- พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็น ( ภคฺคราโค
) ผู้ทรงหักราคะ ( ภคฺคโทโส ) ผู้ทรงหักโทสะ
( ภคฺคโมโห ) ผู้ทรงหักโมหะ เป็นผู้หาอาสวะมิได้ บาปธรรมทั้งหลายพระองค์ทรงหักเสีย
( สิ้น ) แล้ว เพราะเหตุนั้น บัณฑิตจึงถวายพระนามว่า พระภควา
- ก็แลความถึงพร้อมแห่งพระรูปกายของพระองค์
ผู้ทรงไว้ซึ่งพระบุญลักษณะ ( ลักษณะอันเกิดเพราะบุญ )
นับด้วย ๑00 เป็นอันท่านแสดงแล้วด้วยความที่ทรงเป็นผู้มีพระภาคย์ ( คือบุญบารมี )
ความถึงพร้อมแห่ง
พระธรรม เป็นอันแสดงด้วยความที่ทรงเป็น ( ภคฺคโทสะ ) ผู้หักโทสะ ความเป็นผู้ที่ชาวโลกและคนใกล้เคียง
ทั้งหลายรู้จักมากก็ดี ความเป็นผู้ที่คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลาย พึงไปมาหาสู่ก็ดี
ความเป็นผู้สามารถในอันช่วย
ขจัดทุกข์กายทุกข์ใจให้แก่เขาทั้งหลายผู้ไปหาก็ดี ความเป็นผู้ทำอุปการะเขาด้วยอามิสทานและธรรมทานก็ดี
ความเป็นผู้สามารถในอันยังเขาให้ประกอบพร้อมไปด้วยโลกิยสุข และโลกุตตรสุขก็ดี
ก็เป็นอันท่านแสดงแล้ว
ด้วยพระคุณสมบัติ ๒ อย่างนั้น
แก้บท ภเคหติ ยุตฺโต
- อนึ่ง เพราะเหตุที่ศัพท์ ภคะ ในโลกย่อมเป็นไปในธรรม
๖ อย่าง
- คือ ความเป็นใหญ่ ( อิสสริยะ )
ธรรม ยศ สิริ และความพยายาม ( ปยัตตะ ) ก็ความเป็นใหญ่ในพระจิตของ
พระองค์เองอย่างยอดเยี่ยมมีอยู่ หรือความเป็นใหญ่ที่โลกสมมติกัน ( ๘ อย่าง )
มีทำร่างกายให้เล็ก ( อณิมา )
และทำร่างกายให้เบา ( เดินอากาศได้ ลังฆิมา ) เป็นต้น อันบริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวงของพระองค์ก็มีอยู่
โดยนัยเดียวกันนั้น พระธรรมอันเป็นโลกุตตรของพระองค์ก็มีอยู่ พระยศของพระองค์ปรากฏทั่วโลก
๓ เป็นพระยศ
ที่ทรงได้โดยพระคุณตามที่เป็นจริง เป็นพระยศที่บริสุทธิ์ยิ่งนักก็มีอยู่ พระสิริ
( ความงามสง่า ) แห่งพระอังคาพยพ
ใหญ่น้อยทั้งปวงบริบูรณ์ด้วยอาการทุกสิ่งทุกอย่าง สามารถให้เกิดขวัญตาและขวัญใจแก่ชนผู้ขวนขวายในการเฝ้าชม
พระรูปกาย ก็มีอยู่ พระกามะ อันหมายถึงความสำเร็จแห่งประโยชน์ที่ทรงพระประสงค์
ก็มีอยู่ เพราะประโยชน์ใดๆ
ที่พระองค์มีพระประสงค์แล้ว ทรงปรารถนาแล้ว จะเป็นประโยชน์ตนก็ตาม ประโยชน์ผู้อื่นก็ตาม
ประโยชน์นั้นๆ
ก็สำเร็จสมพระประสงค์ทั้งนั้น และพระปยัตตะ กล่าวคือสัมมาวายามะ อันเป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งความเป็นครูของโลก
ทั้งปวง ก็มีอยู่ เพราะเหตุนั้น บัณฑิตจึงถวายพระนามว่า ภควา โดยอรรถ ( วิเคราะห์
) นี้ว่า ภคาอสฺส สนฺติ -
ทรงมีภคธรรม เพราะความที่ทรงประกอบด้วยภคธรรมทั้งหลาย ( ที่กล่าวมา ) นี้ ประการ
๑
แก้บท วิภตฺตวา
- อนึ่ง เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็น
วิภตฺตวา มีคำอธิบายว่า
- ทรงจำแนก ทรงเปิดเผย ทรงแสดง ซึ่งธรรมทั้งปวง
