ศิลปกรรมแห่งศรีรามเทพนครนั้นสามารถแบ่งเป็น ๒ ส่วนคือ
สถาปัตยกรรม และ ปฏิมากรรม
สถาปัตยกรรมของศรีรามเทพนครที่หลงเหลืออยู่มักจะเป็นสถูปเจดีย์ซึ่ง
นักประวัติศาสตร์ ศิลป์ ได้แบ่งออกเป็น ๖ แบบ
๑.เจดีย์แบบทวาราวดี 
๒.เจดีย์แปดเหลี่ยมมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป ๘ ทิศ  ๓.เจดีย์แปดเหลี่ยมองค์ระฆังกลม มีซุ้มตื้นๆหรือไม่มีซุ้ม ประดิษฐาน พระพุทธรูป ๔.เจดีย์ แบบอู่ทอง
๕.เจดีย์แบบหินยานลังกามีองค์ระฆังใหญ่และฐานเตี้ย ๖.เจดีย์ทรงระฆังอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมสูงมีช้างหรือสิงห์ล้อมรอบเจดีย์ ลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งที่สังเกตได้ชัดคือสถาปัตยกรรมของศรีรามเทพนคร นั้น จะมีเทคนิคการก่อสร้างโดยใช้อิฐ¢นาดใหญ่ก่อเรียงกันอย่างเป็นระเบียบ โดยไม่สอปูน แต่ใช้วัสดุพิเศษเชื่อมอิฐแต่ละก้อนเข้าด้วยกันอย่างแนบสนิทต่างกับ สถาปัตยกรรมสมัย กรุงศรีอยุธยาที่มักจะใช้วิธีการก่ออิฐถือปูนแบบธรรมดา
ท่านคงมีคำถามแล้วว่าอาณาจักรศรีรามเทพนครตั้งอยู่ที่ส่วนไหนของพระนครศรีอยุธยา
จากถนนสายเอเซีย บนเส้นทางหลักเข้าสู่เกาะเมืองอยุธยาในปัจจุบัน ท่านจะต้องเห็น เจดีย์องค์หนึ่งตั้งเป็นตะหง่านอยู่บนเกาะวงเวียนกลางถนนเจดีย์องค์นี้คือเจดีย์วัด
สามปลื้ม มื่อพิจารณาจากลักษณะของเจดีย์ที่มีสัดส่วน องค์ระฆังกลมยาวกว่าส่วน ฐานแปดเหลี่ยมและการก่ออิฐแบบไม่สอปูนจาก ช่องที่ผู้ บูรณÐได้เว้นเอาไว้ไม่ได้ฉาบปูนทับไปจนหมด เจดีย์วัด สามปลื้มนี้เป็นเจดีย์องค์หนึ่งของศรีรามเทพนครแน่นอน อันที่จริงแล้วเจดีย์องค์นี้น่าจะเป็นเจดีย์องค์หนึ่ง ภายในวัด โบราณ แต่ในช่วงการตัดถนนเข้าสู่เกาะเมือง ไม่ทราบว่า ทำไมต้องตัดผ่านวัดแห่งนี้  ซึ่งกาลนั้นเป็นการทำลาย โบราณสถานอย่างร้ายแรง อาจเป็นเพราะคนไทย ในยุคนั้น ไม่ค่อยเล็งเห็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมเท่าที่ควร เมื่ออ้อมวงเวียนซึ่งมีองค์เจดีย์วัดสามปลื้มตั้งอยู่ตรงกลางเลี้ยวขวาไปตามเส้นทาง ถนนแคบๆ แผนที่พระนครศรีอยุธยาแสดงที่ตั้งโบราณสถา¹ และวัดวาอารามต่างๆ (สำหรับแผนที่ใหญ่เปิดดูได้ที่นี่) ท่านก็จะ เข้าสู่
