โครงการตามพระราชดำริ
โครงการตามพระราชเสาวนีย์
โครงการพระเมตตาสมเด็จย่า

 

 

โครงการดำเนินงานศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง" ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดตาก

ความเป็นมา
สืบเนื่องมาจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ที่จังหวัดตาก เมื่อวันที่ 28 - 30 ธันวาคม 2541และได้มีพระราชกระแสกับคณะ กก.ตชด.ที่34 ให้จัดการเรียนการสอนให้กับเด็กชาวไทยภูเขา ตามแนวชายแดน ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร ห่างไกลการคมนาคม โดยจัดในรูปแบบ ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง" และได้กำหนดคุณสมบัติครูผู้สอนไว้ ดังนี้
1. มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่า ม.3
2. เป็นบุคคลในพื้นที่หรือพื้นที่ใกล้เคียง
3. ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 4,100 บาท

วัตถุประสงค
ตามพระราชกระแส พระองค์ทรงต้องการให้เด็กและชาวไทยภูเขา ในถิ่นทุรกันดาร สามารถฟัง พูด อ่าน เขียนภาษาไทยได้ สามารถสื่อสาร กับคนพื้นราบได้ ในฐานะเป็นคนไทยคนหนึ่ง
เป้าหมาย
หมู่บ้านชาวไทยภูเขาตามแนวชายแดน 4 อำเภอฝั่งตะวันตกของ จังหวัดตาก ได้แก่
1. อำเภอแม่ระมาด จำนวน 5 แห่ง
2. อำเภอท่าสองยาง จำนวน 4 แห่ง
3. อำเภอพบพระ จำนวน 2 แห่ง
4. อำเภออุ้มผาง จำนวน 3 แห่ง
รวม 14 แห่ง
วิธีการดำเนินงาน
กก.ตชด.ที่ 34 ได้ประสานและจัดส่งข้อมูลให้ ศนจ.ตาก ซึ่ง ศนจ.ตาก ได้ประสาน ศบอ.ทั้ง 4 อำเภอ ให้สำรวจหมู่บ้าน จำนวนเด็กที่ยังไม่ได้รับการศึกษา และสำรวจ คัดเลือก ครูผู้สอน จัดส่งมาให้เพื่อพิจารณาดำเนินการ และได้จัดทำโครงการจัดตั้ง ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง" ซึ่งจังหวัดตากได้อนุมัติให้จัดตั้ง เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2542
- ครูผู้สอน เนื่องจากตามพระราชกระแส กำหนดให้มีคุณวุฒิ ม.3 และ ม.6
นายเรวัฒน์ สุธรรม ผชช.กศน.(ตำแหน่งในขณะนั้น) ได้ให้ข้อเสนอแนะแก่ คณะ ศนน.ลำปางและ ศนจ.ตาก ได้กำหนดหลักสูตรนำร่อง ให้ดำเนินการ จัดอบรมครูผู้สอนเพื่อไปจัดการเรียนการสอน ในระยะเวลา 1 ปีแรก ดังนี้
1. คณิตศาสตร์ ให้ผู้เรียนบวก และลบเลขได้
2. ภาษาไทย ให้ผู้เรียน ฟัง - พูด ภาษาไทยได้
3. ภาวะโภชนาการและสุขภาพอนามัยเบื้องต้น
ใช้เวลาการอบรมครูผู้สอน ตั้งแต่วันที่ 24 - 31 พฤษภาคม 2542 รวม 8 วัน และได้บรรจุและแต่งตั้งบุคคลเป็นครูอาสาสมัคร กศน.ชุมชน(ศศช.) ตามพระราชดำริฯ จำนวน 18 คน ส่งตัวเข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่ 4 อำเภอ
จำนวน 14 แห่ง ตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2542 เป็นต้นมา
ผลการดำเนินงาน
ศนน.ลำปาง ได้ไปประเมินผลความก้าวหน้าและทักษะของผู้เรียน ทั้ง 14 แห่ง จำนวน 972 คน ว่ามีพัฒนาการของทักษะการฟัง พูด เพียงใด ในช่วง 9 เดือน ของการดำเนินงาน โดยจัดกลุ่มทักษะเป็น 3 กลุ่ม คือ ใช้ได้ดี พอใช้ได้ และสื่อสารไม่ได้ โดยให้ครูผู้สอนประเมินเปรียบเทียบ ความสามารถในปัจจุบันของนักเรียน กับเมื่อครูเริ่มสอนใหม่ๆ สรุปผลได้ ดังนี้
ตารางที่ 1 ระดับการพัฒนาทักษะด้านการฟัง
ระดับความสามารถในการฟัง
เมื่อเริ่มโครงการ
ปัจจุบัน
จำนวน
%
จำนวน
%
รู้เรื่อง
4
0.41
83
8.54
พอรู้เรื่อง
86
8.85
294
30.25
ไม่รู้เรื่อง
882
90.74
595
60.21
 

ตารางที่ 2 ระดับการพัฒนาทักษะด้านการพูด

ระดับความสามารถในการพูด
เมื่อเริ่มโครงการ
ปัจจุบัน
จำนวน
%
จำนวน
%
พูดได้ดี
14
1.44
83
8.54
พอพูดได้
90
9.26
246
25.31
พูดไม่ได้
868
89.30
643
66.15