มากเป็นอันดับหนึ่งของกองทัพอากาศ
โรงเรียนการบิน มีภารกิจในการฝึกศิษย์การบิน ให้เป็นนักบินประจำกอง ตามนโยบายของ
กองทัพอากาศ ให้แก่ศิษย์การบินทั้งในส่วนของกองทัพอากาศและกองทัพเรือ ในหลักสูตรเกี่ยวกับ
ด้านการบิน ฝึกการยังชีพในป่า ผู้สำเร็จหลักสูตรจะได้รับการประดับเครื่องหมายความสามารถในการบิน ชั้นที่ ๓ ประกาศนียบัตรนักบินประจำกอง และใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรีจากกรมการบินพาณิชย์ นอกจากนี้โรงเรียนการบินฯ ยังได้ฝึกหลักสูตรการฝึกยังชีพในป่าให้กับ แพทย์ พยาบาล เวชศาสตร์การบิน นักเรียนจ่าอากาศ และลูกเสืออากาศของโรงเรียน ที่บรรจุหลักสูตรดังกล่าว

การตรวจเยี่ยมสายวิทยาการเหล่า สห. โรงเรียนการบิน ฯ

ช่องทางรักษาการณ์ทางเข้า โรงเรียนการบิน กำแพงแสน


น.อ.สมนึก เยี่ยมสถาน รอง ผบ.รร.การบิน บยอ. กล่าวต้อนรับคณะตรวจเยี่ยม ฯ


น.อ.สุธรรมพงษ์ สมรรคะบุตร รอง ผบ.ดม. หน.คณะตรวจเยี่ยม ฯ ปรึกษาข้อราชการกับ
น.อ.สมนึก ฯ รอง ผบ.รร.การบิน บยอ.


ชุดออกกำลังกายที่ทันสมัย ภายในห้องพักผ่อน ร้อย.ทสห.รร.การบิน บยอ.


โซ่ตรวนขนาดต่าง ๆ ที่ใช้จองจำผู้ต้องขังร้ายแรงของ รจ.รร.การบิน บยอ.


จังหวัดนครปฐม ตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลาง ห่างจากกรุงเทพฯ 58 กิโลเมตร เมืองนครปฐม เดิมตั้งอยู่ริมทะเล เป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย นครปฐมมีความเจริญมากในช่วงสมัยทวาราวดี เพราะเป็นเมืองราชธานีที่สำคัญ เป็นแหล่งอารยธรรมในสมัยนั้น ที่เผยแพร่เข้ามาจากประเทศอินเดีย ก็เข้ามาที่นครปฐมเป็นแหล่งแรก รวมทั้งพุทธศาสนา นครปฐมจึงเป็นศูนย์กลางของความเจริญ มีชนชาติต่างๆ ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นจำนวนมาก ต่อมาเกิดความแห้งแล้งขึ้นในเมืองนครปฐม เพราะกระแสน้ำ ที่ไหลผ่านตัวเมืองเปลี่ยนเส้นทาง ประชาชนจึงอพยพไปตั้งหลักแหล่งอยู่ริมน้ำ และสร้างเมืองใหม่ขึ้นชื่อ "นครชัยศรี" หรือ "ศิริชัย" นครปฐมจึงกลายเป็นเมืองร้างมาหลายร้อยปี จนกระทั่งในสมัยที่ พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่ทรงผนวชอยู่ได้เสด็จธุดงค์ไปพบพระปฐมเจดีย์เข้า ทรงเห็นว่าเป็นเจดีย์องค์ใหญ่ ไม่มีที่ไหนจะเทียบเท่าจึงได้ถวายพระพร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอให้ทรงปฏิสังขรณ์ไว้ เป็นเครื่องเชิดชูพระเกียรติ แต่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงโปรด ดำรัสว่าเป็นของอยู่ในป่ารก จะปฏิสังขรณ์ขึ้นก็ดูจะไม่ได้ประโยชน์นัก
ครั้ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ครองราชย์ จึงโปรดฯ ให้ก่อเจดีย์แบบลังกาครอบ เจดีย์องค์เดิมไว้ ทรงปฏิสังขรณ์สิ่งต่าง ๆ ในบริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ให้มีสภาพดี และโปรดฯ ให้ขุดคลอง เจดีย์บูชา เพื่อให้การคมนาคมสะดวกขึ้น ต่อมาถึงรัชกาลที่ 5 ได้เริ่มทำทางรถไฟสายใต้ แต่ตอนนั้นเมือง นครปฐมก็ยังเป็นป่ารกอยู่ดี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดฯ ให้ย้ายเมืองจากตำบลท่านา อำเภอนครชัยศรี มาตั้งที่บริเวณพระปฐมเจดีย์เหมือนที่เคยตั้งมาแล้วในสมัยโบราณ เมืองนครปฐมจึงตั้งอยู่ ต่อมาจนตราบเท่าทุกวันนี้
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดฯ ให้สร้างพระราชวังขึ้น ที่ตำบล สนามจันทร์ เป็นที่เสด็จแปรพระราชฐานและโปรดฯ ให้ตัดถนนเพิ่มขึ้นอีกหลายสาย โปรดฯ ให้สร้าง สะพานใหญ่ข้ามคลองเจดีย์บูชาขึ้น ทรงพระราชทานนามว่า "สะพานเจริญศรัทธา" ต่อมาได้โปรดฯ ให้ เปลี่ยนชื่อเมืองนครชัยศรีเป็น "นครปฐม" แต่ชื่อมณฑลยังคงเรียกว่า "มณฑลนครชัยศรี" อยู่จนกระทั่ง ยุบเลิกในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปัจจุบันนครชัยศรีมีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งขึ้นอยู่กับนครปฐม
พื้นที่เป็นที่ราบลุ่มโดยทั่วไป ไม่มีภูเขา มีที่ดอนเฉพาะทางตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอเมือง และ อำเภอกำแพงแสนเท่านั้น ส่วนที่ราบลุ่มบริเวณลุ่มน้ำท่าจีน (แม่น้ำนครชัยศรี) ได้แก่ท้องที่อำเภอนครชัยศรี อำเภอสามพราน และอำเภอบางเลน เป็นที่อุดมสมบูรณ์มีการประกอบการเกษตรและเลี้ยงสัตว์
คำขวัญประจำจังหวัดนครปฐม "ส้มโอหวาน ข้าวสารขาว ลูกสาวงาม ข้าวหลามอร่อย"
อาณาเขต
ทิศเหนือ
ทิศใต้
ทิศตะวันออก
ทิศตะวันตก

