fernsiam.com > หน้าแรก > โลกของเฟิน > ประโยชน์-คุณค่าของเฟิน || ย้อนกลับ
ประโยชน์-คุณค่าของเฟิน

นอกจากคุณค่าในแง่ของไม้ประดับสวยงามแล้ว เฟินบางชนิดยังมีประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย ทั้งในด้านสมุนไพรยารักษาโรค เป็นอาหาร หรืออื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งรวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ อาทิเช่น หนังสือ ตำรา วารสาร internet รวมไปถึงคำบอกเล่าที่ได้รับทราบรับฟังมา

สำหรับในที่นี้ จะรวบรวมนำมาเพิ่มเติมเรื่อยๆ หากได้ข้อมูลใหม่ๆ  ดังนั้น หากคุณทราบข้อมูลและอยากเผยแพร่เป็นวิทยาทาน  คุณสามารถฝากบอกมาทาง Webboard ของเราได้

หัวข้อ
เชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการเกษตร
  • นักวิชาการเกษตรแนะนำให้ชาวนาปล่อยแหนแดงเข้าไปในนาข้าว และหลังเก็บเกี่ยวให้ไถกลบตอซังข้าวรวมทั้งแหนแดง
  • แหนแดง Azolla pinnata ใช้ทำปุ๋ยพืชสด เนื่องด้วยอาศัยอยู่รวมกับสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ทำให้มีความสามารถตรึงไนโตรเจนในอากาศได้เป็นอย่างดี
  • เฟินหลายชนิดเช่น บัวแฉก Dipteris sp. มหาสดำ Cyathea contaminans โชน Dicranopteris sp. เป็นพืชบุกเบิกนำชั้นดี หลังจากการโค่นล้มของต้นไม้จากลมพายุ ดินถล่ม ทำถนน เป็นต้น เฟินเหล่านี้จะเจริยเติบใตขึ้นในพื้นที่ดังกล่าว จะช่วยลดการชะล้างพังทลายของดินและเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่แฟ่นดินด้วย และทำให้เกิดการทดแทนของสังคมพืชได้อย่างรวดเร็ว
สมุนไพร
  • ปรงไข่ Acrostichum aureum มีรายงานว่า มีผู้ใช้น้ำคั้นจากลำต้นใส่แผล เป็นยาแก้อักเสบ
  • กูดหนาม Cyathea spinulosa ชาวกระเหรี่ยงแถวดอยอินทนนท์ ต้มน้ำอาบแทนการอยู่ไฟหลังคลอดบุตร
  • มหาสะดำ Cyathea (Alsophila) latebrasa Hook . ลำต้น  รสเย็น แก้กาฬ แก้พิษในกระดูก แก้ไข้พิษไข้กาฬ ไข้ที่มีแว่นวงสีม่วงตามผิวหนังที่ทำให้มีอาการร้อนในระส่ำ
  • มหาสดำเขา Cyathea (Pleocnemia) submembranacea ยาพื้นบ้านล้าน ก้านใบ ดับพิษร้อน แก้พิษไข้กาฬ แก้ร้อนในกระหายน้ำ
  • กระแตไต่ไม้ Drynaria quercifolia แก้ไทฟอยด์ แก้ไอ อาการบวม โดยใช้น้ำคั้นจากใบ,  หัวหรือเหง้า รสจืดเบื่อ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้เบาหวาน ขับพยาธิ แก้ไตพิการ แก้แผลพุพอง แผลเนื้อร้าย ขับระดูขาว คุมธาตุ
  • กระแตไต่หิน-กระจ้อน Drynaria bonii แก้อาการหอบหืด ยาพื้นบ้านล้านนาใช้ เหง้า ต้มดื่ม รักษามะเร็งในปิด ปิดพิการ ผสมหัวยาข้าวเย็น ต้ทน้ำดื่ม แก้หอบหืด ยาพื้นบ้าน ใช้ขนจากเหง้า บดให้ลเอียดสูบแก้หืด
  • ว่านกีบแรด Angiopteris evecta ใช้บรรเทาอาการปวด-ลดไข
  • ชายผ้าสีดา Platycerium coronarium ใช้บรรเทาอาการปวด-ลดไข้
