สำนักงาน ผู้บังคับทหารอากาศดอนเมือง
ประวัติ , ผังการจัด
ทำไม? จึงเข้มงวดเรื่องทำบัตรผ่าน
การขอบัตรผ่านเข้า-ออก เขต ทอ.
การขับขี่ยานพาหนะในเขต ทอ.
กำหนดการปิด-เปิด ช่องทาง ทอ.
การขอใบอนุญาตประเภทบุคคล
การใช้ยานพาหนะในเขต บก.ทอ.
การแต่งเครื่องแบบ ทอ.
ส.ค.ส. 2541 พระราชทานสู่ชาวไทย
กองทัพอากาศของท่าน
Royal Thai Air Force Day
งบประมาณ กองทัพไทย ปี 41
นโยบาย ทอ. ปีงบประมาณ 41
ข่าวสารในกิจการของทหารไทย
มาร์ชสี่เหล่า และเพลงปลุกใจ
โครงการ สขว.ทอ.

โทรศัพท์ฉุกเฉิน ทอ.
แจ้งเหตุด่วน, เหตุร้าย 191
เพลิงไหม้ 192
รถพยาบาลฉุกเฉิน 194
อากาศยานอุบัติเหตุ 196
พัน.สห.ทอ. 2-2197 - 9
ศูนย์รวมข่าวดับเพลิง 2-2126,7
ศูนย์รับแจ้งเหตุ ทอ.ทุ่งสีกัน 3-0065
สถานีดับเพลิงย่อยทุ่งสีกัน 2-2129, 3-0083
ศูนย์โทรศัพท์กลาง ทอ. 523-6151, 523-6161



 Supreme Command Headqurters, Royal Thai Armed Forces"



กรมธนารักษ์
|
การตรวจเยี่ยมสายวิทยาการเหล่าสารวัตรทหารอากาศ กองบิน 71 กองพลบินที่ 4 บยอ. จังหวัดสุราษฎร์ธานี
กองบิน 71 กองพลบินที่ 4 ฯ ตั้งอยู่ที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2525

ต้นมะม่วงป่าใหญ่ 7 ต้น ริมถนนหน้ากองบินขึ้นเรียงกัน ชาวบ้านจึงเรียกสนามบินกองบิน 71 ว่า "สนามบินม่วงเรียง" ซึ่งมาจากมะม่วงเรียงกัน 7 ต้น
จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเมืองเก่าแก่ มีหลักฐานว่าในพุทธศตรรษที่ 13 รวมอยู่กับอาณาจักรศรีวิชัย
เมื่ออาณาจักรนี้เสื่อมลง จึงแยกออกเป็น 3 เมือง คือ เมืองไชยา เมืองท่าทอง และเมืองคีรีรัฐ ขึ้นต่อเมือง
นครศรีธรรมราช ต่อมาในรัชสมัยของพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้ย้ายเมืองท่าทองมาตั้งที่บ้านดอน
และยกฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ พระราชทานนามว่า เมืองกาญจนดิษฐ์ ครั้งเมื่อมีการ
ปกครองแบบมณฑล ได้รวมเมืองทั้งสามเป็นเมืองเดียวกัน เรียกว่าเมืองไชยา ต่อมา พ.ศ.2458 รัชกาลที่ 6
โปรดฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองไชยามาเป็นเมืองสุราษฎร์ธานี แปลว่าเมืองแห่งคนดี
สภาพทางภูมิศาสตร์ของสุราษฎร์ธานี เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดของภาคใต้ ประมาณ 12,891 ตารางกิโลเมตร

ทัศนียภาพตัวเมืองสุราษฎร์ธานี ทางด้านทิศตะวันออก
คำขวัญประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี "เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ไข่แดง แหล่งธรรมะ"
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ
ทิศใต้
ทิศตะวันออก
ทิศตะวันตก
|
จดจังหวัดชุมพรและจังหวัดระนอง
จดอ่าวไทย และจังหวัดนครศรีธรรมราช
จดจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดกระบี่
จดจังหวัดพังงาและจังหวัดระนอง
|
การปกครอง
แบ่งการปกครองออกเป็น 17 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี อำเภอพุนพิน อำเภอคีรีรัฐนิคม
อำเภอพนม อำเภอกาญจนดิษฐ์ อำเภอเกาะสมุย อำเภอดอนสัก อำเภอไชยา อำเภอท่าชนะ อำเภอท่าฉาง อำเภอบ้านนาสาร อำเภอพระแสง
อำเภอเวียงสระ อำเภอเคียนซา อำเภอบ้านตาขุน อำเภอเกาะพะงัน อำเภอบ้านนาเดิม กิ่งอำเภอชัยบุรี กิ่งอำเภอวิภาวดี
การตรวจเยี่ยมสายวิทยาการเหล่าสารวัตรทหารอากาศ กองบิน 71 กองพลบินที่ 4 สุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 29-30 มิ.ย.41

