บาร์โค้ดชนิด Interleaved 2 of 5

            ผมจะแนะนำให้ท่านผู้อ่านรู้จักกับบาร์โค้ดที่ใช้แทนค่าตัวเลขอีกชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กันพอสมควร นั่นคือ บาร์โค้ดชนิด Interleaved 2 of 5 หรือ ITF ซึ่งเป็นบาร์โค้ดที่ใช้สำหรับแทนค่าตัวเลขที่ลักษณะแตกต่างจากบาร์โค้ดในกลุ่ม UPC/EAN อย่างสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ PATTERN ของแถบบาร์โค้ดที่ใช้ หรือจำนวนหลักของชุดตัวเลขที่จะมาพิมพ์ด้วยบาร์โคด้ชนิดนี้ โดยบาร์โค้ดแบบ Interleaved 2 of 5 จะสามารถใช้แทนตัวเลขที่ไม่จำกัดจำนวนหลัก แต่จะต้องมีจำนวนหลักเป็นจำนวนคู่เท่านั้น โดยปกติบาร์โค้ดแบบ Interleaved 2 of 5 นี้จะไม่มีระบบตรวจสอบความถูกต้องของรหัสในตัวเองเหมือนกับบาร์โค้ดในกลุ่ม UPC/EAN แต่หากต้องการให้มีการใช้วิธีการตรวจสอบความถูกต้องของรหัสกับบาร์โค้ดนี้ ก็จะสามารถทำได้โดยการใช้โปรแกรมช่วยตรวจสอบได้เช่นกัน

ส่วนประกอบของบาร์โค้ดแบบ Interleaved 2 of 5
            โดยทั่วไปแล้วบาร์โค้ดแทบทุกชนิดจะมีส่วนประกอบของตัวบาร์โค้ดที่คล้ายคลึงกัน เพียงแต่จะมีรูปร่างหน้าตาแตกต่างกันไปเท่านั้น ส่วนประกอบหลักของบาร์โค้ดชนิด Interleaved 2 of 5 ก็จะเหมือนกับบาร์โค้ดชนิดอื่น ๆ โดยจะมีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้ครับ
            1.  พื้นที่ว่างด้านซ้าย เป็นบริเวณพื้นที่ว่าง ๆ ที่อยู่ทางด้านซ้ายของตัวบาร์โค้ด ซึ่งในการทำบาร์โค้ดชนิดนี้ จะต้องมีการเว้นที่ว่างส่วนนี้ไว้อย่างน้อยเท่ากับความกว้างของแถบบาโค้ดที่ใช้แทนตัวเลขของระบบนี้ 1 คู่ ถ้าหากไม่มีการเว้นพื้นที่ว่าง ๆ ไว้จะทำให้เกิดปัญหาในการอ่านได้
            2.  แถบเริ่มต้น ( Start Guard ) เป็นแถบเส้นบาร์โค้ดที่ใช้เป็นตัวบอกถึงจุดเริ่มต้นของการอ่านบาร์โค้ด ซึ่งจะอยู่ด้านซ้ายของตัวบาร์โค้ด แถบเริ่มต้นของตัวบาร์โค้ดนี้จะประกอบด้วยแท่งสี่เหลี่ยมแบบแคบสีดำ กับแท่งสี่เหลี่ยมแบบแคบสีขาวหรือช่องว่างสับกัน 4 แท่ง
            3.  ตัวแถบเส้นบาร์โค้ดที่แทนค่าตัวเลข ซึ่งจะต้องมีจำนวนหลักเป็นเลขคู่เสมอ เช่น 2 หลัก 6 หลัก 8 หลัก… เป็นต้น บริเวณที่เป็นแถบเส้นบาร์โค้ดที่แทนค่าตัวเลขของบาร์โค้ดชนิด Interleaved 2 of 5 นี้จะถูกแบ่งเป็นชุด ๆ ชุดหนึ่ง ๆ จะแทนต่าตัวเลขได้ 2 ตัว โดยจะนับจากซ้ายไปขวาที่ละคู่ ในแต่ละชุดก็จะประกอบด้วยแท่งบาร์โค้ดทั้งหมด 10 แท่ง
            4.  แถบเส้นปิดท้าย ( Stop Guard ) เป็นแถบเส้นบาร์โค้ดที่ใช้เป็นตัวบอกจุดสิ้นสุดของการอ่านบาร์โค้ด จะอยู่ทางด้านขวามือของตัวบาร์โค้ดที่แทนค่าตัวเลข ประกอบด้วย แท่งบาร์แบบกว้างสีดำ 1 แท่ง บาร์แบบช่องว่างหรือสีขาว 1 แท่ง และแท่งบาร์แบบแคบสีดำอีก 1 แท่ง
           5.  ส่วนพื้นที่ว่างด้านขวา จะเป็นพื้นที่ว่าง ๆ ลักษณะเดียวกับพื้นที่ว่าง ๆ ที่อยู่ทางซ้ายของตัวบาร์โค้ด
แถบเส้นบาร์โค้ดที่ใช้แทนค่าตัวเลขของบาร์โค้ดชนิด Interleaved 2 of 5 นี้จะแตกต่างจากแถบบาร์โค้ดที่ใช้แทนค่าตัวเลขของกลุ่ม UPC/EAN อย่างสิ้นเชิงคือ ลักษณะของแถบบาร์โค้ดที่ใช้แทนค่าตัวเลขในกลุ่ม UPC/EAN จะใช้แถบมืด ( ดำ ) แทนค่าตัวเลขในระบบเลขฐานสองด้วย " 1 " และแทนแถบสว่าง ( ช่องว่าง ) ด้วยเลข " 0 " ในระบบเลขฐานสอง และในระบบของบาร์โค้ดในกลุ่ม UPC/EAN จะใช้แถบมืดและแถบสว่างทั้งหมด 7 แถบในการแทนค่าตัวเลขในระบบเลขฐานสิบ 1 หลัก
            แต่ลักษณะแถบเส้นบาร์โค้ดในบาร์โค้ดชนิด Interleaved 2 of 5 จะใช้แถบบาร์แบบกว้าง ( ทั้งแถบมืดและแถบสว่าง ) สำหรับแทนเลข " 1 " ในระบบเลขฐานสอง และใช้แถบบาร์แบบแคบ (ทั้งแถบมืดและแถบสว่างเช่นเดียวกัน) แทนเลข " 0 " ในระบบเลขฐานสอง และตัวเลขในระบบเลขฐานสิบ 1 หลักจะประกอบด้วแถบกว้างและแคบสลับกันทั้งหมด 5 เส้น แต่จะต้องจับคู่กับเลขอีกตัวหนึ่งเพื่อให้ครบ 1 ชุด ซึ่งจะได้แถบาร์ทั้งชุด 10 เส้น แถบเส้นบาร์ของตัวเลขแต่ละตัวในชุด จะถูกนำมาสลับกันโดยตัวเลขที่อยู่หลักทางซ้านจะใช้แถบมืดทั้งหมด ส่วนเลขที่อยู่หลักทางขวาของชุดจะใช้แถบสว่างหรือช่องว่างทั้งหมด
 


