โครงการตามพระราชดำริ
โครงการตามพระราชเสาวนีย์
โครงการพระเมตตาสมเด็จย่า
 โครงการพระเมตตาสมเด็จย่า

ความเป็นมา   เมื่อปี พ.ศ. 2535 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้ทรงพระอักษร จากหนังสือพิมพ์ทรงทราบข่าว ที่ครูอาสาสมัคร กศน.พื้นที่ ศศช. บ.ใหม่ห้วยหวาย ต.ห้วยปูลิง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ขอรับการสนับสนุนสื่อการเรียนการสอน และสิ่งของ เครื่องใช้ในอาศรม ศศช. พระองค์ทรงมีความสนพระทัยที่จะพระราชทานความช่วยเหลือ จึงมอบหมายให้นายบุญธันว์ มหาวรรณ หน.คณะทำงานส่วนพระองค์ ไปสำรวจหาข้อมูล เพื่อให้ความช่วยเหลือ และต่อมาได้พระราชทานความช่วยเหลือ และทรงรับ ศศช.ทุกแห่งไว้ในพระอุปถัมภ์จนถึงปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2539 กรมกศน.ได้ตระหนักถึงพระมหากรุณาธิคุณของ พระองค์ จึงได้กราบ บังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอพระราชทานชื่อของศูนย์การศึกษาเพื่อชุมชน ในเขตภูเขา (ศศช.) และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานชื่อให้ใหม่ว่า ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง" ซึ่งเป็นพระราชสมัญญานามของพระองค์ท่าน "แม่ฟ้าหลวง" หรือ "สมเด็จย่า"

โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนผู้ด้อยโอกาสในเขตภูเขา ถวายเป็นพระราชกุศลแด่ สมเด็จย่
หลักการ
จังหวัดตาก เป็น 1 ใน 9 จังหวัดภาคเหนือที่ได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต ประชาชนผู้ด้อยโอกาสในเขตภูเขา โดยมูลนิธิ พอ.สว. มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 จนมาถึงปัจจุบัน ได้กำหนดเป็นกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนผู้ด้อยโอกาส ในเขตภูเขา ดำเนินงานโดยโครงการพระเมตตาสมเด็จย่า โดยแบ่งโครงการ/ กิจกรรม เป็น 5 กิจกรรม ดังนี้

       1. กิจกรรมการเติมสารไอโอดีนในน้ำดื่ม      2. กิจกรรมการเลี้ยงเป็ดเพื่อเสริมอาหารโปรตีน
       3. กิจกรรมการเกษตรภายในครอบครัว      4. กิจการการเพาะเห็ดเป็นแหล่งอาหารเสริม
       5. กิจกรรมการวางแผนครอบครัว  

 

