บันทึกเกี่ยวกับ กระบวนพยุหยาตราชลมารคนั้น มีหลักฐานสืบเนื่องมา ตั้งแต่ ครั้งสมัยกรุงสุโขทัยได้มี การกล่าว ถึงการจัดริ้วขบวนเรือไป รับพระศรีศรัทธาราชจุฬามุนี ศรีรัตนลังกาทีปมหาสามีเป็นเจ้า หรือ มหาเถรศรีศรัทธา กลับ จากลังกา เมื่อครั้งแผ่นดินพญาลิไท หนังสือภาพ ริ้วกระบวนแห่พยุหยาตรา ชลมารค สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ถือเป็นหลักฐานสำคัญอีกชิ้นหนึ่ง ที่กล่าว ถึงกระบวนเรือพระราชพิธี ในสมัยอยุธยา ทั้งยังได้กลายเป็นตำราต้น แบบของ กระบวนพยุหยาตราในสมัยต่อๆมาอีกด้วย กระบวน พยุหยาตราในครั้งนั้น เป็นการ เสด็จฯถวายผ้าพระกฐินและทรงนมัสการพระพุทธบาทที่สมบูรณ์ด้วย ระเบียบ แบบแผน และสง่างามของเรือรบโบราณ โดยมีกระบวนม้า ถวายความอารัก ทั้งสองฝั่งอีกชั้นหนึ่ง นับเป็นกระบวนพยุหยาตราใหญ่ชลมารค ที่ไม่ปรากฏว่า มีกระบวนครั้งใดยิ่งใหญ่เท่าอีกเลย ในสมัย กรุงธนบุรี

นอกจากจะปรากฏในหมายรับสั่งให้จัดกระบวนเรือเพื่อการพระราชพิธีแล้ว ยังมี การสร้างเรือเพื่อการ สงครามขึ้นใหม่อีกด้วย กระบวนเรือครั้งสำคัญที่ ปรากฏใน แผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้แก่ การอัญเชิญ พระอัฐิสมเด็จพระพันปีหลวง กรมพระเทพามาตย์ และการอัญเชิญพระแก้วมรกต เมื่อ วันพฤหัสบดี แรม ๔ ค่ำเดือน๓ จุลศักราช ๑๑๔๑ ตามหมายรับสั่งเรื่อง
โปรดเกล้าฯให้ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ เสด็จขึ้นไปรับพระแก้วมรกต ที่จังหวัดสระบุรี ความว่า "....ครั้น ณ วันอังคารขึ้น๒ ค่ำเดือน ๔ เพลาเช้า ล้นเกล้าฯเสด็จฯ ขึ้นไปรับ พระแก้วมรกต ณ พระตำหนัก บางธรณี ครั้นเพลาบ่าย ๓ โมง ทรงฯให้แห่ลงมาพระนครธนบุรีเป็นเรือ ...เรือชักโขมดยา ดั้งลงมา ชักละครรำ ๓ รามัญรำ ๑ ปลายเชือก ๒ หลังสามป้าน ๔ ... กราบพระที่นั่งทรง ๑ แผง ๘ ...เรือพระเจ้าลูกเธอ ๒๓ ...กราบคู่แห่ชัก ๘๔ ..." รวมเรือบริวารอีกจำนวนหนึ่งเป็น ๒๔๖ ลำ
รรมเนียมเกี่ยวกับเรือพระราชพิธีได้ถูก สืบทอดมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ อันเป็นยุคสมัย แห่งการฟื้นฟู และสืบสานมาดกของชาติ จึงมีการสร้างเรือสำคัญตามแบบอย่างศิลปกรรม โบราณ และจัดกระบวนเรือตาม โบราณราชประเพณีอยู่เนืองๆนับแต่การเสด็จฯ ถวายพระกฐิน การเสด็จฯเลียบพระนคร และการรับ พระราชสาส์นในรัชกาลที่ ๑ ร
วมทั้งการเสด็จประพาสตาม แม่น้ำลำคลองในรัชกาลที่ ๔ การสร้างเรือพระราชพิธีขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ ๕ และ ๖ ภายหลังการสมโภช พระนคร ๑๕๐ ปี ในรัชกาลที่ ๗ กระบวนพยุหยาตราชลมารคก็ได้ห่างหายไป กระทั่งถึงรัชกาลปัจจุบัน จึงได้รับการฟื้นฟูขึ้นอีกครั้ง เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดกระบวน พยุหยาตราชลมารค เนื่องในวาระ ฉลอง ๒๐๐ ปีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในปีพุทธศักราช ๒๕๒๕ เป็นต้นมา จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์

พยุหยาตราชลมารค

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ปรากฏกระบวนพยุหยาตรา
ชลมารค ครั้งสำคัญ ดังต่อไปนี้

