ห้องสมุด (Library)
หมายถึง สถานที่รวบรวมสรรพวิชาการซึ่งได้บันทึกไว้ในหลายรูปแบบทั้งที่เป็น
สื่อสิ่งพิมพ์ วัสดุย่อส่วน สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างกว้างขวาง เป็นสถาบันที่มีความสำคัญต่อสังคม โดยมุ่งเสริมการเรียนรู้และความจรรโลงใจ ตามความต้อง การของผู้ใช้

วัตถุประสงค์ของห้องสมุด
1. เพื่อการศึกษา (Education) ห้องสมุดเป็นศูนย์กลางเพื่อบริการการศึกษา แก่ประชาชนโดยไม่เลือกเพศ วัย และ พื้นฐาน ความรู้
2. พื่อข่าวสารความรู้ (Information) ห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ วัสดุย่อส่วน และ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่ให้ความรู้ ข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง บริการข่าวสารที่ทันสมัยและตรงต่อความต้องการของ ผู้ใช้
3. เพื่อการค้นคว้าวิจัย (Research) ห้องสมุดเป็นศูนย์กลางของการค้นคว้าวิจัยในแขนงวิชาต่างๆ เพื่อความก้าวหน้าของวิทยาการสาขาวิชานั้นๆ
4. เพื่อความจรรโลงใจ (Inspiration) ห้องสมุดเป็นศูนย์กลางของการอ่านที่ให้ทั้งความรู้ และความเพลิดเพลิน ก่อให้เกิด แรงบันดาลใจในทางสร้างสรรค์สิ่งที่ดีแก่ชีวิต และสังคม
5. เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ (Recreation) ใช้เวลาว่างในการอ่านเพื่อความเพลิดเพลิน
ความสำคัญของห้องสมุด
1. เป็นสถานที่เพื่อรักษาและถ่ายทอดวัฒนธรรม ห้องสมุดเป็นแหล่งสะสมวิวัฒนาการของมนุษยชาติ ตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบัน
2. เป็นสถานที่เพื่อการศึกษา ค้นคว้าวิจัย
3. เป็นสถานที่สร้างเสริมความคิดสร้างสรรค์และความจรรโลงใจ
4. เป็นสถานที่ปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ห้องสมุดจะช่วยให้บุคคลสนใจในการอ่าน และรักการอ่านจนเป็นนิสัย
5. เป็นสถานที่ส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
6. เป็นสถานที่ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย เป็นการใช้สาธารณะสมบัติ ร่วมกันตามสิทธิของแต่ละบุคคล
ประเภทของห้องสมุด
ห้องสมุดประชาชน หมายถึง ห้องสมุดที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการแก่ประชาชน โดยไม่จำกัดเพศ วัย เชื้อชาติ ศาสนา และ พื้นความรู้ ให้บริการสารสนเทศครบทุกหมวดวิชา แตามความต้องการของท้องถิ่น
บทบาทและหน้าที่ของห้องสมุดประชาชน มี 3 ประเภท คือ
1.หน้าที่ทางการศึกษาห้องสมุดประชาชนเป็นแหล่งให้การศึกษานอกระบบโรงเรียน ทุกระดับการศึกษา
2.หน้าที่ทางวัฒนธรรมห้องสมุดประชาชนเป็นแหล่งสะสมมรดกทางปัญญาของมนุษย์ ที่ถ่ายทอดเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่น
3.หน้าที่ทางสังคมห้องสมุดประชาชนเป็นสถาบันสังคมมีหน้าที่แสวงหาข่าวสารข้อมูลที่มีประโยชน์มาบริการประชาชน

หอสมุดแห่งชาต
เป็นแหล่งค้นคว้าที่สำคัญระดับชาติ แต่ละประเทศจะมีหอสมุดแห่งชาติ เป็นศูนย์กลางของการศึกษา หาความรู้ และเป็นเครื่องหมายแสดงความเป็นอารยะของชาติ และให้บริการ ความรู้แก่ประชาชน ทั่วหน้าโดยไม่จำกัดเพศ วัย เชื้อชาติ ศาสนา และพื้นฐานความรู้ ให้บริการเช่นเดียวกับห้องสมุดประชาชน แต่ไม่อนุญาตให้ผู้ใช้ยืมหนังสือ เอกสาร สิ่งพิมพ์ และสื่อโสตทัศน์ ออกนอกห้องสมุด

