ประวัติความเป็นมา โรงเรียนเตรียมทหาร เป็นสถาบันการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัด กรมยุทธศึกษาทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด และเป็นสถาบันการศึกษาแห่งเดียวใน ประเทศไทยaที่เป็นศูนย์รวมเบื้องต้นสำหรับผู้ที่จะเข้าศึกษาต่อ ในโรงเรียนนายร้อยพระ จุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ กระ รวงกลาโหมได้ตั้งโรงเรียนเตรียมทหารขึ้น เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2501 ด้วยการรวมโรงเรียนเตรียมนายร้อย โรงเรียนเตรียมนายเรือ และ โรงเรียนเตรียมนายเรืออากาศ เข้าด้วยกันโดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้นายทหาร นายตำรวจ ได้มีโอกาสรับการ ศึกษาอบรม และการฝึกในเบื้องต้นร่วมกันที่โรงเรียนเตรียมทหาร เพื่อให้มีโอกาสได้ รู้จักคุ้นเคย มีความสามัคคีกลมเกลียว เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีความคิดจิตใจร่วมกันแต่ เยาว์วัย ซึ่งจะส่งผลให้ทั้ง 3 เหล่าทัพ และ กรมตำรวจ สามารถประสานงานกันได้ด้วยดี และปฏิบัติงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในระยะแรกที่กำลังรอการก่อสร้าง โรงเรียนเตรียมทหาร ได้อาศัยอยู่ที่โรงเรียน นายร้อยพระจุลจอมเกล้า ถนนราชดำเนิน กรุงเทพฯ เป็นการชั่วคราวและได้ย้ายมาอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบันที่ถนนพระราม 4 แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน เมื่อ พ.ศ. 2504
ภารกิจ
โรงเรียนเตรียมทหาร
มีภารกิจในการปกครองบังคับบัญชาและให้การศึกษาใน
ด้าน
พุทธศึกษา จริยศึกษา พลศึกษา กับวิชา ทหาร - ตำรวจ แก่นักเรียนเตรียมทหาร เพื่อให้นักเรียนเตรียมทหารมีความรู้ ความสามารถและทัศนคติพื้นฐานเหมาะสมที่จะเข้า ศึกษาต่อใน
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
โรงเรียนนายเรือ
โรงเรียนนายเรืออากาศ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษาของ
โรงเรียนเตรียมทหารเท่ากับหลักสูตรมัธยมศึกษาตอน
ปลาย ของกระทรวงศึกษาธิการ
(ม.5 - ม.6) โดยกำหนดระยะเวลาศึกษา
2 ปี แบ่งเป็น
4 ภาคการเรียน
และมีวิชาศึกษาดังนี้
วิชาบังคับ
ได้แก่
คณิตศาสตร์ - วิทยาศาสตร์ - ภาษาไทย - สังคมศึกษา - พลานามัย - วิชาทหาร
วิชาเลือก ให้เลือกจากกลุ่มวิชาต่างๆ ต่อไปนี้ - ภาษาอังกฤษ - ภาษาไทย - สังคมศึกษา - วิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ - คอมพิวเตอร์ - พลานามัย - วิชาทหาร
นักเรียนเตรียมทหารที่ได้ศึกษาจบหลักสูตร
จะได้รับประกาศนียบัตรมีสิทธิ
และวิทยะฐานะเท่ากับ
ผู้สำเร็จการศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายของกระทรวง
ศึกษาธิการ
และจะได้ไปศึกษาต่อใน
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
โรงเรียนนายเรือ
โรงเรียนนายเรืออากาศ
และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ต่อไป
ค่าใช้จ่ายในการศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหาร
นักเรียนเตรียมทหารทุกนายจะต้องพักประจำในโรงเรียนและจะต้องเสียค่าใช้
จ่าย ซึ่งประกอบด้วย
ค่าลงทะเบียน
ค่าบำรุงต่าง
ๆ ค่าตำรา ค่าเครื่องแต่งกาย
และค่า อาหารวันละ
3 มื้อ ดังนี้
ชั้นปที่ 1 ประมาณ
36,000 บาทต่อปี ชั้นปีที่
2 ประมาณ 22,000 บาทต่อปี
(ผู้ปกครองมีสิทธิเบิกค่าบำรุงการศึกษาได้)
ในแต่ละปีการศึกษา
ได้มีหน่วยราชการ
มูลนิธิและบุคคลทั่วไป
ได้กรุณามอบทุนมากพอที่จะให้การสนับสนุน
แก่นักเรียนเตรียม
ทหารผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์
ประโยชนที่นักเรียนเตรียมทหารจะได้รับ
นักเรียนจะทำการสอบคัดเลือกเพียงครั้งเดียว
ก็จะได้เข้าศึกษาต่อในโรงเรียน
ของเหล่าทัพ
และกรมตำรวจเลย
โดยไม่ต้องผ่านการสอบคัดเลือกอีก
โรงเรียนของเหล่าทัพมี