  • ชายผ้าสีดา อีสาน หรือ หูช้าง(P. holtumii) และชายผ้าสีดาสายม่าน (P. coronarium) 2 ตัวนี้ใช้ประโยชน์เหมือนกันคือ เอาใบ มาต้มน้ำอาบผสมสมุนไพรตำรับที่ 36 แก้บวม หรือเอามาต้มน้ำอาบผสมสมุนไพรตำรับที่ 51 แก้ไข้สูง สตรีชาวเขาเผ่าแม้วใช้ใบส่วนชายผ้าต้มน้ำดื่ม รักษาอาการไม่สบายและอ่อนเพลียของสตรีขณะอยู่ไฟหลังคลอด เคยมีแม่บ้านเป็นคนมอญเขาบอกว่าเอาส่วนชายผ้ามาลวกจิ้มน้ำพริกกินได้ด้วย [16, โดย คุณดิบชื้น]
  • ยายเภา Lygodium flexuosum แก้เจ็บคอ ขับปัสสาวะ
  • ผักแว่น Marsilia crenaa ใช้เป็นสมุนไพรแก้อาการเจ็บคอ
  • ลูกไก่ทอง ละอองไฟฟ้า Cibotium barometz ขนสด จากเหง้า สีทอง ใช้โรยแผลสด ห้ามเลือด หรือตากแห้งบดเป็นผงโรยห้ามเลือดรักษาแผลปลิงเกาะและบาดแผลทั่วไป  
    หัวหรือเหง้า รสขมเย็น ชุ่มสุขุม แก้พิษร้อน แก้ไข้ แก้พิษกาฬ ขับปัสสาวะ บำรุงกำลัง ยำรุงตับ ไต แก้ปวดหลังปวดเอว ปวดเมื่อยร่างกาย แก้อ่อนเปลี้ยแขนขา แก้เบาหยดย้อย เบาเหลืองขุ่น แก้ตกขาว ห้ามใช้กับรายที่มีอาการปัสสาวะขัด ปากขม ลิ้นแห้ง,  ขนสด รสเย็นฝาด โรยแผลห้ามเลือด รักษาแผลปลิงเกาะ
  • ดอกหิน (Seleginella tamariscina) ชาวจีนไต้หวัน ฮ่องกง นิยมนำมาตากแห้ง ชงเป็นชาสมุนไร ดื่มแก้เจ๊บคอ เจ๊บในทรวงอก
  • ผักตีนนกยูง Helminthostachys zeylanica และ Dryopteris sp. กูดขน ในอินเดีย นำมาเป็นสมุนไพรใช้รักษาโรคพยาธิ
  • สามร้อยยอด มีสารเคมีที่เป็นอัลคาลอยด์ ควิโนลิซิดีน (quinolizidine alkaloids) นำมาใช้เป็นยา ทั้งแผนโบราณและแผนปัจจุบัน ในเนปาลใช้รักษาโรคหลายอย่าง เช่น อาการจุกเสียดแน่น เนื่องจากอาหารไม่ย่อย รูมาติสซั่มหรือไขข้ออักเสบ ซิฟิลิส กล้ามเนื้ออักเสบหรือตะคริวและโรคตาแดง - สปอร์หลายอย่างนำมาทำเป็นยาและผงเคลือบยา
  • สปอร์หลายอย่างนำมาทำเป็นยาและผงเคลือบยา
  • ก้านดำ Adiantum capillus-veneris ในประเทศเนปาล ใช้น้ำคั้นจากต้นและใบ ดื่มแก้โรคหลอดลมอักเสบและเจ๊บคอ ใบใช้ชงเป็นชา ดื่มแก้ปวดท้อง
  • นาคราชใบหยาบ ว่านนาคราช พญานาคราช Davallia solida ชาวบ้านแถบจันทบุรี มักมีเหง้าตากแห้ง ที่เก็บจากเหง้าแก่ทิ้งใบหมดแล้ว นำมาเก็บไว้บนหิ้งพระ เพื่อนำมาใช้เมื่อแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย เช่น แมงป่อง ตะขาบ งูกะปะ โดยนำเหง้าฝนกับเหล้าโรง หรือน้ำซาวข้าว แล้วใส่บาดแผล
  • ผักแว่น ผักลิ้นปี่ (ใต้) marsilea crenata Presl.  ต้น รดจืดฝาดหวานเล้กน้อย  สามาแผลในปากคอ ระงับร้อน แก้ไข้ ร้อนมนกระหายน้ำ ดับพิษ แก้ดีพิการ [15] ไม้น้ำ เหง้าเรียวยาว ทอดเลื้อย แตกกิ่งก้านอย่างไม่เป็นระเบียบ มีขนสีน้ำตาลอ่อน เมื่อขึ้นพ้นดิน สูง 2-3 ซ.ม. ถ้าอยู่ในน้ำสูง 6-18 ซ.ม. ใบประกอบแบบพัด มีใบย่อย 4 ใบ ใบย่อยรูปพัด กว้างและยาว 0.5-2 ซ.ม. อับสปอร์ออกเดี่ยวๆ หรือหลายอันบนก้านชูสั้นๆ รูปขอบขนาน มีขนที่ร่วงง่าย  ชาวเขาเผ่าเย้าใช้ ทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม แก้เจ็บคอ  เสียงแหบ ยาพื้นบ้านใช้ ทั้งต้น ผสมต้นและใบธูปฤาษี ทุบพอแตก แช่น้ำที่มีหอยขมเป็นๆ อยู่นาน 2-3 นาที ดื่มแก้ไข้ ผิดสำแดง
