แนะนำห้องสมุด บริการ ข่าวสาร นานาสาระ สื่อใหม่ กลับหน้าหลัก

 

 

             อำเภอวังทรายพูนเดิมนั้นอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเมืองพิจิตร ต่อมาทางราชการได้
แบ่งแยกพื้นที่ส่วนหนึ่งของอำเภอเมืองพิจิตร  จำนวน  3  ตำบล ได้แก่  ตำบลหนองปลาไหล ตำบล
วังทรายพูนและตำบล หนองพระ  ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเมื่อวันที่  13 สิงหาคม 2518 โดยอาศัยสถานที่ที่
ทำการสภาตำบลวังทรายพูนเป็นสำนักงานชั่วคราว  ในปีงบประมาณ 2539 กรมการปกครอง ได้จัด
สรรเงินงบประมาณ  จำนวน  659,000  บาท ให้เป็นค่าก่อสร้างอาคารที่ว่าการอำเภอวังทรายพูน
โดยได้รับความร่วมมือจาก นายรุ่ง-นางบุญเกิด  ตั้งสิทธิโชค  สองสามีภรรยาอุทิศที่ดินส่วนตัวซึ่งตั้ง
อยู่ที่หมู่ที่ 4 ตำบลหนองพระ เนื้อที่ 48 ไร่  ราคาประมาณ  550,000  บาท ให้แก่ ทางราชการ
เพื่อจัดตั้งเป็นสถานที่ราชการของกิ่งอำเภอวังทรายพูน    โดยไม่คิดมูลค่าและได้รับความร่วมมือจาก
สำนักผังเมืองจัดส่งเจ้าหน้าที่มาดำเนินการวางผังศูนย์ราชการไว้เป็นบรรทัดฐาน เสร็จเรียบร้อยเมื่อ
วันที่  16  มกราคม  2519
            ต่อมามีพระราชกฤษฎีกายกฐานะกิ่งอำเภอวังทรายพูนขึ้งเป็นอำเภอวังทรายพูน  โดย
ประกาศเป็นราชกิจจานุเบกษา  เล่มที่   89  ตอนที่  115  ลงวันที่  13  กรกฎาคม  2524 
มีนายวิทยา สุขิตานนท์ ดำรงตำแหน่งนายอำเภอวังทรายพูนเป็นคนแรก และได้มีพระราชกฤษฎีกา
เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอเมือง  และอำเภอวังทรายพูน  โดยโอนตำบลหนองปล้อง อำเภอเมืองพิจิตร
มาขึ้นกับอำเภอ วังทรายพูนตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่  100  ตอนที่ 152    ลงวันที่
23  กันยายน  2526 จึงทำให้ปัจจุบันอำเภอวังทรายพูน มีเขตการปกครอง  จำนวน  4   ตำบล 
37  หมู่บ้าน

 
 
            วังทรายพูนเป็นชื่อของภูมิประเทศที่เป็นที่ลุ่มบริเวณวัดเขตมงคล และวัดวังทรายพูนใน สมัยนั้นเป็นวังน้ำขนาดใหญ่ต่อมาทรายที่ไหลผ่านมาตามกระแสน้ำจากเชิงเขาด้านตะวันออกได้เข้ามา 
ทับถมกันสูงขึ้นในลักษณะเหมือนกับการเอาทรายมาพูนเป็นกอง  ซึ่งถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่าบริเวณ
ตำบลวังทรายพูนจะมีลักษณะภูมิประเทศสูงน้ำจะไหลไปทางทิศใต้และตะวันตกทั้ง  3 ด้านชาวบ้านจึง เรียกว่า " ตำบลวังทรายพูน" และเป็นชื่อของอำเภอวังทรายพูในที่สุด

                                   

                   มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบเชิงเขาและบางแห่งเป็นที่ราบลุ่ม มีพื้นที่ทั้งหมด 59,848 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 37,405 ไร่ 
                                                           

สภาพทางภูมิศาสตร์
               อำเภอวังทรายพูนตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดพิจิตร  อยู่ห่างจากตัวจังหวัด ประมาณ 30 กิโลเมตร อยู่ทางตอนล่างของภาคเหนือของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานคร ปรประมาณ  380  กิโลเมตร  มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