โดยประเภททั้งหลาย มีประเภทกุศลเป็นต้น หรือว่า
ซึ่งธรรมมีกุศลธรรมเป็นอาทิ โดยประเภท ขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ อินทรีย์ และปฏิจจสมุบาทเป็นต้น
หรือว่า
ซึ่งอริยสัจคือทุกข์ โดยอรรถ ( ๔ ) คือ ปีฬนะ ( บีบคั้น ) สังขตะ ( อันปัจจัยปรุงแต่ง
) สันตาปะ ( แผดเผา )
วิปริณาม ( แปรปรวน ) ซึ่งอริยสัจคือสมุทัย โดยอรรถ ( ๔ ) คือ อายูหนะ ( ประมวลมา
ซึ่งทุกข์ ) นิทานะ
( เป็นเหตุแห่งทุกข์ ) สังโยคะ ( ผูกไว้กับทุกข์ ) ปลิโพธะ ( หน่วงไว้มิให้ถึงมรรค
) ซึ่งอริยสัจคือนิโรธ ( พระ
นิพพาน ) โดยอรรถ ( ๔ ) คือ นิสสรณะ ( ออกไปจากทุกข์ ) วิเวก ( สงัดจากทุกข์
) อสังขตะ ( อันปัจจัยมิได้
ปรุงแต่ง ) อมตะ ( เป็นสภาพไม่ตาย ) ซึ่งอริยสัจคือมรรค โดยอรรถ ( ๔ ) คือ นิยยานิกะ
( นำออกจากทุกข์ )
เหตุ ( เป็นเหตุแห่งนิโรธ ) ทัสสนะ ( เป็นเครื่องเห็นแจ้งพระนิพพาน ) อธิปไตย
( เป็นใหญ่ในการเห็นอริยสัจ )
เพราะเหตุนั้น เมื่อน่าจะเรียกว่า พระ วิภตฺตวา ( แต่ ) เรียกเสียว่า
พระภควา
แก้บท ภตฺตวา
- อนึ่ง เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงคบ คือทรงเสพ
ทรงทำให้มาก ซึ่งธรรมอันเป็นทิพวิหาร
( รูปาวจรฌาน ) พรหมวิหาร และอริยวิหาร ( ผลสมาบัติ
) ซึ่งกายวิเวก จิตวิเวก และอุปธิวิเวก ซึ่งสุญญตวิโมกข์
อัปปณิหิตวิโมกข์ และอนิมิตวิโมกข์ และซึ่งอุตตริมนุสสธรรม
* ทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตรอื่นๆ เพราะเหตุนั้น
เมื่อน่าจะเรียกว่าพระภตฺตวา ( แต่ ) เรียกเสียว่า พระภควา
- * อุตตริมนุสสธรรม ธรรมยวดยิ่งของมนุษย์,
ธรรมของมนุษย์ผู้ยอดยิ่ง, ธรรมล้ำมนุษย์ ได้แก่ ฌาน
วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ มรรคผล, บางทีเรียกให้ง่ายว่า ธรรมวิเศษ บ้าง คุณวิเศษ
หรือ คุณพิเศษ บ้าง
แก้บท ภเวสุ วนฺตคมนะ
- อนึ่งเล่า เพราะความไป กล่าวคือตัณหาในภพ
๓ พระองค์ทรงคายเสียแล้ว เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า
ภเวสุวนฺตคมโน
พุทธานุสสติญาณ
- เมื่อพระโยคาวจรนั้น ระลึกถึงพระพุทธคุณว่า
" เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นพระอรหํ ฯลฯ
เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นพระภควา " ดังนี้อยู่ ในสมัยนั้น
จิตของเธอย่อมไม่เป็นจิตที่ราคะ
กลุ้มรุม ไม่เป็นจิตที่โทสะกลุ้มรุม ไม่เป็นจิตที่โมหะกลุ้มรุมเลยทีเดียว ในสมัยนั้น
จิตของเธอย่อมเป็นจิตดำเนิน
ไปตรงแน่ว ปรารภ ( คุณ ) พระตถาคตเจ้า เมื่อเธอข่มนิวรณ์ได้โดยที่ไม่มีปริยุฏฐานกิเลสมีราคะเป็นอาทิอย่างนั้น
ชื่อว่ามีจิตดำเนินไปตรง เพราะความที่มีจิตมุ่งต่อพระกรรมฐานอยู่ ฉะนี้ วิตกและวิจารอันโน้มไปในพระพุทธคุณ
ย่อมเป็นไป เมื่อตรึกเมื่อตรองพระพุทธคุณร่ำไปๆ ปีติย่อมเกิดขึ้น
- ความกระวนกระวายกายจิตของเธอผู้มีใจกอปรด้วยปีติย่อมระงับ
