เบื้องหลังการทดสอบ/การตรวจวินิจฉัยโรคทางห้องปฏิบัติการชันสูตร ตั้งแต่การได้รับตัวอย่างเลือด / ปัสสาวะ / สารคัดหลั่งต่างๆ
จนถึงการแปลผลการตรวจ
I ข่าวสารด้านสุขภาพอนามัย I ปัญหาและอาการของโรคต่างๆ I  สรีระ I   การดูแลสุขภาพและป้องกันโรค I ข่าวสารด้านสุขภาพอนามัย I ปัญหาและอาการของโรคต่างๆ I  สรีระ I   การดูแลสุขภาพและป้องกันโรค

cdlogo.gif (7928 bytes)
Healthcare & Diagnostic

winshop.jpg (4697 bytes)
HealthShop l ช็อปปิ้งเพื่อสุขภาพ


สนใจรับข่าวสารสุขภาพใหม่ๆ 
พร้อมประโยชน์อื่นๆ เชิญสมัครฟรี !

Home ] Up ] Bacteria ] fungal ] [ Parasit ]
ban3.jpg (13652 bytes)

 

Top                     banner23.gif (19683 bytes)
เนื่องจากพื้นที่ของเราอยู่ในเขตร้อน ซึ่งมีโรคหลายชนิดที่พบได้บ่อยจนเรียกว่าโรคประจำเขต "โรคเขตร้อน"
โรคเหล่านี้สร้างปัญหาและทำให้ถึงกับเสียชีวิตปีละเป็นจำนวนมาก    เราจึงควรมีความเข้าใจถึงโรคเหล่านี้
โรคเขตร้อนที่กล่าวนี้โดยรวมแล้วหมายถึง โรคที่เกี่ยวกับหนอนพยาธิ / โปรโตซัว / รวมถึงโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย / เชื้อไวรัสบางชนิด   แต่สำหรับหมวดนี้
เราจะเน้นแต่เรื่องของ หนอนพยาธิและโปรโตซัว   ส่วนในเรื่องของแบคทีเรีย และไวรัส สามารถติดตามได้ในหัวข้อ
โรคติดเชื้อ ต่อไป

Intestinal Protozoa
-Amoebae 

Entamoeba histolytica บิดชนิดมีตัว เอ็มตามีบา ฮีสโตไลติกา
Entamoeba coli เอ็มตามีบา โคไล
Endolimax nana เอ็นโดลิแมก นานา

Intestinal Flagellates

Giardia lamblia ไกอาร์เดีย แลมเบรีย
Trichomonas hominis ทริโคโมแนส โอมินีส
Trichomonas vaginalis ทริโคโมแนส วาจินาลิส

Blood and tissue Parasites

Malaria มาลาเรีย อาศัยในเซลเม็ดเลือด
Trypanosome ทริฟาโนโซม อาศัยในเลือดนอกเซลเม็ดเลือด
Microfilaria  Wuchereria bancrofti ไมโครฟิลาเรีย วูวเชอร์เรีย แบนครอฟไท โรคเท้าช้าง

พยาธิ์ตัวกลม Nematodes

Ascaris lumbricoides พยาธิ์ไส้เดือน แอสคารีส แลมบริคอยดีส
Trichuris trichiura พยาธิ์แส้ม้า ทริชูริส ไตรไชยูร่า
Enterobius vermicularis พยาธิ์เส้นด้าย เอ็นเทอโรเบียส เวอร์มิคูราลิส
Ancylostoma duodenale พยาธิ์ปากขอ แองไซโลสโตรม่า ดูโอดินาเล่
Necator americanus พยาธิ์ปากขอ นีคาเตอร์ อเมริคานัส
Strongyloides stercoralis สตรองไจรอยดีส สเตอร์โคราลิส

พยาธิ์ตัวแบน Cestodes

Taenia saginata ตืดวัว  ทีเนีย ซาจินาต้า
Taenia solium ตืดหมู ทีเนีย โซเลียม
Diphylobothrium latum  ตืดปลา ไดไฟโลโบเตรียม ลาตัม
Dipylidium caninum ตืดสุนัข ไดไพลิเดียม คานินัม

