Top
การใช้ Finasteride ในการรักษา
ชายที่มีศีรษะล้านส่วนหน้า |
การใช้ HAIRPRIME ในการสนับสนุน
การเสริมสร้างและชลอการหลุดร่วง
ของเส้นผมก่อนเวลา |

การใช้ Finasteride ในการรักษา
ชายที่มีศีรษะล้านส่วนหน้า
Journal of American Academy of
Dermatology 40: 1999: 930-937
บทคัดย่อ
Finasteride
เป็นยายับยั้งเอนไซม์ type II 5 alpha reductase
อย่างจำเพาะเจาะจง จึงสามารถลด
ระดับของ dihydrotestosterone
ทั้งในเลือดและที่หนังศีรษะและแสดงให้เห็นแล้วว่าใช้ได้ผลดีใน
ผู้ชายที่ผมร่วงแบบ vertex male
pattern
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาถึงประสิทธิผลของ
finasteride 1 มก./วัน
ในผู้ชายที่มีผมส่วนหน้าบาง frontal
(anterior/mid) scalp hair thining

วิธีการ
เป็นการศึกษาแบบ double blind,
placebo controlled ใช้เวลา 1 ปี แล้วต่อด้วย open
extension
อีก 1 ปี
การประเมินผลดูจากการนับจำนวนเส้นผม
(ในวงกลมขนาด 1 ตารางเซนติเมตร)
โดยผู้ป่วย
เองและผู้ทำการวิจัยและการประเมินจากรูปถ่ายโดยผู้เชี่ยวชาญที่ไม่ทราบรายละเอียดการทดลอง
ผล
พบจำนวนเส้นผมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากการนับเส้นผมบริเวณด้านหน้าในกลุ่มที่ได้รับ
finasteride
1 มก./วัน
รวมทั้งการประเมินทุกวิธีโดยผู้ป่วยเอง
ผู้ทำการวิจัยและ glabal photographic review
ประสิทธิผลที่ได้รับยังคงดำเนินต่อไปหรือดีขึ้นตลอดปีที่
2 ของการทดลองที่ดำเนินต่อ
ผู้ป่วยทนต่อยา
finasteride ได้ดี
สรุป
ในเพศชายที่ผมร่วงบริเวณ
anterior/mid ของศีรษะ ยา finasteride 1 มก./วัน
ช่วยให้ผมร่วงช้าลงและ
ช่วยให้ผมขึ้นใหม่มากขึ้น
ภาวะผมบางศีรษะล้านแบบ male pattern hair
loss หรือ androgenic alopecia ที่พบได้บ่อย
จากสาเหตุทั้งทางพันธุกรรมและฮอร์โมนเพศ
มีลักษณะเฉพาะคือจะมีผมร่วงและผมบางลงเรื่อยๆ
ในบริเวณที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ
bitemporal และเชิงผมบริเวณ anterior/middle scalp
จะร่น
เข้าไป หรือบริเวณ vertex จะบางลง
ถึงแม้ว่าอัตราการสูญเสียเส้นผมจะแตกต่างกันในผู้ชายแต่
ละคน
แต่กระบวนการค่อนข้างจะช้าคือส่วนใหญ่เป็นเวลาหลายปี
ผมที่เหลืออยู่รอบๆจะมีขนาด
เล็กลงและสีจะเข้มน้อยลง
ถึงแม้ว่าบทบาทของพันธุกรรมยังคงมีการศึกษากันอยู่
แต่ความเกี่ยวพันที่สำคัญยิ่งของฮอร์โมน
androgen ทราบมากว่า 50 ปีแล้ว
ขณะนี้เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า
dihydrotestosterone เป็น
androgen ซึ่งเป็นต้นเหตุของ male
pattern hair loss
ภาวะนี้ยืนยันได้จากการสังเกตุผู้ชายที่มี
ความผิดปกติทางพันธุกรรมคือพร่องฮอร์โมน
type II alpha reductase ทำให้ระดับของ
dihydrotestosterone ต่ำ แต่มีระดับ testosterone
ปกติ จะไม่พบลักษณะ male pattern hair
loss เลย นอกจากนี้ยังพบว่า
dihydrotestosterone พื้นฐานในคนที่มีลักษณะ
ผมบางศีรษะล้าน
จะสูงกว่าคนที่มีผมปกติ
Finasteride เป็นสารต้านเอนไซม์ type II alpha
reductase อย่างจำเพาะเจาะจง
ได้แสดงให้
เห็นว่าสามารถลดระดับ dihydrotestosterone
ทั้งในเลือดและที่หนังศีรษะของคนผมบางศีรษะ
ล้าน
ข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นว่า finasteride
1 มก./วัน
ช่วยเพิ่มปริมาณเส้นผมในผู้ชายที่มี
ผมบางในลักษณะ vertex thining
ผมร่วงบริเวณด้านหน้าศีรษะ
การประเมินผล
โดยการนับเส้นผม
(Hair counts)
การนับเส้นผมทำได้โดยใช้ภาพขยายโดยคอมพิวเตอร์ช่วย
โดยการตัดผมบริเวณที่ต้องการนับ
เป็นพื้นที่ 1 ตารางเซนติเมตร
และที่ศูนย์กลางของบริเวณที่ใช้นับซึ่งทำเครื่องหมายไว้เพื่อให้
ได้จุดเดิมทุกครั้ง
ภาพขยายจะถูกเปลี่ยนเป็น dot maps
ของเส้นผมแต่ละเส้นโดยเจ้าหน้าที่
ผู้ชำนาญการซึ่งไม่ทราบรายละเอียดในการรักษา
โดยผู้ป่วยเอง
(Patient self-assessment)
ผู้ป่วยประเมินตนเองโดยการตอบแบบสอบถามซึ่งประกอบด้วย
6 คำถาม แต่ละคำถามมีการ
เปรีบยเทียบกับเมื่อเริ่มต้นการทดลอง
ประกอบด้วย ลักษณะของเส้นผม /
ความเจริญของเส้นผม /
การชะลอการสูญเสียเส้นผม / ความพอใจกับลักษณะผมของตน
/ ความพึงพอใจใน frontal hair
