Home

คนไข้ คือครู     มาเรียนรู้จากคนไข้จริงกันเถอะ    คนไข้ คือครู     มาเรียนรู้จากคนไข้จริงกันเถอะ     คนไข้ คือครู   คนไข้ คือครู     มาเรียนรู้จากคนไข้จริงกันเถอะ     คนไข้ คือครู   คนไข้ คือครู     มาเรียนรู้จากคนไข้จริงกันเถอะ     คนไข้ คือครู

 


 

   เรียนรู้จาก
   คนไข้รายที่ 2

     คนไข้ชาย อายุ 66 ปี   

      

    

     อาการและปัญหา: จับหืดมา 5 ปี

  • มีอาการจับหืดและหอบทุกคืนมา 5 ปี

  • ช่วงเป็นหวัดจะมีหอบหืดรุนแรงขึ้น

  • เจอควันหรือกลิ่นแรงๆจะหายใจไม่ออก

    ประวัติครอบครัว
    น้องสาวเป็นโรคภูมิแพ้ทางจมูก

  โดย นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม

 โรคหืดเรื้อรัง

 โรคหืด 

   มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ

  1. หลอดลมที่มีการตีบหรืออุดตันเป็นๆหายๆ การตีบหรืออุดตันเกิดจาก กล้าเนื้อหลอดลมหดตัว เยื่อบุบวม มีการอักเสบ เสมหะมาก

  2. มีการอักเสบเรื้อรังของหลอดลมร่วมด้วย

  3. หลอดลมมีสภาพไวผิดปกติต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ เช่น ควันต่างๆ กลิ่นที่แรง สารก่อภูมิแพ้

    ต้องการอ่านรายละเอียดโรคหืด (Asthma)
    ให้ click ที่นี่

  

 


 
ตรวจร่างกาย

 จมูก: เยื่อจมูกบวมปานกลาง

  ปอด: ฟังได้เสียง "วี้ดๆ"

  ตรวจการทำงานของปอด:   เป่าวัดการตีบของหลอดลม (Peak flow) เป่าได้เพียง = 250 ลิตรต่อนาที
(ปกติชายไทยควรเป่าได้ มากกว่า 500 ลิตรต่อนาที

 ตรวจทดสอบภูมิแพ(Skin prick test)
 พบว่า แพ้ไรฝุ่น 3+

 


    

 บทเรียน จากคนไข้รายนี้

  โรคหืดเรื้อรัง

  • การรักษาโดยไม่ถูกวิธีอาจทำให้หลอดลมเสื่อม เรื้อรังได้

  • ไม่ควรซื้อยาชุด หรือยาลูกกลอนทาน เพราะมักจะมียาชนิดสเตอรอยด์ผสมอยู่ อาจทำให้อ้วน และระยะยาวกระดุกจะบางและหักง่าย รวมทั้งมีผลเสียอีกมากมาย

  • โรคภูมิแพ้ทางจมูกเป็นร่วมกับโรคหืดบ่อย การรักษาทั้ง 2 โรคพร้อมกันจะได้ผลดีกว่ารักษาเพียงแต่โรคหืดเท่านั้น

  • ยาสเตอรอยด์ชนิดพ่น ไม่ว่าทางจมูกหรือพ่นทางปาก (รักษาโรคหืด)จะปลอดภัย จะได้ผลดีมากในการรักษาภูมิแพ้ทางจมูกและหืด โดยไม่มีผลเสียอย่างที่พบจากการทานยาสเตอรอยด์

   

สนใจอ่าน คนไข้คือครู รายที่
เชิญอ่าน โรคภูมิแพ้หลายระบบในคนเดียวกัน 
อ่านต่อที่นี่

  สรุปการวินิจฉัยโรค

  • โรคหืดเรื้อรัง ที่รุนแรงปานกลาง

  • โรคภูมิแพ้ทางจมูก (โดยที่เจ้าตัวไม่ได้สังเกตว่ามีปัญหา ในกรณีเช่นนี้ พบได้บ่อยมาก)

  การรักษาที่ให้

  • แนะนำให้หลีกเลี่ยงไรฝุ่น ต้องการอ่านรายละเอียดให้ click ที่นี่

  • รับประทานยาลดบวมหลอดลม 3-5 วัน

  • ใช้ ยาสเตอรอยด์ชนิดพ่น ทั้งชนิดรักษาหืด และรักษาจมูก

  • ทานยาขยายหลอดลมก่อนนอน

  • ใช้ยาพ่นขยายหลอด สำหรับแก้อาการหืดกำเริบ

  • ทานยาต้านฮีสตามีน (แก้แพ้)

  ผลการรักษา

  • หลังการรักษาประมาณ 5 วัน คนไข้ไม่มีอาการหอบืหด

  • สามารถหลับได้ดี

  • 2 อาทิตย์ต่อมา ตรวจให้เป่าวัดการตีบของหลอดลม (Peak flow) ผลดีขึ้นอีก 100 ลิตรนั่นคือเป่าได้ 350 ลิตรต่อนาที อย่างไรก็ตามอย่างลืมว่าหลอดลม ของคนไข้รายนี้ ทำงานได้ เพียงประมาณไม่ถึง 70% ของคนปกติเท่านั้น คงต้องติดตามการรักษาระยะยาวกว่นี้ว่าจะดีขึ้นอีกเรื่อยๆหรือไม่

 

WEBSITE นี้ได้การสนับสนุนโดย 

คลินิกภูมิแพ้

Allergy Care Clinic  
ใน BIG-C สาขาสะพานควาย ชั้น B

(ข้าง รพ.เปาโล และ สถานี BTS สะพานควาย)  

และ

ผลิตภัณฑ์ป้องกันภูมิแพ้ AC & C

โทร: 01-4829404
สนใจรายละเอียด Click here