ศาสนา
ศาสนาของของชาวพระนครศรีอยุธยา ศาสนาของชาวพระนครศรึอยุธยา
คือศาสนาพุทธแบบหินยาน แต่ศาสนาฮินดู อิสราม และคริสต์ ก็แพร่หลายอยู่ เช่นเดียวกัน
พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ พระศาสนา โดยพระองค์ทรงอนุญาติให้ มีการ
เผยแผ่ ลัทธิศาสนาในแผ่นดินของพระองค์อย่างเสรี รวมทั้งทรงให้อิสระต่อ ประชาชน
ชาวอยุธยาในการเลือกนับถือศาสนาด้วย
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีนั้นมีวัดที่สร้างในพระพุทธศาสนา
มากกว่า ๕๐๐ แห่ง
วัดนอกจากจะเป็น ที่ ประกอบศาสนกิจของพุทธศาสนิกชนแล้ว ยังเป็นศูนย์รวมด้านจิตใจของประชาชน
เป็นศูนย์กลาง ด้านการ ศึกษา เป็นศูนย์รวมด้าน ศิลปวิทยาการทุกแขนง ไม่ว่าจะเป็น
ด้าน สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม ประณีตศิลป์ และ วิจิตรศิลป์ เป็นต้น
พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ทุกพระองค์ทรงนับถือศาสนาพุทธ ดังนั้นพระราช
กรณียกิจของพระองค์ ในฐานะธรรมราชาคือการสร้าง การบูรณะปฎิสังขรณ์วัด และ ทำนุบำรุงพระ
พุทธศาสนา วัดที่เป็นหลักของบ้านเมือง ล้วนเป็นวัด ที่พระมหากษัตริย์ ทรงสร้างขึ้น
ส่วนวัดที่มี ความสำคัญ รองลงมา เป็นวัดราษฏร์คือวัดทีขุนนางพ่อค้า และ ประชาชน
สร้าง ขึ้น องค์ประกอบหลักของวัดมี ๒ ส่วน คือบริเวณ พุทธาวาส และ สังฆาวาส พุทธาวาส
ประกอบด้วย สิ่งสำคัญคือ เจดีย์ สร้าง เป็น ประธานของวัด มีโบสถ์ สำหรับ พระภิกษุสงฆ์
ประกอบสมณกิจ มีวิหาร สำหรับพุทธศาสนิกชน มาทำบุญฟังเทศน์ฟังธรรม มีเจดีย์และวิหารขนาดเล็กกว่า
สร้าง เป็นบริวาร จะมีมากหรือน้อย ขึ้นอยู่ กับพื้นที่ และความสำคัญ ของวัด แต่ละแห่ง
ส่วนสังฆาวาสคือที่อยู่ของพระสงฆ์ ดังนั้น สิ่งก่อ สร้าง สำคัญใน บริเวณนี้คือ
กุฎิ หอฉัน และ ศาลาการ เปรียญ ซึ่งมักจะสร้างด้วยไม้ จึงชำรุด หักพังไปแล้วส่วนมาก