line (ตีนผม) / ความพึงพอใจ กับผมโดยรวม
โดยผู้วิจัย
(Investigator Assessment)
ผู้วิจัยทำการประเมินผลคนไข้ในแต่ละราย
โดยใช้ระบบการให้คะแนนมาตรฐาน 7
คะแนน เกี่ยว
กับการเจริญของเส้นผมในขณะนั้นเมื่อเทียบกับตอนเริ่มต้นดังนี้
-3 ลดลงมาก / -2 ลดลงปานกลาง /
-1 ลดลงเล็กน้อย / 0
ไม่มีการเปลี่ยนแปลง / 1
เพิ่มขึ้นเล็กน้อย / 2
เพิ่มขึ้นปานกลาง / 3 เพิ่มขึ้นมาก
โดยการใช้ภาพถ่าย
(Global photographic assessment)
การใช้ภาพถ่ายกลางศีรษะ (anterior/mid)
ทำก่อนตัดผมเพื่อ scan
ด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับนับ
เส้นผม ยึดศีรษะของผู้ป่วยด้วย
stereotactic device
เพื่อให้อยู่ในตำแหน่งและระยะเดิมสำหรับ
ถ่ายรูปทุกครั้งก่อนถ่ายรูปหวีผมให้อยู่ในทางเดิมของผู้ป่วยแต่ละรายเพื่อให้บริเวณที่ศีรษะล้านมอง
ได้ชัดเจน
เมื่อสิ้นสุดการทดลอง
แพทย์ผิวหนังผู้มีประสบการณ์ 3 คน
จะเป็นผู้ประเมินว่ามีการเพิ่ม
ขึ้นของผมหรือมีผมร่วงมากขึ้นโดยเปรียบเทียบกับก่อนวิจัย
โดยใช้ระบบ 7 คะแนน
ผลการศึกษา
จากการประเมินโดยการนับจำนวนเส้นผม
ระหว่างปีแรกของการศึกษาพบว่าจำนวนเส้นผมเฉลี่ยที่นับได้ใน
1 ตารางเซนติเมตรเพิ่มขึ้น 9.6 +/- 1.5
เส้น
ในกลุ่มที่ได้รับยา finasteride และลดลง
2.06 +/- 1.5 เส้น
ในกลุ่มที่ได้รับยาหลอก
เมื่อสิ้นสุดในเดือนที่ 12
พบว่า 70% ของกลุ่มที่ได้รับยา finasteride
ไม่มีการสูญเสียเส้นผมเพิ่มขึ้น
ในขณะที่ 56% ของผู้ป่วยที่ได้รับ
ยาหลอกยังคงสูญเสียเส้นผมต่อไป
จากการประเมินโดยผู้วิจัย
การประเมินโดยผู้วิจัยพบว่าการเจริญของเส้นผมในกลุ่มที่รับยา
finasteride
ดีกว่ากลุ่มยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ
ที่ทุกระยะเวลาโดยเริ่มเห็นผลตั้งแต่เดือนที่
สามและความแตกต่างจะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆเมื่อเวลาผ่านไป
เมื่อ
ระยะเวลาผ่านไป12 เดือนพบว่า
ในกลุ่มได้รับยา finasteride
ได้รับการประเมินว่า 52 % ดีชึ้น
นอกจากนี้ผู้ทำการ
วิจัยพบว่าอาการผมร่วงดีขึ้นตลอดในช่วง
2 ปีที่ทำการวิจัย
จากการประเมินตนเองของผู้ป่วย
การประเมินผลด้วยผู้ป่วยเองจากการตอบคำถามทั้ง
6 ข้อจะพบว่า finasteride
ให้ผลดีกว่ายาหลอกตั้งแต่การ
ประเมินครั้งแรกคือที่ระยะ 3
เดือนและทุกๆครั้งหลังจากนั้นถ้าแยกลงไปในแต่ละข้อจะพบว่าคำถามที่
1และ
คำถามที่ 3
ได้ผลดีมากในกลุ่มที่ได้รับยา
finasteride
เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มยาหลอกเมื่อครบเดือนที่
3 และ
เมื่อถึงเดือน 6
จนจบการทดลองพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของทั้งสองกลุ่ม
คำถามที่ได้รับการ
ตอบสนองในทางบวกมากที่สุดในกลุ่มที่ได้รับ
finasteride คือข้อสาม
ประสิทธิภาพในการชลอการสูญเสียเส้นผม
จากการประเมินจากภาพถ่าย
แสดงให้เห็นว่าผู้ที่ได้รับ
finasteride มีอาการศีรษะล้านดีขึ้นมาก
เมื่อเปรียบกับกลุ่มยาหลอกที่ระยะ
6 และ
12 เดือน (p<0.001) ที่ระยะ 12 เดือน 37%
ของผู้ชายในกลุ่ม finasteride
ประเมินว่าดีขึ้นในขณะที่เทียบกับ
กลุ่มยาหลอกเพียง 7 %
และอาการที่ดีขึ้นนี้ดำเนินต่อไปตลอดปีที่
2 ของการทดลอง
ความปลอดภัย
ระหว่างการวิจัยผู้ร่วมโครงการทนต่อยาได้ดี
ไม่พบอาการข้างเคียงที่สำคัญทั้งทางร่างกายและผลตรวจเลือด
ในกลุ่ม finasteride
เมื่อเทียบกับกลุ่มยาหลอก
อาการข้างเคียงเนื่องจากยาที่พบมีเพียงอาการข้างเคียงทางเพศ
ซึ่งรายงานประมาณ 2% ในทั้ง 2 กลุ่ม
(ผู้ป่วย 2
คนในแต่ละกลุ่มรายงานว่ามีความต้องการทางเพศลดลง
ผู้ป่วย 1
รายในกลุ่มยาหลอกมีปัญหาในการหลั่ง
ผู้ป่วย 1 รายในกลุ่ม finasteride
รายงานว่าอวัยวะเพศไม่แข็งตัว)
แต่ไม่มีผู้ป่วยรายใดหยุดยาเพราะอาการข้างเคียงทางเพศ
และทุกคนอาการหายไปเองในระหว่างทำการทดลอง
และไม่มีรายงานผลข้างเคียงเพิ่มขึ้นในปีที่
2
ภาพแสดงผลการประเมินผล

ก่อน-หลังการใช้ยา
ก่อน-หลังการใช้ยา
วิจารณ์
ในปัจจุบันเป็นที่ชัดเจนแล้วว่าสาเหตุของผมบางศีรษะล้านแบบ
male pattern hair loss มีความเกี่ยวพัน
กับฮอร์์โมน dihydrotestosterone
ซึ่งมีบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะนี้