รูปที่ 3


 

การสร้างบาร์โค้ดชนิด Interleaved 2 of 5
            อย่างที่ได้กล่าวไว้ตั้งแต่ช่วงต้น ๆ ของบทความแล้วนะครับว่า บาร์โค้ดชนิดนี้เป็นบาร์โค้ดที่ใช้แทนค่าตัวเลขที่มีจำนวนหลักเป็นเลขคู่เท่านั้น เราสามารถใช้บาร์โค้ดชนิดนี้แทนชุดของตัวเลขหรือรหัสต่าง ๆ ที่เป็นตัวเลขที่มีจำนวนหลักตั้งแต่ 2 หลักขึ้นไปอย่างไม่จำกัด แต่สำหรับในทางปฏิบัตินั้นจะเกิดข้อจำกัดจากอุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่านและพิมพ์มากกว่า สำหรับขั้นตอนการสร้างแถบบาร์โค้ดชนิดนี้มีดังนี้
            1.  ตรวจสอบชุดของตัวเลขที่จะใช้สร้างบาร์โค้ดชนิดนี้ว่ามีจำนวนเป็นเลขคู่หรือไม่ ถ้าไม่เป็นเลขคู่จะพิมพ์ไม่ได้
            2.  แบ่งเลขออกเป็นชุดย่อย ๆ ชุดละ 2 หลัก
            3.  ในแต่ละคู่ให้ใช้แถบมืด 5 แถบแทนเลขที่อยู่ในหลักทางซ้ายของชุด และใช้แถบสว่างหรือช่องว่างสำหรับเลขที่อยู่หลักทางขวามือของชุด
            4.  นำแถบบาร์โค้ดของคู่ดังกล่าวมาเรียงจากซ้ายไปขวาทีละแถบ โดยเริ่มจากแถบบาร์โค้ดของหลักทางซ้ายมือ 1 แถบ แล้วนำแถบบาร์ของเลขที่อยู่หลักขวามือของชุดมาวางต่อกัน 1 แถบ แล้วสลับกันเช่นเดิมจนครบชุด
            5.  ดำเนินขั้นที่ 3 สำหรับเลขชุดถัดไปจนตรบทั้งหมด
 
 

ค่าตัวเลข
ค่าในแถบบาร์โค้ดที่ใช้
0
0
0
1
1
0
1
1
0
0
0
1
2
0
1
0
0
1
3
1
1
0
0
0
4
0
0
1
0
1
5
1
0
1
0
0
6
0
1
1
0
0
7
0
0
0
1
1
8
1
0
0
1
0
9
0
1
0
1
0
แท่งแคบ = " 0 "

แท่งกว้าง = " 1 "



หน้า 1 | 2 | 3 |
| home | menu | เทคโนโลยี |

1 : 08 : 2541