ประวัติ  
สถาพทั่วไป

หอระฆังวัดศรีบุญเรือง

สภาพเศรษฐกิจ

การเดินทาง
การปกครอง
สถานที่ท่องเที่ยว
สถานบันเทิง
ร้านอาหาร
โปรแกรมทัวร์
ผลิตภัณฑ์  
บทความ  
ข้อมูลผู้จัดทำ  

หอระฆังวัดศรีบุญเรือง
"หอระฆัง" นั้น ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในอาคารเสนาสนะที่สำคัญยิ่งของวัดเมื่อครั้งอดีตกาล ทั้งนี้เนื่องจากในสมัยก่อน การรับรู้เรื่องเกี่ยวกับเวลายังไม่เป็ฯที่แพร่หลายดีงเช่นในปัจุบัน หอระฆังจึงเป็นหออาณัติประจำวัดที่คอยให้สัญญาณแก่ภิกษุสงฆ์และสามเณรได้พึงทราบถึงเวลาสำหรับปฏิบัติสมณกิจโดยพร้อมเพรียงกัน และนอกจากนี้ก็ยังได้เอื้อประโยชน์ต่อชุมชนรอบวัดที่อาศัยฟังเสียงของระฆังเพื่อจะได้ทราบเวลาอีกด้วย

สืบประวัติวัดศรีบุญเรืองและหอระฆัง
วัดศรีบุญเรือง ตั้งอยู่ที่บริเวณบ้านนาแบก ตำบลเวียงคำ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี โดยถ้าออกเดินทางจากตัวเมืองอำเภอกุมภวาปี ให้มาตามถนนสาย2350 ประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะพบวัดศรีบุญเรืองอยู่ติดถนนด้านขวามือวัดศรีบุญเรืองแห่งนี้ จากหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักรเล่ม 10 ของกรมการศาสนากล่าวว่า ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2454 แต่เดิมชาวบ้านเรียกว่า วัดนาแบก สร้างขึ้นโดย พระอาจารย์ อบมา อายุวฑฺฒโก เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และ นายสี หาวงศ์ผู้ใหญ่บ้านคนแรกเป็นประธานฝ่ายฆราวาส โดยวัดนี้ได้รับวิสุคามสีมา เมื่อวันทึ่ 15 พฤศจิกายน 2543 ส่วนหอระฆังที่วัดศรีบุญเรือง จากการตรวจสอบข้อมูลในหนังสือ "ประเพณีท้องถิ่น อนุสรณ์งานผูกพัทธสีมา 25 - 31 มีนาคม 2536" ซึ่งเรียบเรียงโดย พระอธิการคำห่วง จนฺทปุญโญ ให้รายละเลียดไว้ว่าได้สร้างหอระฆังขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2506 ซึ่งขณะนั้น มีพระอธิการประสิทธิ์ ปสิทฺสิโก เป็นเจ้าอาวาส สำหรับช่างผู้นำในการก่อสร้างคือ พอใหญ่ สี ประสงค์สุข นอกจากนี้การสัมภาษณ์ นายณรงค์ รัตนรองใต้ อายุ60 ปี ซึ่งเป็นผู้ร่วมในการก่อสร้างครั้งนั้นด้วย ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า พ่อใหญ่สี ประสงค์สุขได้เริ่มเตรียมตัดไม้มาทำเสาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 และได้ช่วยกันสร้างขึ้นโดยมิได้คิดค่าใช้จ่ายจากทางวัดเลย โดยรูปทรงของหอระฆังนั้น พ่อใหญ่สีเป็นผู้ออกแบบทั้งหมด แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าพ่อใหญ่สีได้เสียชีวิตไปเมื่อประมาณ 30ปี มาแล้ว
หอระฆังของวัดศรีบุญเรือง ได้ใช้ประโยชน์ตามที่ตั้งใจมาแต่แรก จนกระทั่ง เมื่อราว 3-4 ปีที่ผ่านมา ก็ได้เลิกใช้งาน เนื่องจากมีปลวกขึ้นกัดกินเสาบางต้นประกอบกับถูกพายุพัด ทำให้ตัวอาคารอยู่ในสภาพที่ไม่มั่นคง จึงไม่มีผู้ใดกล้าขึ้นไปใช้งานอีก ด้วยเหตุดังกล่าว หอระฆังแห่งนี้จึงถูกปล่อยทิ้งร้างตั้งแต่นั้นมา
ภูมิปัญญาไทยในหอระฆัง

หอระฆังของวัดศรีบุญเรือง มีรูปทรงโดยรวมเป็นอาคารเครื่องไม่หลังคาทรงปราสาท มีโครงสร้างหลักก่อด้วยเสา 4ต้น ปลายสอบขึ้นด้านบน มีบันได้ขึ้นอยู่ด้านหน้า ส่วนพื้นใต้อาคารหลังนี้ ช่างได้ปั้นเป็นรูปพญานาค 2 ตัว กระหวัดรัดกันอ้อมโคนเสาทั้ง 4 ต้น โดยมีปลายหางอยู่ตรงกลาง และมีหัวพญานาคโผล่ที่บันได ทางขึ้น ซึ่งปัจจุบันอยู่ในสภาพที่ชำรุดมาก ตัวอาคารก่อเป็นโถงโล่ง 3 ชั้น ซ้อนลดหลั่นกัน โดยแต่ละชั้นปูพื้นไม้ สำหรับใช้เป็นชานพักของบันได เพื่อไม่ให้บันไดสูงชันจนเกินไป ส่วนบนสุดสร้างเป็นเรืองระฆัง มีลักษณะเป็ฯห้องโล่ง แต่มีผนังรอบด้าน และตรงกลางห้องใช้เป็นที่แขวนระฆัง
ส่วนยอดหลังคาของห้องโถงเรือนระฆังนี้ทำเป็นทรงปราสาทซ้อนลด 3 ชั้น โดยชั้นล่างเป็นทรงจั่วที่ประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ทั้ง 4 ด้าน ชั้นต่อไปเป็นทรงเดียวกัน แต่มีขนาดเล็กลงก่อซ้อนสลับไว้หว่างมุมจั่วล่าง หลังคาบนสุดสร้างเป็นทรงสามเหลี่ยมสูง ส่วนยอดก่อเป็นปล้องไฉนเรียวยาวปลายเป็นหยาดน้ำค้างทรงดอกบัวตูม
ความงดงามของหอระฆังนี้ นอกจากมีรูปทรงที่แปลกตาแล้ว ยังพบว่ามีการแกะสลักไม้ประดับหอระฆังได้อย่างงดงาม ลวดลายทั้งหมดล้วนแสดงให้เห็นถึงการสร้างสรรค์ของช่างพื้นถิ่นแถบนี้ได้เป็นอย่างดี
ลวดลายแกะไม่เหล่านี้ มีความละเอียดงดงามมาก โดยเฉพราะบริเวณขอบเสาข้างนอกแต่ละต้น แกะเป็นรูปลิงนั่งและลิงปีนเสา ได้อย่างเป็นธรรมชาติ ส่วนลายประดับเสาแกะสลักเป็นช่องๆ มีลวดลายแตกต่างกันออกไป เช่น ลายดอกไม้กลีบแหลม 8 กลีบ โดยแกะลายประดิษฐอยู่ในกรอบของไม้แนวยาวติดต่อกันไป ซึ่งลวดลายสลักไม้เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่น่าดูน่าชมอย่างยิ่ง

BACK

My name is surasuk bubphasung