เพราะผู้ชายที่มีความบกพร่อง
ทางพันธุกรรมคือไม่มี เอมไซม์
5-alpha reductase และมีระดับของ dihydrotestosterone
ต่ำจะไม่พบภาวะ
ผมบางศีรษะล้านบริเวณ bitemporal
หรือ androgenic alopecia และตัวยา finasteride
ได้พิสูจน์แล้วว่ามี
ประสิทธิภาพในการรักษาผมบางศีรษะล้านบริเวณ
vertex (ส่วนกลาง)
ความสำคัญของผลการรักษาที่ดีขึ้นเนื่องจาก
finasteride
จะเห็นได้ชัดจากการประเมินผลโดยผู้ป่วยเอง
ประมาณ 50% ของผู้ที่ได้รับ
finasteride พบว่าสภาพของผมของตนดีขึ้น
และเกือบ 70% ของผู้ที่ได้รับว่า
รายงานว่าการสูญเสียเส้นผมช้าลงและลดลง
นอกจากนี่ความพึงพอใจต่อผมของตนเองซึ่งเป็นสิ่งที่วัดได้
ยากก็ดีขึ้นเมื่อผ่านระยะการทดลอง
สภาพของผมจะเริ่มดีขึ้นตั้งแต่เดือนที่
6 และดำเนินต่อไปเรื่อยๆตลอด 24
เดือน และเมื่อเวลาผ่านไป
จะพบการเปลี่ยนแปลงที่ดียิ่งขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน
โดย finasteride
จะเริ่มด้วยการลดชลอการสูญเสีย
เส้นผมให้ช้าลง
โดยเริ่มสังเกตุเห็นได้ในเดือนที่
3
และจะเริ่มช่วยให้เส้นผมใหม่สามารถเจรฺญงอกงาม
เมื่อการรักษาดำเนินต่อไปผมที่ขึ้นมาใหม่ก็จะมีขนาดหนาและยาวขึ้น
เนื่องจากวงจรของเส้นผมนั้นจะใช้
เวลาประมาณ 2-3 ปี
ดังนั้นผลการรักษาที่ดีขึ้นจะดำเนินไปอย่างช้าๆ
และ finasteride มุ่งเน้นแก้ที่
สาเหตุโดยตรงของการเกิด androgenic alopecia
ดังนั้นภายหลังจากการแก้ไขสาเหตุเบื้องต้นแล้วก็ตาม
มาด้วยสภาพของผมที่ดีขึ้น
ในการศึกษานี้ไม่มีอาการข้างเคียงที่พบใน
finasteride มากไปกว่าในกลุ่มยาหลอก
ในบางงานวิจัยมี
รายงานผลข้างเคียงทางเพศบ้าง
แต่อาการข้างเคียงเหล่านี้หายไปหมดเมื่อหยุดยาและบางส่วนก็หายไป
แม้ในผู้ที่ยังคงทานยาอยู่ต่อไป

FINASTERIDE, MSD Inhibits formation
of DHT, a key underlying cause of androgenic alopecia
HAIRPRIME ,USA Promote healthy hair
growth with natural supplement for hair growth

การใช้ HAIRPRIME
ในการสนับสนุนการเสริม
สร้างเส้นผมและชลอการหลุดร่วงก่อนเวลา
วงจรชีวิตของเส้นผม
สามารถจัดแบ่งได้ออกเป็น3
ระยะดังต่อไปนี้
1. Anagen phase
ระยะที่มีการเจริญเติบโตของเส้นผม
โดยปกติแล้วเส้นผมในช่วงเวลานี้จะมีช่วงอายุ
ประมาณ 2-3 ปี
2. Catagen phase
ระยะหยุดการเจริญเติบโตของเส้นผม
โดยทั่วไปเส้นผมจะอยู่ในช่วงระยะเวลานี้
ประมาณ 2-3 เดือน
3. Telogen phase
ระยะวัยชราของเส้นผม
เส้นผมที่อยุ่ในระยะเวลานี้จะทยอยหลุดร่วงไปตามธรรมขาติ
ขณะเดียวกัน
เซลรากผมก็จะเริ่มสร้างเส้นผมเส้นใหม่ขึ้นมาทดแทนเส้นผมเดิมที่จะหลุดร่วงไป
ระยะ
เวลานี้ประมาณ 3-7 วัน

โดยเฉลี่ยแล้วเส้นผมของเราจะมีอายุโดยเฉลี่ยประมาณ
1000 วัน มีอัตราการงอกใหม่ประมาณ 2-3%
/เดือน
มีความยาว
เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณ 0.5
นิ้ว/เดือน
ดังนั้นในคนปกติแล้วจะมีเส้นผมที่ถึงวาระหลุดร่วงได้
ประมาณ 40-50 เส้น/วัน
ในกรณีที่มีลักษณะผมร่วงมากกว่าปกติจนเข้าสู่ลักษณะผมบางนั้นมักมีสาเหตุมาจาก
-
สาเหตุบางอย่างที่ทำให้มีการร่วงมากกว่าปกติ
จนทำให้ผมใหม่ขึ้นมาทดแทนไม่ทัน
-
มีอัตราการร่วงของเส้นผมตามปกติ
แต่มีเหตุบางประการยับยั้งไม่ให้มีการสร้างเส้นผมใหม่ขึ้นมาทดแทนได้ทัน
-
หรืออาจมีสาเหตุทั้งสองประการร่วมกัน
ลักษณะที่จะเกิดขึ้นคือจะมีลักษณะผมบางขึ้นเรื่อยๆ
ซึ้งหากปล่อยไว้โดยไม่ได้ดำเนินการดูแลรักษาอย่างถูกขั้นตอน
ลักษณะผมบางจะเพิ่มขึ้นจนเข้าสู่ลักษณะผมล้านต่อๆไป
ในกรณีนี้หากว่าเซลรากผมได้ถูกทำลายจนเสื่อมสภาพหรือ
ตายไปก็จะไม่สมารถกระตุ้นหรือฟื้นฟูให้เกิดการงอกของเส้นผมได้ใหม่ตลอดไป
ดังนั้นการดูแลฟื้นฟูแต่เนินๆจะเป็น
โอกาสที่ดีที่สุด
จากวงจรชีวิตของเส้นผมข้างต้นแสดงให้เห็นว่าการดูแลฟื้นฟูให้มีลักษณะที่ดีขึ้นจำเป็นต้องใช้ระยะ
เวลาพอสมควร
เป็นไปไม่ได้เลยที่จะคาดหวังให้เส้นผมกลับมาสู่สภาพปกติภายในระยะเวลาอันสั้น
นอกจากนี้ความ
สามารถในการฟื้นฟูกลับสู่สภาพเดิมนั้นยังขึ้นอยู่กับระยะเวลาของอาการว่าเป็นมานานมากน้อยเพียงใด
เราสามารถแบ่งลักษณของอาการผมร่วงมากผิดปกติออกได้เป็น
2 กลุ่มใหญ่
1.