จดจังหวัดสุพรรณบุรี
จดจังหวัดสมุทรสาคร
จดจังหวัดนนทบุรี และกรุงเทพฯ
จดจังหวัดราชบุรี
การปกครอง
จังหวัดนครปฐมมีเนื้อที่ 2,168.327 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 6 อำเภอ และ 1กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองนครปฐม อำเภอกำแพงแสน อำเภอนครชัยศรี อำเภอบางเลน อำเภอสามพราน อำเภอดอนตูม กิ่งอำเภอพุทธมณฑล
การเดินทางสู่จังหวัดนครปฐม
ทางรถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางสายเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4 ) ถึงนครปฐม หรือจะใช้เส้นทาง สายใหม่ กรุงเทพฯ - พุทธมณฑล - อ้อมน้อย - นครปฐม
ทางรถโดยสารประจำทาง บริษัทขนส่ง จำกัด เปิดบริการเดินรถกรุงเทพฯ-นครปฐม ทุกวัน รถออกทุก ๆ 10 นาที รายละเอียด ติดต่อสอบถามได้ที่ โทร. 4345557 (รถธรรมดา) และโทร. 4351199, 4351200 (รถปรับอากาศ)
ทางรถไฟ มีรถไฟออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ และสถานีรถไฟธนบุรีทุกวัน รายละเอียดติดต่อหน่วยบริการ เดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 2237010, 2237020

อำเภอกำแพงแสนเป็นเมืองโบราณเก่าแก่ อยู่ทางทิศเหนือห่างจากตัวเมืองประมาณ ๒๐ กิโลเมตร
มีถนนตัดไปถึงซากกำแพงดิน คูเมืองยังคงอยู่ชัดเจน มีผู้ขุดพบพระพุทธรูปและสิ่งก่อสร้างหลายชิ้น เป็นแบบ
ทวาราวดีทั้งสิ้น แต่ฝีมือไม่ปราณีตเหมือนที่ขุดได้ในนครปฐม

