[ Map of Thailand ]
dp dmbc kk mp
"สวัสดีครับ มาหาใครครับ กรุณารอสักครู่ครับ เชิญครับ ขอบคุณครับ"
สำนักงาน
ผู้บังคับทหารอากาศดอนเมือง

ประวัติ , ผังการจัด

ทำไม? จึงเข้มงวดเรื่องทำบัตรผ่าน
การขอบัตรผ่านเข้า-ออก เขต ทอ.
การขับขี่ยานพาหนะในเขต ทอ.
กำหนดการปิด-เปิด ช่องทาง ทอ.
การขอใบอนุญาตประเภทบุคคล
การใช้ยานพาหนะในเขต บก.ทอ.
กฎ ระเบียบ แบบธรรมเนียมทหาร
ส.ค.ส. 2541 พระราชทานสู่ชาวไทย
กองทัพอากาศของท่าน
Royal Thai Air Force Day
งบประมาณ กองทัพไทย ปี 41
นโยบาย ทอ. ปีงบประมาณ 41
ข่าวสารในกิจการของทหารไทย
มาร์ชสี่เหล่า และเพลงปลุกใจ
การตรวจเยี่ยมสายวิทยาการ สห.
โครงการ สขว.ทอ.

โทรศัพท์ฉุกเฉิน ทอ.
แจ้งเหตุด่วน, เหตุร้าย 191
เพลิงไหม้ 192
รถพยาบาลฉุกเฉิน 194
อากาศยานอุบัติเหตุ 196
พัน.สห.ทอ. 2-2197 - 9
ศูนย์รวมข่าวดับเพลิง 2-2126,7
ศูนย์รับแจ้งเหตุ ทอ.ทุ่งสีกัน 3-0065
สถานีดับเพลิงย่อยทุ่งสีกัน 2-2129, 3-0083
ศูนย์โทรศัพท์กลาง ทอ. 523-6151, 523-6161


กรมช่างโยธาทหารอากาศ


Supreme Command Headqurters
,
Royal Thai Armed Forces"

กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง


การตรวจเยี่ยมสายวิทยาการเหล่าสารวัตรทหารอากาศ
กองบิน 46 กองพลบินที่ 3 บยอ. อำเภอเมืองพิษณุโลก