โดยปัสสัทธิอันมีปีติเป็นปทัฏฐาน สุขทั้ง
ทางกายทั้งทางจิต ย่อมเกิดแก่เธอผู้มีความกระวนกระวายอันระงับแล้ว จิตของเธอผู้มีสุข
เป็นจิตมีพระพุทธคุณ
เป็นอารมณ์ ย่อมเป็นสมาธิ องค์ฌานย่อมเกิดขึ้นโดยลำดับในขณะเดียว ดังกล่าวมาฉะนี้
แต่เพราะความที่
พระพุทธคุณทั้งหลายเป็นอารมณ์ลึกซึ้ง หรือเพราะความที่จิตน้อมไปในการระลึกถึงพระคุณมีประการต่างๆ
ฌานนี้จึงเป็นฌานที่ไม่ถึงอัปปนา ถึงเพียงอุปจารเท่านั้น ( และ ) ฌานนี้ก็ถึงซึ่งความนับ
( คือได้ชื่อ ) ว่า
พุทธานุสสตินั่นเอง เพราะเป็นฌานที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจการระลึกถึงพระพุทธคุณ
อานิสงส์เจริญพุทธานุสสติ
- ก็แลภิกษุผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งพุทธานุสสตินี้ ย่อมเป็นผู้มีความเคารพมีความยำเกรงในพระศาสดา
ได้ความ
ไพบูลย์แห่งศรัทธา ความไพบูลย์แห่งสติ ความไพบูลย์แห่งปัญญา และความไพบูลย์แห่งบุญเป็นผู้มากไปด้วย
ปีติและปราโมช ทนต่อความกลัวและความตกใจสามารถอดกลั้นทุกข์ มีความรู้สึก ( เสมือน
) ว่าได้อยู่กับพระ
ศาสดา อนึ่ง แม้สรีระของเธออันพุทธคุณานุสสติประทับอยู่ ย่อมเป็นร่างควรแก่การบูชาดุจเรือนพระเจดีย์
จิต ( ของเธอ ) ย่อมน้อมไปในพุทธคุณ อนึ่ง ในเมื่อมีการประจวบเข้ากับวัตถุที่จะพึงล่วงละเมิด
( ศีล ) หิริโอตตัปปะ
ย่อมจะปรากฏแก่เธอ ราวกะเธอเห็นพระศาสดาอยู่ต่อหน้า อนึ่ง เมื่อยังไม่บรรลุคุณยิ่งขึ้นไป
เธอย่อมมีสุคติ
เป็นที่ไปในเบื้องหน้า
- เพราะเหตุนั้นแล ผู้มีปัญญาดี
พึงทำความไม่ประมาทในพุทธานุสสติ อันมีอานุภาพมากอย่างนี้
ทุกเมื่อเทอญ
- นี้เป็นกถามุข ( คำแก้ข้อที่สำคัญ ) อย่างพิสดาร
ในพุทธานุสสติ
เป็นอันดับแรก
ธัมมานุสสติ
- แม้พระโยคาวจรผู้ใคร่จะเจริญธัมมานุสสติ
ก็พึงเป็นผู้ไปในที่ลับ ( คน ) เร้นอยู่ ( ในเสนาสนะอันสมควร )
แล้วระลึกถึงคุณทั้งหลายแห่งพระปริยัติธรรมและพระโลกุตตรธรรม ๙ อย่างนี้ว่า สฺวากฺขาโต
ภควตา ธมฺโม
สนฺทิฏฺฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ
แก้บท สฺวากฺขาโต
- ก็แลในบทว่า สฺวากฺขาโต นี้ แม้พระปริยัติธรรมก็สงเคราะห์เข้าด้วย
ในบททั้งหลายนอกนี้ ได้แก่พระ
โลกุตตรธรรมอย่างเดียว ในธรรม ๒ อย่างนั้น ( ว่าด้วย ) พระปริยัติธรรมก่อน ( พระปริยัติธรรมนั้น
) ชื่อว่า
สฺวากฺขาตะ เพราะความเป็นธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในเบื้องปลาย
และเพราะความเป็นธรรม
ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
เพราะงามในเบื้องต้น ... ท่ามกลาง
... เบื้องปลาย
- จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงพระคาถาใดสักบทหนึ่งพระคาถานั้น
ก็งามในเบื้องต้นด้วยบาทแรก
งามในท่ามกลางด้วยบาทที่ ๒ ที่ ๓ งามในเบื้องปลายด้วยบาทท้าย ( ทั้งนี้ก็ ) เพราะความที่พระธรรมมีความ