       ทิศเหนือ        ติดต่อกับ        อำเภอเมืองพิจิตร
       ทิศใต้           ติดต่อกับ        อำเภอทับคล้อ และอำเภอวังโป่ง  จังหวัดเพชรบูรณ์
       ทิศตะวันออก    ติดต่อกับ        อำเภอเนินมะปราง  จังหวัดพิษณุโลก
       ทิศตะวันตก      ติดต่อกับ        อำเภอเมืองพิจิตร

การคมนาคม

                   สามารถใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข   11   เป็นถนนลาดยาง  คือ  ถนนวังทอง – เขาทราย เป็นเส้นทางหลักในการคมนาคมติดต่อกับอำเภอเมืองพิจิตร อำเภอตะพานหิน จังหวัด
พิจิตร และจังหวัดพิษณุโลกได้อย่างสะดวกพอถึงตลาดสดเทศบาลตำบลวังทรายพูนให้ใช้ถนนทาง หลวงชนบท สายวังทรายพูน – ไทรย้อย ก็จะเข้าสู่ตำบลวังทรายพูน ซึ่งผ่าน หมู่ที่ 2,4,5,8,12,13 และถนนทางหลวงชนบทสายเนินหัวโล้ – ยางสามต้น ผ่าน หมู่ที่ 10,11,7

สภาพภูมิอากาศ

            อำเภอวังทรายพูนมีสภาพเป็นที่ราบลุ่ม  ในฤดูฝนจะมีน้ำหลากทางด้านทิศตะวันออก  เพราะเป็นที่ราบเชิงเขาติดต่อมาจากจังหวัดเพชรบูรณ์ในฤดูร้อนอากาศร้อนและแห้งแล้งในฤดูหนาว อากาศหนาวเย็นจัดในเวลากลางคืน  การคมนาคมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  11 ผ่านตัวอำเภอ
1  สาย  สามารถติดต่อกับอำเภอใกล้เคียงได้สะดวก   สภาพถนนภายในอำเภอเป็นถนนลาดยาง  
3  สาย  นอกนั้นเป็นถนนลูกรังใช้ได้ในทุกฤดูกาลอำเภอวังทรายพูนไม่มีแม่น้ำไหลผ่านและไม่มีเขต ชลประทาน

สภาพการเมืองการปกครอง

            อำเภอวังทรายพูนมีเนื้อที่ทั้งหมด  238  ตารางกิโลเมตร  แบ่งเขตการปกครองออกเป็น  4  ตำบล  57  หมู่บ้าน  1  สุขาภิบาล
            อำเภอวังทรายพูน   มีประชากรที่มีสิทธิเลือกตั้ง   จำนวน  7,867   คน
                               เลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้         1    คน
                               เลือกสมาชิกสภาจังหวัดได้               1    คน 

ข้อมูลด้านประชากร

ที่

ตำบล

จำนวนครัวเรือน

จำนวนประชากร

1
2
3
4

หนองปล้อง
หนองพระ
วังทรายพูน
หนองปลาไหล

รวมทั้งหมด

700
1,818
1,854
1,055

5,434

2,095
8,097
8,920
5,225

24,337

 

  

           จิ้งหรีด
                    เป็นแมลงที่พบตามธรรมชาติในท้องทุ่งนาหรือ
      สนามหญ้า คัดเลือกพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์จิ้งหรีด ที่ตาโต   สีเข้ม          
      แข็งแรง ปล่อยลงในบ่อ ครบทุก 3 วัน จิ้งหรีดจะผสมพันธุ์
      และวางไข่
            ผ้าทอ
             นำด้ายที่เตรียมไว้มาทอเป็นผ้าตามลวดลาย
ที่ต้องการ
-  เตรียมด้ายมาปั่นใส่ลอดใหญ่
-  เดินด้ายสีตามต้องการ
-  หวีด้ายที่เตรียมไว้ขึ้นกี่แล้วทออ
-  นำไปตัดเป็นเครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น 
    เสื้อผ้า หมอน    ผ้าขาวม้า ฯลฯ

              ไม้กวาด
         นำดอกหญ้ามาถักด้วยเชือกไนล่อน
- คัดดอกหญ้าให้มีขนาดความยาวเท่ากัน
- นำดอกหญ้าที่คัดแล้วมาถักด้วยเชือกไนล่อน
- ตอกตะปูยึดดอกหญ้าเข้ากับด้าม
- ทาด้วยฟลินท์โค้ทเพื่อความแน่นหนา