กองบิน 46 กองพลบินที่ 3 กองบัญชาการยุทธทางอากาศ ตั้งอยู่ติดตัวเมืองพิษณุโลกทางด้านทิศใต้
หมู่ที่ 7 ต.อรัญญิก อ.เมือง จ.พิษณุโลก มีพื้นที่ 3,412 ไร่ 1 งาน 66 ตารางวา ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2524
กองบิน 46 นับเป็นกองบินที่มีความสำคัญอีกแห่งหนึ่ง เนื่องมาจากเมื่อต้นป พ.ศ.2522 พล.อ.อ.
พะเนียง กานตรัตน์ ผบ.ทอ. ในสมัยนั้น ได้เล็งเห็นความสำคัญของการใช้กำลังทางอากาศสนับสนุนภารกิจ
ของหน่วยกำลังภาคพื้นในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายในเขตพื้นที่กองทัพภาคที่ 3 อย่างรวดเร็ว ฉับพลัน
ประหยัด กอปรกับเพื่อพัฒนาเสริมสร้างกำลังรบของ ทอ. ให้เข้มแข็งมากขึ้น จึงได้กำหนดนโยบายเมื่อเดือน
ก.พ.22 ให้พัฒนาฐานบินพิษณุโลกเป็นกองบินเลข 2 ตัว
ภารกิจกองบิน 46 มีหน้าที่เตรียมการและปฏิบัติการใช้กำลังทางอากาศ และการปฏิบัติการต่าง ๆ ดังนี้
  • - กองบิน 46 ฯ ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการฝึกอบรมนักบินลำเลียงขั้นต้น โดยมีวัตถุประสงค์
    ที่จะวางรากฐานการบินลำเลียง ในเรื่องการปฏิบัติการร่วมกัน (Crew Resource Management)
    การลำเลียงทางยุทธวิธี และการบินปฏิบัติกิจเฉพาะพิเศษต่าง ๆ ให้กับนักบินลำเลียงของ ทอ.
    ซึ่งสำเร็จจาก รร.การบินฯ นอกจากนี้ฝูงบิน 461 กองบิน 46 ยังได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติภารกิจ
    การบินลำเลียง การรับ-ส่งบุคคลสำคัญ ตลอดจนการปฏิบัติเฉพาะกิจอื่น ๆ อยู่เสมอ
  • - โครงการปฏิบัติการฝนหลวง ซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
    ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2496 และกองบิน 46 เข้าร่วมโครงการปฏิบัติการฝนหลวง ตั้งแต่ปี 2535
    โดยดัดแปร บ.ล.9 จำนวน 3 เครื่อง ออกปฏิบัติภารกิจฝนหลวงที่ กองบิน 41 จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ
    เดือน ก.ย.35 และปฏิบัติต่อเนื่องมาตลอด โดยเปลี่ยนฐานปฏิบัติการไปตามความเหมาะสม
นอกจากนี้ ทอ. ได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้ ผบ.บน.46 ฯ เป็นประธาน คณะกรรมการแผนกเรือยาว ทอ.
เพื่อบริหารงานในแผนกเรือยาว โดยกำหนดการฝึกซ้อมกีฬาเรือยาว และจัดส่งกีฬาเรือยาวเข้าร่วมการแข่งขัน
กีฬาเรือยาวประเพณีตามสนามต่าง ๆ และการแข่งขันกีฬากองทัพไทย กำลังพลประเภทนักกีฬาส่วนใหญ่เป็น
ทหารกองปรจำการของ พัน.อย.บน.46ฯ สำหรับผลการแข่งขันในปี 2539 ที่สำคัญได้แก่ ชนะเลิศได้รับถ้วย
พระราชทานสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในการแข่งขันเรือยาวประเพณี จ.พิจิตร ชนะเลิศได้รับ
ถ้วยพระราชทานของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในการแข่งขันเรือยาวประเพณี จ.อุบลราชธานี
ชนะเลิศได้รับถ้วยพระราชทานของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนารถฯ ในการแข่งขันเรือยาวชิงแชมป์
ประเทศไทย ประจำปี 39 ที่ จ.นครราชสีมา เป็นต้น

จังหวัดพิษณุโลก เป็นจังหวัดใหญ่ เป็นศูนย์กลางการคมนาคมระหว่างภาคกลางและภาคเหนือ สร้างเมื่อ ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 สมัยขอมมีอำนาจปกครองแถบนี้ พิษณุโลกเดิมชื่อเมืองสองแคว ตั้งอยู่บริเวณ วัดจุฬามณีในปัจจุบัน เหตุที่ชื่อเมืองสองแคว เพราะตั้งอยู่ระหว่างแควน่านกับลำน้ำแควน้อย ในสมัยสุโขทัย ครั้งสมเด็จพญาธรรมราชาลิไท ได้โปรดฯ ให้ย้ายเมืองสองแควมาตั้งอยู่ ณ ที่ปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. 1900 ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นพิษณุโลกในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชกาลของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เมื่อครั้งที่เสด็จ ขึ้นมาประทับที่เมืองสองแควตั้งแต่ พ.ศ. 2006 จนสิ้นรัชกาลในปี พ.ศ. 2031
สภาพภูมิศาสตร์ของจังหวัดพิษณุโลกอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง ลักษณะภูมิประเทศเป็น
ภูเขาและที่ราบสลับป่าไม้ มีเนื้อที่ 10,815.8 ตารางกิโลเมตร มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่าน 2 สายคือ แม่น้ำน่าน และแม่น้ำยม
คำขวัญประจำจังหวัดพิษณุโลก "พระพุทธชินราชงามเลิศ ถิ่นกำเนิดพระนเรศวร สองฝั่งน่านล้วนเรือนแพ หวานฉ่ำแท้กล้วยตาก ถ้ำและน้ำตกหลากตระการตา"
อาณาเขต
ทิศเหนือ
ทิศใต้
ทิศตะวันออก
ทิศตะวันตก

