![]() |
||||||||||||||||
![]() |
||||||||||||||||
สำนักงานประกันสังคมจังหวัดกาญจนบุรี
|
||||||||||||||||
![]() |
||||||||||||||||
http://www.oocities.org/ssokanchanaburi
|
|
|||||||||||||||
กองทุนประกันสังคม | ||||||||||||||||
กองทุนเงินทดแทน | 1.
การประกันสังคม คืออะไร 2. งานประกันสังคม ดำเนินการตามกฎหมายอะไร 3. ใครคือ ผู้ประกันตน 4. ยื่นแบบขึ้นทะเบียนเมื่อใด 5. ใครจะเป็นผู้ยื่นแบบขึ้นทะเบียน 6. หลักฐานอะไรบ้างที่ต้องนำมาแสดงในวันยื่นแบบขึ้นทะเบียน 7. จะขึ้นทะเบียนกับกองทุนประกันสังคมอย่างไร 8. เงินสมทบคืออะไร 9. จะนำส่งเงินสมทบอย่างไร 10. หากนำส่งเงินสมทบไม่ทันหรือส่งไม่ครบ จะต้องทำอย่างไร 11. เมื่อขึ้นทะเบียนแล้ว ผู้ประกันตนจะได้รับอะไรจากประกันสังคม 12. ลูกจ้างเมื่อขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนแล้วจะได้รับสิทธิประโยชน์ในกรณีใดบ้าง 13. ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์อย่างไร 14. เมื่อใดจึงจะได้รับสิทธิ 15. กรณีเจ็บป่วยจะได้อะไร 16. หลักฐานอะไรบ้างที่ต้องใช้เมื่อไปรับการรักษาพยาบาล 17. หากไม่เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลที่ระบุไว้ตามบัตรรับรองสิทธิการักษาพยาบาล จะรักษาที่อื่นได้หรือไม่ 18. ถ้าเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลอื่นจะได้รับค่าบริการทางการแพทย์อย่างไร 19. กรณีคลอดบุตรจะได้รับเงินเท่าไร 20. กรณีทุพพลภาพจะได้รับเงินเท่าไร 21. กรณีตายจะได้รับเงินเท่าใด 22. กรณีสงเคราะห์บุตรจะได้รับเงินเท่าไร 23. กรณีชราภาพจะได้รับเงินเท่าไร 24. กรณีว่างงานจะได้อะไร 25. ผู้ประกันตนยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนได้ที่ใด |
|||||||||||||||
ข้อมูลสำหรับนายจ้าง | ||||||||||||||||
ข้อมูลสำหรับลูกจ้าง/ผู้ประกันตน | ||||||||||||||||
ลิงค์ | ||||||||||||||||
หน้าแรก | ||||||||||||||||
1. การประกันสังคม คืออะไร | ||||||||||||||||
การประกันสังคม คือ การสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตในกลุ่มของสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อรับผิดชอบในการเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น จากการเจ็บป่วย คลอดบุตร ตาย ทุพพลภาพ สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และการว่างงาน เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาล และมีรายได้อย่างต่อเนื่อง | ||||||||||||||||
2. งานประกันสังคม ดำเนินการตามกฎหมายอะไร | ||||||||||||||||
งานประกันสังคมดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 | ||||||||||||||||
3. ใครคือ ผู้ประกันตน | ||||||||||||||||
ผู้ประกันตน
คือ ลูกจ้างที่เริ่มเข้าทำงาน อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีและไม่เกิน 60 ปี และอยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่
1 คนขึ้นไป ซึ่งทั้งนายจ้างและลูกจ้างจะต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคม ยกเว้น 1. ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวรายวัน และลูกจ้างชั่วคราวรายชั่วโมงของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น ยกเว้น ลูกจ้างชั่วคราวรายเดือนต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคม 2. ลูกจ้างของรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ 3. ลูกจ้างของนายจ้างที่มีสำนักงานในประเทศ และไปประจำทำงานในต่างประเทศ 4. ครูหรือครูใหญ่ของโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน 5. นักเรียน นักเรียนพยาบาล นิสิตหรือนักศึกษาหรือแพทย์ฝึกหัดซึ่งเป็นลูกจ้างของโรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือโรงพยาบาล 6. กิจการหรือลูกจ้างอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา |
||||||||||||||||
4. ยื่นแบบขึ้นทะเบียนเมื่อใด | ||||||||||||||||
นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป จะต้องยื่นขอขึ้นทะเบียนภายใน 30 วัน และเมื่อมีลูกจ้างเพิ่ม จะต้องให้ลูกจ้างใหม่ยื่นขึ้นทะเบียนภายใน 30 วัน | ||||||||||||||||
5. ใครจะเป็นผู้ยื่นแบบขึ้นทะเบียน | ||||||||||||||||
นายจ้างจะมายื่นแบบขึ้นทะเบียนด้วยตัวเอง หรือจะมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมาดำเนินการแทนได้ | ||||||||||||||||
![]() |
6. หลักฐานอะไรบ้างที่ต้องนำมาแสดงในวันยื่นแบบขึ้นทะเบียน | |||||||||||||||
สำหรับนายจ้าง | ||||||||||||||||
กรณีจดทะเบียนนิติบุคคล | ||||||||||||||||
1. แบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง
(สปส.1-01) 2. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลพร้อมวัตถุประสงค์ 3. สำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) หรือสำเนาคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) หรือสำเนาภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.20) หรือสำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) 4. แผนที่ตั้งของสถานประกอบการ 5. หนังสือมอบอำนาจ (เฉพาะกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำแทน พร้อมติดอากรแสตมป์ตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด) |
||||||||||||||||
กรณีเจ้าของคนเดียว | ||||||||||||||||
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
(คนต่างด้าวใช้สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว) 2. สำเนาใบทะเบียนบ้าน 3. สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์หรือสำเนาใบอนุญาตให้ประกอบกิจการที่ออกโดยกฎหมายอื่น ซึ่งระบุชื่อที่อยู่ชัดเจน 4. สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรหรือสำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) หรือสำเนาภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.20) หรือสำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) 5. แผนที่ตั้งของสถานประกอบการ 6. หนังสือมอบอำนาจ (เฉพาะกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำแทน พร้อมติดอากรแสตมป์ตามที่ ประมวลรัษฎากรกำหนด) |
||||||||||||||||
สำหรับลูกจ้าง | ||||||||||||||||
1. กรอกแบบฟอร์มขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน
(สปส.1-03) 2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้าน หรือหลักฐานอื่น ๆ ที่สามารถแสดงตนได้ 3. ใบอนุญาตทำงานและสำเนาหนังสือเดินทาง หรือใบอนุญาตทำงานและใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวในกรณีผู้ประกันตนเป็นชาวต่างชาติ 4. ลูกจ้างที่เคยยื่นแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนมาแล้ว ให้แจ้งการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-03/1) ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ลูกจ้างเข้าทำงาน |
||||||||||||||||
![]() |
7. จะขึ้นทะเบียนกับกองทุนประกันสังคมอย่างไร | |||||||||||||||
นายจ้างจะต้องยื่นแบบ ดังนี้ | ||||||||||||||||
1. แบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง
(สปส.1-01) 2. แบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-03 หรือ สปส.1-03/1) โดยนายจ้างที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นแบบได้ที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่สำหรับนายจ้างที่มีสำนักงานใหญ่ในส่วนภูมิภาคให้ไปขึ้นทะเบียน ณ สำนักงานประกันสังคมจังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่ |