               พรมเช็ดเท้า
           นำเศษผ้ามาถักเข้ากับกระสอบป่านตามลวดลายที่ต้องการ
- นำกระสอบป่านมาตัดให้มีขนาดตามความต้องการ
-
ใช้ผ้าเย็บขอบกระสอบป่านที่ตัดไว้
- นำเศษผ้ามาตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยม ด้านขนานขนาดตามต้องการ
- นำเศษผ้าที่ได้มาถักเข้ากับกระสอบป่านตามลวดลาย
   ของกระดาษแม่พิมพ์

                  ไม้ไผ่จักสาน
            เป็นการนำไม้ไผ่มาจักสานเป็นอุปกรณ์
ดักปลาต่าง ๆ เช่น ลอบ ข้อง ไซ สุ่มจับปลา
            นำไม้ไผ่ที่คัดเลือกมาเหลาเป็นเส้นให้มี
ขนาดตามความต้องการ

กรงนก      

ติดต่อ    นายวิชัย คล้ายอ้น
         
68 หมู่ 4 บ้านหนองโพธิ์ ตำบลหนองพระ อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร  รหัสไปรษณีย์  66180   ผลิตและจำหน่าย    กรงนก ทำจากไม้ไผ่รูปทรงสวยงาม  เป็นการนำไม้ไผ่สีสุกมาจักสาน   มี  3  รูปแบบ  คือ   หัวโต, สะเต็ง, โอ่ง

 

กิจการเหมืองแร่ทองคำเขาพนมพา
ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตร

ที่ตั้ง  สภาพทั่วไปและสภาพทางกายภาพ

                " เขาพนมพา"  ตั้งอยู่บริเวณบ้านเขาพนมพา  หมู่ที่  7   ตำบลหนองพระ  อำเภอ
วังทรายพูน  จังหวัดพิจิตร  เป็นเนินเขาขนาดเล็ก  มีลักษณะเป็นเขาลูกโดดครอบคุมพื้นที่ประมาณ  
200  ไร่  เป็นเขตพื้นที่ป่าไม้ อยู่ในความดูแลของกรมป่าไม้ มีต้นไม้ขนาดเล็กปกคลุมหนาแน่น
มีความลาดชันประมาณ  15   องศา  สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง  50 -155  เมตร  
ชนิดดินเป็นดินร่วนปนดินลูกรังและเศษหิน  ชนิดหินเป็นหินภูเขาไฟชนิดโรโอไลท์  แอนดีไซด์  
บริเวณโดยรอบเขาพนมพา จะเป็นพื้นที่ค่อนข้างราบและมีบ้านเรือนราษฎรตั้งอยู่กระจัดกระจาย
เฉพาะบ้านเขาพนมพา  หมู่ที่  7  ตำบลหนองพระ  อำเภอวังทรายพูน  มีราษฎรอาศัยอยู่  
141  ครัวเรือน  จำนวน  610  คน  ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำไร่  ทำนา  และรับจ้างทั่วไป

ความเป็นมา

                ประมาณเดือนเมษายน  2542  ประชาชนในพื้นที่เขาพนมพาทราบว่าเจ้าหน้าที่จากกรมทรัพยากรธรณีได้มาสำรวจพบ สายแร่ทองคำ 
ประชาชนจำนวนมากจึงได้เข้าไปขุดหิน  ดินลูกรังแล้วนำไปร่อนดู  ปรากฏว่าพบแร่ทองคำปะปนอยู่ 
ทำให้ประชาชน ทั้งในพื้นที่จังหวัดพิจิตรและต่างจังหวัดบุกรุกเข้าไปหาแร่ทองคำในบริเวณพื้นที่เขา
พนมพาเป็นจำนวนมาก ซึ่งการกระทำดังกล่าวก่อให้เกิด ปัญหามวลชนบุกรุกทำลายทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปัญหาการบาดเจ็บล้มตายของประชาชนที่ถูกดินถล่มทับผู้ว่าราชการ 
จังหวัดพิจิตร  นายอำเภอวังทรายพูนได้ออกประกาศห้ามประชาชนบุกรุกเข้าไปในพื้นที่บริเวณ
เขาพนมพาโดยเด็ดขาด  แต่ปรากฏว่า ยังมีประชาชนจำนวนมากยังคงลักลอบเข้าไปขุดหาแร่ทองคำ
บริเวณเขาพนมพาส่งผลกระทบต่อประชาชนและต่อทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมโดยรวมของ
จังหวัดพิจิตรเรื่อยมา  
ในที่สุดกรมทรัพยากรธรณี  จังหวัดพิจิตร  อำเภอวังทรายพูน 
ป่าไม้จังหวัดพิจิตรอุตสาหกรรมจังหวัดพิจิตร ทรัพยากรธรณีประจำท้องที่องค์การบริหารส่วนตำบล
หนองพระและส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง 
มีความเห็นว่าควรให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด พิจิตรดำเนินการขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ทองคำ
บริเวณเขาพนมพา  เพื่อให้ราษฎรเข้ามามีประโยชน์ร่วมกันในการทำเหมือง  ซึ่งจะสามารถแก้ไข
ปัญหาด้านมวลชน ปัญหาการบาดเจ็บล้มตายและปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากร
สิ่งแวดล้อม ให้หมดไปในที่สุด

การดำเนินการขอประทานบัตรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตร  

                 เมื่อได้พิจารณาสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจากการที่ประชาชนเข้าบุกรุกขุดหาแร่ทองคำ
บริเวณเขาพนมพา ประกอบกับ ความเห็นของกรมทรัพยากรธรณี  จังหวัดพิจิตร  และส่วนราชการที่
เกี่ยวข้องเห็นว่า  แนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดคือ การให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตร
ยื่นคำขอประทานบัตรเหมืองแร่ทองคำจากกรมทรัพยากรธรณี เพื่อดำเนินการให้ราษฎรเข้ามามีประโยชน์ 
ร่วมกันในการทำเหมืองแล้ว   นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตรจึงได้เสนอญัตติขอความเห็นชอบต่อ
สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตร  ซึ่งสภาได้พิจารณาให้ความเห็นชอบตั้งแต่  2  พฤศจิกายน 
2542    องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตรจึงได้ยื่นคำขอประทานบัตรต่อ ทรัพยากรธรณี ประจำท้องที่  
(จังหวัดพิจิตร)  ในวันที่  4  พฤศจิกายน  2542  และได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับคำขอ
ดังนี้  

                        1.  การขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในเขตพื้นที่ป่าไม้ (เขาพนมพา)
                        2.  จัดทำรายงานธรณีวิทยาแหล่งแร่  
                        3.  จัดหาที่ดินที่ใช้เป็นสถานที่แต่งแร่
                        4.  จัดทำแผนโครงการและรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

                         นอกจากการดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวแล้ว  ในการขอประทานบัตร
ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดครั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมได้เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาผ่อนผัน
เป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายให้กับองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตร  โดยไม่ต้องขออาชญาบัตรพิเศษ  
โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่  13  มิถุนายน  2543  กรมทรัพยากรธรณีจึงได้ รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเสนอต่อคณะกรรมการตาม  พ.ร.บ. แร่ พิจารณาให้ความเห็นชอบ
และได้เสนอความเห็นต่อ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาต
ประทานบัตร โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ลงนามอนุญาตประทานบัตรให้กับองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดพิจิตร  เมื่อวันที่  19  ตุลาคม  2544  ตามประทานบัตรที่  
26914/15504  
                 
การทำกิจการเหมืองแร่ทองคำเขาพนมพา
วัตถุประสงค์

                   ในการทำกิจการเหมืองแร่ทองคำและการจัดเก็บค่าเนียมจากการให้บริการในการ
ทำกิจการเหมืองแร่ทองคำขององค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตร มิได้มีวัตถุประสงค์ในการหาผลประโยชน์
จากสินแร่ทองคำในเชิงพาณิชย์  หากแต่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมได้รับ
ประโยชน์จากร่อนล้างเอาแร่ทองคำอย่างเป็นธรรม ถูกต้องตามกฎหมายถูกหลักวิชาการ ทำเหมือง
ควบคู่กันไปกับการฟื้นฟูสภาพป่าไม้และสิ่งแวดล้อม  ตลอดจนแก้ไขปัญหาด้านมวลชนและการรักษาความ
สงบเรียบร้อยในท้องถิ่น

