ปิโตรเลียม คือ สารพวกไฮโดรคาร์บอนและอาจจะพบสารอินทรีย์ที่มีธาตุ O N หรือ S เป็นองค์ประกอบอยู่บ้างเล็กน้อย เกิดจากการตายทับถมของซากพืชซากสัตว์นับเป็นเวลานับล้าน ๆ ปี
1. ก๊าซธรรมชาติ คือ ก๊าซไฮโดรคาร์บอนมี CH4 C2H6 C3H8 C4H10 ส่วนมากจะเป็น CH4
2. น้ำมันดิบ คือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนจำนวนมากมายปนกัน สารพวกนี้มีจุดเดือดแตกต่างน้อย จึงแยกด้วยวิธีการกลั่นลำดับส่วน
สารไฮโดรคาร์บอนที่แบ่งได้จากการกลั่นลำดับ เรียงจากจุดเดือดต่ำไปหาสูง ดังนี้
ก๊าซปิโตรเลียม (C1 - C4), น้ำมันเบนซิน, น้ำมันก๊าด, น้ำมันดีเซล, น้ำมันหล่อลื่น, ไข, น้ำมันเตา, บิทูเมน
สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีขนาดใหญ่จำนวน C อะตอมมาก มีประโยชน์น้อย ราคาต่ำมาเปลี่ยนเป็นสารที่มีขนาดโมเลกุล และมวลโมเลกุลใกล้เคียงกับน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซล และปรับปรุง โครงสร้างของโมเลกุลให้เป็นเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพดีขึ้นดังนี้
ก. กระบวนการแตกสลาย (Cracking)
ข. การรีฟอร์มมิง (Reforming)
ค. การแอลคิเลชัน (Alkylation)
สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่จะใช้เป็นเชื้อเพลิงที่ดีในรถยนต์ต้องมีลักษณะ ดังนี้
1. โมเลกุลได้ขนาด ที่มี C5 - C10
2. โมเลกุลมี C ต่อกันแตกกิ่งก้านสาขา
พอลิเมอร์ (Polymer) คือ สารประกอบที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ และมีมวลโมเลกุลมากประกอบด้วย หน่วยเล็ก ๆ ของสารที่อาจจะเหมือนกันหรือต่างกันมาเชื่อมต่อกันด้วยพันธะโคเวเลนต์
มอนอเมอร์ + มอนอเมอร์ + มอนอเมอร์ + ........ = พอลิเมอร์
มอนอเมอร์ (Monomer) คือ หน่วยเล็ก ๆ ของสารในพอลิเมอร์
พอลิเมอร์ แบ่งตามเกณฑ์ต่าง ๆ ดังนี้
แบ่งตามการเกิด
ก. พอลิเมอร์ธรรมชาติ เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น โปรตีน แป้ง เซลลูโลส ยางธรรมชาติ
ข. พอลิเมอร์สังเคราะห์ เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากการสังเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์ต่าง ๆ เช่น พลาสติก ไนลอน ดาครอนและลูไซต์
แบ่งตามชนิดของมอนอเมอร์ที่เป็นองค์ประกอบ
ก. โฮมอลิเมอร์ เป็นพอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยมอนอเมอร์ชนิดเดียวกัน เช่น แป้ง พอลิเอทิลีน PVC
ข. โคพอลิเมอร์ เป็นพอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยมอนอเมอร์ต่างชนิดกัน เช่น โปรตีน พอลิเอสเทอร์
โครงสร้างของพอลิเมอร์
ก. พอลิเมอร์แบบเส้น
เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากมอนอเมอร์สร้างพันธะต่อกันเป็นสายยาว โซ่พอลิเมอร์เรียงชิดกันมากว่าโครงสร้างแบบอื่น ๆ จึงมีความหนาแน่น และจุดหลอมเหลวสูง มีลักษณะแข็ง ขุ่นเหนียวกว่าโครงสร้างอื่นๆ ตัวอย่าง
PVC (พอลิไวนิลคลอไรด์) PS (พอลิสไตรีน) PE( พอลิเอทิลีน)
ข. พอลิเมอร์แบบกิ่ง
เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากมอนอเมอร์ยึดกันแตกกิ่งก้านสาขา มีทั้งโซ่สั้นและโซ่ยาว กิ่งที่แตกจาก พอลิเมอร์ของโซ่หลัก ทำให้ไม่สามารถจัดเรียงโซ่พอลิเมอร์ให้ชิดกันได้มาก จึงมีความหนาแน่นและจุดหลอมเหลวต่ำยืด
หยุ่นได้ ความเหนียวต่ำ โครงสร้างเปลี่ยนรูปได้ง่ายเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น ตัวอย่าง PE(พอลิเอทิลีน)ชนิดความหนาแน่นต่ำ
ค. พอลิเมอร์แบบร่างแห
เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากมอนอเมอร์ต่อเชื่อมกันเป็นร่างแห พอลิเมอร์ชนิดนี้มีความแข็งแกร่ง และเปราะหักง่าย ตัวอย่างเบกาไลต์ เมลามีนใช้ทำถ้วยชาม
ปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชัน
พอลิเมอร์ไรเซชัน (Polymerization) คือกระบวนการเกิดสารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ (พอลิเมอร์) จากสารที่มีโมเลกุลเล็ก (มอนอเมอร์)
ปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชัน
ก. ปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชันแบบเติม
ข. ปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชันแบบควบแน่น
พลาสติก
พลาสติก (Plastic) คือสารที่สามารถทำให้เป็นรูปต่าง ๆ ได้ด้วยความร้อน พลาสติกเป็นพอลิเมอร์ ขนาดใหญ่ มวลโมเลกุลมาก
สมบัติ เสถียร สลายตัวยาก มีมวลน้อย เบา เป็นฉนวนความร้อนและไฟฟ้าที่ดี ส่วนมากอ่อนตัวและหลอมเหลวเมื่อได้รับความร้อน จึงเปลี่ยนเป็นรูปต่าง ๆ ได้ตามประสงค์
ประเภทพลาสติก
ก. เทอร์มอพลาสติก ได้รับความร้อนจะอ่อนตัว และเมื่อเย็นลงจะแข็งตัว สามารถเปลี่ยนรูปได้ พลาสติกประเภทนี้โครงสร้างโมเลกุลเป็นโซ่ตรงยาว มีการเชื่อมต่อระหว่างโซ่พอลิเมอร์น้อย มาก จึงสามารถหลอมเหลว หรือเมื่อผ่านการอัดแรงมากจะไม่ทำลายโครงสร้างเดิม ตัวอย่าง พอลิเอทิลีน พอลิโพรพิลีน พอลิสไตรีน
ข. พลาสติกเทอร์มอเซต คงรูปหลังการผ่านความร้อนหรือแรงดันเพียงครั้งเดียว เมื่อเย็นลงจะแข็งมาก ทนความร้อนและความดัน ไม่อ่อนตัวและเปลี่ยนรูปร่างไม่ได้ แต่ถ้าอุณหภูมิสูงก็จะแตกและไหม้เป็นขี้เถ้าสีดำ พลาสติกประเภทนี้โมเลกุลจะเชื่อมโยงกันเป็นร่างแหจับกันแน่น แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลแข็งแรงมาก จึงไม่สามารถนำมาหลอมเหลวได้ ตัวอย่าง เมลามีน พอลิยูรีเทน
เส้นใย
เส้นใย (Fibers) คือ พอลิเมอร์ชนิดหนึ่งที่มีโครงสร้างของโมเลกุลสามารถนำมาเป็นเส้นด้าย เส้นใย
เส้นใยโปรตีน ขนสัตว์ เช่น ขนแกะ ขนแพะ
เส้นใยไหม เส้นใยจากรังไหม
ยาง
ยาง (Rubber) คือ สารที่มีสมบัติยืดหยุ่นได้ ทำให้เป็นรูปร่างต่าง ๆ ได้ เป็นสารประกอบพอลิเมอร
ประเภทยาง
ก. ยางธรรมชาติ ได้จากต้นยางพารา น้ำยางที่ได้เป็นของเหลวสีขาว ชื่อพอลิไอโซปริน สมบัติ มีความยืดหยุ่น เพราะโครงสร้างโมเลกุลของยางมีลักษณะม้วนงอขดไปมาปิดเป็นเกลียว ได้ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลเป็นแรงแวนเดอร์วาลส์ สมบัติเปลี่ยนง่ายคือเมื่อร้อนจะอ่อนตัวเหนียว แต่เย็นจะแข็งและเปราะ