จดจังหวัดอุตรดิตถ์และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
จดจังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดเลย
จดจังหวัดสุโขทัย และกำแพงเพชร
จดจังหวัดพิจิตร
การปกครอง
จังหวัดพิษณุโลกแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ คือ อำเภอเมืองพิษณุโลก อำเภอวังทอง อำเภอพรหมพิราม อำเภอบางระกำ อำเภอบางกระทุ่ม อำเภอนครไทย อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอชาติตระการ อำเภอเนินมะปราง

การตรวจเยี่ยมสายวิทยาการเหล่าสารวัตรทหารอากาศ กองบิน 46 กองพลบินที่ 3 บยอ.


ผบ.ร้อย.ทสห.บน.46 พล.บ.3 พิษณุโลก นำข้าราชการรอรับการตรวจเยี่ยมจาก
น.อ.วรวิทย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รอง ผบ.ดม (2) เมื่อวันที่ 20 เม.ย.41


ด้านหน้า บก.ร้อย.ทสห.บน.46 พล.บ.3


เป็นธรรมเนียมเมื่อมาถึงเมืองพิษณุโลก ก็ต้องขอพรจาก "หลวงพ่อใหญ่"


ป้อมรักษาการณ์ สห. ที่ได้มาตรฐาน และสวยงาม


ช่องทางเข้าบ้านพักข้าราชการ บน.46 พล.บ.3 พิษณุโลก


ตรวจเยี่ยมสถานที่คุมขัง

สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดพิษณุโลก

ชมรูปภาพสถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ของจังหวัดพิษณุโลกที่สวยงาม

วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือ วัดใหญ่ เป็นวัดสำคัญที่สุดของจังหวัดพิษณุโลก ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ น่านฝั่งตะวันออกริมถนนพุทธบูชา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง เป็นวัดหลวงชั้นเอก "วรมหาวิหาร" ภายในวิหาร ของวัดเป็นที่ประดิษฐาน "พระพุทธชินราช" หรือที่ชาวเมืองพิษณุโลกเรียกว่า "หลวงพ่อใหญ่" ซึ่งเป็นพระพุทธ รูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ หล่อด้วยทองสำริดในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 ( พญาลิไท ) โปรดให้สร้าง ขึ้นพร้อมกับพระพุทธชินสีห์ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดสุทัศน์เทพวราราม และพระศรีศาสดาซึ่งประดิษ ฐานอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร
พุทธลักษณะของพระพุทธชินราชนั้นสวยงามมาก เส้นรอบนอกพระวรกายอ่อนช้อย พระขนงโก่ง พระเกตุมาลาเป็นเปลวเพลิง พระหัตถ์มีปลายนิ้วทั้งสี่เสมอกัน ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษเรียกว่า ทีฒงฺคฺลี ได้ รับการกล่าวขานว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในโลก มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและ
ชาวต่างประเทศมาชมและสักการะบูชาพระพุทธชินราชเป็นจำนวนมาก ทุก ๆ ปี จะมีงานนมัสการ
พระพุทธชินราช ในวันขึ้น 6 ค่ำ ถึงวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 3 (ประมาณปลายเดือนมกราคม) เรียกว่า "งานวัดใหญ่"

