ปัจจุบันเทคโนโลยีเครือข่าย LAN แบบไร้สาย หรือ WLAN (Wireless LAN) กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากประโยชน์ของ WLAN มีอยู่มากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง WLAN สร้างความสะดวกและอิสระในการใช้งานและติด ตั้งเครือข่ายเทคโนโลยีWLANทำให้การเชื่อมต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในบ้านหรือสำนักงานเข้าด้วยกันหรือต่อเข้ากับเครือข่าย ไม่จำเป็นจะต้องใช้สายนำสัญญาณให้ยุ่งยากและดูเกะกะอีกต่อไป อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งแบบตั้งโต๊ะและพกพาสามารถเชื่อมต่อ ถึงกันหรือเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายจากตำแหน่งต่างๆ ที่อยู่ในรัศมีของสัญญาณได้อย่างอิสระ
เทคโนโลยีสำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ผ่านสื่อไร้สายที่รู้จักกันมีอยู่หลายเทคโนโลยีเช่น Bluetooth , IEEE 802.11 , IrDA , HiperLAN , HomeRF , และ GPRS เป็นต้น แต่เทคโนโลยีที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดสำหรับ WLAN คือเทคโนโลยีตามมาตรฐาน IEEE 802.11 เนื่องจากอุปกรณ์ IEEE 802.11 WLAN มีราคาไม่แพงนักและถูกลงเรื่อยๆ อีกทั้งมีสมรรถนะในการรับส่งข้อมูลค่อนข้างสูง ง่ายต่อการติดตั้งและใช้งาน IEEE 802.11 WLAN ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆและมีแนวโน้มว่าในอนาคตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆ จะมีอุปกรณ์ IEEE 802.11 WLAN ติดตั้งจากโรงงานหรือ Built-in มาด้วย
ความยืดหยุ่นในการใช้งาน สภาพปัจจุบันผู้ใช้งานมีเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาที่เรียกว่าโน้ตบุ๊คกันเป็นส่วนใหญ่ โน้ตบุ๊คมีขนาดเล็กลงจนสามารถ นำติดตัวไปใช้ที่ต่าง ๆ ได้สะดวก การนำโน้ตบุ๊คต่อกับสายแลนจึงไม่สะดวก อีกทั้งสภาพการทำงานเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ทำให้ผู้ใช้ไม่ถูกยึดติดอยู่กับที่ เช่น การนำโน้ตบุ๊คเข้าห้องประชุม การปรึกษาหารือระหว่างกลุ่มย่อย แลนที่ใช้ถ้าเป็นระบบสาย จะยุ่งยากในการปรับเปลี่ยน แต่สำหรับแลนไร้สายจะประกอบด้วย การ์ดไคลแอนต์ ซึ่งเป็นแผงวงจรขนาดเล็ก ที่ต่อเข้ากับโน้ตบุ๊ค เท่านั้น และส่วนที่เป็นแอกเซสพอยต์ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อที่นำไปวางไว้ที่ใดก็ได้ หรือจะติดยึดกับฝาผนัง ฝ้า เพดาน หรือจะเคลื่อนย้าย ไปที่ใดก็ได้ โดยด้านหนึ่งรับสัญญาณวิทยุ อีกด้านหนึ่งเป็นสายต่อเชื่อมเข้าสู่ระบบเครือข่าย การติดตั้งแลนไร้สายจึงทำได้ง่ายกว่ามาก การนำติดตัว (Mobility) การเคลื่อนย้ายของผู้ใช้อาจไม่เฉพาะเจาะจงอยู่ในที่ทำงานอย่างเดียว อาจครอบคลุมเลยไปยังที่ต่าง ๆ เช่น การจัดประชุมสัมมนา การเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ โดยผู้ใช้มีเพียงนำโน้ตบุ๊คติดตัวไปด้วยก็สามารถเข้าถึงเครือข่ายได้
การขยายเครือข่าย เครือข่ายแบบแลนไร้สาย ทำให้เครือข่ายองค์กรปรับขนาดและความเหมาะสมได้ง่าย ไม่ยุ่งยากในเรื่องการเดินสายสื่อสาร ซึ่งมีปัญหาในเรื่องสถานที่ การปรับปรุงสถานที่เพื่อเดินสายสัญญาณเป็นเรื่องไม่พึงปรารถนา เครือข่ายไร้สายสามารถครอบคลุมพื้น ที่เป็นเซลเล็ก ๆ โดยมีการเชื่อมโยงระหว่างอาคารได้ด้วยระบบแบบจุดไปจุด ทำให้ดำเนินการได้เร็วและสะดวกต่อการติดตั้ง เทคโนโลยีWLAN อยู่ภายใต้มาตรฐานที่ชื่อว่า IEEE 802.11 ได้กำหนดให้อุปกรณ์มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 1, 2, 5.5, 11และ 54 Mbps โดยมีสื่อ 3 ประเภทให้เลือกใช้ได้แก่ คลื่นวิทยุที่ความถี่สาธารณะ 2.4 และ 5 GHz, และ อินฟราเรด (Infarred)ซึ่งในประเทศไทยนั้นใช้คลื่นวิทยุที่ความถี่ 