djai - home
djai
Desktop Jumpstation Accessing Internet
หน้าหลัก djai
หน้าหลัก คิดนอกกล่อง
เอ๊! ปรับเวลาเร็วขึ้น 1 ชม.ดีมั้ยนะ?
Michael Porter บรรยาย 1 วัน ครึ่ง กับค่าตัว 45 ล้านบาท
think out of the box

* ประวัติและเหตุผลของการประหยัดพลังงานโดยการพลังงาน California
* เทียบเวลามาตรฐานโลก
เอ๊! ปรับเวลาเร็วขึ้น 1 ชม.ดีไหมนะ?

ในฐานะที่เป็นคนหนึ่งที่มีโอกาสอยู่ในประเทศที่เขามีการปรับเวลากัน จึงได้รับความรู้สึกนั้นและอยากเล่าสู่กันฟังว่าเป็นอย่างไร เริ่มกันที่พื้นฐานก่อน ชีวิตการเป็นอยู่ของฝรั่งเมื่อกลับถึงบ้านต่างคนต่างเข้าบ้าน บ้านใครบ้านมัน เพื่อนบ้านกันไม่ค่อยจะได้ก้าวก่ายชีวิตส่วนตัวของกันและกันสักเท่าไร ส่วนคุณภาพชีวิตนั้นสูงข้าวของเครื่องใช้ล้วนแล้วแต่เป็นของมีคุณภาพ ทำอะไรก็คำนึงถึงประโยชน์ของทุกคนอย่างเท่าเทียม ชีวิตความเป็นอยู่ถูกออกแบบให้ได้รับความสะดวกสบายสูงสุด ทำอะไรก็ต้องออกเสียงเป็นประชาธิปไตย นี่เป็นพื้นฐานของความคิดของเขา

ในฤดูหนาวนั้นกลางวันจะมีเวลาสั้นกว่ากลางคืน พูดง่ายๆ เช้าช้าแต่มืดเร็ว เขตที่ได้ไปอยู่ 7 โมงเช้าถึงจะเริ่มสว่าง แต่พอ 4 โมงเย็นก็มืดแล้ว เวลาที่ใช้เป็นตัวยืนคือเวลาของฤดูหนาว สมมติว่าคุณมองดูนาฬิกาตอน 7 โมงเช้าในหน้าหนาว แล้วลองเปรียบเทียบดูกับแสงสว่างข้างนอก ถ้ามันเริ่มสว่างเหมาะสมดีก็ถือว่าใช้ได้ หน้าหนาวตอนหลังเลิกงานใครๆก็รีบกลับบ้านกัน เพราะมันมืดเร็ว ขับรถแล้วอันตรายถ้าหิมะตก กลับบ้านไปผิงไฟจิบไวน์หน้าทีวีดีกว่า เพราะที่บ้านมีความสะดวกสบายครบครัน