 
พยาธิ์ใบไม้   Trematodes

Schistosoma masoni พยาธิ์ใบไม้ในเลือด ชิสโตโซม่า แมนโซไน
Schistosoma haematobium พยาธิ์ใบในไม้เลือด    ชิสโตโซม่า ฮีมาโตเบียม
Schistosoma japonicum พยาธิ์ใบไม้ในเลือด ชิสโตโซม่า จาปอนนิคุม
Fasciola hepatica พยาธิ์ใบไม้ในตับ ฟาซิโอล่า เฮปาติกา
Fasciola buski พยาธิ์ใบไม้ในตับ ฟาซิโอล่า บัสไก
Clonorchis sinensis พยาธิ์ใบไม้ในตับ โครนอร์ชิส ไซเนนซิส
Paragoninus westermani พยาธิ์ใบไม้ในปอด  พาราโกนิมัส เวสเตอแมนไน

bar5.jpg (6486 bytes)

รายละเอียดของโรคเขตร้อน หนอนพยาธิ/โปรโตซัว

ascarl.jpg (2877 bytes)    ภาพไข่ของพยาธิ์ตัวกลม Ascaris lumbricoides (แอสคารีส ลัมบิคอยดีส์)
   ที่ปล่อยมาจากตัวพยาธิ์ที่โตเต็มวัย ปนออกมากับอุจจาระ
ascarl1.jpg (10551 bytes)   กลุ่มพยาธิ์ตัวกลม Nematode
   ภาพโตเต็มวัยของพยาธิ์ตัวกลม Ascaris lumbricoides (แอสคารีส ลัมบิคอยดีส์)
   ที่อาศัยพบได้บริเวณลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ บางครั้งพบได้ที่ม้าม/ตับอ่อน
   ขนาดตัวโตเต็มวัย ยาว 25-35 ซ.ม. ตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย
hook.jpg (7873 bytes)     ภาพไข่ของพยาธิ์ปากขอ Necator americanus ( นีคาเตอร์ อเมริคานัส)
    ที่ปนออกมากับอุจจาระ   เมื่อไข่ถูกปล่อยออกมาบนพื้นที่มีความชื้นที่
    เหมาะสม พบได้ตามสวน ตามไร่   และการถ่ายไม่ถูกสุขอนามัย ไม่ถ่ายในส้วม
    ไข่จะฟักตัวออกมาเป็นตัวอ่อน และแฝงตัวอาศัยตามพื้นดิน 
    เมื่อผู้คนเดินมาย่ำบริเวณที่ตัวอ่อนอาศัยอยู่ โดยแบบเท้าเปล่า ไม่ได้สวมรองเท้า ตัวอ่อน
   จะติดมาบนเท้า แล้วจะเริ่มไชเข้าสู่ร่างกายผ่านบริเวณง่ามเท้า (หนังอ่อนที่สุด)
   จะรู้สึกคันบริเวณง่ามเท้าในขณะนั้น   เมื่อเข้าสู่ร่างกายก็จะไชไปตามร่างกายสุดท้าย
   จะมาอยู่ที่บริเวรลำไส้เล็ก และเกาะดูดเลือดต่อไป
hook1.jpg (11359 bytes)   กลุ่มพยาธิ์ตัวกลม Nematode
   ภาพตัวโตเต็มวัยของพยาธิ์ปากขอ Necator americanus ( นีคาเตอร์ อเมริคานัส)
    จากภาพแสดงให้เห็นส่วนหัวประกอบด้วยเขี้ยวไว้สำหรับยึดเกาะกับผนัง
    ลำไส้เพื่อดูดเลือดอยู่ตลอดเวลา   ตัวแก่จะปล่อยไข่ซึ่งปนเปื้อนออกมากับอุจจาระ
trichu.jpg (8398 bytes)     ภาพไข่ของพยาธิ์แส้ม้า Trichuris trichiura ( ไตรชูรีส ไตรไชยูร่า ) ลักษณะ
    ส่วนหัวท้ายเรียวเล็กลง คล้ายลูกรับบี้ ที่ปนออกมากับอุจจาระ  
trichu1.jpg (10190 bytes)    กลุ่มพยาธิ์ตัวกลม Nematode
  ภาพตัวโตเต็มวัยของพยาธิ์แส้ม้า Trichuris trichiura ( ไตรชูรีส ไตรไชยูร่า ) โดย
   มีส่วนหางเป็นเส้นเรียวยาว ที่พักอาศัยบริเวณลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่
trichu2.jpg (11640 bytes)   ลักษณะพยาธิสภาพของกล้ามเนื้อที่ตัวอ่อนของพยาธิเข้าไปฝังตัวอาศัยอยู่
   ในรูปของซีสต์ cysts
   เกิดจากพยาธิ์ชนิด Trichinella spiralis จากภาพเป็นภาพตัดขวางของชิ้นเนื้อ
   ที่มีตัวอ่อนของพยาธิฝังตัวอยู่
tenia.jpg (12356 bytes)    ภาพตัวโตเต็มวัยของพยาธิ์ตัวตืดแบ่งออกได้เป็น กลุ่มพยาธิ์ตัวแบน Cestodes
   พยาธิ์ตืดวัว  Taenia saginata (ทีเนีย ซาจีนาต้า) ลำตัวเป็นปล้องๆ ยาวออกไป
   เรื่อยๆ พยาธิ์ตืดหมู Taenia solium (ทีเนีย โซเลียม) จะมีขนาดเล็กกว่าแบบแรก
   ในส่วนท้ายจะเป็นปล้องแก่ พร้อมที่จะหลุดปนออกมากับอุจจาระ ภายในปล้องจะเต็มไป
   ด้วยไข่พยาธิ์ ปนเปื้อนไปบนพื้นดินตามหญ้า ดิน น้ำ เมื่อถูกกินเข้าไปโดย วัว หมู   ปลา
   (พาหะตัวกลาง) ไข่พยาธิ์จะแตกออกมาเป็นตัวอ่อน larvae (ลาว่า)  ตัวอ่อนจะไชไป
   ตามกล้ามเนื้อแล้วจะฝังตัวอยู่ในกล้ามเนื้อเป็น cysticerci (ซิสติเซอร์ไค) อยู่ไปเรื่อยๆ
   เมื่อคนทานส่วนนี้เข้าไป ตัวอ่อนจะกลายไปเป็นตัวโตเต็มวัยในลำไส้
tenia1.jpg (11004 bytes)    ภาพตัวโตเต็มวัยของพยาธิ์ตัวตืดที่เน้นให้เห็นส่วนหัว โดยเฉพาะส่วนที่ใช้เกาะดูดเรียก
   Scolex (สโครเล็ก)  
  
