งานมหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ
จ.เชียงใหม่
|
ประเพณีสงกรานต์
เทศกาลศิลปวัฒนธรรมเชียงใหม่
บริเวณทั่วเมืองเชียงใหม่ ประกอบด้วยกิจกรรมดังนี้คือ เทศกาลดนตรีกลางแจ้ง จัดขึ้นโดยการท่องเที่ยวแห่ง
ประเทศไทยร่วมกับเทศบาลนครเชียงใหม่ณพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์สามกษัตริย์เป็นการแสดงดนตรี บนลาน
สาธารณะสำหรับประชาชนชาวเชียงใหม่และนักท่องเที่ยวทั่วไป
การแสดงละครหุ่นพื้นบ้าน
จัดขึ้นโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกับโรงละครหุ่นเชียงใหม่ ณ โรงละครหุ่นเชียงใหม่ (หลังหอ
นิทรรศการศิลปวัฒนธรรม ถนนนิมมานเหมินทร์ )
นิทรรศการ ศิลปกรรมของศิลปินล้านนา : จิตวิญญาณล้านนา
จัดขึ้นโดยคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม
ถนนนิมมานเหมินทร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นการแสดง ผลงานทางด้านศิลปกรรมของศิลปินล้านนา ผลงานศิลปกรรมอันแสดงออกถึง
เรื่องราวเกี่ยวกับจารีตประเพณี ความเป็นอยู่ วิถีชีวิตของชาวล้านนา
ประเพณีปอยส่างลองวัดป่าเป้า
จัดขึ้นโดยวัดป่าเป้า ร่วมกับคณะศรัทธาวัดป่าเป้า เป็นการบรรพชาสามเณร(ส่างลอง)ของชาวไทยใหญ่ที่อาศัย
อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ และใกล้เคียง
งานสืบสานล้านนา
จัดขึ้นโดยคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือ
สภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ณ โรงเรียนสืบสานภูมิปัญญา (หลังโรงเรียนปรินส์
รอยแยลส์วิทยาลัย ) ถนนดอยสะเก็ดเก่า เป็นการแสดงการถ่ายทอดความรู้และ
ภูมิปัญญาในด้านต่างๆ ของชาวล้านนา
งานฤดูร้อน ย้อนรอยอดีตเชียงใหม่
จัดขึ้นโดยสโมสรไลออนส์เชียงใหม่ (โฮสท์) ณลานเอนกประสงค์บ้านบ่อต.แม่เหียะ (เลี้ยวซ้ายเลียบคลอง
ชลประทานจากหน้าตลาดต้นพยอม) เป็นการจัดงานรื่นเริงย้อนอดีต ซึ่งนิยมจัดกันเมื่อ30ปีที่ผ่าน หลังการเก็บเกี่ยว
ไร่นา ประกอบด้วยกิจกรรม การชกมวยไทยภาคเหนือการรำวงแบบโบราณการประกวดร้องเพลงการประกวดขวัญใจ
แม่ม่ายการแข่งขัน กีฬาท้องถิ่น เช่น ชนไก่ ฯลฯ
งานมหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ
ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นช่วงที่มีภูมิอากาศหนาวเย็นดอกไม้บานสะพรั่งสวยงามจึงมีการจัด
งานมหกรรมไม้ดอกไม้ประดับขึ้นในงานจะมีขบวนแห่รถบุปผาชาติการประกวดนางงามบุปผาชาติและการประกวด
สวนหย่อมและพันธ์ไม้ดอก ไม้ประดับ รวมทั้งร้านค้าของกลุ่มแม่บ้านเกษตร
ของแต่ละอำเภอ
งานมหกรรมอาหารเชียงใหม่
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกับสมาคมภัตคารและร้านอาหารจังหวัดเชียงใหม่
จัดขึ้นประมาณเดือน ธันวาคมของทุกปีบริเวณกาดเชิงดอย ถ. คลองชลประทานใกล้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายในงานมีการสาธิตและการ
ประกวดการประกอบอาหาร การแสดงวัฒนธรรมต่างๆ
ประเพณีบูชาเสาอินทขิล
เป็นการบูชาเสาอินทขิลหรือเสาหลักเมืองที่ชาวเหนือเรียกว่า"การใส่ขันดอก"เป็นการบูชาเสาหลักเมืองของ
จังหวัดเชียงใหม่มักจะจัดกัน ในช่วงเริ่มต้นของฤดูกาลเพาะปลูก เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ชาวบ้านที่กำลังจะ
