[ Map of Thailand ]
dp dmbc kk mp
"สวัสดีครับ มาหาใครครับ กรุณารอสักครู่ครับ เชิญครับ ขอบคุณครับ"
สำนักงาน
ผู้บังคับทหารอากาศดอนเมือง

ประวัติ , ผังการจัด

ทำไม? จึงเข้มงวดเรื่องทำบัตรผ่าน
การขอบัตรผ่านเข้า-ออก เขต ทอ.
การขับขี่ยานพาหนะในเขต ทอ.
กำหนดการปิด-เปิด ช่องทาง ทอ.
การขอใบอนุญาตประเภทบุคคล
การใช้ยานพาหนะในเขต บก.ทอ.
กฎ ระเบียบ แบบธรรมเนียมทหาร
ส.ค.ส. 2541 พระราชทานสู่ชาวไทย
กองทัพอากาศของท่าน
Royal Thai Air Force Day
งบประมาณ กองทัพไทย ปี 41
นโยบาย ทอ. ปีงบประมาณ 41
ข่าวสารในกิจการของทหารไทย
มาร์ชสี่เหล่า และเพลงปลุกใจ
โครงการ สขว.ทอ.

โทรศัพท์ฉุกเฉิน ทอ.
แจ้งเหตุด่วน, เหตุร้าย 191
เพลิงไหม้ 192
รถพยาบาลฉุกเฉิน 194
อากาศยานอุบัติเหตุ 196
พัน.สห.ทอ. 2-2197 - 9
ศูนย์รวมข่าวดับเพลิง 2-2126,7
ศูนย์รับแจ้งเหตุ ทอ.ทุ่งสีกัน 3-0065
สถานีดับเพลิงย่อยทุ่งสีกัน 2-2129, 3-0083
ศูนย์โทรศัพท์กลาง ทอ. 523-6151, 523-6161


Supreme Command Headqurters
,
Royal Thai Armed Forces"

กรมธนารักษ์


การตรวจเยี่ยมสายวิทยาการเหล่าสารวัตรทหารอากาศ
กองบิน ๒ กองพลบินที่ ๑ โคกกะเทียม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี, เมื่อ ๙ - ๑๐ มิ.ย.๔๑

เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๔๖๒ กองทัพบกมีคำสั่งให้จัดตั้งกองบินใหญ่ทหารบกขึ้น โดยมี
ร้อยเอก เหม ยศธร เป็นผู้บังคับการ (จึงถือเอาวันนี้เป็น วันคล้ายวันสถาปนา กองบิน ๒ กองพลบินที่ ๑ กองบัญชาการยุทธทางอากาศ)
ต่อมาปี พ.ศ.๒๔๖๕ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กองบินใหญ่ที่ ๒ พ.ศ.๒๔๖๙ เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น กองบินน้อยที่ ๑ ของกองบินใหญ่ที่ ๒ มีฝูงบินประกอบด้วย ฝูงศึกษา, ฝูงบินที่ ๑๑ และฝูงบินที่ ๑๒ ได้ทำการฝึกบินในเวลากลางคืนเป็นครั้งแรกของประเทศไทย
๑๒ ตุลาคม ๒๔๗๔ กรมอากาศยานให้ กองบินน้อยที่ ๑ ของกองบินใหญ่ที่ ๒ จัดเครื่องบิน เบรเกต์ ๓ เครื่อง บินถวายการต้อนรับในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี ได้เสด็จ กลับจากต่างประเทศเข้าสู่พระนคร จากนั้นได้เปลี่ยนชื่อเป็น กองบินใหญ่ที่ ๒ ปี พ.ศ.๒๔๘๑ จอมพล ป. พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ พลเอกพระเวชยันต์รังสฤษดิ์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้เล็งเห็นความจำเป็นในอนาคต จึงให้ย้ายที่ทำการมาอยู่ที่สร้างใหม่ ณ โคกกะเทียม อ.เมือง จ.ลพบุรี
เนื่องจากการย้ายที่ตั้งใหม่มาอยู่จังหวัดลพบุรี ในปี พ.ศ.๒๔๘๑ นั้น ตรงกับปีฉลู ซึ่งมีสัญลักษณ์ประจำราศีเป็นรูป วัว จึงกำหนดให้ใช้ "วัวกระทิง" เป็นสัญลักษณ์ของกองบินน้อยที่ ๒ ตั้งแต่นั้นมา
กองบิน ๒ ฯ เป็นกองบินใหญ่ ประกอบด้วย ๓ ฝูงบิน คือ
ฝูงบิน ๒๐๑ (ฮ.๔ ก) (SIKORSKY) มีภารกิจ การบินลำเลียงทางอากาศ, การบินค้นหาและช่วยชีวิต, การปฏิบัติการจิตวิทยาทางอากาศ
ฝูงบิน ๒๐๒ (ฮ.๙) (SUPER PUMA) มีภารกิจ รับ-ส่งเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ, สมเด็จพระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์, รับ-ส่งบุคคลสำคัญ
ฝูงบิน ๒๐๓ (ฮ.๖ ก, ฮ.๖ ข, ฮ.๖ ค.) มีภารกิจ รับ-ส่งเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ, สมเด็จพระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์, บินค้นหาและช่วยชีวิต, สนับสนุนภารกิจ กอ.รมน.
การตรวจเยี่ยมสายวิทยาการ สห. กองบิน ๒ กองพลบินที่ ๑ บยอ.