ผมร่วงแบบชนิดมีแผลเป็นและมีการทำลายของเซลรากผม
(Scarring Alopecia)
ผมร่วงประเภทนี้เกิดจากเซลรากผมถูกทำลายไปพร้อมกับการสูญเสียของเส้นผมด้วย
ทำให้ไม่สามารถที่จะมี
เส้นผมใหม่งอกขึ้นมาได้อีก
เช่นเกิดจากแผลไฟไหม้บริเวณหนังศีรษะ
ถูกหรือสัมผัสรังสีในปริมาณมากๆหรือ
เป็นระยะเวลานาน โรคเรื้อน
วัณโรคที่หนังศีรษะ
งูสวัดและเริม เป็นต้น

2. ผมร่วงแบบชนิดไม่มีแผลเป็น (Non
Scarring Alopecia)
เป็นกลุ่มอาการผมร่วงที่ไม่ได้มีการทำลายเซลรากผมโดยตรง
ซึ่งลักษณะการร่วงของเส้นผมในกลุ่มนี้
ส่วนใหญ่สามารถช่วยให้เส้นผมสามารถกลับงอกขึ้นมาใหม่ได้อีก
สาเหตุสำคัญของกลุ่มนี้ได้แก่
2.1
อาการผมร่วงมากในมารดาหลังการคลอดบุตร
เนื่องมาจากการแปรปรวนของฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง
ในช่วงก่อนและหลังการคลอดบุตร
2.2 ผมร่วงมากจากไข้ไทฟอยด์
ภาวะความเครียด
หรือการขาดอาหารโดยเฉพาะพวกโปรตีนเป็นระยะ
เวลานาน
2.3 สภาพมลภาวะที่ไม่สะอาด
การติดเชื้อรา
การอักเสบของหนังศีรษะจากเชื้อแบคทีเรีย
การเปลี่ยนแปลง
ของอุณหภูมิอย่างรวดเร็วเป็นประจำ
การอบหรือดัดผมที่ใช้อุณหภูมิสูงเป็นประจำ
การแพ้ต่อสารเคมี
บางชนิด เป็นต้น
2.4
จากพันธุกรรมและความผิดปกติไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศ
โรคของต่อมไร้ท่อ เป็นต้น
ในกลุ่มนี้โดยเฉพาะ 2.1-2.3
หากค้นพบสาเหตุและกำจัดต้นเหตุหรือหลีกเลี่ยงแก้ไขต้นเหตุได้แล้ว
อาการ
ผมร่วงก็จะหายไปได้และค่อยๆกลับสู่สภาพผมปกติได้ตามเดิมแต่ถ้าไม่สามารถแก้ที่ต้นเหตุได้อาการก็จะ
ยังไม่ดีขึ้นหรือเป็นๆหายๆ
ส่วนในกลุ่ม 2.4
นั้นจะพบได้บ่อยในเพศชายทั้งในวัยหนุ่มจนถึงวัยที่เข้าสู่วัยกลางคน
มักมีสาเหตุจาก
พันธุกรรมและความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศโดยเฉพาะฮอร์โมน
DHT Dihydrotestosterone ที่มีระดับ
สูงกว่าคนปกติทั่วไป
จะไปทำให้เส้นผมมาอยู่ในช่วงที่
3 (Telogen phase) มากขึ้นเรื่อยๆ
พร้อมทั้งไปกดการสร้างเส้นผมใหม่และทำให้เซลรากผมเสื่อมสภาพและตายเร็วขึ้น
ลักษณะจะเป็น
ไปอย่างช้าๆแต่ต่อเนื่องตลอดเวลา
และเมื่อปล่อยไว้นานมากขึ้นอาการก็จะปรากฏชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ
เป็นแบบมาตรฐานตามภาพประกอบ

ลักษณะอาการผมร่วงมากกว่าปกติที่เนื่องมาจากกรรมพันธุ์และความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศ
(Androgenic Alopecia) มักพบได้บ่อยในเพศชาย
สามารถเริ่มปรากฏอาการได้ตั้งแต่วัยหนุ่มขึ้นไป
แต่มักจะเห็นได้ชัดเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยกลางคน
จากผลการวิจัยของนักชีววิทยาในปัจจุบันทำให้เรา
ทราบว่ามีสาเหตุมาจากเอ็นไซม์
5-Alpha-reductase ซึ่งจะพบได้มากบริเวณ papilla
ของรากผม
ซึ่งหากมีเอ็มไซม์ตัวนี้มากเจ้าเอ็มไซม์ตัวนี้จะไปเปลี่ยนฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนให้กลายไปเป็น
ไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (DHT)
เพิ่มมากขึ้น และเจ้าฮอร์โมน DHT
นี้ได้มีการพิสูจน์แล้วว่าเป็นตัวเหต
ุสำคัญที่ทำให้เกิดลักษณะผมร่วงมากผิดปกติ
เกิดลักษณะผมบางจนไปถึงศีรษะล้านได้ในที่สุด
โดย
ฮอร์โมน DHT
จะไปกดและทำให้เซลรากผมเสื่อมสภาพทำให้ไม่มีการสร้างเส้นผมใหม่
/ เส้นผมเติบ
โตช้า / เส้นผมหลุดร่วงง่าย
ดังนั้นการควบคุม ลด
หรือกำจัดเอ็นไซม์ 5-Alpha-reductase หรือ
ฮอร์โมน Dihydrotestosterone
(DHT)
ก็จะช่วยให้อาการผมร่วงมากผิดปกติลอลงไปด้วย
แฮร์ไพร์ม
ช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนที่เป็นตัวสาเหตุสำคัญ
เพื่อคืนสภาพเส้นผมให้กับมาสู่วงจร
เส้นผมตามปกติอย่างธรรมชาติ
พร้อมอาหารเสริมเพื่อฟื้นฟูเซลรากผมให้กลับมาแข็งแรงตามเดิม
โดยไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงใดๆ
เนื่องจากสกัดมาจากสารธรรมชาติ
ชุดโปรแกรมของแฮร์ไพร์ม
เพื่อช่วยดูแลเสริมสร้างเส้นผมประกอบด้วย
1. HairPrime Herbal&Vitamin Supplement
สารสกัดจากธรรมชาติพร้อมวิตามิน
และแร่ธาตุที่จำเป็นในการสนับสนุนการสร้างเส้นผมใหม่เช่น
Panththenic Acid,Zinc, Biotin เป็นต้น
สารสกัดธรรมชาติช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนให้อยู่ใน
ระดับปกติเพื่อให้เส้นผมสามารถดำเนินไปตามวงจรชีวิตของเส้นผมได้
2. HairPrime Shampoo
เป็นแชมพูที่ไม่มีสารเคมีที่ทำให้เกิดการแพ้และระคายเคืองต่อเซลรากผม
สามารถทำความสะอาด
และชำระไขมันส่วนเกินได้ดีกว่า
พร้อมสารสกัดธรรมชาติในการช่วยกระตุ้นเซลรากผมให้แข็งแรง
ช่วยลดการอักเสบของรากผม
3. HairPrime Herbal Cream Treatment
ครีมนวดกระตุ้นเซลรากผมประกอบด้วย
Healthy hair factor
ช่วยกระตุ้นฟื้นฟูเซลรากผมให้กลับคืน
สู่สภาพปกติ
ช่วยลดดระดับฮอร์โมน Dihydrotestosterone (DHT)
ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิด
อาการผมร่วงมากผิดปกติเป็นการลดของร่วงและช่วยเสริมสร้างเส้นผมใหม่ให้แข็งแรง

ภาพแสดงผลจากการทดลองในอาสาสมัครใช้ผลิตภัณฑ์แฮร์ไพร์ม
โดยสถาบันวิจัยในสหรัฐอเมริกา
โดยใช้แฮร์ไพร์มอย่างต่อเนื่องประมาณ
12-16 เดือน
การใช้ผลิตภัณฑ์
ทั้ง Finasteride และ HairPrime
ร่วมกันจะเพิ่มประสิทธิภาพและโอกาส
ในการเสริมสร้างเส้นผมใหม่และลดการร่วงของเส้นผม
ให้กลับคืนสู่ภาวะปกติได้มากขึ้น
ที่สำคัญคือหากเซลรากผลถูกทำลายหรือเสื่อมสภาพไปแล้ว
จะไม่มีโอกาสใดๆที่จะสามารถกระตุ้นให้สร้าง
เส้นผมขึ้นมาใหม่ได้

PROPECIA
(finasteride)
โพรพีเซีย
เป็นสารสังเคราะห์ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งจำเพาะต่อเอนไซม์
5-alpha-reductase
ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงฮอร์โมน
แอนโดรเจน เทสโทสเตอโรน ให้เป็น
ไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (DHT)
ข้อบ่งใช้
มีข้อบ่งใช้ในการรักษาอาการผมร่วงในผู้ชาย
โดยเฉพาะแบบ Androgenic Alopecia โดยมีผล
ต่อการเพิ่มของเส้นผม
และป้องกันไม่ให้ผมร่วงอีก
ไม่มีข้องบ่งใช้ในสตรีหรือเด็ก
ขนาดและการบริหารยา
แนะนำให้รับประทานขนาด 1 mg วันละ 1
เม็ด
อาจให้พร้อมอาหารหรือไม่ก็ได้
โดยทั่วไปจะเริ่มเห็นผลในการเพิ่มการงอกของเส้นผม
และหรือการป้องกันผมร่วง
หรือไม่ก็ต่อเมื่อมีการใช้ยา
ติดต่อกันทุกวันนาน 3 เดือนขึ้นไป
และควรใช้ติดต่อกันไปเพื่อให้ได้ผลการรักษาสูงสุด
การหยุดยาในกลุ่มของ
Androgenic Alopecia
จะมีผลทำให้กลับคืนสู่สภาพเดิมก่อนการใช้ยาได้ภายใน
12 เดือน
ข้อห้ามใช้
โพรพีเซียมีข้อห้ามใช้ในกรณีต่อไปนี้
- หญิงมีครรภ์ หรือมีโอกาสมีครรภ์
(ดูหญิงมีครรภ์)
-
ผู้ที่แพ้ส่วนประกอบใดๆของยานี้
โพรพีเซีย
ไม่มีข้อบ่งใช้ในผู้หญิงและเด็ก
ข้อควรระวัง
จากการศึกษาทางคลีนิคของการใช้โพรพีเซียในผู้ชายอายุประมาณ
18 - 41 ปี พบว่าค่า PSA
Prostatic Specific Antigen ลดลงจาก 0.7
นาโนแกรม/มิลลิลิตร เป็น 0.5
นาโนแกรม/มิลลิลิตรในเดือนที่ 12
เมื่อใช้โพรพีเซียในการรักษาอาการผมร่วงในผู้ชายสูงอายุที่เป็นโรคต่อมลูกหมากโต
(Benign prostatic
hyperplasia ) ร่วมด้วย
ควรตระหนักว่าในผู้ป่วยดังกล่าวค่า
PSA จะลดลงถึง 50 %
หญิงมีครรภ์
ห้ามใช้โพรพีเซียในหญิงมีครรภ์หรือคิดว่าอาจมีครรภ์
เนื่องจากเอนไซม์ 5-alpha-reductase
รวมทั้ง finasteride
สามารถยับยั้งการเปลี่ยนฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน
เป็นไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน จึงอาจ
ทำให้เกิดความผิดปกติของอวัยวะเพศภายนอกของทารกเพศชายในครรภ์ได้
ถ้ามารดาที่กำลังตั้งครรภ์ได้รับ
ยานี้ หญิงให้นมบุตร
โพรพีเซียไม่มีข้องบ่งใช้และยังไม่มีข้อมูลว่ายาสามารถถูกขับออกมาทางน้ำนมหรือไม่
