|
- เทียบเท่ากับ
5 ซีซี หรือ ml หรือ
มิลลิลิตร
|
|
- ควรทานก่อนอาหารล่วงหน้า
30-60 นาที
- เนื่องจากยาบางชนิดจะถูกทำลายด้วยความเป็นกรดภายในกระเพาะอาหาร
ซึ่งจะถูกหลั่งออกมาจากผนังกระเพาะอาหารเมื่อมีอาหารลงไปกระตุ้น
- ยาหลายชนิดที่จะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายในสภาวะที่ไม่มีอาหารในกระเพาะอาหาร
|
|
- ส่วนใหญ่จะแนะนำให้ทานหลังอาหารสักครู่
เพื่อความสะดวก
เพราะคนไข้มักไม่ลืม
ไม่เหมือนกับการทานยาก่อนอาหาร
|
|
- ยาหลายตัวมีฤทธิ์เป็นกรด
หรือระคายเคืองกระเพาะ
ทำให้เกิดความปั่นป่วนในกระเพาะอาหาร
หรือทำให้กระเพาะอาหารเป็นแผล
- ยาบางตัวจะต้องมีอาหารในกระเพาะอาหาร
เพื่อเพิ่มปริมาณการดูดซึมของยาเข้าสู่ร่างกาย
ทำให้มีผลการรักษาที่ดีขึ้น
|
|
- ยาบางตัวทำปฏิกิริยากับแคลเซียมในนม
กับอลูมิเนียมในยาลดกรด
ทำให้ยาตกค้างอยู่ในกระเพาะอาหาร
จึงไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย
จึงไม่เห็นผลในการรักษา
- ยาบางตัวถูกเคลือบไว้เป็นพิเศษ
เพื่อให้ยาไปแตกตัวในลำไส้เล็ก
ถ้าทานพร้อมยาลดกรด
จะทำให้ pH
ในกระเพาะเป็นด่างมากขึ้น
ยาจึงแตกตัวในกระเพาะอาหาร
ซึ่งผิดวัตถุประสงค์ของยานั้น
ทำให้ผลการรักษาแย่ลง
ผลข้างเคียงมากขึ้น
|
|
- ยาบางตัวสามารถผ่านเข้าสู่สมอง
ทำให้เกิดความรู้สึกง่วงนอน
การตัดสินใจช้าลง
จึงควรหลีกเลี่ยงการทำงานที่ต้องใช้ความตั้งใจ
สมาธิ เช่น การขับรถ
ควบคุมเครื่องจักร
ทำงานในที่สูง
|
|
- ส่วนใหญ่จะเป็นยาที่เกี่ยวข้องการฆ่าเชื้อ
เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดการดื้อต่อยา
และต้องการฆ่าเชื้อให้ตายหมด
เพื่อไม่ให้เกิดการตกค้าง
หลงเหลือจนกลายเป็นเรื้อรัง
|
|
- ยาส่วนใหญ่จะต้องถูกขับออกทางปัสสาวะ
และส่วนใหญ่อีกเช่นกันที่ไม่มีสี
จึงไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น
แต่ยาบางตัวมีสีของตัวยาเอง
ดังนั้นเมื่อถูกขับออกทางปัสสาวะ
จึงเห็นเป็นสีได้
|
|
- มียาบางชนิดที่ระหว่างการใช้ยาอยู่จะต้องพยายามไม่สัมผัสแสงแดด
มิฉะนั้นจะทำให้เกิดอาการลอกแดง
แพ้แดด
- ยาที่พบเห็นบ่อย
คือ ยารักษาฝ้า
, ครีม AHA ,
ครีมวิตามินเอ ,
ยารับประทานกลุ่มเตตร้าซัยคลิน
|
เพื่อผลการรักษาที่ดี
ควรจะปฏิบัติตาม
คำแนะนำพิเศษต่างๆ
ที่มีมาพร้อมยานั้น
และยังจะเป็นการลดผลข้างเคียง
ของยานั้นๆด้วย
|
|