สังคมอยุธยา
ระบบสังคมอยุธยาเป็นแบบชนชั้นแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ
ชนชั้นสูงหรือมูลนาย ประกอบด้วย องค์พระมหากษัตริย์ ทรงมี พระราชอำนาจสูงสุดในฐานะองค์พระประมุข
ทรงเป็นเจ้าชีวิตเป็นเจ้าแผ่นดิน ระดับลองลงมาคือพระบรม วงศานุวงศ์ เจ้าเมือง
และ ขุนนาง ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ระหว่าง พระมหากษัตริย์กับชนชั้นล่าง หน้าที่ควบคุมไพร่พล
และ ทาส
พระพุทธรูปที่วัดไชยวัฒนาราม
(ภาซ้าย)
ไพร่นั้นคือพลเมืองสามัญ เป็นคนส่วนใหญ่ของสังคม ซึ่ง กฎหมายกำหนดให้ไพร่ต้องสังกัดมูลนายเป็นระบบควบคุม
กำลังคนของทางราชการไพร่ต้องถูกเกณฑ์ แรงงาน ทำราชการ ให้หลวงปีละ ๖ เดือน แต่หากไพร่คนใดไม่ต้องการ
จะถูก เกณฑ์ แรงงาน จะต้องจ่ายเงินหรือสิ่งของเพื่อทดแทน แรงงาน เรียกว่า ส่วยแรงงาน
ไพร่จะไม่มี เงินเดือน เป็นค่า ตอบแทน แต่ สิ่งที่ไพร่จะได้รับ คือการปกป้อง
คุ้มครองจาก มูลนาย ที่ตน สังกัด ส่วนทาส นั้นคือแรงงานของมูลนาย ตลอดชีวิต
อันสืบ เนื่องมาจาก เหตุผลทางด้านสงคราม ด้าน เศรษฐกิจ หรือการ สืบสายโลหิตทาสนั้น
จะถูกเลี้ยงดู โดย มูลนายไป ตลอด ชีวิต
เศรษฐกิจและการค้า
อาชีพหลักของชาวอยุธยาคือเกษตรกรรม โดยข้าวเป็นผลิตผลสำคัญผลิตได้มาก
เพียงพอ สำหรับ พลเมืองของ ประเทศ และ ยังเป็นสินค้าสำคัญ อย่างหนึ่งที่ชาวอยุธยาส่งออก
ไปยัง ตลาดโลก เนื่องจาก เป็นศูนย์กลางการค้าขาย ที่สำคัญของโลก ดังนั้นอยุธยาจึงมีรายได้จากการค้า
ทั้งจากการส่งสำเภา ไป ค้าขายกับต่างประเทศ และจากการเป็นพ่อค้าคนกลาง โดยทางราชสำนักตั้งพระคลังสินค้าขึ้นมาผูกขาด
สินค้าสำคัญบางประเภทซึ่งพ่อค้าต่างชาติ จะต้องซื้อขายกับราชสำนักเท่านั้น
การค้าขายต่างประเทศอยู่ภายใต้กรมพระคลัง มีออกยาศรีธรรมราช
เป็นผู้ควบคุมดูแล ในระยะแรก นั้นมีการแบ่งออกเป็น ๒ ฝ่ายคือกรมท่าขวาสังกัดออก
พระจุฬาราชมนตรีขุนนางแขก ซึ่งจะดูแลการค้า กับ โลกตะวันตก ส่วนกรมท่ากรมท่าซ้ายสังกัด
พระยา โชดึกราชเศรษฐีขุนนางจีนซี่งจะดูแลการ ค้าขายฝ่าย ตะวันออก ต่อมาในสมัยอยุธยาตอนปลาย
เมื่อมีชาว
ยุโรปเข้ามาติดต่อค้าขายมากขึ้น จึงเกิดมีกรมท่ากลางขึ้นมาอีกกรมหนึ่งมีขุนนางฝรั่งดูแล
พระมหากษัตริย์ และขุนนางมีสำเภาค้าขายกับ ต่างประเทศโดยส่วนมาก มีนายจีนรับจ้างเป็นนายเรือและลูกเรือ
สินค้า ส่งออกของอยุธยาคือผลิตผลทางการ เกษตร เครื่อง สังคโลก และผลิตผลจากป่า
เช่น งาช้าง หนังสัตว์ ไม้ เครื่องเทศ และ แร่ธาตุ เป็นต้น รายได้หลักของราชสำนัก
อีกส่วนหนึ่ง มาจากบรรณาการ ส่วย และ ภาษีอากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษีที่ค้าขายกับต่างประเทศ
ด้านการค้าภายในมีย่านการค้า และ ตลาด ใหญ่น้อยตั้งอยู่ทั้งในเมือง และนอกเมือง
ทำหน้าที่เป็น ศูนย์กลางแลกเปลี่ยนสินค้า
ตลาดในอยุธยามี ๒ ประเภท คือตลาดน้ำขนาดใหญ่มีอยู่ ๔