ข. ยางสังเคราะห์ เป็นพอลิเมอร์ที่สังเคราะห์ขึ้นจากสารผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เช่น
กระบวนการวัลคาไนเซชัน (Vulcanization process) คือ กระบวนการที่ใช้ในการเพิ่มคุณภาพของยางธรรมชาติ (ยางดิบ) ให้มีความยืดหยุ่นได้ดีขึ้น มีความคงตัวสูง ไม่สึกกร่อนง่าย และไม่ละลายในตัวทำละลายอินทรีย์ สมบัติเหล่านี้จะยังคงอยู่ ถึงแม้ว่าอุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงก็ตาม
ภาวะมลพิษที่เกิดจากการผลิตและการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
ภาวะมลพิษ หมายถึง ภาวะแวดล้อมที่ก่อให้เกิดอันตราย
สารมลพิษ หมายถึง สารที่ก่อใ้ห้เกิดมลพิษ
1. มลพิษทางอากาศ เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ในเมืองใหญ่เกิดจากการจราจรคับคั่วง และรถติดมาก เมืองอุตสาหกรรม เกิดการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือยานพาหนะ เช่น CO CO2 SO2 SO3 ออกไซด์ของ N ฝุ่นโลหะหนัก ไอของสารอินทรีย์บางชนิด ไฮโดรคาร์บอน
การกำจัดก๊าซ SO2 ผ่านก๊าซ SO2 ลงในด่าง ดังนี้ SO2 + Ca(OH)2 ---------------> CaSO3 + H2O
ผ่านก๊าซ SO2 ลงใน CaO เผาจนร้อนแดงกับไอน้ำ ดังนี้ SO2 + CaO + H2O ----------------> CaSO3 + H2O
2. มลพิษทางน้ำ เกิดจากปิโตรเคมีภัณฑ์ เช่น ปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช และผงซักฟอก (ฟอสเฟต) เป็นปุ๋ยของพืชน้ำทำให้ปุ๋ยน้ำเจริญเติบโตก่อให้เกิดมลภาวะ
การตรวจฟอสเฟตในน้ำ
การตรวจหาปริมาณออกซิเจน
ปริมาณออกซิเจน = 8000/V x ความเข้มข้น Na2S2O3 (mok/dm3) x ปริมาตรNa2S2O3 cm3
3. มลพิษทางดิน สาเหตุการตัดไม้ทำลายป่า ทำไร่เลื่อนลอย สร้างเขื่อน กำจัดสารพิษโดยการฝังดิน กำจัดขยะมูลฝอย, สิ่งปฏิกูล, ปุ๋ยเคมี และสารเคมีที่ใช้ปราบศัตรูพืช พอลิเมอร์ เช่น พลาสติก สลายยาก
การกำจัดพลาสติกเพื่อลดปัญหามลพิษ
1. ใช้ปฏิกิริยาทางชีวเคมี ด้วยการใช้พลาสติกที่จุลินทรีย์ย่อยสลายได้ง่าย เช่น เซลลูโลสเซนเตตและเซลลูโลสแอซีเตต
2. ใช้สมบัติการละลายน้ำ พลาสติกขึ้นเมื่อถูกกับน้ำ เพื่อให้พลาสติกถูกทำลายได้ง่าย เช่น พอลิไวนิลแอลกอฮอล์
3. ใช้แสงแดด เติมหมู่ฟังก์ชันที่ว่องไวต่อแสงในโซ่พอลิเมอร์ของพลาสติก จะทำให้หมู่ฟังก์ชันพร้อมพลาสติกนั้นถูกทำลายด้วยแสง
4. ใช้แสงแดด เผาพลาสติกให้เกิด CO2 และ H2O
5. นำกลับมาใช้ใหม่ นำพลาสติกที่ใช้มาผ่านกระบวนการผลิตครั้งใหม่ เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า
การย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ
1. โดยใช้แบคทีเรียแอโรบิก ใช้ O2 ย่อยสลายสารอินทรีย์
2. โดยใช้แบคทีเรียแอนาโรบิก ไม่ใช้ O2 ย่อยสลายสารอินทรีย์
H2S (g) มีกลิ่นเหม็นทำปฏิกิริยากับไอออนของโลหะบางชนิด เช่น Fe3+ เกิดตะกอนสีดำ Fe2S3 เป็นสาเหตุให้เกิดตะกอนสีดำและมีกลิ่นเหม็นจาก H2S