ผบ.บน.71, รอง ผบ.บน.71, เสธ.บน.71 และข้าราชการ บน.71 ให้การต้อนรับและบรรยายสรุปภารกิจ
ให้คณะของ น.อ.วรวิทย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รอง ผบ.ดม (2) เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.41

ผบ.ร้อย.ทสห.บน.71 พล.บ.4 นำข้าราชการรอรับการตรวจเยี่ยมจาก
น.อ.วรวิทย์ ฯ เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.41

น.อ.วรวิทย์ ฯ ตรวจเยี่ยม รจ.บน.71 ในภาพผู้ต้องโทษกำลังฝึกอาชีกการทำไม้กวาดจากก้านมะพร้าว

จุดรักษาการณ์ สห.ทอ.ฯ ข้างสนามบินด้านทิศเหนือ
สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
เกาะสมุย ตั้งอยู่ในบริเวณอ่าวไทย เป็นอำเภอหนึ่งอยู่ในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี ห่างจากสุราษฎร์ธานี
ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 84 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 247 ตารางกิโลเมตร กว้าง 21 กิโลเมตร ยาว 25 กิโลเมตร
ถนนโดยรอบเกาะ (ถนนสายทวีราษฎร์ภักดี) ยาว 50 กิโลเมตร พื้นที่ 1 ใน 3 เป็นพื้นที่ราบล้อมรอบส่วนที่เป็น
ภูเขาตรงกลางเกาะ
ลักษณะภูมิอากาศ เป็นแบบมรสุมเขตร้อน มี 3 ฤดู คือ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-ตุลาคม
ฤดูหนาวเริ่มเดือนพฤศจิกายน - มกราคม เป็นช่วงที่มีลมมรสุม และฤดูร้อนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน
การคมนาคมโดยเรือโดยสาร มีเรือออกจากท่าเรือบ้านดอน อำเภอเมือง และท่าเรือดอนสัก อำเภอดอนสัก
จังหวัดสุราษฎร์ธานีทุกวัน ช่วงเวลาที่เหมาะไปเที่ยวพักผ่อน คือ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน
ซึ่งคลื่นลมสงบ
คำว่า "สมุย" เป็นคำมาจากภาษาใดไม่ปรากฏแน่ชัด มีข้อสันนิษฐานต่าง ๆ นานา บ้างก็ว่ามาจาก
ภาษาจีนไหหลำ "เซ่าบ่วย" แปลว่า "ด่านแรก" หรือ "ประตูแรก" ซึ่งชาวจีนที่ มาติดต่อค้าขายกับประเทศไทย
ในสมัยก่อนมาแวะพักจอดเรือใช้เรียกเกาะสมุย แล้วออกเสียงเพี้ยนมาเป็น "สมุย" บ้างก็ว่ามาจากภาษาทมิฬ
"สมอย" แปลว่า คลื่นลม บ้างก็ว่ามาจากชื่อต้นไม้ที่มีอยู่ทั่วไปในภาคใต้ คือ ต้นหมุย บ้างก็ว่า "สมุย" เป็น
คำมลายู ซึ่งพวกแขกมลายูที่มาติดต่อค้าขายกับประเทศไทยใช้เรียกเกาะสมุย
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลแห่งที่สองประกาศเป็นอุทยานแห่ง
ชาติเมื่อ วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 อยู่ห่างจากเกาะสมุยไปทางทิศตะวันตกประมาณ 20 กิโลเมตร มี
เนื้อที่ประมาณ 102 ตารางกิโลเมตร หรือ 63,750 ไร่ เป็นพื้นดินเพียง 50 ตารางกิโลเมตร นอกนั้นเป็น
พื้นน้ำ ประกอบด้วยเกาะต่างๆ ประมาณ 40 เกาะ ได้แก่ เกาะนกตะเภา เกาะเชือก เกาะพะลวย เกาะส้ม
เกาะวัวจิ๋ว เกาะวัวตาหลับ เกาะแม่เกาะ เกาะสามเส้า เกาะไผ่ลวก เกาะคา เกาะหินดับ เกาะวัวกันตัง ฯลฯ
หมู่เกาะนี้เดิมเป็นเขตหวงห้าม ของทหารเรือ แต่ได้มีราษฏรอพยพไปตั้งบ้านเรือนโดยประกอบอาชีพทำสวน
มะพร้าว จับปลา และเก็บรังนก (บางเกาะมีสัมปทานรังนกนางแอ่น) โดยขึ้นอยู่กับท้องที่หมู่ที่ 6 ตำบล
อ่างทอง อำเภอเกาะสมุย
สถานที่น่าสนใจในเขตอุทยานฯ
เกาะวัวตาหลับ เป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ด้านหน้าที่ทำการ เป็นหาดทรายขาวสะอาด
เมื่อขึ้นไปสู่จุดชมวิวบนยอดเขาระยะทาง 400 เมตร จะมองเห็นหมู่เกาะอ่างทองทั้งหมดทอดตัวเรียงรายเป็น
แนวยาวไปบนพื้นน้ำด้วยรูปร่างลักษณะต่าง ๆ แปลกตา นอกจากนี้ยังมีถ้ำบัวโบกซึ่งอยู่ใกล้ที่ทำการอุทยานฯ
มีหินงอก หินย้อยรูปร่างสวยงามดูคล้ายบัวบาน