ส่วนในฤดูร้อนตรงกันข้ามกับฤดูหนาว เวลากลางวันยาวกว่ากลางคืน เช้าเร็วมืดช้า ตี 5 ครึ่ง ก็เช้าแล้ว ส่วน 2 ทุ่ม จะเรียกว่าเป็นเวลาโพล้เพล้ก็พอจะได้ ที่นี้เขาก็มีความคิดกันว่า "เอ๊ะ! ในเมื่อมันเช้าเร็วเราออกไปทำงานเร็วกันดีมั้ย จะได้เลิกงานเร็ว" ข้อดีของการเลิกงานเร็วก็คือการมีเวลาเป็นส่วนตัวมากขึ้น ใครใคร่สังสรรค์กับเพื่อนฝูงก็สังสรรค์ ใครใคร่อยู่กับครอบครัวก็อยู่กับครอบครัว ใครใคร่กินข้าวนอกบ้านก็กิน ทุกคนมีความคึกคักกระฉับกระเฉง เพราะมีเวลาเหลือเยอะแยะกว่าจะมืด และที่ว่ามีเวลาเหลือเยอะแยะเขาเลยเรียกการปรับเวลาในช่วงฤดูร้อนว่าเป็นช่วง Daylight saving เพราะสามารถประหยัดเวลาและเอามาใช้ส่วนตัวได้เยอะขึ้น ทีนี้มองกลับไปที่นาฬิกา สมมติว่าตอนนี้เป็นฤดูร้อน คุณก็ถอยเวลากลับ 1 ชั่วโมง จาก 7 โมงเช้า ตะกี้ก็ปรับเป็น 6 โมง ก็พบว่ามันพอดีกับที่พระอาทิตย์ขึ้นเร็ว ออกไปทำงานเร็ว ได้กลับบ้านเร็ว แต่มืดช้าและมีเวลาสนุกสนานกับชีวิตที่แสนจะสั้นนัก ที่เขาปรับเวลาเขาคำนึงจากคุณภาพชีวิตเป็นสำคัญ เพราะประเทศพัฒนาแล้วทำอะไรดูดีไปหมด ส่วนประเทศกำลังพัฒนาทำอะไรก็กลัว กลัวว่าที่ประกาศเวลาไปแล้วทั่วโลก +7,-7,+8,-8 คนอื่นจะไม่เข้าใจตรงกับเราบ้างหล่ะ สูญเสียทางเศรษฐกิจบ้างหล่ะ แต่จริงๆ แล้วเราก็ยังทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวันเหมือนเดิม productivity ไม่เพิ่มแต่ชีวิตมีความสุขขึ้น อ้ออีกอย่าง ถ้านักลงทุนต่างประเทศเห็นว่าตลาดหุ้นไทยเป็นตลาดที่น่าลงทุนมั่นคง ขี้คร้านจะนั่งเฝ้ารอให้ตลาดเปิดแล้วขนเงินมาลงทุนกัน

ในแง่อื่นอันนี้เป็นความเห็นส่วนตัว คนเราพอทำอะไรเหมือนกันทุกวันก็จะรู้สึกซ้ำซากจำเจ ต้องตื่นตี 5 ทุกวัน ก็ตื่นเสียจนเป็นกิจวัตร เวลาผ่านไปหลายปีก็เริ่มชาชิน เริ่มขี้เกียจ ถ้าได้ลองเปลี่ยนเวลาตื่นไปมาปีละหนน่าจะกระตุ้นอะไรบางอย่างได้ อันนี้ต้องถามความเห็นนักจิตวิทยาดู

ส่วนข้อเสียของการเปลี่ยนเวลาก็มีบ้าง ฝรั่งบางคนมาสายในวันแรกของปรับเวลาเร็วขึ้นหนึ่งชั่วโมง อ้างว่าลืมบ้าง ไม่ชินบ้าง ทั้งๆ ที่เขาพิมพ์กันเอาไว้ในปฏิทิน และ ทีวีก็ประกาศกันล่วงหน้า ผู้ประกาศข่าวก็ย้ำกันแล้วย้ำกันอีกเวลาอ่านข่าว และเอาคืนวันศุกร์เป็นคืนเริ่มต้นหมุนนาฬิกากลับไปมา เพื่อให้ปรับตัวในวันเสาร์, อาทิตย์ก่อนเริ่มงานในวันจันทร์

อย่างไรก็แล้วแต่ความคิดนี้มีมาตั้งแต่ปี 37 ทางปฏิบัติอาจสำเร็จหรือไม่สำเร็จก็ไม่รู้ ต้องรอคณะกรรมการศึกษาพิจารณาดูก่อน ถ้าเราได้ปรับเวลาเหมือนประเทศเพื่อนบ้านก็ดูไม่น่าเกลียดเพราะทำอะไรเหมือนๆเขา หรือไม่ปรับก็ดูไม่น่าเกลียดเพราะเราเป็นของเราอย่างนี้มานานแล้ว หรือเราจะปรับเวลาไปกลับปีละหนเพื่อสร้างความแตกต่างที่ภาษา Marketing เรียกว่า Product Differentiation แล้วก็กล้าๆประกาศให้ชาวโลกรู้และร่ำลือไปว่ามีประเทศเดียวเท่านั้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่คำนึงถึงคุณภาพชีวิตของประชาชนปรับเวลาให้คนมีความสุขกับชีวิตส่วนตัวอันแสนจะสั้นนัก ก็ไม่เลวนะ

vote us 108-1009.com Please!