วัตถุประสงค
เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในเขตภูเขาที่มีศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง" ตั้งอยู่ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยให้มีหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในจังหวัด/อำเภอ ร่วมมือดำเนินการ ประกอบด้วย มูลนิธิ พอ.สว. กระทรวงศึกษาธิการ,กระทรวงสาธารณสุข,กระทรวงเกษตรและสหกรณ์,
เป้าหมาย
ดำเนินการจัดกิจกรรมในพื้นที่ 5 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ในหมู่บ้านที่มี ศศช.ตั้งอยู่ ดังนี้
1.อำเภอแม่สอด
- ศูนย์การเรียนชุมชนฯ "แม่ฟ้าหลวง" ปกติ จำนวน 5 แห่ง
2.อำเภอแม่ระมาด
- ศูนย์การเรียนชุมชนฯ "แม่ฟ้าหลวง" ปกติ จำนวน 12 แห่ง
- ศูนย์การเรียนชุมชนฯ "แม่ฟ้าหลวง" ตามพระราชดำริฯ จำนวน 5 แห่ง
3. อำเภอท่าสองยาง
- ศูนย์การเรียนชุมชนฯ "แม่ฟ้าหลวง" ปกติ จำนวน 14 แห่ง
- ศูนย์การเรียนชุมชนฯ "แม่ฟ้าหลวง" ตามพระราชดำริฯ จำนวน 4 แห่ง
4. อำเภอพบพระ
- ศูนย์การเรียนชุมชนฯ "แม่ฟ้าหลวง" ปกติ จำนวน 4 แห่ง
- ศูนย์การเรียนชุมชนฯ "แม่ฟ้าหลวง" ตามพระราชดำริฯ จำนวน 2 แห่ง
5. อำเภออุ้มผาง
- ศูนย์การเรียนชุมชนฯ "แม่ฟ้าหลวง" ปกติ จำนวน 11 แห่ง
- ศูนย์การเรียนชุมชนฯ "แม่ฟ้าหลวง" ตามพระราชดำริฯ จำนวน 3 แห่ง
- ศูนย์การเรียนชุมชนฯ "แม่ฟ้าหลวง" ตามพระราชเสาวนีย์ฯ จำนวน 1 แห่ง
6. กิ่งอำเภอวังเจ้า
- ศูนย์การเรียนชุมชนฯ "แม่ฟ้าหลวง" ปกติ 1 แห่ง
รวมทั้งสิ้น จำนวน 62 แห่ง
วิธีการดำเนินงาน
-จัดทำโครงการดำเนินงานระดับจังหวัด
-แต่งตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัด/อำเภอ
-ประชุมชี้แจงคณะกรรมการและผู้เกี่ยวข้องระดับจังหวัด
-ประชุมชี้แจงคณะกรรมการระดับอำเภอ
-หน่วยงานร่วมโครงการระดับจังหวัดจัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์ในการดำเนินงานทั้ง 5 กิจกรรม จัดส่งให้พื้นที่ที่ดำเนินงาน
-ศศช.เป้าหมายดำเนินงานตามกิจกรรม
-ศศช.เป้าหมายรายงานผลการดำเนินงานตามลำดับ 3 เดือน/ครั้ง

ผลการดำเนินงาน
กิจกรรมที่ 1จากการรายงานทำให้ทราบว่าเด็กนักเรียนที่ได้รับสารไอโอดีน ไม่เป็นโรค คอพอก
กิจกรรมที่ 2 ทำให้ชุมชนกลุ่มเป้าหมายมีอาหารโปรตีน จำพวกเนื้อสัตว์บริโภคเพิ่มขึ้น
เนื่องจากส่วนใหญ่ชาวไทยภูเขาจะขาดสารอาหารโปรตีน
กิจกรรมที่ 3 ทำให้ครัวเรือน จำนวน 25 ครัวเรือน ที่เข้าร่วมโครงการปลูกไม้ผลตาม บริเวณบ้าน หรือตามหัวไร่ปลายนา มีผลไม้ที่ปลูกไว้รับประทาน และเป็นร่มเงาได้อีกด้วย
กิจกรรมที่ 4 ทำให้ชุมชนกลุ่มเป้าหมายที่ทำการเพาะเห็ด มีอาหารเสริมอีกชนิดหนึ่งไว้ รับประทาน และจัดทำเป็นอาหารกลางวันสำหรับเด็กนักเรียนด้วย
กิจกรรมที่ 5 ชาวไทยภูเขาที่เข้าร่วมกิจกรรม มักไม่นิยมทำหมัน เพราะเกิดความเชื่อ ในเรื่องต่างๆ แต่ได้รณรงค์ให้คุมกำเนิดโดยวิธีอื่นแทน อาทิ กินยา ใส่ห่วง ฯลฯ

 