||||||||||||||||
8. เงินสมทบคืออะไร | ||||||||||||||||
เงินสมทบ คือ เงินที่นายจ้าง ลูกจ้างจะต้องนำส่งเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน โดยคำนวณค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับซึ่งกำหนดจากฐานค่าจ้างเป็นรายเดือนต่ำสุดเดือนละ 1,650 บาท สูงสุดเดือนละ 15,000 บาท (กรณีที่ลูกจ้างทำงานไม่เต็มเดือน หรือทำงานเพียงไม่กี่วัน และได้รับค่าจ้างไม่ถึง 1,650 บาท ให้นำฐานค่าจ้าง 1,650 บาท มาเป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ และกรณีที่ลูกจ้างได้รับค่าจ้างสูงกว่า 15,000 บาท ให้นำฐานค่าจ้าง 15,000 บาท มาเป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ) ทั้งนี้รัฐบาลจะออกเงินสมทบเข้ากองทุนอีกส่วนหนึ่ง | ||||||||||||||||
9. จะนำส่งเงินสมทบอย่างไร | ||||||||||||||||
นายจ้างจะต้องหักเงินสมทบในส่วนของลูกจ้างทุกครั้งและนำส่งเงินสมทบส่วนของนายจ้างในจำนวนเท่ากับที่ลูกจ้างทั้งหมดถูกหักรวมกัน
พร้อมจัดเอกสารตามแบบ สปส.1-10 ส่วนที่ 1 และสปส.1-10 ส่วนที่ 2 หรือจัดทำข้อมูลลงแผ่นดิสเก็ต
หรือส่งทางอินเตอร์เน็ต โดย: 1. นำส่งสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัดด้วยตนเอง เป็นเงินสด หรือ เช็ค ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หรือ 2. ชำระผ่านธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ณ สาขาในจังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือ 3. ชำระ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ |
||||||||||||||||
10. หากนำส่งเงินสมทบไม่ทันหรือส่งไม่ครบ จะต้องทำอย่างไร | ||||||||||||||||
นายจ้างจะต้องรับผิดชอบจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือนของจำนวนเงินที่ไม่ได้ส่ง หรือจำนวนเงินที่ขาดอยู่ และจะต้องไปชำระที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดเท่านั้น | ||||||||||||||||
11. เมื่อขึ้นทะเบียนแล้ว ผู้ประกันตนจะได้รับอะไรจากประกันสังคม | ||||||||||||||||
บัตรประกันสังคม ผู้ประกันตนจะได้รับบัตรประกันสังคม เมื่อได้ขึ้นทะเบียนแล้ว 5 วันทำการ (ไม่นับระยะเวลาการส่งทางไปรษณีย์) สำนักงานประกันสังคมจะส่งบัตรประกันสังคมไปให้เพื่อใช้แสดงตัวในการขอรับสิทธิประโยชน์เมื่อมาติดต่อกับทางสำนักงานประกันสังคม และใช้กรอกในแบบฟอร์มส่งเงินสมทบเพื่อบันทึกไว้เป็นประวัติการจ่ายเงิน บัตรประกันสังคมจะมีเพียงใบเดียวไม่ว่าจะออกไปทำงานที่ใหม่กี่ครั้งก็ตาม บัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล ผู้ประกันตนจะได้รับบัตรเมื่อได้ขึ้นทะเบียนและส่งเงินสมทบครบ 3 เดือนแล้ว โดยผู้ประกันตนจะต้องเลือกสถานพยาบาลที่จะเข้ารับการรักษาเอง สำนักงานประกันสังคมจะส่งบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาลไปให้เพื่อใช้ในการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่ระบุในบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล ซึ่งจะให้การรักษาพยาบาลโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เว้นแต่ถ้าต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกผู้เข้ารับการรักษาจะต้องจ่ายเงินเพิ่มเอง |
||||||||||||||||
![]() |
12.ลูกจ้างเมื่อขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนแล้วจะได้รับสิทธิประโยชน์ในกรณีใดบ้าง | |||||||||||||||
1.
กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน 2. กรณีคลอดบุตร 3. กรณีทุพพลภาพ 4. กรณีตาย 5. กรณีสงเคราะห์บุตร 6. กรณีชราภาพ 7. กรณีว่างงาน |
||||||||||||||||
13. ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์อย่างไร | ||||||||||||||||
1.
กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน จะได้รับบริการทางการแพทย์ เงินทดแทนการขาดรายได้ ค่าบริการทางการแพทย์กรณีถอนฟัน อุดฟัน และขูดหินปูน ค่าอวัยวะเทียม และอุปกรณ์บำบัดโรค การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การปลูกถ่ายไขกระดูก 2. กรณีคลอดบุตร จะได้รับค่าคลอดบุตร และเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร 3. กรณีทุพพลภาพ จะได้เงินค่าบริการทางการแพทย์และเงินทดแทนการขาดรายได้ และค่าอวัยวะเทียม ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ทุพพลภาพ ค่าทำศพ และเงินสงเคราะห์กรณีตาย 4. กรณีตาย จะได้รับเงินค่าทำศพและเงินสงเคราะห์กรณีตาย 5. กรณีสงเคราะห์บุตร จะได้รับสงเคราะห์บุตร สำหรับบุตรชอบด้วยกฎหมายที่อายุไม่เกิน 6 ปี คราวละไม่เกิน 2 คน โดยเหมาจ่ายเดือนละ 200 บาทต่อบุตร 1 คน 6. กรณีชราภาพ จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ หรือเงินบำนาญชราภาพ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการนำส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน 7. กรณีว่างงาน หากถูกเลิกจ้าง จะได้รับเงินทดแทนปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง หากออกจากงาน จะได้รับเงินทดแทนปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้าง ทั้งนี้สิทธิประโยชน์ 4 กรณีแรก สำนักงานประกันสังคมจะให้ความคุ้มครองต่อไปอีก 6 เดือน นับแต่วันสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง |
||||||||||||||||
![]() |
14. เมื่อใดจึงจะได้รับสิทธิ | |||||||||||||||
1.
กรณีเจ็บป่วย และกรณีทุพพลภาพ เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ 2. กรณีคลอดบุตร เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 7 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันคลอด 3. กรณีตาย เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนถึงแก่ความตาย 4. กรณีสงเคระห์บุตร เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน 5. กรณีชราภาพ มีอายุครบ 55 ปี และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง หรือเมื่อเป็นผู้ทุพพลภาพหรือเมื่อเสียชีวิต 6. กรณีว่างงาน เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่างงาน |
||||||||||||||||
15. กรณีเจ็บป่วยจะได้อะไร | ||||||||||||||||
ได้รับการรักษาพยาบาลโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด
ๆ เมื่อเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลที่ระบุไว้ในบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาลหรือเครือข่ายของสถานพยาบาลนั้นและได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง โดยได้รับตามที่หยุดจริงตามคำสั่งแพทย์ แต่ไม่เกิน 90 วัน ต่อครั้งและไม่เกิน 180 วันต่อปี เว้นแต่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ไม่เกิน 365 วัน |
||||||||||||||||
16. หลักฐานอะไรบ้างที่ต้องใช้เมื่อไปรับการรักษาพยาบาล | ||||||||||||||||
1. บัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล
ซึ่งสำนักงานประกันสังคมเป็นผู้ออกให้ 2. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่น ที่ทางราชการอกให้ ซึ่งมีรูปถ่ายด้วย |
||||||||||||||||
17. หากไม่เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลที่ระบุไว้ตามบัตรรับรองสิทธิฯ จะรักษาที่อื่นได้หรือไม่ | ||||||||||||||||
ผู้ประกันตนจะเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลอื่นได้ในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน
และกรณีอุบัติเหตุเท่านั้น 1. กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน คือ โรคหรืออาการของโรคมีลักษณะรุนแรง อันอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตโรคหรืออาการของโรคเป็นมากต้องทำการช่วยชีวิตเป็นการด่วน และโรคที่ต้องผ่าตัดด่วน หากปล่อยไว้จะเป็นอันตรายต่อชีวิต 2. กรณีอุบัติเหตุ คือ เหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด และเป็นผลกระทบจากสภาพแวดล้อมภายนอก |
||||||||||||||||
![]() |
||||||||||||||||
ถ้าเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลอื่นและผู้ประกันตนได้ทดรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน
สามารถเบิกคืนจากสำนักงานประกันสังคมในอัตราที่กำหนดดังนี้ กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลได้ทุกแห่งโดยสำนักงานประกันสังคมจะจ่ายค่ารักษาพยาบาล ที่เกิดขึ้นภายใน 72 ชั่วโมง นับแต่เข้ารับการรักษา (ไม่นับรวมวันหยุดราชการ) ตามอัตราดังนี้ 1. ประเภทผู้ป่วยนอก ปีละไม่เกิน 2 ครั้ง - จ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลตามจำนวนเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินครั้งละ 300 บาท - ในกรณีมีการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เอ็กซเรย์ จ่ายเพิ่มให้อีกตามจำนวนที่จ่ายจริง ไม่เกินครั้งละ 200 บาท - ในกรณีมีการรักษาด้วยหัตถการจากแพทย์ เช่น เย็บแผล จ่ายเพิ่มให้อีกตามจำนวนที่จ่ายจริง ไม่เกินครั้งละ 200 บาท 2. ประเภทผู้ป่วยใน ปีละไม่เกิน 2 ครั้ง - จ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลตามจำนวนที่จ่ายจริง ไม่เกินวันละ 1,500 บาท - ในกรณีมีการผ่าตัดใหญ่ ไม่เกิน 2 ชั่วโมง จ่ายตามจำนวนที่จ่ายจริง ไม่เกิน 8,000 บาทต่อการเจ็บป่วยแต่ละครั้ง - ในกรณีมีการผ่าตัวใหญ่เกิน 2 ชั่วโมง จ่ายตามจำนวนที่จ่ายจริง ไม่เกิน 14,000 บาทต่อการเจ็บป่วยแต่ละครั้ง - จ่ายเป็นค่าห้อง และค่าอาหารตามจำนวนที่จ่ายจริง ไม่เกินวันละ 700 บาท กรณีที่มีความจำเป็นต้อง รับการรักษาพยาบาลในห้อง ICU จ่ายค่ารักษาพยาบาลเพิ่มเติมตามความจำเป็นไม่เกินวันละ 2,000 บาท - ในกรณีมีการตรวจรักษาด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง ได้แก่ CTSCAN หรือ MRI ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด จ่ายตามจำนวนที่จ่ายจริง ไม่เกิน 4,000 บาทต่อการเจ็บป่วยแต่ละครั้ง กรณีอุบัติเหตุ กรณีอุบัติเหตุ ไม่จำกัดจำนวนครั้งในการเบิกค่ารักษาพยาบาล ถ้าเข้ารับการรักษา ณ สถานพยาบาลของรัฐ ทั้งประเภทผู้ป่วยนอกและประเภทผู้ป่วยใน ภายใน 72 ชั่วโมงแรกจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น ส่วนค่าห้องและค่าอาหาร ตามจำนวนที่จ่ายจริง ไม่เกินวันละ 700 บาท หากเข้ารับการรักษา ณ สถานพยาบาลเอกชน จ่ายตามหลักเกณฑ์เดียวกับกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน ในกรณีมีความจำเป็นต้องส่งตัวผู้ป่วยไปตรวจวินิจฉัยหรือรักษาต่อยังสถานพยาบาลอื่นภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง สามารถเบิกค่าพาหนะในอัตราดังนี้ - ภายในเขตจังหวัดเดียวกัน สำหรับค่ารถพยาบาล หรือเรือพยาบาล จ่ายตามจำนวนที่จ่ายจริง ไม่เกิน 500 บาทต่อครั้ง และ 300 บาทต่อครั้งสำหรับพาหนะรับจ้างหรือส่วนบุคคล - ในกรณีข้ามเขตจังหวัด จ่ายเพิ่มจากกรณีภายในเขตจังหวัดเดียวกันอีกตามระยะทางกิโลเมตรละ 90 สตางต์ (ตามระยะทางกรมทางหลวง) เมื่อผู้ประกันตนเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลอื่น ให้รับแจ้งสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาลทราบทันที เพื่อในรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้น นับตั้งแต่มีการแจ้ง กรณีไม่มีบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล สำหรับผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบตามเงื่อนไขแล้ว แต่สำนักงานประกันสังคมยังไม่ออกบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาลให้ สามารถเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลได้ หากประสบอันตรายจากอุบัติเหตุสามารถเบิกค่าบริการทางการแพทย์ตามหลักเกณฑ์และอัตราเดียวกับการเจ็บป่วยฉุกเฉิน |
||||||||||||||||
![]() |
19. กรณีคลอดบุตรจะได้รับเงินเท่าไร | |||||||||||||||
สำนักงานประกันสังคมจะเหมาจ่ายค่าคลอดบุตรให้ครั้งละ
4,000 บาท โดยมีสิทธิได้รับคนละ 2 ครั้ง (กรณีที่มีการคลอดตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน 2547 เป็นต้นไป ค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายเพิ่มเป็น 6,000 บาท/ครั้ง) สำหรับผู้ประกันตนหญิง จะได้รับค่าคลอดบุตรและเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นระยะเวลา 90 วัน สำหรับผู้ประกันตนชาย จะได้รับเฉพาะค่าคลอดบุตร (สำหรับภรรยาที่จดทะเบียนสมรส หรือหญิงที่อยู่กินฉันสามีภรรยาอย่างเปิดเผยตามระเบียบที่เลขาธิการกำหนด) |
||||||||||||||||
20. กรณีทุพพลภาพจะได้รับเงินเท่าไร | ||||||||||||||||