tenia2.jpg (11618 bytes)    ภาพแสดงส่วนปล้องโตเต็มวัยของพยาธิ์ตัวตืดและส่วนสืบพันธุ์ ปล้องของพยาธิ์ตัวตืด
   จะเริ่มจากเล็กในส่วนหัวและค่อยๆ ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เมื่อโตเต็มที่และได้รับการผสมพันธิ์
   และก็จะเต็มไปด้วยไข่พยาธิ์ตัวตืดเต็มไปหมดในช่องท้อง   ปล้องท้ายสุดจะเริ่มหลุด
   ออกและปนไปกับอุจจาระต่อไป
   ในภาพเป็นการย้อมพิเศษเพื่อให้เห็นภายในของปล้องได้ชัดเจน
 
tenia3.jpg (10883 bytes)    ภาพแสดง ไข่ของพยาธิ์ตัวตืด ภาพซ้ายเป็นของพยาธิ์ตืดหมู มีขนาดเล็กกว่า
   ลักษณะกลมเปลือกหนา         
   ส่วนภาพขวามือเป็นของพยาธิ์ตืดวัว ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า
  
trema1.jpg (8115 bytes)    กลุ่มพยาธิ์ใบไม้ Trematodes  
   ภาพไข่ของพยาธิ์ใบไม้ Schistosoma mansoni ( ชิสโตโซม่า แมนโซไน )
  ลักษณะมีส่วนคล้ายหนามที่บริเวณด้านข้าง
   ที่ปล่อยมาจากตัวพยาธิ์ที่โตเต็มวัย ปนออกมากับอุจจาระ
trema2.jpg (7456 bytes)    กลุ่มพยาธิ์ใบไม้ Trematodes   
   ภาพไข่ของพยาธิ์ใบไม้ Schistosoma japonicum ( ชิสโตโซม่า จาปอนนิคุม )
  ลักษณะมีส่วนคล้ายหนามเล็กๆที่บริเวณด้านข้าง
   ที่ปล่อยมาจากตัวพยาธิ์ที่โตเต็มวัย ปนออกมากับอุจจาระ
trema3.jpg (11023 bytes)    กลุ่มพยาธิ์ใบไม้ Trematodes   
   ภาพของพยาธิ์ใบไม้ในตับ Fasciolopsis buski ( ฟาสซิโอลอปซิส บัสไค )
  ลักษณะมีส่วนคล้ายใบไม้ ในภาพขนาดประมาณ 3 ซ.ม. ส่วนที่เห็นเป็นสีน้ำตาลเข้ม
    คือส่วน uterus   จะมีที่ดูดติด sucker อยู่ 2 อัน อันแรกบริเวณด้านหน้า อีกอันอยู่
    กลางลำตัว ที่ย้อมติดสีชมพูเข้ม     
  