บทบาทหน้าที่ของหอสมุดแห่งชาติ
1. ทำหน้าที่เป็นแหล่งรวมวรรณกรรมของชาติทุกรูปแบบ ได้แก่ ต้นฉบับตัวเขียน ตัวพิมพ์ และบันทึกในรูปของสื่อโสตทัศน์ ทุกประเภท เพื่อให้เป็นแหล่งศูนย์กลางของแหล่งความรู้ระดับชาติ
2. ทำหน้าที่รักษาสื่อความรู้ ความคิดของมนุษย์ โดยเฉพาะของคนในชาติ ทั้งนี้ เพราะสื่อความรู้ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ
3. ทำหน้าที่เป็นศูนย์บรรณานุกรมแห่งชาติ
4. ทำหน้าที่เผยแพร่และบริการสารสนเทศที่ได้รวบรวมไว้
5. ทำหน้าที่ออกเลขประจำหนังสือสากล ISBN และเลขประจำวารสารสากล ISSN สำหรับสิ่งพิมพ์ที่ผลิตภายในประเทศ

ห้องสมุดโรงเรียน หมายถึง ห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นในโรงเรียนหรือ สถานที่การศึกษาที่ต่ำกว่าระดับอุดมศึกษามีวัตถุประสงค์ ำคัญเพื่อให้เป็นศูนย์กลางของการเรียนของนักเรียน และการสอนของครู ห้องสมุดโรงเรียนจะจัดหาวัสดุตามหลักสูตรเพื่อให้บริการ แก่นักเรียน และครู ความสำคัญอีกอย่างคือ เป็นการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านของนักเรียน

ห้องสมุดเฉพาะ หมายถึง ห้องสมุดที่ตั้งขึ้นในหน่วยงานรัฐบาลสถาบันบริษัทสมาคมองค์การระหว่างประเทศ และอื่นๆ ให้บริการสนเทศเฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง และให้บริการแก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่มที่เป็นสมาชิกของหน่วยงานนั้น

ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย หมายถึง ห้องสมุดที่จัดตั้งในสถาบันระดับอุดมศึกษาเป็นสถานที่รวบรวมความรู้ต่างๆ ตามหลักสูตรที่สถาบันนั้นเปิดสอน เพื่อเป็นแหล่งความรู้แก่นักศึกษาและอาจารย์ และเพื่อประโยชน์ของการศึกษาค้นคว้า และวิจัย

บทบาทและหน้าที่ของห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย มี 3 ประการ ดังนี้
1. หน้าที่เพื่อการศึกษาและวิจัย
2. หน้าที่บริการชุมชน เช่น บริการการอ่าน บริการให้การศึกษาค้นคว้า และบริการเผยแพร่ความรู้แก่ชุมชน
3. หน้าที่การรักษาศิลปวัฒนธรรม ตัวอย่างห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย เช่น สำนักหอสมุดกลางมหาวิทยาลัยรามคำแหง สถาบันบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น

ศูนย์สารสนเทศ (Information center) คือองค์กรหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่คัดเลือกจัดหาวิเคราะห์จัดเก็บและให้บริการสารสนเทศเฉพาะด้านหรือสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งอย่างเจาะลึก โดยทั่วไปศูนย์สารสนเทศประกอบด้วย 3 ฝ่าย คือฝ่ายห้องสมุด ฝ่ายเอกสาร และฝ่ายจัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่

ประเภทของศูนย์สารสนเทศ
1. ศูนย์สารสนเทศในหน่วยงานรัฐ เช่น ศูนย์บริการเอกสารการวิจัยแห่งประเทศไทย ทำหน้าที่เป็นศูนย์เอกสารแห่งชาติ ในการติดตามเก็บรวมรวมและเผยแพร่สารสนเทศทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีศูนย์สารสนเทศสิทธิบัตรกรมวิทยาศาสตร์บริการเป็นต้น
2.ศูนย์สารสนเทศเอกชน จัดตั้งขึ้นโดยบริษัทเอกชนได้แก่ ศูนย์เอกสารบริษัทปูนซีเมนต์ไทย จะรวบรวมเอกสารและข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อบริษัทโดยตรง
3. ศูนย์สารสนเทศเฉพาะด้าน จัดตั้งขึ้นโดยสมาคม หรือองค์กรที่ให้คำปรึกษาหรือที่เกี่ยวข้องกับการผลิต หรือจัดการการผลิตเฉพาะด้าน ทำหน้าที่ในการรวบรวม วิเคราะห์จัดการประมวลผลข้อมูล และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์หรือ กิจการ เช่น ศูนย์สารสนเทศของบริษัทที่ให้คำปรึกษาด้าน วิศวกรรมศาสตร์ ด้านน้ำมันปิโตรเลียม ด้านการจัดทำบัญชีธุรกิจ เป็นต้น ศูนย์สารสนเทศของเอกชนบางแห่งอาจอนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้าใช้บริการได้เป็นรายๆไป
4. แหล่งสารสนเทศอื่นๆ เป็นศูนย์สารสนเทศที่รู้จักกันตามลักษณะของข้อมูล หรือทรัพยากรสารสนเทศที่จัดเก็บและให้บริการ อาจสะสมข้อมูลดิบเรื่องใดเรื่องหนึ่ง สารสนเทศที่รวบรวมอาจไม่ใช่ตัวเล่มหนังสือ แต่เป็นสารสนเทศที่ไม่มีการ พิมพ์เผยแพร่และหาได้ยากจากแหล่งสารเทศประเภทอื่น