ภาพซ้ายเป็นภาพของพระวิหารหลัง
หนึ่งภายใน วัดมเหยงส์ เชื่อว่าวัดนี้เป็นวัด หนึ่งของกรุงอโยธยา
บริเวณทิศตะวันออก ของเกาะเมืองอยุธยาบริเวณ นี้เชื่อว่า เคยเป็นส่วนหนึ่งของศรีรามเทพนคร ในครั้งอดีต บริเวณนี้มีโบราณสถาน ที่สำคัญๆ ของศรีรามเทพนครอยู่หลายแห่งด้วยกัน ทำให้นักโบราณคดีบางท่านเชื่อว่า แถวๆน ี้แหละคือศูนย์กลางของศรีรามเทพนครตาม ข้อสันนิษฐานว่าบริเวณ ดังกล่าวเป็น ศูนย์กลางของศรีรามเทพนครก็ต้องมีพระราชวังหลวงเหลืออยู่เป็นแน่ แต่ลักษณะการ ก่อสร้างพระราชวังส่วนมากทำจากไม้ซึ่งยากที่จะหลงเหลือให้เห็นร่องรอย แต่เราก็ สามารถสืบค้นหาสถานที่ตั้งได้จากหลักฐานบันทึกใน พระราชพงศาวดารเหนือที่ระบุ ไว้ว่า
"ศักราชได้ ๓๑๑ ปีมะเส็ง เอกศก(พ.ศ. ๑๔๙๒) พระเจ้าหลวงได้ ราชสมบัติ ๙ ปี....จึงสั่งให้ยกวัง เป็น วัดเรียกว่า วัดเดิม แต่นั้นมา"
วัดเดิมหรือวัดอโยธยา นั้นอยู่ถัดจากวัดกุฏิดาวและวัดจักรวรรดิ์ ไปทางทิศเหนือ บนเส้นทางเดียวกับ
ภาพล่างเป็นภาพเจดีย์องค์ใหญ่ทรงระฆังที่วัดเดิม หรือ วัดอโยธยา ซึ่งเชื่อว่า บริเวณนี้เคยเป็นที่ตั้ง วังหลวง ในสมัยศรีรามเทพนคร   มีพระเจดีย์ใหญ่ทรงระฆัง ตั้งอยู่บนฐาน ทักษิณสูง ซึ่งบัดนี้มีรอยแยกแตกร้าว หลายแห่ง ด้วยมีอายุนานนับ ศตวรรษ ส่วนยอดเจดีย์นั้นหักหายไป แม้กระนั้น ก็มีความงดงามด้วยºริเวณองค์ระฆังกลม ทำเป็นรูปปูนปั้นรูปกลีบบัวลดหลั่นกันแปลกตากว่าเจดีย์องค์อื่นๆในพระนครศรีอยุธยา ที่เคยเห็นมา และน่าจะเป็นโบราณสถานเดียวของวังหลวงของศรีรามเทพนครที่เหลือ อยู่ในปัจจุบัน  เป็นอันว่าเราก็ได้พบสถานที่ตั้งของวังหลวงแห่งอโยธยาในยุคแรกแล้ว ที่เหลือก็คงต้องใช้จินตนาการกันหน่อยว่าเมื่อยกที่วังให้เป็นวัดแล้ว พระราชวังหลวง ย้ายไปอยู่ที่ไหน เราพบว่าบริเวณข้างวัดมเหยงค์ มีทุ่งกว้างในครั้งหนึ่ง น่าจะเคยเป็น วัดที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่ง

