- ยาอื่นที่ท่านใช้เป็นประจำอยู่แล้วหรือยาที่ท่านได้จากแพทย์
เภสัชกรคราวก่อนหน้านี้
ไม่ว่าจะเป็นยาแผนปัจจุบัน
แผนโบราณ
ยาใช้ภายนอก
ท่านต้องแจ้งแพทย์
เภสัชกรด้วย เพราะ
อาจมีปฏิกิริยาต่อต้าน
หรือ เพิ่มผลข้างเคียง
- โรคประจำตัวที่ท่านเป็นอยู่
โดยเฉพาะ
- การดื่มเหล้า
เบียร์
เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- ประวัติการแพ้ยา
ผลข้างเคียงจากยา
- กิจวัตรประจำวัน
วิธีการดำเนินชีวิต
อาหารการกินของท่านเป็นอย่างไร
เช่น ทำงานเป็นกะ , ทำงานกลางคืน
นอนตอนกลางวัน ,
ฯลฯ
- ในกรณีสุภาพสตรี
ถ้าท่านทานยาคุมกำเนิดอยู่
ควรจะแจ้งให้ทราบด้วย
ผลข้างเคียงของยาเป็นสิ่งที่มาคู่กันกับผลการรักษาของยาเลยทีเดียว
เนื่องจากการใช้ยา
ไม่สามารถระบุให้ยาออกฤทธิ์ต่อส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายได้แบบเฉพาะเจาะจง
แม้ว่าจะเป็นยาทาที่ผิวหนังก็ตาม
จงอย่าเชื่อ
ถ้าผู้ใดบอกท่านว่ายานี้ไม่มีผลข้างเคียง
หรือ พิษ เลย !!!
ในการศึกษาวิจัยตัวยาใหม่
เภสัชกร นักวิจัย
พยายามดัดแปลงตัวยาใหม่จากยาเก่าที่ใช้มานาน
โดยมีวัตถุประสงค์ 2
ประการ คือ
- เพื่อให้ยามีประสิทธิภาพดีขึ้น
รวมทั้งทานยาง่ายขึ้น
น้อยครั้งลง
เช่น ยาแก้อักเสบ Erythromycin จะต้องทานวันละ
4 ครั้ง ติดต่อกัน
7 วัน
แต่ปัจจุบันนี้คิดค้นยาประเภทเดียวกัน
แต่ทานยาแค่วันละ
2 หรือ 1 ครั้ง
ติดต่อกัน 3-5 วัน
เท่านั้น
- เพื่อให้ผลข้างเคียง
และพิษต่อร่างกายลดลง
ก่อนที่ยาใหม่จะออกมาใช้กับผู้ป่วยจริงๆ
ก็จะต้องทำการศึกษาถึงความปลอดภัย
ประสิทธิภาพ
ผลข้างเคียง
พิษของยา
ถ้าผลข้างเคียง
พิษของยาอยู่ในระดับที่ยอมรับได้
FDA จึงจะอนุญาตให้ใช้กับผู้ป่วยได้จริง
อย่างไรก็ตาม
ยังไม่สามารถกำจัดผลข้างเคียงให้หมดสิ้นได้
แต่ก็สามารถทำให้ลดความรุนแรง
อยู่ในระดับที่ร่างกายรับได้
ดังนั้นจึงต้องใช้ดุลยพินิจทั้งของแพทย์
เภสัชกร ผู้ป่วย
ร่วมกันตัดสินใจเลือกใช้ยานั้น
ซึ่งพอจะสรุปเกณฑ์การติดสินใจได้
4ข้อ คือ
- ผลข้างเคียงมีอะไรบ้าง
- ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจะหายไปหรือไม่เมื่อหยุดยา
- ผลข้างเคียงเกิดบ่อยแค่ไหน
แบ่งได้เป็น 3
ระดับ คือ
นานๆครั้งพบที ( < 1%), บ่อย
( 1-10% ), บ่อยมาก ( >10%)
- โรคที่ต้องใช้ยานั้น
เช่น
ผู้ที่เป็นโรคไตบางชนิด
หรือ SLE จำเป็นต้องยา Steroid
ถึงแม้จะเป็นยาที่อันตรายมากก็ตาม
- ยาที่ท่านได้รับคือยาชื่ออะไร
(ควรเป็นชื่อตัวยา
ไม่ใช่ชื่อทางการค้า )เพื่ออะไร
มีประโยชน์อย่างไร
ทำไมต้องใช้ยาตัวนี้
?