fluke.jpg (3079 bytes)      กลุ่มพยาธิ์ใบไม้ Trematodes   
   ภาพของพยาธิ์ใบไม้ในตับ Clonorchis sinensis ( โครนอรชีส ไซเนนซีส )
  ลักษณะมีส่วนคล้ายใบไม้ ในภาพ มีส่วนหางยาวทำให้ดูคล้ายขวด.   
    ส่วนที่เห็นเป็นสีน้ำตาลเข้ม คือส่วน uterus 
    
trema4.jpg (12545 bytes)    กลุ่มพยาธิ์ใบไม้ Trematodes   
     ภาพของพยาธิ์ใบไม้ในปอด Paragonimus westermani
   ( พาราโกนิมัส เวสเตอร์แมนไน )
  ลักษณะมีส่วนคล้ายใบไม้ ในภาพ แหล่งอาศัยในปอดมนุษย์.   
    ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง เสมหะ   แพร่โดยปูน้ำจืด เป็นต้น
trema5.jpg (4484 bytes)      กลุ่มพยาธิ์ใบไม้ Trematodes   
   ภาพตัวอ่อน cercaria ของพยาธิ์ใบไม้ Schistosoma mansoni
    ( ชิสโตโซม่า แมนโซไน ) มีลักษณะหางเป็น 2 แฉก เรียก fork tailed
thomini.jpg (8373 bytes)      กลุ่ม โปรโตซัว ชนิด Vaginal Flagellates
   Trichomonas vaginalis (ทริโคโมแนส วาจินาลีส )

     เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการคันและตกขาวในช่องคลอดของสตรี
    สามารถเคลื่อนตัวไปมาโดยใช้ flagellate คล้ายหนวด และมีส่วนที่เป็นครีบ
    โบกพัดไปมา (ครีบ ส่วนที่เห็นเป็นหยักๆสีดำทางด้านขวามือ )
    กลุ่ม โปรโตซัว ชนิด Intestinal Flagellates
   Trichomonas hominis (ทริโคโมแนส โฮมินิส )

    ลักษณะคล้ายกันกับข้างต้น แต่จะมีพื้นเพอาศัยในลำไส้ ทำให้เกิดอาการท้องเสีย
tricho.jpg (38476 bytes)      กลุ่ม โปรโตซัว ชนิด Vaginal Flagellates           ภาพวาด
   Trichomonas vaginalis (ทริโคโมแนส วาจินาลีส )

     เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการคันและตกขาวในช่องคลอดของสตรี
    สามารถเคลื่อนตัวไปมาโดยใช้ flagellate คล้ายหนวด และมีส่วนที่เป็นครีบ
    โบกพัดไปมา (ครีบ ส่วนที่เห็นเป็นหยักๆสีดำทางด้านขวามือ )
giardia.jpg (5390 bytes)      กลุ่ม โปรโตซัว ชนิด Intestinal Flagellates
   Giardia lamblia Trophozoite (ไกอาเดีย แลมเบีย )

    ลักษณะคล้ายหน้าที่มีตาติดอยู่   มีพื้นเพอาศัยในลำไส้ ทำให้เกิดอาการท้องเสีย
giardia2.jpg (6462 bytes)      กลุ่ม โปรโตซัว ชนิด Intestinal Flagellates           ภาพวาด
   Giardia lamblia Trophozoite (ไกอาเดีย แลมเบีย )

    ลักษณะคล้ายหน้าที่มีตาติดอยู่   มีพื้นเพอาศัยในลำไส้ ทำให้เกิดอาการท้องเสีย
giardia1.jpg (4158 bytes)      กลุ่ม โปรโตซัว ชนิด Intestinal Flagellates
   Giardia lamblia Cytes (ไกอาเดีย แลมเบีย )