ความเป็นมา ในปี พ.ศ. 2540 โครงการพระเมตตาสมเด็จย่า และ ศนน.ลำปาง ได้กำหนดให้ จ.ตาก ดำเนินการจัดโครงการพัฒนายุวกรรกมาร หย่อมบ้าน ในหย่อมบ้านที่มีศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง" ตั้งอยู่ โดยกำหนดให้ดำเนินการในพื้นที่อำเภอท่าสองยาง จำนวน 1 กลุ่มบ้าน มีบ้านบริวาร 6 หย่อมบ้าน
หลักการ การจัดโครงการพัฒนายุวกรรมการหย่อมบ้าน มีแนวคิดที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวไทยภูเขาอีกรูปแบบหนึ่ง ที่มุ่งเน้นไปที่เยาวชนในหมู่บ้าน ให้มีการรวมกลุ่มเพื่อจัดกิจกรรมร่วมกัน มีการปรึกษาหารือร่วมกัน ในการแก้ปัญหาและ ดำเนินงานร่วมกัน เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ชุมชน เกิดความสามัคคีในชุมชน ให้เกิดทักษะในการเป็นภาวะผู้นำในชุมชน และมุ่งหวังที่จะฝึก และเสริมความรู้ให้เป็นผู้ช่วยครูใน ศูนย์การเรียนชุมชนฯ "แม่ฟ้าหลวง" ในทุกด้าน ทุกกิจกรรม ในที่สุดทำให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้เป็นอย่างดีตามวิถีชีวิตของชุมชนนั้นๆ
วัตถุประสงค์
       
 1. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มของเยาวชนในหมู่บ้าน
         2. เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเยาวชนได้ร่วมกันทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน
         3. เพื่อฝึกทักษะให้เยาวชนเกิดภาวะผู้นำในชุมชน
         4. เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้
เป้าหมาย
        
ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง" กลุ่มบ้านป้อหย่าลู่ ตำบลแม่ต้าน อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ประกอบด้วย
          1. บ้านป้อหย่าลู่ ต.แม่ต้าน อ.ท่าสองยาง
          2. บ้านตะโข๊ะบี้ ต.แม่ต้าน อ.ท่าสองยาง
          3. บ้านตะบรื้อโหย่ ต.แม่ต้าน อ.ท่าสองยาง
          4. บ้านตะโป๊ะปู่ ต.แม่ต้าน อ.ท่าสองยาง
          5. บ้านทีจื้อหล่อคี ต.แม่หละ อ.ท่าสองยาง
          6. บ้านตะโต๊ะโกร ต.แม่หละ อ.ท่าสองยาง

วิธีการดำเนินงาน
         
กลุ่มเยาวชนทั้ง 6 หย่อมบ้าน ได้จัดทำโครงการที่จะดำเนินการจัดกิจกรรมร่วมกัน โดยมีครูประจำหมู่บ้าน เป็นที่ปรึกษาเสนอขอความเห็นชอบตามลำดับชั้น จนถึงคณะทำงานโครงการพระเมตตาสมเด็จย่า พิจารณาอนุมัติโครงการ และสนับสนุนเงินงบประมาณเพื่อดำเนินการจัดกิจกรรม
          โดยแต่ละโครงการจะต้องมีสมาชิกกลุ่ม ไม่น้อยกว่า 10 คน สมาชิกทุกคน จะต้องระดมทุนขั้นต้น ร่วมเป็นค่าดำเนินการ อย่างน้อยคนละ 10 บาท
          โครงการพระเมตตาสมเด็จย่า สนับสนุนเงินดำเนินงาน โครงการละ 10,000 บาท ผ่าน ศนน.ลำปาง
          การดำเนินงานจะดำเนินการเป็นกลุ่ม หรือแยกไปทำตามบ้านของแต่ละคนก็ได้ แต่ต้องมีการประชุมสรุปผลการ ดำเนินงานร่วมกัน อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
          ครูประจำหมู่บ้าน จะต้องให้ความรู้เสริมกับกลุ่มยุวกรรมการหย่อมบ้านให้เพิ่มสูงขึ้น เพื่อให้เกิดทักษะภาวะผู้นำ และเป็นผู้ช่วยครูในการจัดการเรียนการสอนในศูนย์การเรียนชุมชนฯ ในทุกกิจกรรม 
          ศบอ.ท่าสองยาง ได้จัดนำสมาชิกยุวกรรมการหย่อมบ้าน ทั้ง 6 หย่อมบ้าน ไปศึกษาดูงานการเลี้ยงสุกร และการจัดสหกรณ์ร้านค้าที่ประสลผลสำเร็จ ในจังหวัดตาก 1 ครั้ง
          ผู้แทนยุวกรรมการหย่อมบ้านและครูประจำหมู่บ้าน ได้เข้าร่วมการประชุมสัมมนาเสริมความรู้ เกี่ยวกับ การดำเนินกิจกรรมที่ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ 1 ครั้ง         

