ประวัติและการดำเนินงานของโครงการ
ระยะเริ่มต้น
:
การทดลองแก้ปัญหาด้วยการปรับเปลี่ยนทัศนคติ
โครงการผู้หญิงไทยในวันพรุ่งนี้ได้รวบรวมงานวิจัยเกี่ยวกับปัญหาโสเภณี
และโสเภณีเด็ก
เพื่อหาสาเหตุของปัญหาและแนวทางแก้ไขที่เป็นไปได้
สรุปคือ
ปัญหาโสเภณีเป็นปัญหาที่สลับซับซ้อนเกี่ยวข้อง
กับความล้มเหลวของสถาบันการผลิต
สถาบันครอบครัว สถาบันทางสังคม
เช่น กลุ่มองค์กรวัดในชุมชน
ค่านิยมวัฒนธรรมในชนบท
และในเมือง
รวมตลอดถึงมีข้อบกพร่องในเรื่องของกฎหมาย
และการบังคับใช้
การแก้ไขปัญหาต้องดำเนินการให้ครบวงจร
และต้องการผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย
การแก้ไขที่สามารถดำเนินการได้ทันที
คือ การป้องกัน
ไม่ให้เยาวสตรีกลุ่มเสี่ยงต้องตกอยู่
ในกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมและวัฒนธรรมดังกล่าว
วิธีป้องกันที่น่าจะเริ่มต้น
คือ ปรับเปลี่ยนทัศนะคติให้แก่
เยาวสตรี
และผู้ปกครองให้ปฏิเสธการถูกชักจูง
หรือ
ผลักดันให้เข้าสู่อาชีพค้าบริการทางเพศ
และการปรับเปลี่ยนทัศนคติ
ต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบให้ได้ผลอย่างจริงจังในต้นปี
2536
โครงการพัฒนาเศรษฐกิจและความเป็นผู้นำสตรี
(Women's Economic and Leadership Development Programme or
WELD)
ภายใต้การสนับสนุนด้านงบประมาณจาก
Canadian Internation Development Agency (CIDA)
ได้เห็นด้วยกับแนวคิด
และข้อเสนอของโครงการฯ
จึงได้สนับสนุนโครงการ
"การลดปัญหาโสเภณีเด็กด้วยการปรับเปลี่ยนจิตสำนึก
และทัศนคติของเด็กและผู้ปกครองในชนบท"
(Reduction of Child Prostitution by Adjusting
Consciousness and Attitude of Children and Parents in
Rural Society)
ระยะที่
2 :
การให้โอกาสทางการศึกษาและอาชีพโดยความร่วมมือระหว่าง
รัฐบาลและเอกชน
เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2536
คณะสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ได้จัดให้มีการสัมมนาเกี่ยวกับเรื่องกลยุทธการ
แก้ปัญหาโสเภณีเด็กที่จังหวัดเชียงใหม่
โดยมีผู้ร่วมสัมมนาอันประกอบด้วยผู้แทนฝ่ายรัฐบาล
เช่นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
อธิบดีและสมาชิกรัฐสภา
มีนักธุรกิจเอกชน
อาสาสมัครและข้าราชการ
ได้มีการแลกเปลี่ยนความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาเรื่องตามแนวทาง
ผู้ร่วมสัมมนาได้เห็นพ้องต้องกันว่า
ควรจะจัดให้มีความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลและเอกชน
(Public-Private Partnership)
ในการช่วยให้เด็กผู้หญิงไทยในอนาคต
ให้มีโอกาสจะสร้างความเป็นอยู่ดีขึ้น
โดยให้การศึกษาฝึกอบรมและการให้อาชีพที่ดีความร่วมมือนี้จะเริ่มดำเนินการที่
3 อำเภอของจังหวัดพะเยา และ 3
อำเภอของจังหวัดเชียงราย
การร่วมมือนี้คาดว่าจะมีผลอย่างมากต่อการลดจำนวนโสเภณีเด็ก
โดยให้เขาได้เรียนต่อและทำงานอื่น
ซึ่งไม่ใช่ขายบริการทางเพศ