ปฏิกริยาต่อกันระหว่างยา
ไม่พบปฏิกริยาต่อกันที่มีความสำคัญทางคลีนิคของยานี้กับยาอื่น
ไม่ปรากฏว่า
ฟิแนสเตอไรด์
มีผลต่อกลุ่มยาที่ถูกเปลี่ยนแปลงโดยระบบเอมไซม์
Cylochrome P450 ยาที่ได้รับการศึกษาใน
มนุษย์ ได้แก่ แอนติพัยริน
ดิจ็อกซิน กลัยบูไรด์
โพรพรโนรอล ธีโอฟิลลีน
และวอร์ฟารีน
ซึ่งไม่พบว่ามีปฏิกริยา
ต่อกันระหว่างยา นอกจากนี้
ฟิแนสเตอไรด์ ขนาด 1 mg
หรือมากกว่าใช้ร่วมกับยา กลุ่ม
ACE-inhibitors,
Acetaminophen, Alpha blockers, เบนโซไดอาซิฟีน, beta blockers,
Calcium-channel blockers,
Cardiac nitrates, ยาขับปัสสาวะ Antagonists, HMG-CoA reductase
inhibitor, ยาต้านอักเสบที่มิใช่
สเตียรอยด์ และควิโนโลน
ไม่พบปฏิกริยาต่อกันระหว่างยาที่มีนัยสำคัญทางคลีนิค
อาการข้างเคียง ผู้ทานมักทนต่อยาได้ดี
อาการข้างเคียงที่ปรากฏมักไม่รุนแรงและไม่จำเป็นต้องหยุดยา
จากการศึกษาทางคลีนิคแบบ placebo-controlled
double-blind multicenter 3 การศึกษา
ในผู้ชายมากกว่า
3200 คน เป็นระยะเวลา 12 เดือน
ได้มีการประเมินความปลอดภัยของการใช้ฟิแนสเตอไรด์ในการรักษาอาการ
ผมร่วงในผู้ชาย
พบว่าความปลอดภัยของผู้ได้รับยาโพรพีเซียใกล้เคียงกันกับผู้ได้รับยาหลอก
โดยการหยุดการ
รักษาเนื่องจากอาการข้างเคียงของยาเกิดขึ้น
1%ในชาย 945 คนที่ได้รับโพรพีเซีย
และ 2.1% ในชาย 934 คน
ที่ได้รับยาหลอกจากการศึกษาเหล่านี้พบว่าอาการข้างเคียงเนื่องจากยาโพรพีเซียที่พบดังต่อไปนี้
ความรู้สึกทางเพศลดลง
โพรพีเซีย 1.8% ยาหลอก 1.3%
ความผิดปกติในการแข็งตัวของอวัยวะเพศ
โพรพีเซีย 1.3% ยาหลอก 0.7%
ปริมาณอสุจิที่ขับออกมาลดลง
โพรพีเซีย 0.8% ยาหลอก 0.4%
ภาวะอาการข้างเคียงเหล่านี่แก้ไขให้หายไปได้โดยการหยุดยาโพรพีเซีย
และหลายรายที่ใช้ยาต่อไปอาการ
ข้างเคียงก็หายไปเอง
อาการข้างเคียงที่เกิดในชาย 547 คน
ที่ใช้ยาโพรพีเซียต่อไปจนถึง 24
เดือน
พบว่าใกล้เคียงกับที่พบเมื่อ
การศึกษาที่ระยะ 12 เดือน
ขนาดบรรจุ
ยาเม็ดโพรพีเซีย
ประกอบด้วยฟิแนสเตอไรด์ 1
มิลลิกรัม บรรจุในแผงบริสเตอร์
กล่องละ 28 เม็ด

Ecstasy
ที่หลายคนรู้จักกันในนาม ยาอี
จากชื่อก็คงจะพอบอกได้ว่าเมื่อเสพเข้าไปแล้ว
จะทำให้ผู้เสพรู้สึก
คึกคัก ตื่นเต้น สนุกสนาน
ยาตัวนี้จึงเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ที่รักสนุก
ที่จริง
แล้วยาตัวนี้มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศนานมาแล้ว
แต่เพิ่งเป็นที่รู้จักในบ้าน
เราเมื่อไม่นานมานี้เอง
และมีการกระจายในกลุ่มคนระดับหนึ่งดังที่เราทราบๆกันจากข่าว
ต่างๆ ว่ามีดารามั่วยาอี /
มีการจัดปาร์ตี้เสพยาอีตามสถานที่ต่างๆ
เช่น คลับ ตามดิสโก้เธค
แม้แต่เหมาห้องตามโรงแรม
เนื่องจากยาอีมีผลต่อผู้เสพ
ทำให้จิตใจรู้สึกสนุกสนาน
ลืมความกังวลต่างๆ ทำให้สามารถ
เต้นรำในคลับ
ในเธคได้อย่างสนุกสนานไม่รู้จักเหนื่อย
ลืมความเศร้าโศกต่างๆได้
แต่นี่ไม่ใช่
ประโยชน์ของยาอี
แต่เป็นผลที่เกิดการเสพที่แฝงไปด้วยอันตรายทั่งในระยะสั้นและในระยะ
ยาว
สามารถทำให้คนปกติที่ร่างกายแข็งแรงเสียชีวิตได้
ยาอี คืออะไร ?
ยาอี หรือ Ecstasy
เป็นสารเสพติดในกลุ่มเดียวกันกับยาบ้า
หรือ AMPHETAMINE-
แอมเฟตามีน ชื่อเต็มของยาอี
ก็คือ Methylene Dioxy Amphetamine (MDA) ซึ่งก็
คือสารอนุพันธ์ของแอมเฟตามีนนั้นเอง
ยาอี ออกฤทธิ์อย่างไร ?
การออกฤทธิ์โดยการกระตุ้นต่อระบบประสาทส่วนกลาง
มีผลทำให้หัวใจสูบฉีดโลหิต
แรงขึ้น
ทำให้รู้สึกคึกคักพึงพอใจ
มีความสุข
ระยะต่อมาจะมีอาการเคลิ้มจิต
(Euphoria)
สามารถพูด ทำกิจกรรม
เคลื่อนไหวได้ดีกว่าปกติ ( Hyperactive)
ส่วนปัญหาระยะยาว
ของการใช้ยาอย่างต่อเนื่องหรือเป็นประจำ
จะทำให้เกิดอาการทางจิตประสาท
Paranoid
Psychosis ภาวะจิตหลอน ( Hollucination) ได้
ยาอี
ทำให้ถึงกับเสียชีวิตได้อย่างไร
?