วิธีการทำเหมืองแร่ทองคำขององค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตร

             การทำเหมืองแร่ทองคำขององค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตร เป็นการทำเหมืองโดยวิธี
เหมืองหาบ  (Open Pit) โดยเริ่มจากการปรับสภาพพื้นที่โดยการใช้รถแทรกเตอร์ไถดันทำทาง
ขึ้นไปจนถึงบริเวณที่จะเริ่มเปิดทำการเหมือง  โดยเส้นทางจะมีลักษณะเป็นดินอัดแน่นจากนั้น
ใช้รถแทรกเตอร์ไถดันเปลือกดินซึ่งเป็นดินที่มีแร่ทองคำปะปนอยู่ มีความหนาเฉลี่ยประมาณ  3  เมตร
 ต่อมาก็จะใช้รถ BACK HOE  รวมทั้งคนงานขุดตักดินปนแร่นำมาบดโดยใช้เครื่องโม่หินให้ละเอียด
โดยมีขนาดเล็กประมาณ  10  เมซ  หรือประมาณ  0.2  มิลลิเมตร  แล้วจึงบันทึกใส่ท้ายรถบรรทุก
10  ล้อ  เพื่อนำไปแต่งแร่นอกเขตประทานบัตร  ซึ่งได้เตรียมพื้นที่ไว้ประมาณ  50  ไร่  ซึ่งมีรั้วรอบขอบชิดสำหรับการแยกแร่ทองคำจำให้ราษฎรเป็นผู้ดำเนินการบรรจุดินหินปนแร่ ที่โม่ย่อย
ละเอียดแล้วจากกองวัสดุแร่ใส่ถุงด้วยตนเอง โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตรเรียกเก็บค่า ธรรมเนียมจากการให้บริการจากราษฎร ในอัตราถุงละ  40 บาทจากนั้นให้ราษฎรนำไปแยก
แร่ทองคำออกมา โดยแร่ทองคำที่ร่อนได้เป็นกรรมสิทธิของราษฎรที่จำจำหน่ายให้ กับผู้รับใบอนุญาตจากทรัพยากรธรณีประจำท้องที่แล้ว  โดยมีรายละเอียดประกอบการดำเนินการดังนี้

การคัดเลือกกลุ่มบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเข้าร่อนล้างเอาแร่

            องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตรได้ดำเนินการรับสมัครกลุ่มบุคคล/บุคคล  ระหว่างวันที่
6-20  ธันวาคม  2544  และได้ทำการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิคัดเลือก  มีจำนวนทั้งสิ้น  
5,778  คน  แยกเป็น  

           1.  คนจังหวัดพิจิตร  จำนวน  4,602   คน     
           2.  คนต่างจังหวัด    จำนวน  1,176   คน
               เนื่องจากมีพื้นที่จำกัดจึงแบ่งเป็น  7  กลุ่ม  โดยแต่ละกลุ่มเข้าร่อนแร่กลุ่มละ  5  วัน  
ตั้งแต่วันจันทร์ ถึง วันศุกร์  ทุกสัปดาห์หมุนเวียนกันไป