สถานที่ท่องเที่ยวของ จังหวัดนครปฐม


พระปฐมเจดีย์
วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร เป็นที่ประดิษฐาน
องค์พระปฐมเจดีย์ ที่ใหญ่และสูงที่สุดของไทย องค์พระปฐมเจดีย์เป็นเจดีย์ที่เก่าแก่มากที่สุด จังหวัดนครปฐม ได้ใช้ตราพระปฐมเจดีย์เป็น ตราประจำจังหวัด พระปฐมเจดีย์ที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้เป็นองค์ที่สร้างขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ 4เมื่อ พ.ศ. 2396 โปรดเกล้าให้ครอบองค์เดิมที่ชำรุดหักพัง-ลง การก่อสร้างเสร็จเรียบร้อย ในสมัยรัชกาลที่ 5 ปี พ.ศ.2413 มีความสูง 3 เส้น 1 คืบ 10 นิ้ว ฐานวัดโดยรอบได้5 เส้น 17 วา 3 ศอก ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ทรงบูรณะวัดพระปฐมเจดีย์ให้สง่างามยิ่งขึ้น และถือว่าวัดพระปฐมเจดีย์เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 6


พระศรีศากยทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์
พุทธมณฑล เป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา ตั้งอยู่ที่ตำบลศาลายา อำเภอนครชัยศรี และตำบล บางระทึก อำเภอสามพราน มีพื้นที่2,500 ไร่ จากกรุงเทพฯไปตามถนนเพชรเกษมถึง ก.ม.ที่ 22 เลี้ยวขวาตาม
ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ประมาณ 8 กิโลเมตร หรือเดินทางไปตามถนนสาย ปิ่นเกล้าพุทธมณฑลระยะทาง
19 กิโลเมตร พุทธมณฑลเป็นสถานที่ซึ่งรัฐบาล และประชา-ชนชาวไทยร่วมใจกันสร้างขึ้น ในปี พ.ศ. 2500
เนื่องในโอกาสที่พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาได้ถึง 2,500 ปี บริเวณจุดศูนย์กลางของพุทธมณฑล เป็นที่
ประดิษฐานพระพุทธรูปปางลีลา ซึ่งเป็นพระประธานของพุทธมณฑล มีความสูง 2,500 กระเบียด
(ประมาณ 13.75 เมตร) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานนามว่า "พระศรีศากยทศพลญาณ-
ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์" รอบองค์พระประธานเป็นสถานที่จำลองของสังเวชนียสถาน 4 ตำบล คือ ตำบลอันเป็นที่ ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน นอกจากนี้ยังมีศาสนสถาน
ที่สำคัญที่อื่น ๆได้แก่ พระวิหารพุทธมณฑล ตำหนักสมเด็จพระสังฆราช และที่พำนักสงฆ์อาคันตุกะ
หอสมุด พิพิธภัณฑ์พุทธศาสนา หอกลอง และสวนพันธุ์ไม้ต่าง ๆ