รูปหล่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภายในพระวิหารด้านซ้ายมือหลวงพ่อใหญ่
ทางเข้าพระวิหารด้านหน้ามีบานประตูขนาดใหญ่ ประดับมุขสวยงาม สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2299 เป็นฝีมือ ช่างหลวงสมัยอยุธยาตอนปลาย ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมโกศ
บริเวณหลังวิหารพระพุทธชินราช มีพระอัฎฐารสซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติสูง 18 ศอก
สร้างในสมัยเดียวกับพระพุทธชินราช ราว พ.ศ. 1800 เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหารใหญ่ แต่วิหารได้พังไป
จนหมดเหลือเพียงเสาที่ก่อด้วยศิลาแลงขนาดใหญ่ 3-4 ต้นเรียกว่า "เนินวิหารเก้าห้อง" ด้านหลังพระอัฏฐารส
เป็นพระปรางค์ประธาน สร้างแบบสมัยอยุธยาตอนต้น ฐานย่อเหลี่ยมไม้ยี่สิบสันนิษฐานว่าเดิมเป็นเจดีย์ทรง
พุ่มข้าวบินฑ์ (ดอกบัวตูม) ซึ่งถือว่าเป็นสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัยแท้ ต่อมาถูกแปลงให้เป็นพระปรางค์
ในสมัยอยุธยา นอกจากนี้ยังมี "พระเหลือ" ซึ่งพญาลิไทรับสั่งให้ช่างนำเศษทองสำริดที่เหลือจากการสร้าง
พระพุทธชินราชพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา มารวมกันหล่อพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดเล็ก และพระสาวกยืนอีก 2 องค์ ประดิษฐานในวิหารน้อย เรียกว่า "วิหารพระเหลือ"

ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตั้งอยู่ในบริเวณโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม ข้างศาลากลางจังหวัด เดิมคือ พระราชวังจันทน์ซึ่งเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภายในศาลประดิษฐานรูปหล่อ-ของพระองค์ขณะทรงหลั่งน้ำทักษิโณทก ประกาศอิสรภาพกรุงศรีอยุธยา กรม-ศิลปากร ดำเนินการสร้าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระ- บรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินเปิดศาลนี้เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2504 ทางจังหวัดพิษณุโลกจึงถือเอาวันที่ 25 มกราคม ของทุกปีเป็นวันจัดงานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ศาลนี้เป็นที่เคารพนับถือของชาวพิษณุโลก เป็นอย่างมาก นักท่องเที่ยวควรแวะชมและสักการะ

วัดราชบูรณะ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก ทางใต้ของวัดพระศรีมหาธาตุเล็กน้อย ตัวพระอุโบสถมีลักษณะพิเศษคือเศียรนาคที่ชายคาเป็นนาค 3 เศียร มีลักษณะอ่อนช้อยงดงาม พิจารณาดูตามชื่อแล้ว วัดราชบูรณะน่าจะเป็นวัดที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้าง เชื่อว่าเป็นสมัยสมเด็จพระบรม-ไตรโลกนาถ เนื่องจากทรงประทับอยู่ที่ เมืองพิษณุโลกถึง25 ปี และทรงมีบทบาททางบำรุงพระศาสนาที่พิษณุโลกมากที่สุด

เรือนแพ เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของจังหวัดพิษณุโลก บริเวณสองฝั่งแม่น้ำน่านในเขตอำเภอเมือง
พิษณุโลก มีเรือนแพตั้งเรียงรายไปตามลำน้ำจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ ชีวิตชาวแพเป็นชีวิตที่เรียบง่าย
นอกจากนี้บริเวณริมแม่น้ำน่านสองฝั่งด้านทิศตะวันตกของวัดราชบูรณะ มีร้านอาหารเป็นเรือนแพ
ริมน้ำและมีเรือท่องเที่ยวให้บริการท่องตามแม่น้ำน่าน ซึ่งจะออกเรือประมาณ 1700 น. มีอาหารบริการ


ห้องแสดงเครื่องใช้ในครัวเรือน ภายในพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน จ่าทวี

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าสิบเอก ดร.ทวี-พิมพ์ บุรณเขตต์ ตั้งอยู่ 26/43 ถนนวิสุทธิกษัตริย์ อำเภอเมือง
พิษณุโลก เป็นที่รวบรวมศิลปะพื้นบ้าน ตั้งแต่ชิ้นเล็ก ๆ จนถึงชิ้นใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักสาน เครื่องปั้น-
ดินเผา เครื่องใช้ในครัวโบราณ และเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ เช่น เครื่องวิดน้ำด้วยมือ เครื่องสีข้าว
เครื่องดักสัตว์ ตลอดจนเครื่องมือในการจับหนูและแมลงสาบ พิพิธภัณฑ์นี้เปิดให้เข้าชมทุกวันโดยไม่เก็บ
ค่าเข้าชม เปิดเวลา 8.30 น. ถึง 16.30 น. ปิดทุกวันจันทร์ โทร. (055) 212749, 258715