ดีอยู่รอบด้าน พระสูตรที่มีอนุสนธิเดียว ก็งามในเบื้องต้นด้วยคำนิทาน งามในเบื้องปลายด้วยคำนิคม
งามในท่าม
กลางด้วยคำที่เหลือ
- พระสูตรที่มีอนุสนธิต่างๆ ก็งามในเบื้องต้นด้วยอนุสนธิแรก
งามในเบื้องปลายด้วยอนุสนธิท้าย งามในท่าม
กลางด้วยอนุสนธิที่เหลือ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่างามในเบื้องต้น เพราะมีทั้งคำนิทานและคำแสดงเหตุเกิดขึ้น
( แห่ง
พระสูตร ) ชื่อว่างามในท่ามกลาง เพราะเนื้อความไม่วิปริตไป และเพราะประกอบไปด้วย
( คำชี้ ) เหตุและ
อุทาหรณ์ ตามสมควรแก่เวไนยนิกรทั้งหลาย และชื่อว่างามในเบื้องปลายด้วยนิคมอันยังความได้ศรัทธาให้เกิด
แก่ผู้ฟังทั้งหลาย*
- ศาสนธรรมแม้ทั้งสิ้น งามในเบื้องต้นด้วยศีลอันเป็นรากฐานของตน
งามในท่ามกลางด้วยสมถวิปัสสนาและ
มรรคผล งามในเบื้องปลายด้วยพระนิพพาน ( ดังนี้ ) ก็ได้ หรือว่างามในเบื้องต้นด้วยศีลและสมาธิ
งามในท่าม
กลางด้วยวิปัสสนาและมรรค งามในเบื้องปลายด้วยผลและนิพพาน หรืองามในเบื้องต้นด้วยพุทธสุโพธิตา
( ความตรัส
รู้ดีแห่งพระพุทธเจ้า ) งามในท่ามกลางด้วยธัมมสุธัมมตา ( ความเป็นธรรมดีแห่งพระธรรม
) งามในเบื้องปลาย
ด้วยสังฆสุปฏิปัตติ ( ความปฏิบัติดีแห่งพระสงฆ์ ) หรืองามในเบื้องต้นด้วยอภิสัมโพธิ
งามในท่ามกลางด้วย
ปัจเจกสัมโพธิ งามในเบื้องปลายด้วยสาวกโพธิ อันบุคคลผู้ได้ฟังศาสนธรรมนั้นแล้ว
ปฏิบัติแล้วเพื่อความเป็น
อย่างนั้นจะพึงบรรลุได้
- *
สูตรหนึ่งหรือเรื่องหนึ่ง ย่อมมีข้อความเป็นท่อนๆ เรียงต่อกันไป จนกว่าจะจบสูตร
หรือจบเรื่อง น้อย
ท่อนบ้าง มากท่อนบ้าง ความท่อนหนึ่งนั้นแหละเรียกว่า อนุสนธิหนึ่ง
- นิทาน คือคำขึ้นต้นสูตร บอกกาลที่แสดง
สถานที่ๆ แสดง ผู้แสดง และบริษัท คือผู้รบฟัง เป็นอาทิ
- นิคม คือคำท้ายสูตร ย้ำหรือสรุปเรื่องที่กล่าวมา
เพื่อให้ผู้ตระหนักก่อนจะจบ
- อนึ่ง ศาสนธรรมนั้น ( เมื่อ )
บุคคลฟังอยู่ ก็นำความงามมาให้ได้โดยแท้ แม้ด้วยการฟัง โดยข่มนิวรณ์ได้
( ในขณะฟัง ) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่างามในเบื้องต้น ( เมื่อ ) บุคคลปฏิบัติอยู่
ก็นำความงามมาให้ได้แม้ด้วย
การปฏิบัติ โดยนำความสุขในสมถะและสุขในวิปัสสนาให้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่างามในท่ามกลาง
และ ( เมื่อ )
บุคคลปฏิบัติแล้วอย่างนั้น ครั้นผลแห่งการปฏิบัติสำเร็จแล้ว ก็ย่อมนำความงามมาให้แม้ด้วยผลแห่งการปฏิบัติ
โดยนำความเป็นตาทีบุคคล ( ผู้คงที่ไม่หวั่นไหว ) มาให้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่างามในเบื้องปลายแล
ศาสนธรรม
ชื่อว่า สฺวากฺขาตะ เพราะเป็นธรรมงามในเบื้องต้นงามในท่ามกลางและงามในเบื้องปลาย
โดยนัยดังกล่าวมาฉะนี้
เพราะประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ
... พยัญชนะ ...
- อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อทรงแสดงธรรม ย่อมทรงประกาศคือทรงแสดงโดยนัยต่างๆ
ซึ่งศาสนพรหม
จรรย์ และมรรคพรหมจรรย์อันใด ศาสนพรหมจรรย์และมรรคพรหมจรรย์อันนั้น ชื่อว่า สาตฺถะ
เพราะความถึง
พร้อมแห่งอรรถ ชื่อว่า สพฺยญฺชนะ เพราะความถึงพร้อมแห่งพยัญชนะตามสมควร
- ชื่อว่า สาตฺถะ เพราะประกอบพร้อมด้วยอรรถบท (
บทแสดงอรรถ ๖ ) คือ สังกาสนะ ( แสดงความโดย
สังเขป ) ปกาสนะ ( เริ่มแสดงเป็นหัวข้อ ) วิวรณะ ( ขยายความ ) วิภชนะ ( จำแนกความ
) อุตตานีกรณะ
( ทำความให้ตื้น ) ปัญญัตติ ( แต่งความให้เข้าใจ ) ชื่อว่า สพฺยญฺชนะ เพราะความถึงพร้อมแห่ง
( พยัญชนบท
๖ คือ )
- อักขระ ( ตัวหนังสือ ) บท ( คำที่ประกอบวิภัติ
) พยัญชนะ ( พากย์ ) อาการ ( จำแนกพากย์ออกไป )
นิรุติ ( วิเคราะห์ศัพท์ ) นิเทศ ( ขยายนิรุติให้พิสดาร )
- ชื่อว่า สาตฺถะ เพราะความเป็นคุณลึกโดยอรรถ และความเป็นคุณลึกโดยปฏิเวธ
ชื่อว่า สพฺยญฺชนะ เพราะ
ความเป็นคุณลึกโดยธรรม และความเป็นคุณลึกโดยเทสนา
- ชื่อว่า สาตฺถะ เพราะเป็นวิสัยแห่งอัตถปฏิสัมภิทาและปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ชื่อว่า สพฺยญฺชนะ เพราะเป็น
วิสัยแห่งธรรมปฏิสัมภิทาและนิรุติปฏิสัมภิทา
- ชื่อว่า สาตฺถะ เหตุเป็นคุณยังปริกขกชน ( คนมีปัญญาสอบสวน
) ให้เลื่อมใส เพราะเป็นปัณฑิตเวทนียธรรม
( สำหรับคนฉลาดจะพึงรู้ได้ ) ชื่อว่า สพฺยญฺชนะ เหตุเป็นคุณยังโลกิยชน ( คนทั่วๆ
ไป ) ให้เลื่อมใส เพราะเป็น
สัทไธยธรรม ( ทำให้ศรัทธาเกิด ) ๑
- ชื่อว่า สาตฺถะ เพราะมีอธิบายลึกซึ้ง ชื่อว่า
สพฺยญฺชนะ เพราะมีบทตื้น ๒
- ๑. หมายความว่า พวกคนฉลาดๆ
เชื่อยาก เพราะชอบใช้ปัญญาพิจารณาสอบ ธรรมนี้ก็ปลูกความเลื่อมใส
ให้เกิดแก่คนพวกนี้ได้ เพราะธรรมนี้บริบูรณ์ด้วยอรรถะ ซึ่งยิ่งพิจารณาก็ยิ่งเห็นจริง
ส่วนพวกคนพื้นๆ แม้ไม่ใช้
ปัญญาก็เกิดความเลื่อมใสได้ด้วยพยัญชนสมบัติ คือธรรมนี้มีพยัญชนะสมบูรณ์พอที่จะฟังให้รื่นหูรื่นใจ
เลื่อมใส
ทั้งที่ไม่รู้ความก็ได้
- ๒. หมายความว่า ถ้ามีอรรถาธิบายตื้นๆ
ดาดๆ จะสรรเสริญว่ามีอรรถสมบัติอย่างไร และถ้ามีบทพยัญชนะ
ลึกเสียจนไม่มีใครจะแปลออก จะสรรเสริญว่ามีพยัญชนะสมบัติไฉน