- ยาที่ท่านได้รับใช้เพื่อบรรเทา
หรือ รักษา
- อาการที่เป็นอยู่ควรดีขึ้นเร็วมากน้อยแค่ไหน
?
ใช้เวลานานแค่ไหนจึงจะหาย
?
- วิธีการรับประทานยา
ครั้งละ กี่เม็ด
วันละ กี่ครั้ง
ต้องเขย่าขวดก่อนไหม
ก่อน หรือ
หลังอาหาร ฯลฯ
- ยาที่ท่านได้รับจะมีผลกับยาอื่นๆที่ท่านรับประทานเป็นประจำอยู่แล้วหรือไม่
? รวมทั้งอาหาร
เครื่องดื่มทั้งที่มีแอลกอฮอล์
และไม่มี
- ยามีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง
- จำเป็นต้องทานยานี้จนหมดหรือไม่
?
- มีอาการอะไรบ้างที่ต้องสังเกตุในขณะที่ใช้ยาตัวนี้
ที่จำเป็นต้องหยุดยาอย่างทันที
- ในกรณีที่ท่านมีกิจวัตรประจำวัน
วิธีการดำเนินชีวิตที่ผิดจากทั่วไป
เช่น ทานอาหาร 1
มื้อ ทำงานเป็นกะ
ท่านต้องถามว่าจะปรับเปลี่ยนวิธีทานยาหรือไม่
? อย่างไร ?
เมื่อท่านได้ข้อมูลดังนี้แล้ว
ต่อไปก็ขึ้นอยู่กับท่านเองที่จะเป็นผู้ใช้ยาให้ถูกต้องตามที่ควรจะเป็น
ในกรณีที่ใช้ยางวดนี้แล้ว
อาการที่เป็นอยู่ไม่หาย
ไม่ดีขึ้น หรือ
ดีขึ้น แต่ยังไม่หาย
หรือ หายดีแล้ว
เมื่อท่านจำเป็นต้องพบแพทย์
เภสัชกรใหม่
ควรจะมีข้อมูลยาที่ท่านใช้ในครั้งนี้ด้วย
- ท่านควรเลือกร้านที่มีเภสัชกรประจำอยู่
และพยายามใช้ประโยชน์จากเภสัชกรประจำร้านให้เต็มที่ด้วยการสอบถามรายละเอียดของยาที่กำลังต้องการทุกแง่มุม
หัวข้อที่ท่านควรถามขอให้กลับไปดูในหัวข้อ
"ท่านควรถามอะไรจากแพทย์
เภสัชกร"
- ท่านควรไปซื้อยาเอง
ไม่ควรไหว้วานคนอื่นๆไปซื้อให้
โดยเฉพาะเด็ก
นอกจากเป็นยาที่ท่านใช้เป็นประจำอยู่แล้ว
- ท่านควรดูฉลากยาอย่างละเอียด
แต่อย่าเชื่อมาก
หรือตกใจจนเกินไปกับผลข้างเคียงบางอย่างที่ดูจะรุนแรงมาก
เพราะบางบริษัทก็ให้รายละเอียดมากจนคนอ่านตกใจ
ทางที่ดีท่านควรปรึกษาเภสัชกรประจำร้าน
- ท่านควรตรวจสอบวันหมดอายุทุกครั้งที่ซื้อยา
รวมทั้งก่อนใช้ยาทุกครั้ง
|