ห้องแสดงเครื่องมือจับสัตว์น้ำ ภายในพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน จ่าทวี

การเดินทางสู่จังหวัดพิษณุโลก
ทางรถยนต์
จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ถึงวังน้อยแล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเซีย) ผ่านอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท เข้านครสวรรค์ แล้วใช้เส้นทางสาย 117 ตรงสู่พิษณุโลก รวมระยะทาง 377 กิโลเมตร เป็นเส้นทางที่สะดวกที่สุด หรือจากสิงห์บุรี ใช้เส้นทางสายอินทร์บุรี- ตากฟ้า (ทางหลวงหมายเลข 11) จนถึงทางหลวงหมายเลข 12 (พิษณุโลก-หล่มสัก) ที่เขตอำเภอวังทอง เลี้ยวซ้ายไป อีก 17 กิโลเมตร เข้าสู่พิษณุโลกก็ได้ เส้นทางนี้จากกรุงเทพฯ ระยะทางประมาณ 450 กิโลเมตร หาก เดินทางจากจังหวัดตาก ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 12 ผ่านสุโขทัย เข้าพิษณุโลก ระยะทาง 138 กิโลเมตร และทางสายเดียวกันจากขอนแก่น 391 กิโลเมตร จากแยกเพชรบูรณ์-หล่มสัก มาพิษณุโลกระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตร เส้นทางนี้ผ่านแหล่งท่องเที่ยวสองข้างทางหลายแห่ง
ทางรถโดยสารประจำทาง
มีรถประจำทางระหว่างกรุงเทพฯ-พิษณุโลก-กรุงเทพฯ ทุกวันทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ จาก กรุงเทพฯ รถออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ (ตลาดหมอชิต) รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อที่ โทร. 2794484 - 7 (รถปรับอากาศ) และโทร 2710101-5 (รถธรรมดา) ที่พิษณุโลก รถออกจากสถานีขนส่งพิษณุโลก โทร.(055) 242430 ใช้เวลาการเดินทาง 4-5 ชั่วโมงครึ่ง
นอกจากนี้ยังมีรถ บขส. บริการระหว่างพิษณุโลกถึงจังหวัดต่างๆ คือ อุตรดิตถ์ แพร่ ลำปาง เชียงใหม่ สุโขทัย ตาก (แม่สอด) พิจิตร เพชรบูรณ์ และขอนแก่น ทุกวัน
ทางรถไฟ
มีรถวิ่งระหว่าง กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ประจำทุกวัน ติดต่อสอบถามรายละเอียด และกำหนดการ เดินทางได้ที่หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ โทร. 22370110, 2237020 และ สถานีรถไฟพิษณุโลก โทร. (055) 258005 รถด่วน รถเร็ว รถนอนและรถปรับอากาศ มีค่าธรรมเนียมเพิ่ม นอกจากนี้ยังมีรถด่วนพิเศษ (สปรินท์เตอร์)
ทางเครื่องบิน
บริษัทการบินไทย (สายในประเทศ) มีเครื่องบินโบอิ้ง 737 บินตรงระหว่างกรุงเทพฯ-พิษณุโลก เป็นประจำทุกวัน ๆ ละ 2 เที่ยว (วันจันทร์-อังคาร-พฤหัส-เสาร์ 3 เที่ยว) ใช้เวลาเดินทาง 50 นาที สำรองที่นั่งและซื้อบัตรโดยสารที่ บริษัท การบินไทย จำกัด (ในประเทศ) โทร. 280-0070, 280-0080 พิษณุโลก โทร. (055) 258020, 251671
เหตุด่วน, เหตุร้าย แง ศูนย์ควบคุมและสั่งการ พัน.สห.ทอ. โทร. 534-2117 - 9 ทอ. 2-2197 - 9
แจ้งเบาะแสแหล่งอบายมุข, ยาเสพติดให้โทษ, แหล่งการพนัน ผบ.พัน.สห.ทอ. โทร. 534-2113 โทรสาร. 523-7596
E-mail:dmbc4@ksc.th.com