มีรายงานการเสียชีวิตเนื่องมาจากการใช้ยาอีเป็นประจำได้หลายสาเหตุ
เช่น
- Ventricular Arrhythmia
- Intercranial Hemorrhage
- Hyperthermia เนื่องมาจากการชัก
เกร็งของกล้ามเนื้อ
หรือเกิดภาวะไตวาย
ทำให้เสียชีวิตได้
การตรวจวิเคราะห์หายาอี
เนื่องจาก ยาอี Ecstasy หรือ
MDA (Methylene Dioxy Amphetamine) เป็นสาร
อนุพันธ์ที่มีโครงสร้างคล้ายกับ
Amphetamine ดังนั้นการตรวจพิสูจน์หาสาร
MDA ใน
ปัสสาวะจึงเริ่มต้นในการตรวจคัดกรองโดยการใช้ชุดตรวจหา
แอมเฟตามีนก่อน เป็นวิธี
ตรวจเบื้องต้น (Screening)
ในระดับหนึ่งก่อนเพื่อตรวจสอบดูว่าในตัวอย่างปัสสาวะมีสาร
แอมเฟตามีน
หรืออนุพันธ์ของแอมเฟตามีน (เช่น
MDA / MDMA หรือไม่ก่อน) เพราะค่า
ใช้จ่ายในการตรวจกรองเบื้องต้นยังไม่แพงนัก
ถ้าผลการทดสอบเบื้องต้นให้ผลออกมาเป็น
ลบ
แสดงว่าตรวจไม่พบสารแอมเฟตามีนหรืออนุพันธ์
แต่ถ้าผลตรวจให้ผลเป็นบวกเราจะ
ดำเนินการตรวจในขั้นต่อไป
เรียกว่าการตรวจพิสูจน์ยืนยัน
(Confirm test) เพื่อแยกว่า
สารที่ให้ผลบวกนั้น
มาจากตัวไหน ระหว่าง Amphetamine AMP / MDA / MDMA
ซึ่งจะใช้เทคนิคและเครื่องมือที่ค่อนข้างซับซ้อนที่เรียกว่า
HPLC ( High Performance
Liquid Chromatography)
ซึ่งจะมีความจำเพาะเจาะจงสูง
สามารถแยกชนิดของสาร
ที่มีโครงสร้างใกล้เคียงกัน
ออกจากกันได้
แต่เนื่องจากการทดสอบในแต่ละครั้งมีราคาค่อน
ข้างสูง ดังนั้นการตรวจเบื้องต้น
เป็นสิ่งจำเป็นก่อนในขั้นแรก
และตรวจเพื่อยืนยันในรายที่
ได้ผลบวกมาจากการตรวจขั้นต้น

ถ้าคุณผู้ชายรู้สึกว่าขณะนี้
คุณสามารถมองเห็นหนังศีรษะของตนเองได้มากเกินไป
แล้วละก็
ให้พึงระลึกไว้อย่างหนึ่งว่า
คุณไม่ใช่ผู้ชายคนเดียวเท่านั้นที่มีความรู้สึกเช่นนี้
เพราะจากราย
งานของ American Academy of Dermatology ของสหรัฐ
ระบุว่า 2 ใน 3
ของผู้ชายในสหรัฐ
มีโอกาศที่จะศีรษะล้าน
ขณะเดียวกันวิธีการรักษาผมร่วง
ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยการใช้ยา
หรือการผ่าตัดที่เรียกว่า Hair
Transplantationก็ก้าวขึ้นมาเป็นความหวังของผู้ที่ตกอยู่ใน
ภาวะดังกล่าว
Neil Sadick
แพทย์และอาจารย์ ของหน่วย Dematology
แห่ง Cornell University Medical
College กล่าวว่า อาการผมร่วมของผู้ชายส่วนใหญ่จะมีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์
ที่เรียกว่า
Androgenic Alopecia
โดยคนกลุ่มนี้จะมีระดับของฮอร์โมนที่เรียกว่า
5(Alpha)-Reductase
เพิ่มมากขึ้น
จากนั้นจะฮอร์โมนดังกล่าวจะไปเปลี่ยน
Testosterone ให้เป็น Dihydrotesterone
หรือ DHT ซึ่ง DHT นี้
เป็นสาเหตุทำให้รากผม
ผลิตเส้นผมที่ที่ขึ้นมาใหม่ให้บางและ
สั้นลง จน
กระทั่งรากผลนั้นตายไป
ไม่สร้างเส้นผมขึ้นมาอีกในที่สุด
อย่างไรก็ตาม บรรดานักวิจัยต่างก็พยายามหาวิธีทางหยุดยั้งกระบวนการที่ทำให้ศีรษะล้านเหล่านี้
โดยเมื่อเดือนตุลาคม ปี ๑๙๙๙
วารสารการแพทย์ Journal of Clinical Investigation
รายงานว่า
นักวิทยาศาสตร์แห่ง Weil MedicalCollege of
Cornell University ประสบความสำเร็จ ในการ
กระตุ้นรากผม
ด้วยการนำไวรัสไข้หวัด
มาดัดแปลงให้กลายเป็นตัวนำยีนที่เรียกว่า
Sonic
Hedgehog
ซึ่งเป็นยีนที่มีบทบาทสำคัญในพัฒนาการของรากผม
อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วย
วิธีนี้ยังอยู่ในขั้นทดลองกับหนูทดลองเท่านั้น
และอย่างน้อย ก็เรียกได้ว่า
สัมฤทธิ์ผลให้หนู แต่การ
ที่จะนำมาใช้ในการรักษาผู้มีปัญหาศีรษะล้านจริง
ๆ นั้น จะต้องมีการทำลอง
และศึกษาผลมาก
กว่านี้
งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่น่าสนใจ
ได้เปิดเผยขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน
ปี ๑๙๙๙ โดยงานชิ้นนี้
ระบุว่า การปลูกรากผมและเส้นผม
สามารถทำได้ด้วยการนำเซลรากผมจากผู้บริจาคมาใช้
รากผม
นับว่าเป็นส่วนเล็กๆ
ส่วนหนึ่งของร่างการมีลักษณะพิเศษ
เรียกว่าเป็น Immunoprivileged
ซึ่งได้รับการปกป้องจาก Immune System ดังนั้นร่างกายจะไม่แสดงอาการต่อต้านรากผม
จากผู้อื่นเหมือนเป็นสิ่งแปลกปลอม
จากทฤษฎีดังกล่าวนี้
ทำให้นักวิจัยจึงคิดว่า
เป็นไปได้
ที่จะนำเอารากผมจากบุคคลผู้หนึ่งมาปลูกถ่ายให้กับอีกบุคคลหนึ่ง
โดยร่างกายของผู้รับการปลูก
ถ่าย ไม่แสดงปฏิกริยาต่อต้าน
เพื่อพิสูจน์ทฤษฎีดังกล่าวข้างต้น
นักวิทยาศาสตร์ชาย ได้เสียสละ
เซลรากขน ในส่วนแขนของตนเอง
ไปปลูกถ่ายไว้บนแขนของนักวิทยาศาสตร์หญิง
ซึ่งปรากฏว่า
หลังจากนั้นสองสามสัปดาห์