น.อ.ชูศักดิ์ วิบูลชัย ผบ.บน.๒ ฯ กล่าวต้อนรับ คณะสายวิทยาการ สห.
โดยมี น.อ.วรวิทย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รอง ผบ.ดม (2) เป็นหัวหน้าคณะฯ เมื่อวันที่ ๙ มิ.ย.41


การบรรยายสรุปภารกิจ ร้อย.ทสห.บน.๒ ฯ ภายในห้องประชุม กองบิน ๒ กองพลบินที่ ๑ ฯ


ภูมิสถาปัตย์หน้า บก.ร้อย.ทสห.บน.๒ ฯ


คำขวัญที่เรือนนอน ร้อย.ทสห.ฯ "สวัสดีครับ มาหาใครครับ กรุณารอสักครู่ครับ เชิญครับ ขอบคุณครับ"
ที่ สห. ทุกนายจะต้องกล่าวคำนี้ให้ขึ้นใจ


การผลิตตุ๊กตาประดับสวน, กระถางปลูกต้นไม้, โต๊ะหินขัด ฯลฯ จำหน่าย โดยฝีมือผู้ต้องขัง รจ.ทอ.บน.๒
และไม่แพงอย่างที่นึก ครับผม


การฝึกการเกษตรกรรมให้กับผู้ต้องโทษ และจำหน่ายแก่ข้าราชการและบุคคลทั่วไป


ผบ.บน.๒, รอง ผบ.บน.๒, ผบ.ร้อย ทสห. และ รอง ผบ.ร้อย.ทสห. ร่วมปรึกษาหารือและฟังสรุปข้อเสนอแนะจากคณะของ น.อ.วรวิทย์ ฯ


จังหวัดลพบุรี
ลพบุรีอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 153 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมด 6,199 ตารางกิโลเมตร การปกครอง จังหวัดลพบุรีแบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ 3 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองลพบุรี อำเภอโคกสำโรง อำเภอบ้านหมี่ อำเภอชัยบาดาล อำเภอท่าวุ้ง อำเภอพัฒนานิคม อำเภอท่าหลวง อำเภอสระโบสถ์ กิ่งอำเภอโคกเจริญ กิ่งอำเภอลำสนธิ กิ่งอำเภอหนองม่วง
มีอาณาเขตติดต่อจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้
อาณาเขต
ทิศเหนือ
ทิศใต้
ทิศตะวันออก
ทิศตะวันตก

จดจังหวัดเพชรบูรณ์ และนครสวรรค์
จดจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และสระบุรี
จดจังหวัดนครราชสีมา และชัยภูมิ
จดจังหวัดสิงห์บุรี อ่างทอง และนครสวรรค์
คำขวัญประจำจังหวัดลพบุรี "วังนารายณ์คู่บ้าน ศาลพระกาฬคู่เมือง ปรางค์สามยอดลือเลื่อง เมืองแห่งดินสอพอง แผ่นดินทองสมเด็จพระนารายณ์"

สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดลพบุรี


พระปรางค์สามยอด
พระปรางค์สามยอด ตั้งอยู่บนเนินดินด้านทิศตะวันตกของทางรถไฟใกล้กับศาลพระกาฬ ตำบล ท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี มีลักษณะเป็นปรางค์เรียงต่อกัน 3 องค์ มีฉนวนทางเดินเชื่อมติดต่อกัน พระปรางค์- สามยอดเป็นศิลปะเขมรแบบบายน ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 สร้างด้วยศิลาแลง หินทรายและตกแต่ง ลวดลายปูนปั้นที่สวยงาม ตรงซุ้มประตูเดิมคงมีทับหลัง แต่ที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน คือ เสาประดับกรอบประตู แกะสลักเป็นรูปฤาษีนั่งชันเข่าในซุ้มเรือนแก้ว ซึ่งเป็นแบบเฉพาะของเสาประดับกรอบประตูศิลปะเขมร แบบบายนปรางค์องค์กลางมีฐาน แต่เดิมเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปและมีเพดานไม้เขียนลวดลายเป็น
ดอกจันทน์สีแดง
ด้านหน้าทางทิศตะวันออก มีวิหารสร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประดิษฐาน พระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่ปางสมาธิที่สมบูรณ์ดี เป็นศิลปะแบบสมัยอยุธยาตอนต้น อายุราวพุทธศตวรรษ
ที่ 20
พระปรางค์สามยอดนี้ มีผู้สันนิษฐานว่า คงสร้างขึ้นในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ปรางค์องค์กลาง ประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรก องค์ขวาประดิษฐานรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร องค์ซ้ายประดิษฐานรูปนางปรัชญาปารมิตาหรือนางปัญญาบารมี

ศาลพระกาฬ ตั้งอยู่ใกล้สถานีรถไฟ และพระปรางค์สามยอด ตำบลท่าหิน เป็นเทวสถานเก่าของ ขอม สร้างด้วยศิลาแลงเรียงซ้อนกันเป็นฐานสูง จึงเรียกกันมาแต่ก่อนอีกชื่อหนึ่งว่า "ศาลสูง" ที่ทับหลังสลัก เป็นรูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ทำด้วยศิลาทราย 1 แผ่น อายุราวพุทธศตวรรษที่ 15 วางอยู่ติดฝาผนังวิหาร หลังเล็ก ชั้นบน ณ ที่นี่ได้พบหลักศิลาจารึกแปดเหลี่ยม จารึกอักษรมอญโบราณ
ส่วนด้านหน้าเป็นศาลที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2496 โดยสร้างทับบนรากฐานเดิมที่สร้างไว้ในรัชสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภายในวิหารประดิษฐานพระนารายณ์ยืน ทำด้วยศิลา 2 องค์ องค์เล็กเป็นแบบ เทวรูปเก่าในประเทศไทย องค์ใหญ่เป็นประติมากรรมแบบลพบุรี แต่พระเศียรเดิมหายไป ภายหลังมีผู้นำ
พระเศียรพระพุทธรูปศิลาทรายสมัยอยุธยามาสวมต่อไว้ เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป
ในบริเวณรอบศาลพระกาฬร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ จึงเป็นที่อยู่อาศัยของฝูงลิงจำนวนมาก ซึ่งกลาย เป็นสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของจังหวัดลพบุรี มีร้านขายของที่ระลึก และอาหารสำหรับลิง ตลอดจน ศาลาพักผ่อนมีถนนตัดรอบทำให้โบราณสถานมีลักษณะเป็นวงเวียน


สระแก้ว
สระแก้ว ตั้งอยู่กลางวงเวียนศรีสุริโยทัยหรือวงเวียนสระแก้ว ถนนนารายณ์มหาราช อำเภอเมืองลพบุรี สระแก้วเก่าตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของโรงภาพยนต์ทหารบก เป็นสระน้ำโบราณ ปัจจุบันตื้นเขินและได้ทำการขุดลอกใหม่ อยู่ในบริเวณสวนสัตว์ลพบุรี
สระแก้วใหม่ ตั้งอยู่กลางวงเวียนศรีสุริโยทัย เป็นสระน้ำขนาดใหญ่ ขุดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๑-๒๔๘๒ ทางการได้สร้างรูปคล้ายพานขนาดใหญ่ลงตรงกลางสระ มีรูปคล้ายเทียนตั้งอยู่บนกลางพาน ประดับเครื่องหมายประจำกระทรวงต่าง ๆ รอบขอบพาน มีสะพานคอนกรีตเชื่อมพานกลางสระและ วงเวียนโดยรอบทั้ง ๔ ทิศ มีที่นั่งพักโดยรอบ ที่เชิงสะพานมีรูปคชสีห์หมอบเป็นคู่ ๆ จำนวน ๔ คู่

