วิชาวูซูประเภทมือเปล่า
วิชาวูซูประเภทมือเปล่า (หมัด - มวย)
วิชามือเปล่า คือ วิชาหมัดมวยชนิดต่างๆทุกชนิด
ประเภทหมัดมวยที่รู้จักกันแพร่หลายในจีน ได้แก่ ฉาฉวน
หวาฉวน สิงอี้ฉวน ปาคว่าฉวน
ปาจี๋ฉวน ทงปี้ฉวน ฟานจื่อฉวน ปี้คว่าฉวน ตี้ถั่ง
เส้าหลินฉวน ชัวเจี่ยวฉวน เซี่ยงสิงฉวน เป็นต้น
1.
เพลงมวยฉางฉวน
ฉางฉวน เป็นเพลงยุทธที่เรียบเรียงขึ้นเพื่อใช้ฝึกรากฐานของการเรียนหมัดมวยหลายประเภท
โดยเฉพาะวิชาที่เกี่ยวกับการใช้อาวุธ ซึ่งต้องใช้วิชาฉางฉวนเป็นบทนำขั้นพื้นฐาน
วิชาหมัดฉางฉวน ประกอบขึ้นจากเพลงยุทธ 5 สกุล ได้แก่ ฉา หวา เผ้า หง และเส้าหลิน คุณสมบัติของมวยฉางฉวน
ประกอบด้วย 3 รูปลักษณ์ของท่ามือ คือ ท่าหมัด ท่าฝ่ามือ ท่ามือตะขอ และมี 5 รูปลักษณ์
ของท่าเท้า ได้แก่ ท่าเท้าโก่งธนู (กงปู้) ท่าควบม้า (หม่าปู้) ท่านั่งส้นเหยียดเท้า
(พูปู้) ท่าย่อเท้าชิด (ซีปู้)
และท่า นั่งไข้วเท้า
(เซียปู้) จุดเด่นของฉางฉวน
คือ กระบวนท่าสง่าพึ่งผาย เพลงยุทธนั้นว่องไวพลิกแพลง
รวดเร็วทรงพลัง มีความชัดเจนในจังหวะเพลงยุทธ และมีลักษณะโลดแล่นโจนทะยาน รวมทั้งการ
เคลื่อนไหวไปมา ด้วยรูปแบบการรุกรับของชั้นเชิง มีกระบวนท่าที่ขึ้นและลงในทิศทางต่าง ๆ ทั้งมี เทคนิคการทิ้งตัวม้วนหมุน (เหมือนหนุมานตลุกฝุ่น) ด้วย โดยเฉพาะเพลงมวยฉาฉวน และหวาฉวน ที่ใช้เป็นส่วนประกอบนั้น ต่างมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวซึ่งต่างมีจุดเด่นและแบบอย่างที่แตกต่างกัน 2. เพลงยุทธไท่จี๋ฉวน
(มวยไท้เก็ก)
ไท่จี๋ฉวนนั้นมีความนุ่มนวล
เชื่องช้า เคลื่อนไหวแผ่วเบาแฝงเร้นซึ่งจิตสมาธิ ดูมีชีวิตชีวา เพลงยุทธมีลักษณะเป็นวงจร
ทุกท่าต่างก็มีรูปแบบเป็นวงกลม เพลงยุทธต่อเนื่องไม่ขาดช่วง ตั้งแต่
แรกเริ่มจนถึงจบกระบวน เพลงยุทธไท่จี๋ฉวนมีหลายสกุล แต่สกุลที่แพร่หลายกันมาก
ได้แก่ เฉิน หยาง หวู อู่ ซุ่น รวม
5 สกุลใหญ่ ต่อมาได้มีการแตกแขนงออกอีกมากมาย และวิชามวยไท่จี๋ฉวน
ยังแยกออกเป็นรูปแบบวงนอก (วงกว้าง) และวงใน(วงแคบ)
ทั้งมีลักษณะของการขยายมือ และการ
ประสานประกบ ใช้พลังในลักษณะที่แข็งอ่อน
3. หนานฉวน (มวยใต้)
วิชาหมัดมวยใต้นั้นแพร่หลายในแถบมณฑลกวางตุ้ง และฟุเจี้ยนหรือฮกเกี้ยน ซึ่งเป็นแหล่ง กำเนิดหมัดมวยใต้หลายสาย หลายสกุล อาทิ หนานฉวนของมณฑลกวางตุ้งที่เลื่องลือ
ได้แก่ หมัด มวยสกุลหง(หงฉวน) สกุลหลิว สกุลไช่ สกุลหลี่ และสกุลโม่ เป็นต้น ส่วนหนานฉวนของมณฑล ฮกเกี้ยนที่เลื่องชื่อ ได้แก่ สายหมัดมวยหยุ่งชุ่น และสายมวยอู๋จู่ฉวน มวยใต้มีลีลาที่แข็งแกร่งดุดัน เคลื่อนไหวหนักแน่น เพลงยุทธรัดกุง การทรงตัว ณ จุดกลาง มีลักษณะรุกรับบุกถอยได้ทั้ง