ขั้นตอนและวิธีการล้างเอาแร่

        1.  กลุ่มบุคคล/บุคคล  จะต้องตรวจสอบประกาศผลการคัดเลือกและจัด
ลำดับกลุ่มบุคคล/บุคคล ตามที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ประกาศไว้  โดยเข้าร่อนล้างเอาแร่ 
 ได้เฉพาะวันที่กำหนดเท่านั้น
        2.  การเข้าร่อนแร่จะต้องนำบัตรประจำตัวผู้ร่อนแร่และบัตรคิว(บัตรจัดลำดับ) ที่ออกโดยองค์การ บริหารส่วนจังหวัดมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ที่ฝ่ายบริหารงานบุคคล
        3.  เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้ว ให้หัวหนากลุ่มนำบัตรประจำตัวผู้ร่อนแร่และบัตรคิว  ไปชำระเงินค่าธรรมเนียมให้การบริการวัสดุแร่ที่ฝ่ายรับ  -  จ่ายเงิน  โดยจะขอรับบริการวัสดุแร่ได้ไม่เกิน
จำนวนสมาชิกในกลุ่ม  สำหรับผู้มีสิทธิร่อนแร่แบบกลุ่มบุคคล  กำหนดไม่เกินวันละ  10  ถุงต่อวัน  และจะขอรับบริการได้เพียงวันละครั้งเดียวเท่านั้น  ราคาค่าธรรมเนียมวัสดุแร่ถุงละ  40  บาทเมื่อชำระ
ค่าธรรมเนียมแล้ว  เจ้าหน้าที่จะมอบตั๋วให้  ตั๋วจะมี  2  ส่วน  ส่วนแร่ให้ผู้ร่อนล้างแร่เก็บไว้  ส่วนที่  2  ให้นำไปขอรับถุงบรรจุแร่ 
        ในกรณีเป็นแบบรายบุคคลให้ดำเนินการในลักษณะเดียวกับแบบกลุ่มบุคคล  แต่จะรับวัสดุแร่ได้
คนละไม่เกิน  8  ถุง  ต่อวัน
        4.  เมื่อรับถุงบรรจุวัสดุแร่แล้วจะต้องทำการบรรจุแร่ด้วยตัวเอง  และกองวัสดุแร่ภายในสถานที่
แต่งแร่จะบรรจุได้ตามจำนวนตั๋ว  ในการนี้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจะเตรียมอุปกรณ์เช่น  พลั่ว  รถเข็น 
และเชือก  ไว้บริการ
       5.  เมื่อบรรจุวัสดุแร่แล้วให้รากเข็ญไปที่คลองร่อนแร่ภายในโรงแต่งแร่  โดยใช้เลียงร่อนแร่ซึ่งต้อง
นำมาเอง  แร่ทองคำที่ได้จะเป็นกรรมสิทธิของผู้มีสิทธิร่อนได้  โดยจะขายหรือไม่ขายก็ได้    ถ้าขายต้องขายให้ร้านรับซื้อแร่ที่จดทะเบียนเป็นผู้รับซื้อแร่ฯกับทรัพยากรธรณีประจำท้องที่  
       6.  การร่อนล้างเอาแร่ฯ  จะต้องทำให้เสร็จในแต่ละวันหากไม่เสร็จไม่อนุญาตให้นำวัสดุแร่ที่เหลือ
ออกนอกบริเวณสถานที่แต่งแร่  วัสดุแร่ที่เหลือให้ตกเป็นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตรเท่านั้น  
       7.  ผู้มีสิทธิร่อนล้างเอาแร่  จะต้องเข้าทำการร่อนล้างเอาแร่ด้วยตนเองเท่านั้น  จะให้ผู้อื่นมา
ใช้สิทธิแทนตัวเองไม่ได้

ความปลอดภัยในการทำงาน

      องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตรตระหนักดีว่าเจ้าหน้าที่และราษฎรทุกคนที่เข้ามาอยู่ในเขต
ประทานบัตรและเขตแต่งแร่  ของโครงการ  จะต้องมีความปลอดภัยในการทำงาน  การทำเหมือง
และการแต่งแร่ จึงเปิดทำการเฉพาะเวลากลางวันเท่านั้นโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตร
จะดำเนินการตามมาตรการและเงื่อนไขเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำเหมืองโดยเคร่งครัด

มาตรการป้องกันแก้ไขและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม 

                         ในการทำเหมืองแร่ทองคำเขาพนมพา   องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตรได้ให้ความสำคัญต่อการดูแลรักษา สิ่งแวดล้อมโดยรวม  โดยได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมซึ่งได้รับความเห็นชอบต่อสำนักงานนโยบายและ
แผนสิ่งแวดล้อม  ให้นำมาใช้ในการทำเหมืองแร่ตั้งแต่วันที่  1  กุมภาพันธ์  2544 ซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตรในฐานะเจ้าของประทานบัตร จะได้นำมาตรการและเงื่อนไขดังกล่าว  มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ  ในการทำเหมืองแร่ทองคำเขาพนมพาต่อไป

สรุป

                องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตรคาดว่า  จากแนวทางในการดำเนินกิจการเหมืองแร่ทองคำขององค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตร  ที่มีวัตถุประสงค์ให้ราษฎรเข้ามามีส่วนร่วมในการทำเหมือง  โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตรมิได้
มุ่งหวังกำไลในเชิงพาณิชย์  จะเป็นการกระจายรายได้ให้กับพี่น้องประชาชนในจังหวัดพิจิตรและต่างจังหวัด  อีกทั้งจะสามารถแก้ไขปัญหาการบาดเจ็บล้มตาย การกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายของพี่น้องประชาชน
และลดผลกระทบด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยรวมของจังหวัดพิจิตรให้บรรเทาเบาบาง
และหมดสิ้นไปในที่สุด