2.4 GHz เนื่องจาก ความถี่ 5 GHz ได้ถูกนำไปใช้ในกิจการอื่นก่อนแล้ว ซึ่งการเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยี WLANมีสองประเภทหลักคือ 1. การเชื่อมต่อแบบแอดฮอค (Ad-Hoc) การติดต่อสื่อสารแบบแอดฮอคคือการติดต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น โน๊ตบุ๊ค พีดีเอ ตั้งแต่สองเครื่องเป็นต้นไปโดยไม่ต้องใช้ Access point การติดต่อสื่อสารแบบแอดฮอคทุกเครื่องสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยตรง เช่นสามารถรับส่งไฟล์ แชท วีดีโอคอนเฟอเรนซ์ หรือเล่นเกมส์ในวงแลนได้ 2. การเชื่อมต่อแบบเป็นโครงสร้าง (Infrastructure) คือการติดต่อสื่อสารโดยมีสถานีฐาน (Access point) เป็นศูนย์กลาง ทุกสถานีที่ใช้งานจะต้องอยู่ภายในรัศมีการใช้งานของ Access point ประมาณ 50 เมตรในบริเวณเปิด อุปกรณ์คอมพิวเตอร ์แต่ละเครื่องสามารถติดต่อสื่อสารกันโดยผ่าน Access point และสามารถติดต่อกับภายนอกวงแลนได้โดยผ่าน Access point ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับ Hub ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบใช้สาย เครือข่ายแบบ Infrastructure สามารถมาแทนที่เครือข่ายแบบใช้สายเดิมได้ ซึ่งจะทำให้เกิดความสะดวกมากขึ้นเพราะไม่จำเป็นต้องเดินสายของแต่ละเครื่อง (ยกเว้น Access point) สะดวกในการปรับเปลี่ยน เคลื่อนย้าย หรือขยายขนาดของเครือข่าย ปัจจุบัน ตามบริษัท สำนักงาน สถานศึกษา และองค์กรต่างเริ่มนำเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายมาใช้มากขึ้น อนาคตของระบบเครือข่ายไร้สาย ที่คาดว่าจะบูมขึ้นเรื่อย ๆ นั้นเป็นไปได้อย่างแน่นอน เนื่องจากปัจจัยหลาย ๆ ประการที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ไม่ว่าจะเป็น ความสะดวกสบายที่ได้รับ และมาตรฐานใหม่ ๆ ที่กำลังจะออกมา ซึ่งจะทำให้การเชื่อมต่อไกลขึ้น และความเร็วสูงขึ้น โดยที่ราคาอุปกรณ์จะยิ่งมีราคาถูกลงเรื่อยๆ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น อุปกรณ์ IEEE 802.11 WLAN ที่ไม่มีการใช้กลไกรักษาความปลอดภัยเป็นช่องโหว่ของระบบที่อันตรายมาก ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงสูงที่ระบบจะถูกโจมตีหรือใช้เป็นฐานสำหรับโจมตีระบบอื่น และการแกะรอยผู้โจมตีอาจเป็นไปได้ยาก จริงอยู่ที่การไม่ติดตั้งกลไกรักษาความปลอดภัยสำหรับเครือข่าย IEEE 802.11 WLAN จะทำให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อเข้า กับเครือข่าย WLAN และอินเตอร์เน็ตได้อย่างสะดวก (Plug-n-Play) แต่ในขณะเดียวกันการไม่ติดตั้งกลไกรักษาความปลอดภัยก็เป็นการอำนวยความสะดวกให้ผู้โจมตีบุกรุกระบบได้โดยง่ายด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วความสามารถในการรับส่งสัญญาณของอุปกรณ์ WLAN ไม่ได้จำกัดขอบเขตอยู่เพียงแต่ในห้องๆ เดียวหรือ บริเวณแคบๆ เท่านั้น แต่อาจจะครอบคลุมไปถึงบริเวณภายนอกด้วย ดังนั้นผู้โจมตีสามารถบุกรุกระบบในขณะที่หลบซ่อนตัวอยู่ในบริเวณใกล้เคียงและไม่ต้องปรากฏตัวให้เห็น ยิ่งไปกว่านั้นผู้โจมตีอาจใช้อุปกรณ์สายอากาศพิเศษที่สามารถรับส่งสัญญาณจากบริเวณภายนอกที่ไกลออกไป มากซึ่งทำให้การจับตัวผู้โจมตีเป็นไปได้ยากขึ้นอีกด้วย
การไม่ใช้งานกลไกรักษาความปลอดภัยสำหรับเครือข่าย IEEE 802.11 WLAN เท่ากับเป็นการเปิดประตูและท้าทาย ให้ผู้โจมตีบุกรุกเข้ามาในเครือข่าย และสร้างความเสียหายให้กับระบบได้มากมายหลายรูปแบบ อาทิ
การที่อุปกรณ์ IEEE 802.11 WLAN ถูกติดตั้งโดยไม่มีการใช้กลไกรักษาความปลอดภัยไว้นั้นอาจเนื่องมากจากสาเหตุต่อไปนี้
ที่มา : http://www.bu.ac.th/NewsandInform/bunews/2547/Mar47/it.html