8 ทิศ มักเกร็งพลังทำให้กล้ามเนื้อพองแน่น สำแดงพลังยุทธ
ด้วยการเปล่งเสียงช่วย
4. หมัดมวยสิงอี้ฉวน
เพลงยุทธมี
3 รูปลักษณ์ เป็นส่วนประกอบหลักของท่ายุทธขั้นพื้นฐาน หลักพื้นฐานในการ ใช้ท่าต่อสู้ของสิงอี้
ได้แก่ การกระแทกฝ่ามือ(พี) การกระแทกหมัด(ปงฉวน)
การม้วนหมัดสอดขึ้น (จวนฉวน) การป้องและชก(เผ้าฉวน)
การสอดหมัดขวางขึ้น(เหิงฉวน)เป็นต้น เทคนิคบางส่วนของ หมัดสิงอี้ ได้รับอิทธิพลจาก
12 รูปลักษณ์ของสัตว์ประเภทต่างๆ อาทิ รูปลักษณ์ของมังกร, เสือ,
ม้า วานร, โถ(สัตว์น้ำชนิดหนึ่งลักษณะคล้ายตะพาบน้ำ)
รูปลักษณ์ของไก่, รูปลักษณ์ของเหยี่ยว, อินทรี นกนางแอ่น, นกไถ, และหมี เป็นต้น เป็นการเลียนแบบพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของสัตวแล้วนำมา
ประยุกต์เข้าเป็นลักษณะการต่อสู้ของหมัดมวยสิงอี้ ลักษณะพิเศษของมวยสิงอี้
คือ ท่ามวยเรียบง่าย สำแดงพลังจากส่วนล่าง(จากช่องท้องน้อย) มือคว้า เท้าก้าวประชิดตาม ปล่อยพลัง
5. ฝ่ามือปาคว่า(ปาคว่าจ่างหรือฝ่ามือ
8 ทิศ)
ปาคว่า มีลักษณะการเคลื่อนไหวเป็นรูปทรงกลม ด้วยท่าเท้าหนึ่งสืบหงาย ในลักษณะเปิด
และอีกเท้าหนี่งสืบตามในลักษณะปิดและบิดเข้าเป็นสำคัญ ส่วนท่ายุทธที่ใช้ในการต่อสู้
ได้แก่ ท่า ผลักฝ่ามือ(ทุย) หงายฝ่ามือขึ้น(โทอ) ปัดประชิดนำพาฝ่ามือ(ไต้) การใช้ฝ่ามือนำทิศทาง(หลิ่ง)
การ
สอดแทรกฝามือ(ชวน) ลักษณะพลิกแพลงหงายคว่ำฝ่ามือ(ฝ่าน) การใช้ฝ่ามือฟาดฟันลง((ไจ)
การ
การพลิ้วไหวฝ่ามือ(หลาน) เป็นต้น การพลิกแพลงเปลื่ยนแปลงกระบวนท่าฝ่ามือถือเป็นสาระสำคัญ
ลักษณะพิเศษของฝ่ามือปาคว่าคือ การเคลื่อนไหวและหมุนตามวงจรทรงกลม แต่ละท่ายุทธประสาน ต่อเนื่องกลมกลืนกัน
ลำตัวคล่องแคล่ว ท่าเท้าว่องไว ด้วยวิธีก้าวพลางเปลี่ยนแปลงไปพลางอยู่เสมอ
6. หมัดปาจี๋ฉวน
หมัดปาจี๋ฉวน
เป็นเพลงยุทธที่สำแดงพลังในระยะประชิด โดยอาศัยการอิงแอบประชิดตัว
และการประชิดวงในของคู่ต่อสู้ มีลักษณะการป้องประคอง และการพุ่งประชิดกระแทกพลังออกไป
ซึ่งเป็นคุณสมบัติพิเศษในการตอบโต้รุกคู่ต่อสู้ พลังแกร่งและรุนแรง สำแดงพลังด้วยวิธีกระแทกเท้า
ส่งพลัง และการบุกพุ่งก้าวเข้าประชิด
7. หมัดทงปี้ฉวน(มวยส่งพลังตามแขน)
ทงปี้ฉวน
เป็นหลักการขว้างข้อมือ (สลัดข้อ) การตบ การสอด การฟันลง
การใช้หมัดข้อนิ้ว โจมตีชายโครงคู่ต่อสู้ 5 รูปแบบ โดยมีวิธีการใช้แขนวาดวงเพื่อเกาะเกี่ยวและจิกตี ทั้งการฟันฟาดตบ
ตีด้วยสันมือ รวมเป็นเทคนิคการต่อสู้ 8 วิธี ประกอบขึ้นเป็นมวยทงปี้ฉวน มวยนี้มีลักษณะพิเศษ
คือ
สำแดงท่าในลักษณะฝ่ามือ แต่จู่โจมคู่ต่อสู้ด้วยหมัด เมื่อดึงมือกลับยังคงเป็นฝ่ามือ
ใช้หลักหมุนแขน
สลัดข้อ ท่ายุทธจู่โจมระยะยาวไกล ทรงพลังรวดเร็วฉับพลัน