ตัวอย่างศูนย์สารสนเทศในกลุ่มนี้
1. ศูนย์ข้อมูลพลังงานแห่งประเทศไทย กองนโยบายและวางแผนพลังงาน สำนักงานพลังงานแห่งชาติ ทำหน้าที่รวบรวม แลกเปลี่ยน และให้บริการข้อมูลด้านพลังงาน เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับน้ำมันและเชื้อเพลิงของประเทศไทย
2. ศูนย์บริการข้อมูลอุตสาหกรรมชนบท กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมให้บริการข้อมูลโดยมุ่งเน้นบริการ ผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมชนบทขนาดย่อมนอกจากนี้ยังจัดทำเอกสารแจ้งข้อมูลใหม่ๆ ให้ผู้ใช้บริการและเผยแพร่ทั่วไป
3. ศูนย์ข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล บริการนักวิจัยและผู้สนใจข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับสมุนไพร
4. ศูนย์ข้อมูลอาชญากรรม กองทะเบียนประวัติอาชญากร กรมตำรวจเก็บลายนิ้วมือของบุคคล แผนประทุษร้ายภาพถ่ายตำหนิรูปพรรณ
5. กองทะเบียนการวิจัยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ รวบรวมผลงานวิจัยตลอดทั้งผู้ทรงคุณวุฒิ
6. ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ ส่วนมากรวบรวมข้อมูลหรือสารสนเทศเฉพาะด้าน ในรูปของนามานุกรรม เพื่อให้บริการแนะนำหรือชี้แหล่งที่มีความรู้ที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ
7. หอจดหมายเหตุ เป็นหน่วยงานที่เก็บรวบรวมรักษาจดหมายเหตุ ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญของประเทศหรือของราชการหรือ หน่วยงาน เอกชนและบุคคลทั้งนี้เพื่อเป็นหลักฐานและให้ประโยชน์ในการอ้างอิงค้นคว้าวิจัย เช่นหอจดหมายเหตุ แห่งชาติ เป็นต้น
8.บริษัทค้าสารสนเทศมีทั้งบริษัทขนาดใหญ่ ขนาดเล็กทำหน้ารวบรวมวิเคราะห์ประมวลผลและจัดการสารสนเทศบริษัทเหล่านี้ มักขายข้อมูลของตนให้กับบริษัทที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการขายข้อมูลให้สมาชิกผู้ใช้อีกต่อหนึ่ง เช่น บริษัทDialog ซึ่งให้บริการข้อมูล ออนไลน์ บริษัทธุรกิจบริการ จัดประชุมสัมมนา เป็นต้น
9. สำนักข่าวของสถานทูต สถานทูตของทุกประเทศมีสำนักข่าวสารทำหน้าที่รวบรวม และเผยแพร่ข่าวสารให้ความรู้ และ ให้บริการ ตอบคำถามแนะนำแก่ผู้สนใจ นอกจากนี้ยังจัดพิมพ์เอกสารออกเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศของตน
10. พิพิธภัณฑ์ เป็นแหล่งสารสนเทศที่รวบรวมศิลปวัตถุ ที่มีคุณค่าต่อการศึกษาค้นคว้าของบุคคลทั่วไป

น่วยที่ 1ความสำคัญของห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้

ห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศ (30001601)


หน้าถัดไป

หน้าแรก
ห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้อื่นๆ
ข้อมูลสารสนเทศ
ระบบการจัดหมู่
เครื่องมือสืบค้น 1
เครื่องมือสืบค้น 2
สืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต
การเลือกใช้และการบันทึกข้อมูล
การนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า
ลิงค์ฐานข้อมูล
แบบทดสอบ
ใบความรู้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ห้องสมุดวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000
tanawanpong@yahoo.com