ทำการเพาะปลูก และเป็นการบูชาเสาหลักเมืองเพื่อให้บ้านเมือง
อยู่เย็นเป็นสุข วันที่จัดงานประมาณปลายเดือน
8
ย่างเดือน 9 ( เดือน 6 - 7 ภาคกลาง คือเดือน พ.ค. ย่างเข้าเดือน
มิ.ย. ) โดยวันแรม 13 ค่ำ เดือน 8 เรียกว่า " วันเข้า
อินทขิล " และวันขึ้น 4 ค่ำ เดือน 9 เรียกว่า " วันออกอินทขิล " ชาวเหนือจึงเรียกช่วงระยะเวลาดังกล่าวว่า
เดือน 8 เข้า
เดือน 9 ออก
เทศกาลร่มบ่อสร้าง
จัดขึ้นประมาณเดือนมีนาคมของทุกปีบริเวณศูนย์กลางหัตถกรรมร่มบ่อสร้างหมู่บ้านบ่อสร้างเป็นหมู่บ้านที่ม
ีชื่อเสียงโดดเด่นในการทำร่ม และงานหัตถกรรมอื่นๆหลากหลาย จึงมีการจัดงานเทศกาลร่มขึ้นเพื่อให้นักท่องเที่ยวได
้เข้าชม และเลือกซื้อสินค้า ในงานมีการแสดงวิธีการทำร่ม การฟ้อนรำแบบล้านนา
ขบวนแห่ประเพณีพื้นบ้าน
งานประเพณีเดือนยี่เป็งเชียงใหม่
งานประเพณีสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ ในเดือนสิบสองหรือตรงกับวันเพ็ญเดือนยี่ ทางภาคเหนือคืองาน
ประเพณีเดือนยี่เป็ง ซึ่งเทศบาล เชียงใหม่ เป็นแกนนำจัดขึ้นประจำทุกปี
โดยจะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น ๑๔ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ
และแรม ๑ ค่ำ รวม ๓ วัน กิจกรรมในวันแรก
ของงานจะเป็นการแข่งขันถ่อแพ และแข่งขันเรือหพายในลำน้ำปิง
การ แข่งขันเรือพายในลำน้ำปิง การแข่งขันเรือพาย
เริ่มจัดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ เป็นต้นมา
เป็นการแข่งขันที่
ต่างจากจังหวัดอื่นๆ คือเป็นการแข่งขันพายเรือทวนน้ำ บริเวณลำน้ำปิง หน้าสำนักงานเทศบาลนครเชียงใหม่ ส่วนการ
แข่งขันถ่อแพนั้นเนื่องจากในอดีตชาวเชียงใหม่ใช้ลำน้ำปิงเป็นเส้นทางสัญจรระหว่างกัน ฉะนั้นในช่วงงานประเพณี
ยี่เป็งจึงจัดกิจกรรมเหล่านี้ขึ้น เพื่อฟื้นฟูวัฒนธรรมดั้งเดิมที่เคยมีมามิให้สูญหายไป
สำหรับในคืนวันขึ้น ๑๕ ค่ำ
หรือคืน วันเพ็ญนั้นจะมีการประกวดกระทงเล็กของหัววัดต่าง ๆ ชุมชนหน่วยงาน ซึ่งส่วนใหญ่จะจัดตกแต่งกระทง
เป็นรูปเรือ (สำเภา) ทำด้วยทางมะพร้าวและต้นกล้วย
และจัดขบวนแห่กระทงนำไปปล่อยลงสู่แม่น้ำปิงทุกกระทง
คืนสุดท้ายนับเป็น คืนสำคัญ วันแรม 1 ค่ำ มีการประกวดกระทงใหญ่ ระหว่างหน่วยงานและสถาบันการศึกษาต่าง ๆ
ในจังหวัด จัดเป็นขบวนแห่ไป ตามถนนท่าแพ ผ่านตลาดวโรรสไปยังสำนักงานเทศบาลนครเชียงใหม่ การประกวด
กระทงใหญ่ถือเป็นหัวใจของงาน เพราะเป็นกระทงที่มีความสวยงามวิจิตรตระการตา ส่วนใหญ่ตกแต่งเป็นเรื่องราว
ในพุทธประวัติ วรรณคดี ประวัติศาสตร์ ตลอดจนศิลปกรรมต่าง ๆ กระทงที่ส่งเข้าประกวดจะนำไปลอยในแม่น้ำปิง
เพื่อ เป็นพุทธบูชา งานลอยกระทงของจังหวัดอื่นๆ จะสิ้นสุดเพียงวันขึ้น
15 ค่ำ แต่ที่เชียงใหม่จะมีกิจกรรมที่น่าชม ที่
สุด คือวันแรม 1 ค่ำ กิจกรรมทุกประเภทเทศบาลนครเชียงใหมและหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจะจัดให้ประทับใจ
นักท่องเที่ยว ให้ ทราบถึงวัฒนธรรม และประเพณีอันเก่าแก่ของเมืองเชียงใหม่
ซึ่งมีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน
กว่า 700 ปี
|