ภาพบนซ้ายเป็นภาพเจดีย์ประธานที่วัดมเหยงค์มีช้างล้อมรอบองค์เจดีย์ ส่วนภาพบนขวาเป็นภาพ เจดีย็วัดช้างที่ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรอโยธยาในอดีต

ของศรีรามเทพนครด้วยขนาดมหึมาของพระเจดีย์วัดช้าง (วัดโบราณที่ชาวบ้านมาตั้ง ชื่อในภายหลังและไม่ทราบ ความเป็นมา) พระเจดีย์เป็นทรงระฆังบน ฐานสี่เหลื่ยม อัน เป็นศิลปกรรม ของศรีรามเทพนครยุคสุดท้ายที่สูงล้ำค้ำฟ้ายืนหยัด เป็นประจักษ์ พยาน อยู่ แม้จะไร้หลักฐานทางเอกสารเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาที่จะใช้อ้างอิงถึงความสำคัญ
แต่เมื่อเจดีย์ประธานของวัดมีขนาดใหญ่โตโอฬาร จนอาจกล่าวได้ว่าใหญ่ที่สุดในบรรดาเจดีย์ทั้งหลายใน อยุธยาขนาดนี้แล้วยังจะบอกว่าเป็นแค่วัดธรรมดาๆ วัดหนึ่งก็คงจะไม่มีใครเชื่อเป็นแน่  แต่ชื่อวัดช้าง ออกจะดูธรรมดาไปหน่อยที่เรียกชื่อเช่นนี้ เพราะ ชาวบ้านบริเวณนั้นก็ไม่ทราบชื่อที่แท้จริงของวัดโบราณ แห่งนี้ เนื่องจากเป็นวัดเก่าแก่ที่รกร้างมานาน ชาวบ้านบางคน ก็บอกว่าเมื่อก่อนที่วัดนี้มีรูปปั้นช้าง ประดับอยู่ จึงเรียกว่าวัดช้างทำนองเดียวกันกับชื่อ วัดช้างล้อมวัดช้างล้ม
แต่ในปัจจุบันรูปปูนปั้นนี้ไม่หลงเหลือมากนัก ที่เหลือ อยู่เป็นเศษซากชิ้นส่วน ซึ่งบอกไม่ได้แน่ชัดว่าเป็นรูปช้างหรือรูปสิงห์
บริเวณผนังของส่วนฐานเจดีย์ ซึ่งแต่เดิมน่าจะเป็นแปดเหลี่ยมตามลักษณะของเจดีย์ ศรีรามเทพนครในยุคปลายนั้นถูกลักลอบขุดคุ้ยเจาะเป็นโพรง ขนาดใหญ่จนเห็นได้ถนัด ว่าเป็นเจดีย์ที่กลวงผนังด้านในมีการก่ออิฐแบบเรืยงเป็นระเบียบโดยไม่สอปูน อันเป็น เทคนิคเก่าแก่ที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยทวาราวดี
ที่ผ่านมาเป็นโบราณสถานของศรีรามเทพนครที่ยังคงสภาพรกร้าง ดังที่เคยเป็นมา แต่เดิมตั้งแต่เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา หรืออาจจะก่อนหน้านั้นแต่ในอาณาบริเวณเดียวกัน นี้ยังคงมีโบราณสถานของศรีรามเทพนครอีกส่วนหนึ่ง ที่ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ ในสมัยพระนครศรีอยุธยาคือวัดมเหยงค์ และ วัดกุฏิดาว ซึ่งมีข้อความในพระราช พงศาวดารเหนือระบุว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๑๘๕๒ วัดมเหยงค ซึ่งเป็นวัดขนาดใหญ่ วัดหนึ่งในแถบนี้นั้นตามพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ระบุว่าได้มีการ บูรณะปฏิสังขรณ์ในสมัยพระบรมราชาธิราช(เจ้าสามพระยา)ครั้งหนึ่ง และในสมัย พระเจ้าท้ายสระได้มีการบูรณะใหญ่อีกครั้งหนึ่ง พร้อมกันกับวัดกุฏิดาว จากหลักฐาน สิ่งก่อสร้างของวัดทั้งสองก็พอหลงเหลือร่องรอยของศิลปะศรีรามเทพนคร ซึ่งก็ได้แก่ เจดีย์ประธานของวัดมเหยงค์ ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงระฆังตั้งอยู่บนฐานระเบียง มีช้างปูนปั้น ล้อมรอบ ซึ่งเป็นลักษณะของเจดีย์ของพุทธศาสนาลังกาวงศ์และเจดีย์ประธาน ของ วัดกุฏิดาวก็มีรูปทรงเก่าแก่แบบของศรีเทพนครเช่นกัน นอกจากวัดวาอาราม ที่กล่าวมา ซึ่งกล่าวได้ว่าสร้างขึ้นอยู่ศรีรามเทพนครแล้ว ยังมีวัดใหญ่ชัยมงคล และ วัดพนัญเชิง โดยเฉพาะวัดพนัญเชิงมีหลักฐานว่าสร้างขึ้น ในสมัยของศรีรามเทพนครเช่นกัน โดยมี ข้อความระบุในพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐนิติ์ว่า "จุลศักราช ๖๘๖ (พ.ศ. ๑๘๖๗) แรกสถาปนาพระพุทธเจ้าพแนงเชิง"
ภาพซ้ายเป็นภาพพระประธาน
(หลวงพ่อวัดพนัญเชิง) วัดพนัญเชิง พระนครศรีอยุธยา

เราจะเดินทางต่อโดยข้ามไปยังเกาะ
เมืองอยุธยาเมื่อข้ามสะพานไปแล้วทาง
ฝั่ง ขวามือเราจะ เห็นเจดีย์วัด ขุนเมืองใจ อันเป็น เจดีย์ที่ตั้งอยู่ บนฐานสูงแบบเจดีย์ทวาราวดีก่อ อิฐไม่สอปูน   นักประวัติศาสตร ์ศิลป์เชื่อว่าเจดีย์รูปแบบของ ทวาราวดีตอน ปลายที่วัดขุนเมืองใจ นี้ต่อมา พัฒนาเป็นเจดีย์ รูปแบบที่วัดใหญ่ชัยมงคล