 

นายสันติ ดวงสว่าง

            นายจเร ภู่ทอง ใช้นามสกุลของคุณปู่ซึ่งเสียชีวิตนานแล้ว เป็นชื่อจริงของผม ผมเกิดวันที่ 10 มกราคม 2511 เป็นบุตรของนายประสิทธิ์ นางวรรณา ศรีประเสริฐ  อยู่บ้านเลขที่ 29 หมู่ที่ 6 ตำบลท่าเยี่ยม กิ่งอำเภอสากเหล็ก จังหวัด
พิจิตร พ่อแม่มีอาชีพทำนา และแม่เดิมทีเป็นช่าง-เสริมสวย ปัจจุบันค้าขายเลิกจากการทำนาผมเป็นเด็กชอบร้องเพลงมากๆ
ใครจ้างร้อง 5-10 บาทจะรับร้องไม่เกี่ยงราคาพ่อแม่เห็นว่าผมชอบเสียงเพลงและพอมีพรสวรรค์อยู่บ้าง
จึงคิดว่าน่าจะเป็นอาชีพได้ จึงพากระผมสมัครร้องตามเวทีต่างๆ งานวัดบ้าง เวทีเล็ก เวทีใหญ่ สถานที่ต่างๆ ตามตำบล หรือต่างจังหวัด กระผมจะรับรางวัลชนะเลิศทุกครั้ง ครั้งสุดท้าย พ่อแอ๊ด เทวดา ได้ฟังเสียงแล้วชอบใจมาก จึงขอไปอยู่ด้วยและอัดเพลงให้เป็นครั้งแรก และเปลี่ยนชื่อจาก จเร สากเหล็ก เป็น กำธร เทวดา ตอนนั้นอายุได้ 9 – 10 ปี เพลงที่ร้องครั้งแรก ที่พอจะจำชื่อได้ คือเพลง “จูบกันทำไม” “ขอบคุณโฆษก” “แม่จ๋าพ่ออยู่ไหน” และอีกหลายเพลงแต่จำไม่ได้ ตอนนั้นคนเริ่มรู้จักผม ในนามกำธร เทวดา ความยังเป็นเด็กของกระผม ไม่รู้จักรับผิดชอบใดๆ ชอบสนุก ชอบหาประสบการณ์ ตามเพื่อนบ้าง กลับบ้านมาเลี้ยงควายต่อ ช่วยพ่อแม่ทำนาตามเดิม อีก 2 – 3 ปีต่อมา รู้สึกว่าการทำนามันเหนื่อยมาก จึงตามเพื่อนเข้ากรุงเทพ ไปสมัครร้องเพลงอีก จากรอบสัปดาห์ รอบเดือน ผมชนะหมด จะรอบปีก็จะถึงอยู่แล้ว บังเอิญไม่ได้ร้อง เพราะมีแมวมองหลายคนสนใจผมมาก มาขอตัวผมไปสร้าง ผมอยากไปแต่กลัวถูกหลอก จนมาวันหนึ่ง มีคนๆหนึ่ง ซึ่งชื่อ อามนต์ เมืองเหนือ ได้มาพบผม และเป็นคนจังหวัดเดียวกันอยู่ ต.ทับคล้อ บอกว่าเอ็งต้องดัง ข้าจะปั้นเอง ผมก็ตกลงไปอยู่กับท่านที่บริษัท สมกับที่ฝันไว้จริง ๆ ส่วนลึกในหัวใจของผม ผมเป็นคนร่าเริง ชอบพูดตรงๆ ตลกนิดๆ ชอบสนุก เปิดใจกว้าง มีความกตัญญู ชอบคบเพื่อน ซื่อสัตย์และรักคุณธรรมถึงอย่างไรก็ตาม ความดี ความชอบ ของกระผม กระผมขอมอบไว้ – ให้กับ จังหวัดพิจิตร ของเรา ตราบเท่าคนไทยยังเป็นไทย ครับ – ผม