 

ผลการดำเนินงาน
         
โครงการพัฒนายุวกรรมการหย่อมบ้าน ทั้ง 6 หย่อมบ้าน ของจังหวัดตาก ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2541 จนถึงปัจจุบัน ดังนี้
           1. บ้านป้อหย่าลู่ จัดกิจกรรมการเลี้ยงสุกร สมาชิก 10 คน
           2. บ้านตะโข๊ะบี้ จัดกิจกรรมการเลี้ยงสุกร สมาชิก 10 คน
           3. บ้านตะบรื้อโหย่ จัดกิจกรรมการเลี้ยงสุกร สมาชิก 10 คน
           4. บ้านตะโป๊ะปู่ จัดกิจกรรมสหกรณ์ร้านค้า สมาชิก 15 คน
           5. บ้านทีจื้อหล่อคี จัดกิจกรรมการเลี้ยงสุกร สมาชิก 11 คน
           6. บ้านตะโต๊ะโกร จัดกิจกรรมการเลี้ยงสุกร สมาชิก 10 คน
 
หลักการ
         
สืบเนื่องจากสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จะได้เสด็จไปปฏิบัติ พระราชกรณียกิจในพื้นที่จังหวัดตาก ระหว่างวันที่ 28 - 30 เมษายน 2542 และได้กำหนดเยี่ยมศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง" บ้านพอกะทะ ม. 7 ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง ในวันที่ 30 เมษายน 2542  และพระองค์มีพระประสงค์ จะประทาน ความช่วยเหลือ แก่ชาวบ้านที่มีศูนย์การเรียนฯ "แม่ฟ้าหลวง" ตั้งอยู่ของจังหวัดตาก โดยให้เสนอโครงการความจำเป็นเร่งด่วน และเป็นความต้องการของชาวบ้านไปให้คณะทำงานโครงการพระเมตตาสมเด็จย่า พิจารณาอนุมัติให้ความช่วยเหลือ
วัตถุประสงค์
        
  1. เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ชาวบ้านตามสภาวะเหตุการณ์เร่งด่วนที่จำเป็น
           2. เพื่อส่งเสริมให้ชาวไทยภูเขาได้มีการร่วมกลุ่มกันแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนของชุมชน
           3. เพื่อให้เป็นไปตามพระประสงค์ของสมเด็จย่า ในอันที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวไทยภูเขาให้ดีขึ้น
เป้าหมาย
          
หมู่บ้านชาวไทยภูเขาที่มีศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง" จัดตั้งอยู่ ดังนี้
            1.อำเภอแม่สอด              จำนวน   5 แห่ง
            2.อำเภอแม่ระมาด            จำนวน 12 แห่ง
            3.อำเภอท่าสองยาง           จำนวน 14 แห่ง
            4.อำเภอพบพระ              จำนวน   4 แห่ง
            5.อำเภออุ้มผาง              จำนวน  12 แห่ง
            6.กิ่งอำเภอวังเจ้า            จำนวน   1 แห่ง         
วิธีการดำเนินงาน
          