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ตั้งอยู่หลังสถานีรถไฟลพบุรี ในอำเภอเมืองลพบุรี วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ มีเนื้อที่ประมาณ 20 ไร่ เป็นวัดใหญ่และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากวัดหนึ่ง มีโบราณสถานที่สำคัญ ต่าง ๆ มากมาย พระปรางค์องค์ใหญ่ตั้งอยู่ประมาณกึ่งกลางของพื้นที่ มีเจดีย์และปรางค์องค์เล็ก ๆ สร้างล้อม รอบมีระเบียงคดถึงสองชั้น
วัดนี้เริ่มสร้างตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด แต่ในสมัยอยุธยาปรากฏหลักฐานว่าสมเด็จ พระมหาจักรพรรดิ ได้ทรงปฏิสังขรณ์คราหนึ่ง และรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ ได้ทรงปฏิสังขรณ์อีกครั้ง หนึ่ง แต่จากการศึกษาศิลปะสถาปัตยกรรม และศิลปะประติมากรรม ที่ปรากฏในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พอจะกำหนดอายุโบราณสถานที่ต่าง ๆ ได้
ปรางค์ประธานองค์ใหญ่ ก่อด้วยศิลาแลงตั้งแต่ฐานถึงหน้าบัน เหนือขึ้นไปเป็นอิฐจนถึงยอด ตอน หน้าปรางค์มีมุขยื่นออกมา มีผู้กำหนดอายุไว้ว่า พระปรางค์ได้สร้างขึ้นสองรุ่น รุ่นแรกสร้างราว พ.ศ. 1600 แล้วพังเหลือแต่ฐาน ภายหลังจึงสร้างองค์ปรางค์ที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ขึ้นเป็นรุ่นที่สอง ในราว พ.ศ. 1800 เป็น ปรางค์ที่ผิดไปจากปรางค์เขมร แต่คงศิลปะเขมรแบบบายนอยู่ ที่เห็นชัดคือ ลวดลายปูนปั้นตกแต่งองค์ ปรางค์ซึ่งทำให้เข้าใจว่าปรางค์องค์ที่เห็น ได้สร้างขึ้นเมื่อคนไทยมีอำนาจในภูมิภาคนี้แล้ว
ปรางค์องค์เล็ก ที่มีภาพเขียนสีภายใน เป็นปรางค์ที่แตกต่างจากปรางค์แบบอยุธยาตอนต้น คือ ยัง ไม่ทำเป็นปรางค์รูปทรงฝักข้าวโพด และยอดยังคงแกะสลักเป็นบัวไม่ได้เป็นนภศูลย์ เข้าใจว่าคงมีอายุรุ่น เดียวกับปรางค์ประธานองค์ใหญ่ คือ พุทธศตวรรษที่ 18 เช่นกัน ภายในปรางค์มีรูปเขียนด้วยสีฝุ่นเป็น รูปพระพุทธเจ้าและพระสาวก เป็นจิตรกรรมฝาผนังยุคต้นที่น่าสนใจมาก
วิหารเก้าห้อง และวิหารหรือโบสถ์อื่น ๆ อีก 2 หลัง เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมแบบสมเด็จ พระนารายณ์ฯ โดยเฉพาะ คือ ลักษณะวงโค้งตรงประตูและหน้าต่าง ทำเป็นแบบโค้งแหลมและโค้งมน ซึ่ง ได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมยุโรป
เจดีย์รายและปรางค์ ที่อยู่ภายนอกเขตระเบียงคดชั้นนอก เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอยุธยา ตอนต้น ส่วนเจดีย์ตั้งอยู่ระหว่างระเบียงคดชั้นในและชั้นนอก เช่น เจดีย์มีบัวปากฐาน เป็นรูปกลีบบัวรอบ องค์ระฆัง หรือเจดีย์ที่มีรูปทรงเป็นฐานสิงห์ เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง เป็นเจดีย์แบบอยุธยาตอนปลาย ที่เข้าใจ ว่าคงสร้างขึ้นพร้อมกับการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุครั้งใหญ่ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ
กล่าวได้ว่าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ได้มีการก่อสร้างซ่อมแซมเพิ่มเติมซ่อมกันหลายครั้ง นับตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา และได้รับการสร้างเสริมครั้งใหญ่ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ เข้าใจว่า หลังจากเมืองลพบุรีลดความสำคัญลงแล้ว วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นวัดใหญ่ ไม่มีผู้ใดดูแลรักษา จึงต้องถูก ทิ้งร้างมาจนปัจจุบัน

อนุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตั้งอยู่กลางวงเวียนเทพสตรีใกล้ศาลากลางจังหวัดลพบุรี
บริเวณหัวถนนนารายณ์มหาราชก่อนเข้าสู่ย่านตัวเมือง อนุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นรูปปั้น
ในท่าประทับยืนผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงดาบ ก้าวพระบาทซ้ายออกมา
ข้างหน้าเล็กน้อย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2509 ที่ฐาน
อนุสาวรีย์ได้จารึกข้อความว่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราชพระมหากษัตริย์ไทยผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่ง ทรง
พระราชสมภพ ณ กรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2175 สวรรคต ณ เมืองลพบุรี เมื่อ พ.ศ.2231 พระองค์ทรงมี
พระบรมราชกฤษดาภินิหารเป็นอย่างยิ่ง ในรัชสมัยของพระองค์ วรรณคดีและศิลปะของไทยได้เจริญถึงขีด
สูงสุด มีสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศอย่างกว้างขวาง เกียรติคุณของประเทศไทยแผ่ไพศาลเป็นอย่างยิ่ง
ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ประชาชนชาวไทยได้ร่วมกันสร้างและประดิษฐานอนุสาวรีย์นี้ไว้
เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509

เขาวงพระจันทร์ อยู่ห่างจากตัวอำเภอเมืองลพบุรีประมาณ 28 กิโลเมตร ตามเส้นทางถนน พหลโยธิน ตรงหลักกิโลเมตรที่ 178 มีทางแยกเลี้ยวขวาอีก 5 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในเขตตำบลห้วยโป่ง อำเภอโคกสำโรง
บริเวณเชิงเขาจะเป็นที่ตั้งของวัดเขาวงพระจันทร์ จะมีทางบันไดไปสู่ยอดเขาประมาณ 3,890 ขั้น ยอดเขานี้สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 650 เมตร ถ้าวัดจากเชิงเขาถึงยอดเขาโดยแนวบันไดจะยาว 1,680 เมตร ใช้เวลาเดินทางจากเชิงเขาถึงยอดเขาประมาณ 2 ชั่วโมง สองข้างทางจะเต็มไปด้วยป่าไม้ขึ้นสลับซับซ้อน เต็มไปหมด บางแห่งจะเป็นที่ลาด บางแห่งจะเป็นที่ชัน เมื่อขึ้นไปถึงยอดเขาวงพระจันทร์จะมองเห็น ทิวทัศน์เบื้องล่างได้ไกลสุดสายตา
ในหน้าเทศกาลเดือนสาม ประชาชนโดยเฉพาะชาวไทยเชื้อสายจีนทั้งใกล้ และไกลจะหลั่งไหลกัน มานมัสการรอยพระพุทธบาทและพระพุทธรูปบนยอดเขาแห่งนี้อย่างเนืองแน่นเป็นประจำทุกปี สิ่งก่อสร้าง และรูปแบบของการแสดงความเคารพที่วัดนี้จึงค่อนข้างจะมีอิทธิพลจีนหรือฝ่ายมหายานอยู่มาก
เขาวงพระจันทร์ได้ชื่อว่าเป็นเขาที่สูงที่สุดของจังหวัดลพบุรี และเป็นภูเขาที่สร้างชื่อเสียง ให้ผู้คน รู้จักเมืองลพบุรีมาช้านานแล้ว นอกจากนั้นภูเขานี้ยังเป็นที่มาแห่งตำนานเมืองเรื่องท้าวกกขนาก และเรื่อง พระเจ้ากงจีนอีกด้วย