หลังจากการสัมมนาที่จังหวัดเชียงใหม่แล้ว
ได้มีการปรึกษาหารือระหว่าง
Public - Private Partners
อย่างไม่เป็นทางการปรากฏว่ามีเอกชน
ซึ่งได้เสนอตัวสนับสนุนการศึกษาอย่างมีระบบยินดี
ช่วยในด้านการฝึกงานและการให้งานทำแก่เด็กเหล่านี้ตัวอย่างเช่น
บริษัท J.Walter Thompson
จะช่วยรณรงค์ในการสนับสนุนโครงการนี้
ในจังหวัดเชียงรายและจังหวัดพะเยาพร้อมกับจะให้ทุนการศึกษาจำนวนหนึ่งแก่เด็กด้วย
บริษัทของสหรัฐฯ เช่น City Bank ,IBM
และ AT & T
ได้ให้ความสนใจสนับสนุนให้ทุนการศึกษาและเรื่องอื่นๆ
City Bank
จะช่วยรับเด็กเข้าทำงานที่สาขาในจังหวัดเชียงใหม่
ศูนย์บริการคอมพิวเตอร์
คณะสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ซึ่งมีความพร้อมในการสอนคอมพิวเตอร์
จะช่วยจัดหลักสูตรพิเศษให้กับเด็ก
เพื่อให้มีทักษะและความสามารถในการทำงานด้านเลขานุการ
ในสำนักงานที่ทันสมัยต่างๆ
ส่วนหลักสูตรการออกแบบตัดเย็บเสื้อผ้าสมัยใหม่นั้น
บริษัท WING GROUP
ผู้ผลิตเสื้อผ้าส่งออกในอำเภอสันกำแพง
จะให้ความอนุเคราะห์ในด้านการฝึกอบรมและสถานที่ฝึกอบรม
มีภาคเอกชนที่มีธุรกิจใหญ่ 2
ธุรกิจคือ
บริษัทในกลุ่มสหพัฒนพิบูลหรือสหกรุ๊ป
ซึ่งมีธุรกิจการตัดเย็บเสื้อผ้าและเครื่องหนังที่จังหวัดลำพูน
ได้เห็นคุณค่าของโครงการจึงเข้ามาเป็นหุ้นส่วนหนึ่งในการฝึกอบรม
และให้อาชีพถาวรแก่เยาวสตรีของโครงการ
โดยบริษัทต่างๆ เช่น Wacoal
บริษัทธนูลักษณ์และบริษัทประชาอาภรณ์เป็นผู้ดำเนินงานและ
เป็นผู้รับผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมเข้าสู่ตำแหน่งงานประจำ
และกลุ่มที่สองคือ บริษัท Grmopolos
กลุ่มผู้ผลิตอัญมณีเพื่อการส่งออก
มีความต้องการแรงงานฝีมือ
และต้องช่วยแก้ปัญหาโสเภณีเด็กได้เข้ามาร่วมเป็นอีกหุ้นส่วนหนึ่ง
ดำเนินการคัดเลือก
อบรมและรับเยาวสตรีเข้าสู่งานถาวร
ในตำแหน่งช่างเจียรไนยเพชรพลอย
ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานอย่างมาก
ในช่วงเดือนตุลาคม 2536 คณะจาก
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
องค์การยูเสดและบริษัทเอกชนได้ไปเยี่ยมเจ้าหน้าที่ในพื้นที่
เพื่อติดต่อและทำการหาข้อมูลเพื่อวางแผนปฏิบัติงานตามโครงการใน
3 อำเภอต่าง ๆ
ของจังหวัดเขียงรายและพะเยาและได้กำหนดเกณฑ์ในการเลือกพื้นที่ของโครงการ
คือ
มีอาจารย์ที่ปรึกษาที่จะเสียสละช่วยงานในโครงการนี้เหมือนกับที่จังหวัดพะเยา
มีโรงเรียนระดับมัธยมต้นอยู่ใกล้
เด็กผู้หญิงมีความเต็มใจที่จะรับการฝึกอบรมและทำงาน
ความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลและเอกชนตามโครงการ
"ผู้หญิงไทยในวันพรุ่งนี้"
จะอยู่ในรูปของการให้ทุนการศึกษา
การปรับเปลี่ยนทัศนคติ
ของเด็กและผู้ปกครองและสนับสนุนบริษัทที่มีส่วนช่วยวางแผนการดำเนินงาน
ของโครงการและให้เงินทุนสนับสนุนเริ่มแรก
เพื่อให้โครงการดำเนินการไปได้
ระยะที่
3 :
การเสริมศักยภาพด้านการผลิตสื่อ
และการแนะแนว
