สำนักงานประกันสังคมจังหวัดกาญจนบุรี
http://www.oocities.org/ssokanchanaburi
แนะนำสำนักงาน
การประกันตนเอง (มาตรา 39)
กองทุนประกันสังคม
..ลาออก..เลิกจ้าง..ปิดกิจการ..ตกงาน..รีบสมัคร ม.39 ภายใน 6 เดือน รับสิทธิเหมือนเดิม
กองทุนเงินทดแทน

ผู้ประกันตนที่ออกจากงานจะได้รับอะไร จากการประกันสังคม
1. เมื่อลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตน (ตามมาตรา 33) ลาออกจากงาน ลูกจ้างยังคงได้รับความคุ้มครอง 4 กรณี คือ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร และตาย จากการประกันสังคม ต่อไปอีก 6 เดือน
2. หากลูกจ้างมีความประสงค์จะประกันตนต่อหลังจากสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ก็สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39 ได้ ภายใน 6 เดือน นับแต่วันสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง

คุณสมบัติของผู้ประกันตน
1. เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน
2. ต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม

การยื่นใบสมัคร

1. ต้องยื่นใบสมัครแบบแสดงความจำนง (แบบ สปส. 1-20) ด้วยตนเอง ภายใน 6 เดือน นับแต่วันสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง)
2. สถานที่ยื่นใบสมัคร
กรุงเทพ ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่
ภูมิภาค ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา

หลักฐานการสมัคร
1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้พร้อมสำเนา

วันเริ่มต้นการเป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 39

ผู้สมัครจะเริ่มต้นการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ในวันที่ 1 ของเดือน ถัดจากเดือนที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานประกันสังคม
ตัวอย่างเช่น นาย ก. ยื่นใบสมัครและได้รับอนุมัติจากสำนักงานประกันสังคม เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2547 นาย ก. จะมีผลเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ในวันที่ 1 มีนาคม 2547 เป็นต้นไป

เงินสมทบที่ต้องนำส่ง
คำนวณเงินสมทบจากฐานค่าจ้างเดือนละ 4,800 บาท อัตราเดียวเท่ากันทุกคน
ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ต้องออกเงินสมทบเป็น 2 เท่า ของอัตราเงินสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนแต่ละกรณี ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 อัตราเงินสมทบของผู้ประกันตนตามมาตรา 39 เป็น 9%)
ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ต้องนำส่งเงินสมทบ 6 กรณี (เจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร ตาย รวม 3% สงเคราะห์บุตร และชราภาพ รวม 6%) ในอัตราเดือนละ 432 บาท (9% คูณ 4,800 บาท)
การจ่ายเงินสมทบทุกครั้ง ท่านจะมีเงินออมเก็บไว้ในอัตราเดือนละ 288 บาท (6% คูณ 4,800 บาท)

ทางเลือกใหม่ของการนำส่งเงินสมทบผู้ประกันตนตามมาตรา 39

1. จ่ายเงินสมทบด้วยวิธีหักบัญชีเงินฝาก โดยเปิดบัญชีออมทรัพย์กับธนาคารกรุงไทยทุกสาขาทั่วประเทศ
1.1 ยื่นคำขอตามแบบที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด
1.2 ให้แจ้งเลขที่บัญชีเงินฝากต่อสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ หรือจังหวัด/สาขา ณ ท้องที่ที่ท่านติดต่อ
1.3 ธนาคารจะหักเงินสมทบเดือนละครั้ง ๆ ละ 432 บาท (ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป) พร้อมค่าธรรมเนียมในการบริการอีกครั้งละ 10 บาท
2. ธนาคาร กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) รับชำระเงินสมทบผู้ประกันตนตามมาตรา 39 โดยได้รับใบเสร็จทันที

หน้าที่ของผู้ประกันตนตามมาตรา 39

1. ต้องนำส่งเงินสมทบ ภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน หากนำส่งเงินสมทบเกินกำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2 ต่อเดือน
2. แจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริง ให้สำนักงานประกันสังคมทราบ ดังนี้
- กรณีเปลี่ยนแปลงสถานที่ติดต่อ ต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน
- กรณีเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล หรือแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ ต้องแจ้งทันที่พร้อมแนบสำเนาหลักฐาน
- กรณีประสงค์ลาออก หรือกลับเข้าทำงาน และมีสถานะเป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรทันที ณ สำนักงานประกันสังคมที่รับผิดชอบ

สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ

1. ได้รับความคุ้มครอง กรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร ตาย สงเคราะห์บุตร และชราภาพ ต่อเนื่องจากการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33
2. การใช้บริการทางการแพทย์ในกรณีเจ็บป่วย จะได้รับบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล ซึ่งระบุสถานพยาบาลตามที่ได้เลือกไว้

เหตุที่ทำให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 สิ้นสภาพ
1. ไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน (สิ้นสภาพตั้งแต่เดือนแรกที่ไม่ส่งเงินสมทบ)
2. ลาออก
3. กลับเข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33
4. ตาย
5. ภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน (สิ้นสภาพในเดือนที่ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน)

สิทธิประโยชน์ที่ได้รับภายหลังจากการสิ้นสภาพ

1. การสิ้นสภาพตามข้อ 1 , 2 และ 5 จะได้รับการคุ้มครองเฉพาะกรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร และตาย ต่อไปอีก 6 เดือน นับแต่วันที่สิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตน ทั้งนี้ต่อเมื่อผู้ประกันตนได้นำส่งเงินสมทบจนครบเงื่อนไขเวลาที่ก่อให้เกิดสิทธิ
2. การสิ้นสภาพตามข้อ 3 สามารถนับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบต่อเนื่องได้ทุกรณี
3. การสิ้นสภาพตามข้อ 4 และมีบุตรที่อยู่ระหว่างได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร จะได้รับเงินสงเคราะห์ต่อเนื่องจนบุตรอายุครบเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง (6 ปีบริบูรณ์)
5. เมื่อสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน แต่ส่งเงินไม่ครบ 180 เดือน และมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ จะได้รับเงินออมกรณีชราภาพคืนทันที พร้อมผลประโยชน์ตอบแทนตามที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด
6. ถ้าส่งเงินสมทบครบ 180 เดือน หรือมากกว่าจะได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือน

ข้อมูลสำหรับนายจ้าง
ข้อมูลสำหรับลูกจ้าง/ผู้ประกันตน
ประกันการว่างงาน
ลิงค์
หน้าแรก
อัตราเงินสมทบมาตรา39
432 บาท/เดือน

 ร้องเรียน ร้องทุกข์
ข้อเสนอแนะ สอบถามปัญหา

ขึ้นข้างบน

สำนักงานประกันสังคมจังหวัดกาญจนบุรี
2/1 หมู่ 12 ถนนแม่น้ำแม่กลอง ตำบลปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 71000
โทร. 0-3456-4307โทรสาร 0-3456-4308