จากนั้นเราจะเลี้ยวขวาเข้าถนนชีกุนผ่านวัด มหาธาตุ วัดราชบูรณะ สำหรับวัดมหาธาตุ มีร่องรอยที่น่าจะเป็นไป ได้ว่าเคยเป็นวัดเก่าแก่
ของ ศรีรามเทพนครมาก่อน ด้วยพบชิ้นส่วน มากมายของพระพุทธรูปศิลาอันเป็นรูป แบบของ พระพุทธรูปในช่วงศรีรามเทพนครตอนกลาง ซึ่งรับอิทธิพลของอาณาจักรขอม ที่นิยมสร้าง พระพุทธรูปศิลา แต่พระพุทธรูปศิลาของคนไทย จะมีเทคนิค การสร้างที่พัฒนาขึ้นมาอีกขั้นคือนิยม แกะสลักหินเป็นชิ้นส่วนแล้วนำมาต่อเข้าด้วย
กันแทนที่จะสลักหินทั้งแท่งเดียวนัยว่าเพื่อประโยขน์ในการเคลื่อนย้ายพระพุทธรูปศิลา
ของ ศรีรามเทพนครนี้ แรกๆก็จะเป็นแบบขอม คือมีพระพักตร์สี่เหลี่ยม เคร่งเครียด ในสมาธิ
ภาพซ้ายเป็นภาพ พุทธรูปองค์หนึ่งที่วัด
พระมหาธาตุ พระนครศรีอยุธยา

ต่อมาจึงพัฒนาขึ้นเป็นแบบอู่ทอง ซึ่งจะดูอ่อนหวานขึ้น พระพุทธรูปแบบอู่ทองตอนปลายที่เรียกว่า พระหน้านาง นั้นได้ชื่อว่ามีลักษณะงดงามที่สุด  เมื่อผ่านวัดราชบูรณะมาก็
จะพบ กับวัดพลับพลาไชย ซึ่งตั้ง อยู่ริมถนน ทางซ้ายมือวัดนี้มี เจดีย์ ทรงระฆังกลมใหญ่มีฐาน เตี้ยอันเป็นเจดีย์แบบที่ ๕ ของ ศรีรามเทพนคร ตรงไป อีกเล็กน้อยก็จะพบวัดสุวรรณวาสที่มีเจดีย์แปดเหลี่ยม ที่ขนาบข้าง พระวิหาร ทั้งสอง ด้านเป็นเจดีย์เก่าแก่ถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ร่วม สมัยกับอาณาจักรหริภูญไชย

จากนั้นเราจะเลี้ยวซ้ายเข้าถนนอู่ทองเพื่อไปชมร่องรอย ของวัดที่เก่าแก่อีกแห่งหนึ่ง ของศรีรามเทพนครคือ วัดธรรมิกราช ซึ่งแต่เดิมวัดนี้มีชื่อว่า วัดมุขราช ปรากฏหลักฐานในพระราชพงศาวดารเหนือว่า "จุลศักราช ๔๒๗ (พ.ศ.๑๖๐๘)ปีมะเส็งสัปตศก พระยาธรรมิกราชพระราชบุตร พระเจ้าสายน้ำผึ้งได้เสวยพระราชสมบัติ มีช้างเผือกสองเชือก
สร้าง วัดมุขราช" วิหารขนาดยักษ์ ของวัดธรรมิกราชแต่เดิม เคยเป็น ที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปสำริด ศิลปะแบบอู่ทองตอนต้น ขนาด มหึมาที่ปัจจุบันเหลือแต่เพียงพระเศียรเก็บ ไว้ที่ พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาต ิเจ้าสามพระยา แค่ขนาดของพระเศียร ก็แสดงให้เห็นถึง วิทยาการอันก้าวหน้าในการหล่อสำริดของศรีรามเทพนครว่าสูงส่งเพียงไร
ภาพบนเป็นภาพภาพเศียรพระพุทธรูปที่พิพิธภัณฑ์สถาน
แห่งชาติเจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

หน้าวิหารปรากฏเจดีย์ทรงระฆังแปดเหลี่ยมตั้งอยู่บนฐานมีระเบียงเชิงบันได ทางขึ้นทำเป็นรูปพญานาค แผ่พังพาน และมีสิงห์ ปูนปั้นล้อมรอบฐาน สิงห์ที่ราย รอบอยู่นั้นมีลักษณะพิเศษคือหากมองดูเผินๆลวดลาย ประดับบนสิงห์แต่ละตัวจะ เหมือนกันแต่ จะพิจารณาให้ดีแล้วจะเห็นว่าแต่ละตัวมีลวดรายที่แตกต่างกันออกไป เป็นลักษณะเฉพาะตัว ออกจากวัด ธรรมิกราช

[HOME] BACK NEXT

1