สิ้นปี 2537 เมื่อองค์การ USAID
ประเทศไทยได้สิ้นสุดการให้ความช่วยเหลือ
โครงการผู้หญิงไทยในวันพรุ่งนี้
จังได้เตรียมการให้เกิดความยั่งยืน
ของกิจกรรม 3 ประการ คือ
- ประสานงานกับภาคธุรกิจเอกชน
องค์กร และสมาคมต่าง ๆ
เพื่อสร้างความต่อเนื่องในการให้ทุนการศึกษากับเยาวสตรีกลุ่มเสี่ยง
- การถ่ายทอดแนวคิดและวิธีการฝึกอาชีพตามหลัก
Public-Private
ให้กับสถาบันการศึกษาและพัฒนาฝีมือและแรงงานภาคราชการ
และให้กับองค์กรพัฒนาเอกชน
(NGO)
ในการเชื่อมโยงกิจกรรมกับ
ผู้ประกอบการภาคเอกชน
- การสร้างแนวคิด
รูปแบบวิธีการผลิตสื่อรูปแบบต่าง
ๆ
เพื่อให้กระบวนวิธีการปรับเปลี่ยนทัศนคติของเยาวสตรี
กว้างขวางและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ในระยะที่ 3 นี้
ทางรัฐบาลญี่ปุ่นภายใต้โครงการ
Small Scale Grant Assistance (SSGA)
ได้เห็นความสำคัญของกิจกรรมที่
3
จึงได้สนับสนุนงบประมาณให้โครงการผู้หญิงไทยในวันพรุ่งนี้
ในฐานะองค์การพัฒนาเอกชน
เสริมสร้างศักยภาพด้านการผลิตสื่อ
และความพร้อมในการให้โครงการเป็นศูนย์ให้คำแนะแนวปรึกษา
เกี่ยวกับปัญหาโสเภณีเด็กภายใต้โครงการ
"รณรงค์และให้คำแนะนำเพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติของเยาวสตรีในชนบท"
(Campaign and Counselling for Attitude Change of
Girls Program)
iระยะที่ 4
:
การเพิ่มความเข้มข้นของการรณรงค์และการสนับสนุนหน่วยปฏิบัติ
โครงการผู้หญิงไทยในวันพรุ่งนี้
ได้ปรับบทบาทให้เด่นชัดและเข้มข้นขึ้นกล่าวคือ
ลดบทบาทของผู้ที่จะปฏิบัติต่อกลุ่มเป้าหมายโดยตรง
และเพิ่มบทบาทของ
ผู้ค้นคิดรูปแบบ แนวทาง
และการสนับสนุนทางวิชาการ
แก่โครงข่ายผู้ปฏิบัติงานทั้งของภาครัฐบาล
และของเอกชนให้สูงขึ้น
ซึ่งเหมาะสมกับการเป็นหน่วยงานทางวิชาการ
ในสังกัดมหาวิทยาลัยในระยะที่
4 นี้
โครงการผู้หญิงไทยในวันพรุ่งนี้ได้รับการสนับสนุน
ด้านงบประมาณจาก
องค์การแรงงานระหว่างประเทศ ILO
ภายใต้โครงการ IPEC(International Programme
on the Elimination of Child Labour)
และได้ดำเนินงานในโครงการที่สำคัญ
3 โครงการคือ
- การเพิ่มความเข้มขั้นของการใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการ
ปรับเปลี่ยนทัศนคติของกลุ่มเป้าหมายด้วยการผลิตสื่อ
VDO
พร้อมคู่มือการปรับเปลี่ยนทัศนคติ
และสื่ออื่น ๆ
พร้อมทั้งขยายพื้นที่เป้าหมายครอบคลุม
4 จังหวัด คือ จังหวัดพะเยา
เชียงราย เชียงใหม่
และลำปาง รวม 12 อำเภอ
มีครูอาสาสมัครเข้าโครงการ
36 คน
- การค้นคิดรูปแบบแนวทางของการปรับปรุงหลักสูตร
วิธีการเรียนการสอนนักเรียนกลุ่มเสี่ยง
ม.1-3
- การสนับสนุนทางวิชาการเกี่ยวกับปัญหาโสเภณีเด็กและแรงงานเด็กให้กับแรงงาน
จังหวัดเชียงใหม่และองค์กรพัฒนาเอกชน
กลุ่มเพื่อนเด็ก (Friend of
Children)
ให้คำปรึกษาแนะแนวการทำวิจัยเกี่ยวกับเด็กทั่วไปและแรงงานเด็กในอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า
(Garment Industry)
|