ทะเลใน หรือทะเลสาบกลางภูเขา เป็นปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาที่พบว่ามีอยู่บนหมู่เกาะเหล่านี้เท่า
นั้นแถบทะเลด้านอ่าวไทย ทะเลในเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่ที่สุด คือ ประมาณ 250 เมตร ตั้งอยู่บนเกาะแม่เกาะ
นั่งเรือยนต์จากที่ทำการไปประมาณ 15 นาที และเดินเท้าตามทางเดินซึ่งทางอุทยานได้ทำไว้ อีก 20 เมตร
ทะเลในแห่งนี้มีพื้นที่ 30ไร่ โอบรอบด้วยโขดหินและ แมกไม้ปกคลุมน้ำนิ่งสงบใสราวสีมรกต
เกาะสามเส้า ตั้งอยู่ตรงกันข้ามกับเกาะแม่เกาะ เป็นแหล่งปะการัง มีสะพานหินธรรมชาติยื่นโค้งออก
ไปในทะเล นอกจากนี้จากเกาะสามเส้าจะมองเห็นประติมากรรมธรรมชาติ คล้ายปราสาทหินตั้งตระหง่าน
อยู่บนยอดเขาของเกาะแม่เกาะ
เกาะท้ายเพลาและเกาะวัวกันตัง อยู่เลยจากเกาะแม่เกาะไปทางทิศเหนือ เป็นจุดที่มีแนวปะการังและ
หาดทรายขาวสะอาด
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทองไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวค้างคืนบนเกาะ แต่สนับสนุน
ให้ท่องเที่ยวหมู่เกาะอ่างทอง แบบเช้าไปเย็นกลับทุกวัน จะมีบริการนำเที่ยวหมู่เกาะอ่างทองจากเกาะสมุย
ไปกลับในวันเดียว
วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร ตั้งอยู่ในเขตตำบลเวียง อำเภอไชยา ห่างจากที่ตั้งอำเภอไชยา 1 กิโลเมตร องค์พระเจดีย์เป็นโบราณสถานที่สร้างขึ้นตามแบบลัทธิมหายาน ตั้งแต่ครั้งอาณาจักรศรีวิชัยรุ่งเรือง รอบองค์พระธาตุมีเจดีย์เล็ก ๆ 4 ทิศ ล้อมรอบด้วยวิหารคดซึ่งประดิษฐาน พระพุทธรูปเก่าแก่ขนาดต่าง ๆ โดยรอบทั้ง4 ด้าน พระธาตุไชยานับเป็นปูชนียสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาของจังหวัดสุราษฎร์ธานี
การเดินทางสู่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทางรถยนต์
จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางสายพุทธมณฑล-นครปฐม-เพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร-สุราษฎร์ธานี
ระยะทาง 685 กิโลเมตร
ทางรถโดยสารประจำทาง
บริษัทขนส่ง จำกัด เปิดบริการเดินรถ กรุงเทพฯ-สุราษฎร์ธานี ทุกวันรายละเอียดการเดินทางติดต่อ
สอบถามได้ที่ โทร. 4345557-8 (รถธรรมดา) และโทร. 4351199 (รถปรับอากาศ) นอกจากนี้มีรถโดยสาร
ของเอกชนกว่า 10 บริษัท วิ่งบริการระหว่าง กรุงเทพฯ-สุราษฎร์ธานี ทุกวัน รถออกจากสถานีขนส่งสายใต้
ถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี เวลา 20.00 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 10 ชั่วโมง ติดต่อได้ที่สำนักงานของบริษัท ที่สถานีขนส่งสายใต้โดยตรง
ทางรถไฟ
จากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ มีบริการเดินรถทุกวัน ระยะทาง 650 กิโลเมตร ผู้โดยสารต้องไปลงที่
สถานีรถไฟพุนพิน แล้วต่อรถประจำทางหรือแท็กซี่ เข้าจังหวัดสุราษฎร์ธานีระยะทาง 13 กิโลเมตร ติดต่อ
ขอทราบรายละเอียดการเดินทางได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 2237010, 2237020
ทางอากาศ
การบินไทยมีบริการเครื่องบินกรุงเทพฯ-สุราษฎร์ธานี ทุกวัน ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง
สอบถามรายละเอียดและสำรองที่นั่งได้ที่ โทร. 2800070, 2800080 หรือที่สำนักงานสุราษฎร์ธานี โทร. (077)
272610, 273710
เหตุด่วน, เหตุร้าย แจ้ง ศูนย์ควบคุมและสั่งการ พัน.สห.ทอ. โทร. 534-2117 - 9 ทอ. 2-2197 - 9
แจ้งเบาะแสแหล่งอบายมุข, ยาเสพติดให้โทษ, แหล่งการพนัน ผบ.พัน.สห.ทอ. โทร. 534-2113 โทรสาร. 523-7596
E-mail:dmbc4@ksc.th.com
|
|