     มีพื้นเพอาศัยในลำไส้ ทำให้เกิดอาการท้องเสีย
    เป็นช่วงระยะแวดล้อมไม่เหมาะสม จะเปลี่ยมสภาพเป็นรูป cytes ไม่เคลื่อนไหว
ehist.jpg (8134 bytes)      กลุ่ม โปรโตซัว ชนิด Intestinal Protozoa
    - Amoebae  (อมีบา)
    Entamoeba histolytica Trophozoite  (เอ็นตามิบ้า ฮีสโตไลติก้า)

  บิดชนิดมีตัว เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือด
   เรียกโรคบิดชนิดมีตัว ถ้าเคลื่อนตัวเข้าไปในตับทำให้เกิดฝีหนองในตับได้
    สามารถเคลื่อนตัวไปมาโดยการยื่นตัวออกไปข้างหน้าช้าๆ
   เห็นนิวเครียสบริเวณส่วนกลางติดสีเข้ม
   
ehist1.jpg (8304 bytes)     กลุ่ม โปรโตซัว ชนิด Intestinal Protozoa
    - Amoebae  (อมีบา)
   Entamoeba coli Cyst  (เอ็นตามิบ้า ฮีสโตไลติก้า)

  บิดชนิดมีตัว เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือด
   ในช่วงสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมจะเปลี่ยนเป็น ซีสต์ cyst ไม่เคลื่อนไหวจะเห็น
    นิวคลีไอ ประมาณ 5-8 อัน ( เม็ดกลมเล็กๆภายใน cyst )
    ชนิดของ Entamoeba histolytica cytes จะมีนิวคลีไอ ไม่เกิน 4 อัน
ehist2.jpg (6453 bytes)      กลุ่ม โปรโตซัว ชนิด Intestinal Protozoa          ภาพวาด
    - Amoebae  (อมีบา)
    Entamoeba histolytica Trophozoite  (เอ็นตามิบ้า ฮีสโตไลติก้า)
ซ้าย
    บิดชนิดมีตัว เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือด
     ในช่วงสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมจะเปลี่ยนเป็น ซีสต์ cyst
    ไม่เคลื่อนไหวจะเห็น นิวคลีไอ ประมาณ 2 อัน      บนขวา
  
ไม่เคลื่อนไหวจะเห็น นิวคลีไอ ประมาณ 4 อัน    ล่างขวา
filaria.jpg (11538 bytes)      กลุ่ม โปรโตซัว ชนิด Blood and tissue Parasites
   Malaria อาศัยในเซลเม็ดเลือด ดูหมวดเม็ดเลือด
   Microfilaria  Wuchereria bancrofti อาศัยในเลือดนอกเซลเม็ดเลือด
    ( ไมโครฟิลาเรีย วูวเชอร์เรีย แบนครอฟไท )   สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเท้าช้าง
effect1.jpg (11097 bytes)    ลักษณะพยาธิสภาพของอวัยวะภายในที่พยาธิ์เข้าไปฝังตัวอาศัยอยู่ ในรูปของซีสต์
   cysts ลักษณะปุ่มโปนขนาดเล็กใหญ่ต่างๆคละกัน
   เกิดจากพยาธิ์ชนิด Echinococcus granulosus
effect2.jpg (10414 bytes)    ลักษณะพยาธิสภาพของตับที่พยาธิ์เข้าไปฝังตัวอาศัยอยู่ ในรูปของซีสต์
   cysts ลักษณะปุ่มโปนขนาดเล็กใหญ่ต่างๆคละกัน

   เกิดจากพยาธิ์ชนิด Echinococcus granulosus
effect3.jpg (11946 bytes)    ลักษณะพยาธิสภาพของอวัยวะภายในที่พยาธิ์เข้าไปฝังตัวอาศัยอยู่ ในรูปของซีสต์
   cysts ลักษณะปุ่มโปนขนาดเล็กใหญ่ต่างๆคละกัน

   เกิดจากพยาธิ์ชนิด Onchocerca   volvulus

bar5.jpg (6486 bytes)

รายละเอียดของโรคเขตร้อน หนอนพยาธิ/โปรโตซัว

 

wpe5.jpg (2190 bytes)
ThaiLabOnline - Crystal Diagnostics
Email : vichai-cd@usa.net