แขนของนักวิทยาศาตร์หญิง
มีขนเส้นใหญ่ และดกดำขึ้นมา ไม่
เหมือนกับเส้นขนของตัวเธอเอง
โดยเส้นขนดังกล่าวนั้น ขึ้นอยู่
ณ บริเวณที่แขนถูกปลูกถ่าย
สำหรับการปลูกถ่ายผมที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้น
เซลที่ใช้จะเป็นเซลจากส่วนอื่น
ๆ ในร่างกาย
ของผู้รับการปลูกถ่ายเอง
ซึ่งก็จะเป็นเซลรากผมจากส่วนของหนังศีรษะที่ยังมีผมปกคลุมอยู่
นั่นหมายถึงว่า
ผู้รับการปลูกถ่าย
ไม่ได้มีผมมากขึ้น
เพียงแต่ทำให้เส้นผมขึ้นกระจาย
ปกคลุม
พื้นที่ออกไปให้ทั่ว
ส่วนจะสามารถปลูกถ่ายได้กินบริเวณมากน้อยแค่ไหนนั้น
ก็ขึ้นอยู่กับจำนวน
รากผม
ที่ยังเหลืออยู่ของผู้รับการปลูกถ่ายเอง
Peter B. Cserhalmi-Friedman
หนึ่งในคณะแพทย์ทางด้านโรคผิวหนังของ
College of Physicians and Surgeons แห่ง Columbia University
กล่าวว่า
ถ้าเทคนิคในการปลูกถ่ายเซลรากผมนี้พัฒนาไปถึงขั้นที่เรียกว่าเป็น
Viable Technique แล้ว
ก็จะ
ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของจำนวนรากผมที่จะถูกสร้างขึ้นใหม่อีกต่อไป
เพราะผู้รับการปลูก
ถ่าย
ไม่จำเป็นต้องสละรากผมออกมาจากส่วนอื่น
ๆ ของหนังศีรษะ ดังนั้น
จากเดิมที่เทคนิคนี้จะ
ใช้ได้
ก็ต่อเมื่อผู้รับการปลูกถ่าย
มีเส้นผมเหลือบนหนังศีรษะมากพอ
จะก้าวขึ้นไปถึงขั้นที่เทคนิค
ดังกล่าว สามารถใช้ได้แม้กระทั่งกับผู้ที่ไม่เหลือเส้นผมอยู่บนหนังศีรษะเลย
แต่อย่างไรก็ตาม
แพทย์กล่าวว่า
อย่างเพิ่งหวังว่าจะมีใครบริจาคเซลเส้นผมให้กับคุณ
เพราะ
เทคนิคที่กำลังพัฒนาอยู่นี้จะต้องใช้เวลาในการศึกษาอีกนานพอควร
อย่างน้อยก็อีกนานเป็นสิบปี
สำหรับการรักษาอาการศีรษะล้านในปัจจุบันนั้น
FDA ได้อนุญาติให้มีการใช้ยา ที่ทำ
ให้มีการสร้างเส้นผม
ซึ่งจะใช้ได้ผลดี
ก็ต่อเมื่อรากผมของผู้ใช้ยานั้นยังไม่ตายไป
อีกทั้งยังต้องมีการปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง
เหมาะสมอีกหลายข้อ
เพื่อให้ยาได้ผลดี
ยกตัวอย่างยา Finasteride
ซึ่งจำหน่ายภายใต้ชื่อ Propecia นั้น
เป็นยาที่ต้องรับประทานทุกวัน
ซึ่งยาตัวนี้
ได้มีการศึกษาและรายงานผลใน New England
Journal of Medicine เมื่อเดือน
กันยายน ปี ๑๙๙๙ ว่า
หลังจากผู้ใช้ยาจำนวน ๒ ใน ๓
ใช้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา ๒ ปี
ปรากฏว่า
มีผมปกคลุมพื้นที่หนังศีรษะเพิ่มมากขึ้น
เส้นผมยาว และหนาขึ้น
มีชายจำนวนน้อยเท่านั้น ที่ใช้
ยานี้แล้วไม่ได้ผล ส่วน Side Effect
นั้น
ยังไม่ปรากฏให้เห็นในช่วงระยะเวลาที่ทำการทดสอบ
สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการรับประทานยานั้น
ก็มียา Minoxidil
ที่จำหน่ายภายใต้ชื่อ Rogaine
เป็นยาที่ต้องใช้ทาหนังศีรษะวันละ
๒ ครั้ง แต่จะใช้ได้ผลดี
กับผู้ที่ยังศีรษะล้านไม่มากนัก
ส่วนผลข้างเคียงนั้นอาจทำให้ผู้ใช้เกิดอาการระคายเคืองหนังศีรษะ
แต่อย่างไรก็ตาม
นักวิจัยยังเห็นว่า
แม้จะมีวิธีการรักษาอาการศีรษะล้านอยู่หลายวิธี
แต่วิธีที่น่า
จะได้ผลดีที่สุด
น่าจะเป็นการผ่าตัดปลูกถ่ายเซลรากผมนั่นเอง
Cover Story from CNN Health
http://www.cnn.com/2000/HEALTH/men/01/06/hair.loss.update.wmd/index.html
Comment จากแพทย์
อย่างที่กล่าวข้างต้น
ถ้าพูดถึงการใช้ยา ปัจจุบัน ก็มี
2 ตัวเท่านั้นที่พิสูจน์ว่าได้ผล
ซึ่งในส่วน
ของ Minoxidil นั้นเป็น Lotion
ทาที่หนังศรีษะ วันละ 2 ครั้ง
ซึ่งหลังทาประมาณ 3-4 เดือน
จะเริ่มมีผมขึ้น
แต่ไม่ได้ได้ผลทุกคน ประมาณ 30-40%
ของคนไข้เท่านั้น ที่ได้ผล
ต้องใช้
ต่อเนื่อง
ถ้าหยุดยาผมจะร่วงใน 2-3 เดือน
ส่วนในเรื่องของ
ยากิน ก็คือ Finasteride นั้น
ใช้ได้ผล แต่มีข้อควรระวังคือ
เสื่อมสมรรถ
ภาพทางเพศ ซึ่งมีรายงาน ประมาณ
1-2% ของผู้ใช้ นอกจากนั้น
ห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์
เพราะจะมีผลต่อ
อวัยวะเพศของเด็ก ทั้ง 2
ชนิดเป็นยาอันตรายก่อนใช้ควรปรึกษาแพทย์
ในส่วนของการผ่าตัดปลูกถ่ายผม
ปัจจุบันก็มีทำกัน
โดยจะเอาเซลผม ส่วนที่มี อาจเป็น
ด้านข้างหรือ ด้านหลังศีรษะ
มาแบ่งออกเป็นเส้น จากนั้น
ก็ทำการฝัง เหมือนดำนา เข้าไป
ที่บริเวณที่ต้องการปลูก
ซึ่งข้อดี คือ ได้เป็นผมเราเอง
แต่ข้อเสียคือ
ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
และต้องทำการผ่าตัดหลายครั้ง
จากรายงานที่มี
ถ้าสามารถเอาเซลจากคนอื่นมาได้จริง
ก็จะสามารถช่วยผู้ที่มีปัญหานี้ได้อีกมาก
แต่ยังไงคงต้องรายงานการวิจัยต่อไป


ThaiL@bOnline
Email : vichai-cd@usa.net
|