  • ผักกูดกิน Dilplazium esculentum SW. ใบรสเย็น แแก้ไข้ตัวร้อน แก้พิาอักเสบ
  • ลิเภา Lygodium flexuosum Sw . ทั้งเถา รสจืดเย็น ปรุงยาแก้พิษฝีภายใน ฝีภายนอก , ยาพื้นบ้านล้านนาใช้ ต้น ใบ ผสมหัวยาข้าวเย็น ต้มน้ำดื่มเป็นน้ำชา แก้ปวดเมื่อยในผู้สูงอายุ ชาวเขาเผ่าอีก้อ เม้ว มูเซอ เย้า ใช้ราก ลำต้น เหง้า ทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม แก้เจ็บคอ เสียงแหบ ปวดหลัง ขับปัสสาวะ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ นิ่วในไต เลือดตกใน ใบ ตำพอก แก้อักเสบจากงู ตะขาบ แมงป่อง และแมลงมีพิษกัดต่อย สารสกัดทั้งต้นด้วยแอลกอฮอล์ มีฟทธิ์ทำให้หนูและกระต่ายแท้ง
  • หญ้าถอดปล้อง Equisetum debile Roxh . ทั้งต้น ต้มดื่ม ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว บำรุงไต ขับระดูขาว ดำพอก รักษาบาดแผล แก้ปวดข้อ แก้ปวดกระดูกหักหรือเดาะ [15] ยาพื้นบ้าน ต้น 1 กำมือ ต้มดื่มต่างน้ำ ขับปัสสาวะ ผสมกับกิ่งและใบหญ้าหนวดแมว ต้มน้ำดื่ม รักษานิ่ว ขับระดูขาว บำรุงไต
  • Cheilanthes farinosa (Forst.) Kaulf. เรียกกันว่า Siver Fern มีรายงานจาก ตปท. ระบุ เฟิน ใช้น้ำคั้นจากต้น นำไปหยอดหู แก้อาการเจ๊บหูได้
  • เฟินเงิน Pteris ensiformis Burm. เฟินชนิดนี้ มีสรรพคุณทางยา ทั้งต้น รสขม ทำให้เย็น ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะเป็นเลือด แก้บิดมูกเลือด
  • ลิ้นกุรัม, shi wei (จีน) Pyrrosia lingula ในประเทศจีน มีการนำเฟินชนิดนี้ไปสกัดตัวยาสำหรับบำบัดอาการขัดเบา ไตพิการ โรคโกโนเรีย แก้อาการไอและขับเสมหะดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ shi wei plant
  • Huperzia สกุล สร้องนางกรอง มี Huperzine A เป็นสารประกอบประเภท alkaloid ที่ช่วยยับยั้งการสูญเสีย acetycholine ซึ่งสารนี้ เป็นสารที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบสมองและระบบประสาท และ Huperzine A มีส่วนช่วยในการรักษษอาการเจ๊บป่วยของเนื้อเยื่อสมอง และทำให้มีความจำดี จึงใช้เป็นยาสำหรับแก้ไขอาการ สมองเสื่อม หรือ อัลไซเมอร์
อาหาร กินเป็นผัก
หัวข้อนี้ รวบรวมเฟินหรือกูดที่สามารถนำมารับประทานเป็นอาหารได้
  • ผักกูดขม Blechnum indicum ชาวอะบอลิจิน ชนพื้นเมืองของออสเตเรีย ที่อ่าว Moreton นิยมนำรากของเฟินชนิดนี้มาปรุงเป็นอาหาร โดยขุดเอาลำต้นและรากในดินขึ้นมา นำไปตากแดดให้หมาด แล้วนำไปย่างไฟ จากนั้นนำไปทุบให้แหลก ก่อนนำไปปรุงเป็นอาหาร ซึ่งเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรต หรือแป้งของชนกลุ่มนี้
  • กูดห้วย, กูดน้ำ, กูดกินหรือหัสดำ Diplazium esculentum (Retz.) Sw., คราวที่ไปเที่ยวสังขละ กาญจนบุรี มีนักท่องเที่ยวมาจากพังงา เล่าให้เราฟัง ที่บ้านเขามีเฟินชนิดนนี้ขึ้นตามลำธารในสวนยาง ยอดอ่อนเก็บเอามาลวกกินเป็นผักอยู่บ่อยๆ