-กระบวนพยุหยาตราชลมารคเลียบพระนคร
-กระบวนพยุหยาตราชลมารคในงานสมโภชพระอาราม
-กระบวนพยุหยาตราชลมารคอัญเชิญพระอัฐิ
-กระบวนพยุหยาตราชลมารคในพระราชพิธีสมโภชพระนคร

การจัดริ้วกระบวน และระเบียบพิธี การเห่เรือ

ารเห่เรือคือการร้องเพลงเพื่อเป็นจังหวะในการพาย และเพื่อความเพลิดเพลินใน การายเรือ ดังที่สมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรง อธิบาย ถึงตำนานการเห่เรือ ว่ามีมูลเหตุมาแต่ การใช้ เรือเป็นพาหนะ โดยมีฝีพาย จำนวนมาก จึงต้องอาศัยเสียงเห่เรือเป็นสัญญาณในการพายให้เกิดความ พร้อม เพรียงกันการเห่เรือในกระบวนพยุหยาตราชลมารค หรือที่เรียกว่า "การเห่เรือหลวง" นี้ ทรง สันนิษฐานว่ามีต้นกำเนิดขึ้นโดยพวกพราหมณ์จากอินเดีย และบทเห่ที่ใช้ใน กระบวนเรือหลวง ก็สันนิษฐาน ว่าเป็นคำสวดของพราหมณ์ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ จึงนำบทเห่เรือเล่นมาใช้ในการเห่เรือหลวง ซึ่ง ลักษณะ บทประพันธ์เป็นบทร้อยกรอง ที่ประกอบด้วยโคลงสี่สุภาพ ๑ บทนำ กับมีบทร้อยกลอง เป็น กาพย์ยานี เป็นบทพรรณาตามอีกหลายบท แต่สำหรับการเห่เรือเล่น เป็นการเล่นอย่างหนึ่งในฤดูน้ำหลาก เช่นเดียวกับ เพลงเรือและดอกสร้อยสักวา ซึ่งมีบทเห่เป็นกลอนสดที่มีเนื้อความสนุกสนาน บทเห่เรือ หรือ กาพย์เห่เรือ ที่ใช้สำหรับการเห่ในกระบวนพยุหยาตราชลมารค จึงถือได้ว่าเป็นศาสตร์แห่งภูมิปัญญา ทางภาษาของไทยอย่างหนึ่ง และเป็น องค์ประกอบสำคัญ ของกระบวนพยุหยาตราชลมารค ที่ได้รับสืบทอดเป็นมรดก อันสำตัญควบคู่ กันมา แต่โบราณ

าพย์เห่เรือที่ไพเราะเป็นที่รู้จักกัน
เป็นอย่างดีได้แก่ กาพย์เห่ชมกระบวน พยุหยาตราชลมารค และ ชมนก พระนิพนธ์ในเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ หรือ เจ้าฟ้ากุ้งพระโอรสในสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่ง กรุงศรีอยุธยา
กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวานพระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธ เลิศหล้านภาลัย กาพย์เห่ชมชายทะเลพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้น
รือพระที่นั่งและเรือสำคัญในริ้วกระบวนพยุหยาตราชลมารค เรือสำหรับการ พระราชพิธีในกระบวน พยุหยาตราชลมารคนั้น เดิมทีใช้เป็นเรือสำหรับการทำศึกสงครามลำเลียงกำลังพล และยุทโธปกรณ์ ตลอดจนเสบียงอาหาร และเป็นเรือรบจู่โจมทางแม่น้ำ เมื่อการสงครามในแม่น้ำ ห่างหายและหมดสิ้นไป ในที่สุด เรือรบโบราณเหล่านี้จึงกลายเป็นเรือพระราชพิธี สำหรับการเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำ และ การ พระราชพิธีสำคัญๆของพระมหากษัตริย์ไทยสืบมา การพระราชพิธีเสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐิน อันเป็นวาระ พิเศษแห่งปีกาญจนาภิเษก
ปัจจุบันเรือพระราชพิธีสำคัญทั้งหมด ๑๘ ลำด้วยกัน คือ
- เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
-เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช
-เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์
-เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙
-เรือเสือทะยานชลและเรือคำรณสินธ์
-เรือทองขวานฟ้าและเรือทองบ้าบิ่น
-เรือเอกชัยเหินหาวและเรือเอกชัยหลาวทอง
-เรือครุฑเหิรเห็จและเรือครุฑเตร็จไตรจักร
-เรือพาลีรั้งทวีป และเรือสุครีพครองเมือง
-เรือกระบี่ราญรอนราพณ์และเรือกระบี่ปราบเมืองมาร
-เรืออสูรวายุภักษ์และเรืออสูรปักษี

HOME

1