แห่ง และตลาดบก อีกราว ๗๒ แห่ง อยู่นอกเมือง ๓๒ แห่ง อยู่ในเมือง ๔๐ แห่ง ย่านการค้าและตลาดแหล่งนี้
มีทั้งตลาดขาย ของสดเช้าเย็น ตลาดขายสิ่งจำเป็นสำหรับสำหรับการดำรงชีวิต(ของชำ)
และสินค้าที่เป็น เอกลักษณ์ของย่าน ไม่เหมือน กับที่อื่น
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ อยุธยามีการติดต่อสัมพันธ์กับต่างชาติ
ทั้งประเทศเอเซีย ด้วยกัน และ ประเทศตะวันตก ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับประเทศเพื่อนบ้าน
ได้แก่พม่า มอญ ลาว ญวน และ มลายู ส่วนมาก เกี่ยวข้องกันทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจการค้า
ในฐานะบ้านพี่เมืองน้อง เครือญาติ หรือในฐานะเมืองประเทศราช ซึ่งบางครั้งก็ต้องทำสงคราม
เพื่อแย่งชิงความ เป็นใหญ่ เหนือแผ่นดิน ของกันและกัน
กรณีนี้ประเทศคู่สงครามของอยุธยา คือพม่าซึ่งปรากฎหลักฐานว่ามีการรบกันถึง
๒๔ ครั้ง ในเวลา
๒๓๐ ปี โดยมี มอญ และเชียงใหม่เป็นตัวแปรในฐานะรัฐกันชน
ความสัมพันธ์ กับประเทศในภูมิภาคเอเซียอื่นๆ เช่น จีนญี่ปุ่น
อินเดีย และ เปอร์เซีย มักจะเกี่ยวข้อง สัมพันธ์กันในด้านวัฒนธรรม และการค้าขาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวจีนและเปอร์เซีย ได้เข้ามารับราชการ ใน กรมคลัง ดูแลเรื่องการค้าขายกับต่างประเทศให้ราชสำนักอยุธยา
ในงานศิลปกรรมสมัยอยุธยา ก็มีอิทธิพลของศิลปะจีน อินเดีย และเปอร์เซีย ปรากฎให้
เห็นอยู่ไม่น้อย สำหรับประเทศตะวันตกนั้น อยุธยาติดต่อกับชาวโปรตุเกส เป็นชาติแรก
ในรัชกาลสมเด็จ พระรามาธิบดีที่ ๒ ในราวกลาง พุทธศตวรรษที่ ๒๑ หลังจากนั้น ก็ได้
มีชาวตะวันตกชาติอื่นๆตามเข้ามาได้แก่ สเปน ฮอลันดา อังกฤษ และ ฝรั่งเศส เป็นต้น
การเข้ามาอยุธยาของชาวตะวันตก มีจุดประสงค์มุ่งหมายเพื่อ ทำการค้าขาย และเผย
แพร่ คริสต์ศาสนาเป็นสำคัญแต่บางครั้งก็กระทบกระเทือนต่ออธิปไตย ของอยุธยาอยู่บ้าง
พระมหากษัตริย์อยุธยาทรงระมัดระวัง ในการดำเนินนโยบายการต่างประเทศ พระองค์ทรง
ผูกมิตรกับ ทุกชาติ ที่เข้ามาติดต่อ เพื่อให้มีการคานอำนาจซึ่งกันและกัน นอกจากผลดีด้านเศรษฐกิจแล้ว
การติดต่อ กับประเทศตะวันตก ทำให้อยุธยาได้เรียนรู้วิทยาการและเทคโนโลยี่สมัยใหม่
เป็นต้นว่าการทหาร การ สร้างป้อมและกำแพงเมืองอย่างยุโรป การ ใช้ปืนในการทำสงคราม
ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ การ ประปา และการ จัดสวน เป็นต้น โดยชาวตะวันตกบางกลุ่มได้เข้ามารับราชการรับใช้ราชสำนัก
เป็น ทหารอาสา เป็นทหารรับจ้าง เป็นราชองครักษ์และเป็นวิศวกร พระมหากษัตริย์ทรง
อนุญาติและ มอบ ที่ดินให้ชาวต่างชาติ ตั้งหมู่บ้าน ตั้งสถานีการค้า และ สร้างศาสนสถาน
เพื่อประกอบพิธี กรรมได้ อย่างอิสระ หมู่บ้านของชาวต่างชาติ ส่วนมาก ตั้งอยู่นอกตัวเมือง
มีเฉพาะชาว จีน ชาวฮินดู และแขก เพียงบางกลุ่มซึ่งมีความสัมพันธ์ ใกล้ชิดกับราชสำนักมาแต่เดิมเท่านั้น
ที่ทรงอนุญาติให้สร้าง บ้านเรือน อยู่ ภายในเมือง