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้
เป็นรายเดือนตลอดชีวิตในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง - ได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น ไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท - ได้รับค่าใช้จ่ายในกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ทุพพลภาพทางร่างกาย จิตใจ และอาชีพ ตามประกาศ สำนักงานประกันสังคม เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ อัตราค่าฟื้นฟูของผู้ทุพพลภาพเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น ไม่เกิน 40,000 บาทต่อราย - ผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2538 เป็นต้นไป หากเสียชีวิตจะได้รับค่าทำศพ และเงินสงเคราะห์กรณีตาย เช่นเดียวกับกรณีตาย |
||||||||||||||||
21. กรณีตายจะได้รับเงินเท่าใด | ||||||||||||||||
ได้รับค่าทำศพ
30,000 บาท และได้รับเงินสงเคราะห์กรณีตาย ดังนี้ จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 10 ปี จะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างหนึ่งเดือนครึ่ง จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างห้าเดือน |
||||||||||||||||
22. กรณีสงเคราะห์บุตรจะได้รับเงินเท่าไร | ||||||||||||||||
ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่าย
เดือนละ 200 บาท ต่อบุตรหนึ่งคน สำหรับบุตรชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์ คราวละไม่เกิน 2 คน |
||||||||||||||||
![]() |
23. กรณีชราภาพจะได้รับเงินเท่าไร | |||||||||||||||
เงินบำนาญชราภาพ 1. กรณีจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน ได้รับเงินบำนาญชราภาพในอัตราร้อยละ 15 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ ก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง 2. กรณีจ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน ให้ปรับเพิ่มอัตราเงินบำนาญชราภาพตามข้อ 1. ขึ้นอีกร้อยละ 1 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน สูตรคำนวณเงินบำนาญชราภาพ = ค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายคูณด้วย (15% + จำนวน% ที่เพิ่มให้อีกปีละ 1%) เงินบำเหน็จชราภาพ 1. กรณีจ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทน ในกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ 2. กรณีจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ เท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร และชราภาพ พร้อมผลประโยชน์ตอบแทนตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด 3. กรณีผู้รับเงินบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือน นับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ จำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับคราวสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย สูตรคำนวณเงินบำเหน็จชราภาพ (กรณีจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป) = (เงินสมทบของผู้ประกันตน + เงินสมทบของนายจ้าง + ผลประโยชน์ตอบแทน) เงินบำนาญชราภาพ ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือนขึ้นไป เงินบำเหน็จชราภาพ ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือน |
||||||||||||||||
24. กรณีว่างงานจะได้อะไร | ||||||||||||||||
ตกงานเพราะถูกเลิกจ้าง ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ตกงานเพราะลาออก ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้าง หากใน 1 ปีปฏิทิน มีการยื่นขอรับเงินทดแทนการขาดรายได้ทั้ง 2 กรณี ให้นับระยะเวลาการรับเงินทดแทนการขาดรายได้รวมกันไม่เกิน 180 วัน |
||||||||||||||||
25. ผู้ประกันตนยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนได้ที่ใด | ||||||||||||||||
ผู้ประกันจนสามารถยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนได้ที่
1. สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 2. สำนักงานประกันสังคมจังหวัดทั่วประเทศ 3. ขอรับประโยชน์ทดแทนทางโทรศัพท์ 4. ส่งแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนทางไปรษณีย์ |
||||||||||||||||
สำนักงานประกันสังคมจังหวัดกาญจนบุรี |
||||||||||||||||
![]() |