8. มวยพีคว่าฉวน (หมัดเหวี่ยงแขนฟาดฟัน)
พีคว่าฉวนเป็นเพลงยุทธประเภทจู่โจมระยะไกล
มีลักษณะพิเศษ คือ ยืดตัวจู่โจมเข้าใส่คู่ต่อสู้
แต่ก็มีลักษณะจู่โจมระยะประชิดรวมอยู่ด้วย ท่ายุทธเปิดกว้างตบรวบเข้าหากันในลักษณะกว้าง บวก
พลังแขนนำการฟาดเหวี่ยง การฝึวิชานี้ต้องบิดเอวเก็บสะโพก ทรงพลังที่แขนด้วยการประสานเหวี่ยง
ขึ้นลง หรือขวางไปมาสลับกัน สองแขนประสานปัดแกว่ง
เป็นการสำแดงพลัง ณ สองแขน
9. มวยฟานจื่อฉวน
(ดพลงยุทธสลาตัน) หรือ (เพลงหมัดพลิกแพลง)
ฟานจื่อฉวน
คือ เพลงยุทธที่กระชับและสั้น ต่อเนื่องรวดเดียวจบ เป็นมวยที่ใช้พลังความ
คล่องแคล่วว่องไว
ลักษณะเพลงยุทธสัมพันธ์กันเป็นกระบวนลูกโซ่ เคลื่อนคล้อยต่อเนื่อง
เท้าคล่อง
มือว่องไว มียุทธวิธีที่รัดกุม ตลุยหมัดโหมหนักทั้งบนล่าง
10. วิชาหมัดเส้าหลิน
เพลงหมัดเส้าหลินที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ต้าหงฉวน เสี่ยวหงฉวน เผ้าฉวน เหมยฮัวฉวน(เพลง
หมัดดอกเหมย) ซีซีงฉวน(เพลงยุทธสัตตดารา) หลอฮั่นฉวน(เพลงหมัดอรหันต์) เป็นต้น จุดเด่นของ
เพลงยุทธเส้าหลินคือ มืทิศทางการฝึกกระบวนยุทธในลักษณะเป็นแนวตรงทั้งไปและกลับ
ท่ายุทธมี
ลักษณะมุมแคบทั้งรัดกุม การชกปล่อยหมัดลดศอกงอแขนเล็กน้อย แม้เป็นหมัดตรง แต่ก็แขนไม่ตึง
เสียทีเดียว คุณสมบัติเพลงยุทธแข็งแกร่งทรงพลัง และมักเปล่งเสียงเมื่อจบกระบวนยุทธ
11. ชัวเจียวฉวน (พลังเท้าท่าเตะ)
เป็นเพลงยุทธที่ใช้วิชาเท้า ว่าด้วยยุทธวิธีการเตะในลักษณะต่างๆ
ได้แก่ การเตะจิก การถีบ
การใช้วิธีกดเข่า การเตะทิ่ม การดีดเตะ การเตะถาก เเตะกระแทกส้น การเตะบิดปลายเท้า
เป็นต้น
การฝึกวิชานี้ มีลักษณะหนี่งก้าวต่อหนึ่งขา
หนึ่งเท้าต่อหนึ่งก้าว จู่โจมต่อเนื่อง
ซ้ายขวาสลับเปลี่ยน
การจู่โจมประสานทั้งมือเท้า แต่จุดเด่น คือ ใช้เท้าเป็นหลัก
12. ตี้ถ่างฉวน (หมัดสะท้านปฐพี)
เป็นวิชายุทธที่อาศัยการทิ้งตัวลงในลักษณะต่าง
ๆ พร้อมกับการหมุนม้วนตัวบนพื้น หรือการ
โยนตัว เป็นต้น เพลงยุทธนี้ค่อนข้างฝึกหัดได้ยาก และคุณสมบัติของเพลงยุทธค่อนข้างสูง
13. เซี่ยงสิงฉวน (เพลงยุทธเลียนแบบ)
เซี่ยงสิงฉวน คือ
เพลงยุทธที่ประกอบด้วยการต่อสู้ป้องกันตัว โดยการเลียนแบบพฤติกรรม ของสัตว์ชนิดต่าง
ๆ รวมทั้งพฤติกรรมของมนุษย์ในบางอาการ ผสมประสานเข้าด้วยกัน
ประเภท ของการเลียนแบบที่พบมากที่สุด ได้แก่ กงเล็บอินทรี เพลงมวยตั๊กแตน มวยวานร มวยนกกระเรียน
มวยงู หมัดกงเล็บเสือ หมัดเมา เป็นต้น มวยเลียนแบบมุ่งคัดลอกรูปแบบพฤติกรรมบางส่วนของ สัตว์ เพื่อนำไปประยุกต์เข้ากับหมัดมวย โดยไม่เลียนแบบพฤติกรรมของสัตว์ทั้งหมด ทั้งนี้เพื่อช่วย
เสริมสร้างจุดเด่นในการใช้ท่ายุทธให้มีศักยภาพสูงขึ้น