  • ผักแว่น กินเป็นผักสด กรอบอร่อยดี หรือจะนำมาใส่เมนูยำ ก็อร่อย
  • พ่อค้าตีเมีย , แกงอ่อมใส่ Lygodium polystachynum
  • เฟินออสมันดา ดูในสารคดีจากญี่ปุ่น ที่นั่นเขานิยมนำมาทำเป็นวาราบิ ดองเก็บไว้กินหน้าหนาวช่วงที่มีหิมะตกปลูกผักไม่ได้ เขาจะเก็บในช่วงหน้าฝน โดยเก็บยอดอ่อน ต้นเว้นต้น เพื่อไม่ให้สูญพันธุ์ จะได้มีเอาไว้กินไปได้ตลอด
  • ปรงไข่ Acrostichum aureum ยอดอ่อน นำมากินเป็นผักลวกจิ้ม และจากคุณดิบชื้นแจ้งบอกมาว่า ปรงทอง หรือปรงไข่ ใช้ใบอ่อนมาลวกกินกับน้ำพริก ถามแม่ค้าขายผักในตลาดที่เก็บเอามาขาย เขาบอกให้เอาไปชุบไข่ทอด อร่อยที่สุด
  • ผักกูดแดง Stenochlaena palustris มีตามสวนต้นไม้เก่า ใน กทม. สามารถนำยอดอ่อนมากินเป็นผักลวกจิ้มได้
  • Ophioglossum reticulatum ในชวา อินโดนีเซีย นิยมกินเป็นผัก
  • ผักแว่น Marsila crenata (คุณดิบชื้นบอกมาทาง Webboard)
  • ลิเภา Lygodium sp . ยอดอ่อนของลิเภา ยังนำมากินเป็นผักสดได้ดีกด้วย
  • ลูกไก่ทอง (Cibotium baromezt) นักเดินป่าผจญภัยหลายท่านบอกมา ยอดอ่อนกินเป็นผักได้
  • ผักกูดเกี๊ยะ (Pteridium aquilinum) ในประเทศญี่ปุ่นนิยมนำมากินเป็นผัก แต่กินมากไม่ดี มีสารก่อมะเร็ง
งานหัตถกรรมหรืออื่นๆ
  • ผักกูดแดง Stenochlaena palustris มีลำต้นเหนียวแน่น สามารถนำต้นมาถักเป็นกระเช้าหรือตะกร้าได้ดี
  • ย่านลิเภา Lygodium sp. (คำว่า ย่าน เป็นคำเฉพาถิ่นทางใต้ หมายถึง เถาเลื้อย) นำมาใช้ทำหัตถกรรมถักสาน มีคุณสมบัติหนียวแน่น แข็งแรง ทนทานเป็นพิเศษ ใช้ถักเป็นกระเป๋า ภาชนะและเครื่องใช้ต่างๆ รวมทั้งเครื่องมือประมงได้ดีด้วย
  • เพินนาคราช Davallia solida มีความหนาเป็นมัน เพราะมีขี้ผึ้ง Cultin บนผิวใบด้านบนฉาบอยู่ ทำให้ทนทานต่อการตัดนำมาปักแจกัน หรือกำร่วมกับดอกไม้ เป็ที่ต้องการในยุโรปหลายประเทศ นอกจากนี้ ก้านใบที่ยาว แข็งแรง ปักแจกันอยู่ได้นาน ใบที่หมดอายุแล้วจะเหลืองเหี่ยวทั้งใบ ไม่ทิ้งใบย่อยเหมือนเฟินใบมะขาม (Nephrolepis) และยังสามารถนำใบแก่เต็มที่ หรือใบเหลืองมาฟอกขาวย้อมสีเป็นใบไม้แห้ง ได้ดีอีกด้วย
  • กูดต้น Tree Fern ในสกุล Cyathea มีลำต้นมีเส้นใยเหนียวและแน่นคงทน นิยมใช้เป็นวัสดุปลูกหล้วยไม้ หรือแปรรูปทำกระถางปลูกต้นไม้ หรืองานแกะสลัก
  • กูดดอยปุย Cyathea spinulosa สามารถนำใบแก่มาฟอกและย้อมสีได้ดี ใช้ประดับแจกันและกำช่อดอกไม้แห้ง
  • ออสมันดา Osmunda sp. ใช้รากเป็นเครื่องปลูก
  • สปอร์เฟินหลายชนิดประกอบด้วยน้ำมันไวไฟในปริมาณร้อยละค่อนข้างมาก
  • สปอร์ของญาติเฟินชนิดหนึ่ง จำพวกหางสิงห์ (Lycopodium clacatum) ใช้บรรจุในถ่านไฟฉาย และเป็นส่วนประกอบสำคัญของเชื้อเพลิง ดอกไม้ไฟ
  • เฟินหนัง Leather Leaf Fern (Rumohra adiantiformis)
fernsiam.com > หน้าแรก > คุณค่าของเฟิน