ครูประจำหมู่บ้านร่วมประชุมปรึกษาหารือกับชาวบ้าน จัดทำโครงการความจำเป็นเร่งด่วนของชุมชนที่ต้องการ รับความช่วยเหลือสนับสนุน เสนอตามลำดับชั้น จนถึงคณะทำงานโครงการพระเมตตาสมเด็จย่า พิจารณา
            คณะทำงานโครงการพระเมตตาสมเด็จย่า พิจารณาอนุมัติตามความจำเป็น แล้วแจ้งให้จังหวัดทราบ เพื่อเตรียมการจัดดำเนินงาน และให้ครูนิเทศก์ประจำกลุ่มบ้านเข้าเฝ้ารับเงินประทานการสนับสนุน ณ พระตำหนักที่ประทับ เขื่อนภูมิพล อำเภอสามเงา จังหวัดตาก เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2542

ผลการดำเนินงาน
          
สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ประทานเงินจากโครงการ พระเมตตาสมเด็จย่า สนับสนุนให้จัดดำเนินการ ดังนี้
            กองทุนธนาคารข้าว
            1.ศูนย์การเรียนชุมชนฯ "แม่ฟ้าหลวง" บ้านห้วยระพิ้ง ต.พะวอ อ.แม่สอด เป็นเงิน 8,000 บาท
            2.ศูนย์การเรียนชุมชนฯ "แม่ฟ้าหลวง" บ้านขุนห้วยช้างไล่ ต.ด่านแม่ละเมา อ.แม่สอด เป็นเงิน 8,000 บาท
            3.ศูนย์การเรียนชุมชนฯ "แม่ฟ้าหลวง" บ้านอุสุโพคี ต.แม่อุสุ อ.ท่าสองยาง เป็นเงิน 8,000 บาท
            กองทุนยาสามัญ
          
1. ศูนย์การเรียนชุมชนฯ "แม่ฟ้าหลวง" บ้านนุโพ ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง เป็นเงิน 2,500 บาท
            2. ศูนย์การเรียนชุมชนฯ "แม่ฟ้าหลวง" บ้านทีจอชี ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง เป็นเงิน 2,500 บาท
            3. ศูนย์การเรียนชุมชนฯ "แม่ฟ้าหลวง" บ้านทิโพจิ ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง เป็นเงิน 2,500 บาท
            4. ศูนย์การเรียนชุมชนฯ "แม่ฟ้าหลวง" บ้านโขะทะ ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง เป็นเงิน 2,500 บาท
            5. ศูนย์การเรียนชุมชนฯ "แม่ฟ้าหลวง" บ้านยะโม่คี ต.อุ้มผาง อ.อุ้มผาง เป็นเงิน 2,500 บาท
            6. ศูนย์การเรียนชุมชนฯ "แม่ฟ้าหลวง" บ้านแม่ละมุ้งคี ต.แม่ละมุ้ง อ.อุ้มผาง เป็นเงิน 2,500 บาท
            7. ศูนย์การเรียนชุมชนฯ "แม่ฟ้าหลวง" บ้านพอกะทะ ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง เป็นเงิน 2,500 บาท
            8. ศูนย์การเรียนชุมชนฯ "แม่ฟ้าหลวง" บ้านกุยเลอตอ ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง เป็นเงิน 2,500 บาท
            9. ศูนย์การเรียนชุมชนฯ "แม่ฟ้าหลวง" บ้านกุยต๊ะ ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง เป็นเงิน 2,500 บาท
            10. ศูนย์การเรียนชุมชนฯ "แม่ฟ้าหลวง" บ้านกุยเคล๊อะ ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง เป็นเงิน 2,500 บาท
            11. ศูนย์การเรียนชุมชนฯ "แม่ฟ้าหลวง" บ้านยูไนท์ ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง เป็นเงิน 2,500 บาท
            12. ศูนย์การเรียนชุมชนฯ "แม่ฟ้าหลวง" บ้านกรูโบ ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง เป็นเงิน 2,500 บาท