ทุนการศึกษาในต่างประเทศ
ให้แก่นักเรียนที่เรียนดี
ในแต่ละปี เป็นจำนวนมาก
เมื่อสำเร็จการศึกษาจาก
โรงเรียนของเหล่าท้พและกรมตำรวจแล้ว
จะได้รับ พระราชทานปริญญาบัตร
ได้รับพระราชทานกระบี่
ได้รับพระราชทานยศ
ร้อยตรี เรือตรี
เรืออากาศตรี
และร้อยตำรวจตรี
และได้รับการบรรจุเข้ารับ
ราชการ มีเงินเดือนใช้
การเข้าศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหาร
โรงเรียนเตรียมทหาร
มิได้เป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือกนักเรียนเตรียมทหาร
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
โรงเรียนนายเรือ
โรงเรียนนายเรืออากาศ
และโรงเรียน
นายร้อยตำรวจ
จะเป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือกและกำหนดจำนวนนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของ
กองทัพบก กองทัพเรือ
กองทัพอากาศ
และกรมตำรวจ
ในแต่ละปี และส่งมาเรียนร่วมกันที่โรงเรียนเตรียมทหาร
เป็นเวลา 2 ปี
เมื่อนักเรียนสำเร็จการศึกษา
ตามหลักสูตรของโรงเรียนเตรียมทหารแล้ว
จึงจะไปศึกษาต่อในโรงเรียนทหาร
ตำรวจ ตามที่นักเรียนสมัครสอบไว้แต่แรก
ใบสมัคร
จะมีจำหน่ายประมาณกลางเดือนมกราคม
สมัครสอบ ประมาณกลางเดือนมีนาคม
สอบคัดเลือก
ประมาณต้นเดือนเมษายนของทุกปี
คุณสมบัตรของผู้สมัคร
1. เป็นชายโสด อายุไม่ต่ำกว่า 14 ปี และไม่เกิน 18 ปี บริบูรณ์
2. ผ่านทุกรายวิชาตามที่กำหนดในแผนการเรียนชั้น ม.4 หลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ หรือเทียบเท่า
3. มีสัญชาติไทย และบิดามารดาผู้ให้กำเนิด มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด
4. มีรูปร่าง ลักษณะท่าทาง ขนาดของร่างกาย และสุขภาพสมบูรณ์เหมาะแก่การเป็นทหาร - ตำรวจ
การสอบคัดเลือก
การสอบคัดเลือกแบ่งเป็น 2 รอบ การสอบรอบแรก เป็นการสอบภาควิชาการ เนื้อหาวิชาครอบคลุมความรู้ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น วิชาที่สอบ มี ๔ วิชา คณิตศาสตร์ ( 200 คะแนน ) วิทยาศาสตร์ ( 300 คะแนน ) ภาษาอังกฤษ ( 100 คะแนน ) ภาษาไทย ( 100 คะแนน ) การสอบรอบสอง ประกอบด้วย การตรวจร่างกาย เป็นการตรวจสุขภาพความสมบูรณ์และการเจริญเติบโตของ ร่างกายว่า ไม่เป็นโรคตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ว่าด้วยการรับราชการทหาร และตามที่กองบัญชาการทหารสูงสุดกำหนด การสัมภาษณ์ -ท่วงทีวาจา เป็นการพิจารณาตรวจสอบรูปร่างลักษณะท่าทาง ความองอาจ ว่องไวปฏิภาณ- ไหวพริบ ทัศนคติของผู้สมัครว่าเหมาะสมในการเป็นทหาร - ตำรวจ หรือไม่เพียงไร การสอบพลศึกษา เป็นการ ทดสอบสมรรถภาพความแข็งแรง ความแคล่วคล่องว่องไวของผู้สมัคร
ประเภทของการสอบพลศึกษามี
8 ประเภท ประกอบด้วย
ดึงข้อราวเดี่ยว
ลุก - นั่ง 30 วินาที
ยึดพื้นหรือดันข้อ
( อ.สอบนั่งงอตัว)
วิ่ง 100 เมตร ( อ.สอบวิ่ง
50 เมตร) วิ่ง 1,000
เมตร ( ร. สอบวิ่ง
1,200 เมตร) ยืนกระโดดไกล
ว่ายน้ำ 50 เมตร
กลับตัวหรือวิ่งเก็บของ
ผูที่สนใจติดต่อ
ขอรายละเอียดได้โดยตรงจากแต่ละสถาบันที่เป็นผู้ดำเนินการ
สอบคัดเลือก
ผู้สมัครเหล่าทหารบก
ติดต่อที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
อ.เมือง นครนายก
26000 โทร. 241-2691-5 ผู้สมัครเหล่าทหารเรือ
ติดต่อที่ โรงเรียนนายเรือ
สมุทรปราการ
10270 โทร. 394- 0441 ผู้สมัครเหล่าทหารอากาศ
ติดต่อที่โรงเรียนนายเรืออากาศ
ดอนเมือง กรุงเทพ
ฯ 10220 โทร. 534-3627 ผู้สมัครเหล่าตำรวจ
ติดต่อที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน
จ. นครปถม 73110 โทร.
(024) 222-933-7 ใบสมัครของแต่ละเหล่ามีจำหน่าย
ตามสถานที่ดังกล่าวข้างต้น
และท่านอาจ
สอบถามรายละเอียดได้จาก
แผนกสารนิเทศ
โรงเรียนเตรียมทหาร
ถนนพระราม 4 กรุงเทพ
ฯ 10330 โทร. 252-1121-30 ต่อ
294
Developed by Col.Sittichoke Muktier (kasim@ksc15.th.com)