อุตรดิตถ์ แปลว่า "ท่าเหนือ" เนื่องจากในสมัยก่อนพ่อค้าจะนำสินค้ามาจากหลวงพระบาง น่าน หรือเมืองเหนืออื่น ๆ ไปค้าขายกับทางใต้ เช่น พิษณุโลก นครสวรรค์ อยุธยา กรุงเทพฯ
หรือสินค้าจากทางใต้จะนำขึ้นเหนือ ซึ่งต้อง แวะพักกันตามท่าน้ำจอดเรือของอุตรดิตถ์
ทำให้มีการแลกเปลี่ยนสินค้า และวัฒนธรรม ตลอดจนการโยกย้ายถิ่นที่อยู่อาศัย ของกลุ่มต่าง ๆ
ตามแนวลำน้ำเกิดขึ้น อุตรดิตถ์ เป็นตำบลหนึ่ง ชื่อ "บางโพท่าอิฐ" ขึ้นกับเมืองพิชัย
ตั้งอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำน่าน และมีความเจริญอย่างรวดเร็ว เพราะเป็นเมืองท่าเรือขนถ่ายสินค้า
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จถึง "บางโพธิท่าอิฐ" เมื่อวันที่
23 ตุลาคม 2444 โดยเรือพระที่นั่ง ได้จอด ณ บริวเณหน้าวัดวังเตาหม้อ ซึ่งก็คือ วัดท่าถนน
ต.ท่าอิฐ อ.เมืองอุตรดิตถ์ ในปัจจุบัน ต่อมาทรงพระราชดำริเห็นว่า
ตำบลบางโพท่าอิฐคงจะเจริญต่อไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเป็นเมืองเรียกว่า
"เมืองอุตรดิตถ์" เนื่องจากเมืองอุตรดิตถ์มีผู้คนมาอยู่อาศัย ประกอบกับมีการค้ามากขึ้น
ในขณะที่เมืองพิชัยร่วงโรยไป และเมื่อ พ.ศ. 2457 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่า "เมือง" เป็น "จังหวัด" ดังนั้นเมืองอุตรดิตถ์
จึงเปลี่ยนเป็นจังหวัดอุตรดิตถ์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ในปี พ.ศ.2539
เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ชาวจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้เห็นพ้องต้องกัน
สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 ณ บริเวณลานเอนกประสงค์ริมน้ำน่าน
และกระทำพิธีอันเชิญพระราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 ขึ้น ประดิษฐาน ณ แท่นชัยประดิษฐาน เมื่อวันที่
23 ตุลาคม 2539 ซึ่งเป็นบริเวณที่พระองค์ท่านเสด็จมา เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2444
                                                      << back      next>>

ประวัติความเป็นมา
ดอกไม้ ต้นไม้
Design by Pornsawan Sanguancharit
Best view in Browser Netscape or Internet Explorer 800*600: MS Sans Serif