พระราชวังสนามจันทร์ ห่างจากองค์พระปฐมเจดีย์ ไปทางทิศตะวันตกราว 2 กิโลเมตร มีพื้นที่ 888 ไร่ 3 งาน 24 ตารางวา พระราชวังแห่งนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตั้งแต่ยังทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งมี มูลเหตุจูงใจมาจากการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ ที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพอพระราชหฤทัยเมืองนครปฐมเป็นอย่างยิ่ง ทรงเห็นว่าเป็นเมืองที่เหมาะสมสำหรับประทับพักผ่อน เนื่องจากมีภูมิประเทศสวยงามร่มเย็น
พระราชวังสนามจันทร์ เริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2450 มีหลวงพิทักษ์มานพ (น้อย ศิลปี) ซึ่งต่อมาได้ เลื่อนยศเป็นพระยาศิลป์ประสิทธิ์ เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างพระที่นั่ง ซึ่งสร้างแล้วเสร็จและพระราชทาน นามตามประกาศ ลงวันที่ 27สิงหาคม 2454 มีเพียง 2 พระที่นั่ง ได้แก่ พระที่นั่งพิมานปฐม และพระที่นั่ง อภิรมย์ฤดี ต่อมาจึงสร้างเพิ่มเติมจนมีเท่าที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน แม้จะสร้างพระที่นั่งต่าง ๆ เสร็จสมบูรณ์ ตามพระราชวังแต่เก่าก่อน เพิ่งจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำพิธียกพระมหาเศวตฉัตรขึ้นประดิษฐาน เหนือพระแท่นรัตนสิงหาสน์ ภายในพระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2466 เวลา 4 นาฬิกา 47 นาที 51 วินาที พระราชวังสนามจันทร์ มีอาณาเขตกว้างขวาง ประกอบด้วยสนามใหญ่อยู่กลาง มีถนนโอบเป็นวงโดยรอบมีคูน้ำล้อมอยู่ชั้นนอก ส่วนพระที่นั่งต่าง ๆ นั้นรวมกันอยู่ส่วนกลางของพระราชวัง เท่าที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันได้แก่
พระที่นั่งพิมานปฐม เป็นพระที่นั่งองค์แรกที่สร้างขึ้นในพระราชวังสนามจันทร์ ตัวอาคารก่ออิฐ- ถือปูน เป็นตึก 2 ชั้น แบบตะวันตก ทรงใช้เป็นที่ประทับตั้งแต่ยังไม่ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ ห้องต่าง ๆ บนพระที่นั่งมี ห้องบรรทม ห้องสรง ห้องเสวย ห้องภูษา ฯลฯ และในพระที่นั่งพิมานปฐมนี้เอง ที่พระบาท- สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ประทับทอดพระเนตร เห็นปาฏิหาริย์ขององค์พระปฐมเจดีย์บนแท่น ไม้สักมีขนาด 2 เมตร ชื่อว่า "พระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนย์ ์" ขณะนี้ทางการได้รื้อไปตั้งไว้ที่หน้าพระที่นั่ง พุทไธสวรรย์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ส่วนพระที่นั่งพิมานปฐมนั้น ในปัจจุบันใช้เป็นสวนหนึ่งของ ศาลากลางจังหวัดนครปฐม
พระที่นั่งอภิรมย์ฤดี เป็นตึก 2 ชั้น อยู่ด้านใต้ของพระที่นั่งพิมานปฐม ขณะนี้ใช้เป็นที่ทำการของ ศาลากลางจังหวัดนครปฐม
พระที่นั่งวัชรีรมยา เป็นตึก 2 ชั้น สร้างงดงามมากด้วยสถาปัตยกรรมแบบไทย หลังคาซ้อน เช่น ยอดปราสาท มุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีงดงาม มีช่อฟ้าใบระกา นาคสะดุ้ง หางหงส์ครบถ้วน พระที่นั่ง- องค์นี้ใช้เป็นที่บรรทม เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของศาลากลางจังหวัด
พระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์ เป็นศาลาโถงรูปทรงไทยใหญ่กว้างขวาง ยกสูงจากพื้นดินประมาณ หนึ่งเมตรและมีอัฒจันทร์ลง 2 ข้าง พระที่นั่งองค์นี้อยู่ถัดจากพระที่นั่งวัชรีรมยา เชื่อมต่อกันด้วยพระทวาร แต่เดิมใช้เป็นท้องพระโรงเวลาเสด็จออกขุนนาง รวมทั้งเป็นที่ประชุมข้าราชการและเหล่าเสือป่า นอกจากนี้ ยังใช้เป็นโรงละครสำหรับแสดงโขนอีกด้วย ที่มีลักษณะพิเศษก็คือ ตัวแสดงจะออกมาปรากฏกายภาย- นอกฉากบนเฉลียงถึง 3 ด้าน มิใช่แสดงอยู่เพียงบนเวที โรงละครที่มีลักษณะดังกล่าวมีอีก 2 แห่ง คือ โรงละครสวนมิสกวันและที่หอประชุมโรงเรียนวชิราวุธ ปัจจุบันพระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์ใช้เป็นหอประ- ชุมของจังหวัดนครปฐม หรือใช้ในพิธีต่าง ๆ ของทางราชการ


พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์
พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ อยู่ถัดไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นตึก 2 ชั้น แบบตะวันตก ฉาบสีไข่ไก่ หลังคามุงกระเบื้องสีแดง พระตำหนักหลังนี้ใช้เป็นที่ประทับเวลาเสือป่าเข้าประจำกอง หรือ ในกิจพิธีเกี่ยวกับเสือป่า
พระตำหนักมารีราชรัตนบัลลังก์ เป็นเรือนไม้ 2 ชั้น ทาสีแดง อยู่คนละฝั่งกับพระที่นั่งชาลีมงคล อาสน์ พระตำหนักทั้งสองนี้เชื่อมติดต่อถึงกันด้วยทางเดินมีลักษณะคล้ายสะพาน แต่มีหลังคา มีฝา และ หน้าต่างทอดยาว จากชั้นบน
พระตำหนักทับแก้ว เป็นตึกหลังเล็กซึ่งเคยเป็นที่ประทับในฤดูหนาว ปัจจุบันได้ปรับปรุงและ ตกแต่งสวยงาม ใช้เป็นบ้านพักของปลัดจังหวัดนครปฐม ภายในอาคารยังมีเตาผิงสำหรับให้ความอบอุ่น และมีภาพเขียนขาวดำ ของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว บนแผ่นหินอ่อนสีขาวที่ผนังห้อง อนึ่งที่ดินบริเวณเบื้องหลังทับแก้วประมาณ 450 ไร่ ได้กลายเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยศิลปากร
พระตำหนักทับขวัญ เป็นเรือนไม้สักแบบหลังคามุงจาก อยู่ตรงข้ามกับทับแก้วคนละฝั่งถนน ห่าง จากพระตำหนักมารีราชรัตนบัลลังก์ไปเล็กน้อย เรือนไม้หลังนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อรักษาศิลปะไทยโบราณไว้ นอกจากนี้ ยังใช้สำหรับบำเพ็ญพระราชกุศล และบาง ครั้งก็จัดให้มีการแสดงของไทยเดิม
เทวาลัยคเณศวร์ หรือบางทีเรียกกันว่า ศาลพระพิฆเณศวร์ สร้างขึ้นให้เป็นที่สถิตของพระคเณศวร์ ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งศิลปะ ศาลนี้ตั้งอยู่กลางสนามใหญ่หน้าพระที่นั่ง นับเป็นศูนย์กลางของพระราชวังสนาม จันทร์มีผู้ศรัทธานับถือกันมาก จนเป็นสัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์ของพระราชวังสนามจันทร์