บ้านหนองแล้ง (แกะสลักหินทราย) ตั้งอยู่หมู่ที่ ๘ ในตัวอำเภอโคกสำโรง ชาวบ้านมีอาชีพ ในการแกะสลักหินทรายเป็นรูปต่าง ๆ เลียนแบบของเก่า เช่น ศิวลึงค์ ธรรมจักรกวางหมอบศิลปะลพบุรี รูปสัตว์ต่าง ๆ ฯลฯ ช่างแกะสลักมีฝีมือดี มักนำส่งร้านขายของเก่าในกรุงเทพฯ และพระนครศรีอยุธยา ซึ่งจะมีลักษณะเท่าของจริงทุกประการ

วัดสิริจันทรนิมิตวรวิหาร (วัดเขาพระงาม) ตั้งอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดลพบุรีไปทางทิศเหนือ ตามถนนพหลโยธินประมาณ 12 กิโลเมตร อยู่ในเขตตำบลเขาพระงาม อำเภอเมืองลพบุรี
วัดเขาพระงามนี้เดิมเป็นวัดร้าง สร้างมาแต่เมื่อใดไม่ปรากฏ ต่อมาในปี พ.ศ. 2455 พระอุบาลี คุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาสกรุงเทพฯ กับพระสงฆ์อีกรูปได้ธุดงค์มาพักที่วัดนี้ เห็นว่ามีภูมิประเทศดี จึงได้สร้างพระพุทธรูปที่ไหล่เขานี้ เป็นพระพุทธรูปที่มีหน้าตักกว้าง 11 วา สูงจาก หน้าตักถึงยอดพระเศียร 18 วา เส้นพระศกทำด้วยไหกระเทียม เมื่อสร้างเสร็จได้ถวายพระนามว่าพระพุทธ- นฤมิตมัธยมพุทธกาล ครั้นภายหลังซ่อมเมื่อปี พ.ศ. 2469 จึงเปลี่ยนนามใหม่ว่าพระพุทธปฏิภาคมัธยม พุทธกาล มาจนทุกวันนี้
บริเวณวัดมีกิจกรรมที่กำลังเป็นที่น่าสนใจของคนทั่วไปคือ การขายพลอยสีต่าง ๆ ที่เจียระไนจาก หินควอซท์ ซึ่งขุดได้จากบริเวณเขาพระงามเรียกว่า "เพชรพระงาม" ราคาพอสมควรที่นักท่องเที่ยวทุกระดับ จะซื้อเป็นของที่ระลึกได้


งานประเพณีของจังหวัดลพบุรี
งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จัดขึ้นในช่วงประมาณวันที่ 16-21 กุมภาพันธ์ ทุกปี
เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่มีต่อลพบุรีและประเทศชาติ
เนื่องจากเมืองลพบุรีเป็นราชธานีเก่าแห่งที่สอง ในสมัยนั้นสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงโปรดปราน
ประทับอยู่ที่นี่นานกว่ากรุงศรีอยุธยา
บริเวณงานส่วนใหญ่อยู่ที่พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ เริ่มด้วยพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณของ
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ขบวนแห่ต่าง ๆ เช่น ขบวนแห่พระราชสาส์น ขบวนเจ้านายชั้นสูงฝ่ายใน ขบวนทหาร ฯลฯ การแต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ การแสดงการละเล่น การประดับประทีปโคมไฟใน
พระราชวัง เพื่อทำให้บรรยากาศกลับคืนสู่อดีตเมื่อ 300 ปีที่ผ่านมา ประชาชนชาวลพบุรีจะพร้อมใจกัน
แต่งชุดไทยสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช รวมทั้งมีนิทรรศการพิเศษเกี่ยวกับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์
สมัยนั้น ตลอดจนการออกร้านขายสินค้าพื้นเมือง
เหตุด่วน, เหตุร้าย แง ศูนย์ควบคุมและสั่งการ พัน.สห.ทอ. โทร. 534-2117 - 9 ทอ. 2-2197 - 9
แจ้งเบาะแสแหล่งอบายมุข, ยาเสพติดให้โทษ, แหล่งการพนัน ผบ.พัน.สห.ทอ. โทร. 534-2113 โทรสาร. 523-7596
E-mail:dmbc4@ksc.th.com

.
.