อนุสาวรีย์ย่าเหล
อนุสาวรีย์ย่าเหล เป็นรูปหล่อด้วยโลหะขนาดเท่าตัวจริงของสุนัข ซึ่งมีความผูกพันใกล้ชิดกับ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นอย่างยิ่ง ย่าเหลเป็นสุนัขพันธุ์ทางเกิดในเรือนจำ จังหวัดนครปฐม พระบาทสม-เด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพบเข้าเมื่อครั้งเสด็จฯ ตรวจเรือนจำ จึงนับว่าเป็นโชคของย่าเหลที่ทรงพอพระราชหฤทัย และทรงเอาย่าเหลมาเลี้ยงไว้ในราชสำนัก ย่าเหล เป็นสุนัขที่เฉลียวฉลาด และจงรักภักดีต่อพระองค์ท่านจนเป็นที่โปรดปรานมาก เป็นเหตุให้มีผู้อิจฉาริษยาและถูกยิงตายในที่สุด พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโศกเศร้าอาลัยย่าเหลมาก โปรดเกล้าฯให้หล่อรูปย่า-เหลด้วยทองแดง ตั้งไว้หน้าพระตำหนักชา-ลีมงคลอาสน์ และทรงพระราชนิพนธ์กลอนไว้อาลัยย่าเหลไว้ที่แท่นใต้รูปนั้นด้วย
นอกจากนี้แล้ว ภายในพระราชวังสนามจันทร์ยังมีบ้านพักข้าราชบริพารทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ที่ ตามเสด็จเสมอในครั้งก่อน บ้านพักเหล่านี้ บางหลังก็ชำรุดทรุดโทรมมาก แต่หลายหลังยังอยู่ในสภาพดี ที่ เห็นได้ก็คือ บ้านพักเจ้าพระยารามราฆพ ผู้สำเร็จราชการมหาดเล็ก ซึ่งครั้งนั้นเรียกว่า " ทับเจริญ" ปัจจุบัน นี้ได้ใช้เป็นสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม

พระราชวังสนามจันทร์ เป็นสถานที่ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรง โปรดมากเป็นพิเศษ จะเห็นได้จากการที่เสด็จฯแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระราชวังแห่งนี้อยู่ เนือง ๆ โดยเสด็จแปรพระราชฐานให้ตรงกับฤดูการซ้อมรบของพวกเสือป่า พระองค์จึงทรงถือโอกาสออก ตรวจตราและบัญชาการซ้อมรบของเหล่าเสือป่าด้วยพระองค์เองเสมอ ปัจจุบันก็ยังมีอาคารซึ่งปลูกสร้าง ขึ้นเพื่อกิจการของเสือป่าเหลืออยู่ให้เห็น เช่น อาคารที่พักของเสือป่าม้าหลวง และเสือป่าพรานหลวงกับ โรงพยาบาลเสือป่า เป็นต้น
เหตุด่วน, เหตุร้าย แง ศูนย์ควบคุมและสั่งการ พัน.สห.ทอ. โทร. 534-2117 - 9 ทอ. 2-2197 - 9
แจ้งเบาะแสแหล่งอบายมุข, ยาเสพติดให้โทษ, แหล่งการพนัน ผบ.พัน.สห.ทอ. โทร. 534-2113 โทรสาร. 523-7596
E-mail:dmbc4@ksc.th.com