สาระน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพ        การตรวจวินิจฉัยโรคทางห้องแล็ป ตั้งแต่การได้รับตัวอย่าง เลือด/ ปัสสาวะ/ สารคัดหลั่งต่างๆ วิธีการทดสอบไปจนถึงการแปลผล
อาการและปัญหาของโรคภัยไข้เจ็บ       การดูแลป้องกันโรคติดต่อ        สรีระร่างกายของเรา       ชมรมเรารักสุขภาพมาช่วยกันดูแลสุขภาพกัน       สุขอนามัย

cdlogo.gif (7928 bytes)
Healthcare & Diagnostic

winshop.jpg (4697 bytes)
HealthShop l ช็อปปิ้งเพื่อสุขภาพ


สนใจรับข่าวสารสุขภาพใหม่ๆ 
พร้อมประโยชน์อื่นๆ เชิญสมัครฟรี !

Home ] Up ] Endocrine ] Muscle/Skeleton ] Cardio ] Skin/Dermal ] Digestive ] Kidney/Urinary ] Tumor/CA ] Infectious ] [ CBC ] Sexual ] Respiratory ] Brain ] Accident ] HIV ] TropicalParasite ] BabyDisease ] Mental ]
ban3.jpg (13652 bytes)

 

TOP               banner3.gif (35213 bytes)

เม็ดเลือด แดง / ขาว
Red-White  Blood Cell

ทาลัสซีเมีย
Thalassemia


     

bar5.jpg (6486 bytes)














เลือด ส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกาย
คือส่วนที่ไหลเวียนอยู่ในระบบหมุนเวียนโลหิตของร่างกาย จากส่วนที่เราเห็นเป็นเลือดสีแดงนั้นเราสามารถแยกย่อยลงไปอีกได้เป็น
องค์ประกอบใหญ่ๆได้ดังต่อไปนี้
- ส่วนที่เป็นน้ำ เรียกว่าน้ำเหลือง
     - ถ้ายังไม่ได้มีการแข็งตัว คือยังมีปัจจัยช่วยในการแข็งตัวของเลือด จะเรียกว่า พลาสม่า (PLASMA)
     - ถ้ามีการแข็งตังของเลือดไปแล้ว ปัจจัยในการแข็งตัวถูกใช้ไปแล้ว    จะเรียกว่า ซีรั่ม      (SERUM)
  ในน้ำเหลืองนี้จะมีสารต่วงๆละลายอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น สารอาหารที่มาจากระบบย่อยอาหาร / ฮอร์โมนต่างๆ / แอนติบอดีย์ต่อต้านสิ่งแปลกปลอม / ของเสียที่เกิดจากเซลต่างๆในร่างกายเพื่อนำ
คือส่วนที่ไหลเวียนอยู่ในระบบหมุนเวียนโลหิตของร่างกาย จากส่วนที่เราเห็นเป็นเลือดสีแดงนั้นเราสามารถแยกย่อยลงไปอีกได้เป็น
องค์ประกอบใหญ่ๆได้ดังต่อไปนี้
- ส่วนที่เป็นน้ำ เรียกว่าน้ำเหลือง
     - ถ้ายังไม่ได้มีการแข็งตัว คือยังมีปัจจัยช่วยในการแข็งตัวของเลือด จะเรียกว่า พลาสม่า (PLASMA)
     - ถ้ามีการแข็งตังของเลือดไปแล้ว ปัจจัยในการแข็งตัวถูกใช้ไปแล้ว    จะเรียกว่า ซีรั่ม      (SERUM)
  ในน้ำเหลืองนี้จะมีสารต่วงๆละลายอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น สารอาหารที่มาจากระบบย่อยอาหาร / ฮอร์โมนต่างๆ / แอนติบอดีย์ต่อต้านสิ่งแปลกปลอม / ของเสียที่เกิดจากเซลต่างๆในร่างกายเพื่อนำ

ปกำจัดออกจากร่างกายโดยระบบกำจัดของเสียเช่น ไต ดูระบบขับถ่าย KIDNEY ได้ที่ส่วนสรีระร่างกาย
- ส่วนที่เป็นเกล็ดเลือด คือส่วนเล็กที่แขวนลอยอยู่ในกระแสเลือด มีหน้าที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด
- ส่วนที่เป็นเม็ดเลือดขาว คือส่วนที่ทำหน้าที่เปรียบเสมือนทหารที่คอยตรวจจับสิ่งแปลกปลอม เช่น

เชื้อโรคที่หลุดเข้ามาในร่างกาย
   แบ่งออกได้หลายชนิดตามหน้าที่ความสามารถในการทำลายสิ่งแปลกปลอมทั้งหลาย
- ส่วนที่เป็นเม็ดเลือดแดง คือส่วนที่เราเห็นเป็นสีแดงของเลือด มีลักษณะคล้ายขนมโดนัทคือมีรอยเว้า

บริเวณส่วนกลาง องค์ประกอบ   ส่วนใหญ่คือ ฮีโมโกลบิน ซึ่งใช้ในการแลกเปลี่ยนออกซิเจนและ
คาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นของเสียจากเซลต่างๆของร่างกาย

cbc1.jpg (11559 bytes) - ลักษณะของเม็ดเลือดแดงที่ปกติ  
  ลักณณะกลมแบนและมีรอยเว้าตรงส่วนกลาง  คล้ายขนมโดนัท
  ส่วนใหญ่ในภาพที่เห็น
-
ลักษณะของเม็ดเลือดขาวชนิด นิวโตรฟิล มีเพียง 1 เซลในภาพ

  มีขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดง
-
ลักษณะของเกล็ดเลือด ด้านล่างของรูป ขนาดเล็กกว่า และซ้อน

  บนเม็ดเลือดแดง
cbc2.jpg (8379 bytes) - ลักษณะของเม็ดเลือดแดงที่ผิดปกติ ที่เรียกว่าเม็ดโลหิตจาง 
  จะมีลักษณะติดสีจาง   มีขอบบางกว่าเม็ดเลือดแดงปกติ ทำให้
  ผู้ป่วยด้วยภาวะโลหิตจางมีลักษณะซีด  ขาดออกซิเจนได้ง่าย
  มีโอกาสเป็นลมหรือหน้ามืดได้ง่าย เพลีย
- ลักษณะของเกล็ดเลือด มีขนาดเล็กกว่าจำนวน 4-5 เซล ในภาพ
   
cbc3.jpg (15834 bytes) - ลักษณะของเม็ดเลือดแดงที่ผิดปกติของผู้ป่วยเกี่ยวกับเม็ดโลหิต
  แดง จะพบลักษณะผิดปกติอื่นเช่น รูปร่างไม่แน่นอน / ขนาดเล็ก
  กว่าปกติ / กลมไม่มีเว้า  ที่ส่วนกลาง / มีจุดที่ส่วนกลางคล้ายเป้า
  สำหรับยิงปืน
cbc4.jpg (16043 bytes) - ลักษณะของเม็ดเลือดแดงที่ผิดปกติของผู้ป่วยเกี่ยวกับเม็ด
  โลหิตแดง จะพบ ลักษณะผิดปกติอื่นเช่น รูปร่างไม่แน่นอน /   
  ขนาดเล็กกว่าปกติ / กลมไม่มีเว้าที่ส่วนกลาง /
  ขนาดใหญ่กว่าปกติ
- ลักษณะของเม็ดเลือดขาวชนิด ลิมโฟซัย มีนิวเคลียสค่อนข้างกลม
cbc5.jpg (12224 bytes) - ลักษณะของเกล็ดเลือด มีขนาดเล็กกว่าเม็ดเลือดแดงจำนวน
  7 เซล ในภาพ
  เป็นการย้อมพิเศษเพื่อเน้นให้เห็นเกล็ดเลือดโดยเฉพาะ
   
cbc6.jpg (15765 bytes) - ลักษณะของเม็ดเลือดแดงตัวอ่อนเรียก Recticulocyte ยังมี
  ลักษณะ Granule อยู่ภายใน ติดสีน้ำเงิน พอตัวแก่ขึ้นส่วนนี้จะ
  หายไป เป็นการย้อมพิเศษโดยเฉพาะ
  จัดเป็นภาวะผิดปกติของระบบเม็ดโลหิตอย่างหนึ่ง
cbc8.jpg (13018 bytes) - ลักษณะของเม็ดเลือดแดงที่ผิดปกติ ที่เรียกว่าเม็ดโลหิตจาง
  ระดับไม่รุนแรง   จะมีลักษณะจาง มีขอบบางกว่าเม็ดเลือดแดง
  ปกติไม่มาก
-
ลักษณะของเม็ดเลือดขาวชนิด นิวโตรฟิล มี 3 เซลในภาพ

  ขนาดใหญ่กว่า
- ลักษณะของเม็ดเลือดขาวชนิด ลิมโฟซัย มี 3 เซล มีนิวเคลียส

  ค่อนข้างกลม ขนาดเล็กกว่าเม็ดเลือดขาวนิวโตรฟิล
gc1.jpg (6699 bytes) - ลักษณะของเม็ดเลือดขาวชนิด นิวโตรฟิลที่คอยจับทำลาย
  สิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย
  ในภาพ จะเห็น เม็ดเลือดขาวที่กำลังจับเชื้อแบคทีเรียมาไว้ในเซล
  เพื่อทำลายทิ้ง ทำให้เราไม่เป็นโรค แต่ถ้าเม็ดเลือดขาวสู้ไม่ไหว
  เชื้อโรคแบ่งตัวได้อย่างมากในร่างกาย แล้วทำให้เกิดโรคขึ้น 
cbc9.jpg (18163 bytes) - ลักษณะของเม็ดเลือดขาวชนิด โมโนซัย มีนิวเคลียสค่อนข้าง
  ไม่กลมมีหน้าที่จับทำลายสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย
pv.jpg (2722 bytes) - ลักษณะของเม็ดเลือดแดงที่ผิดปกติ จากเชื้อปาราสิตที่ทำลาย
  เม็ดเลือดแดงจาก เชื้อมาลาเรีย  ชนิด พลาสโมเดียม ไวแว็ก
- ตัวเชื้อมาลาเรียมีลักษณะกลมและมีจุดสีแดงคล้ายหัวแหวน
  จะอาศัย และแบ่งตัวอยูในเม็ดเลือด และทำให้เม็ดเลือดแตก
  ไปในที่สุด
cbc7.jpg (5071 bytes) - ลักษณะของเม็ดเลือดแดงที่ผิดปกติ จากเชื้อปาราสิตที่ทำลาย
  เม็ดเลือดแดงจาก เชื้อมาลาเรีย ชนิด พลาสโมเดียม ฟัลซิฟารั่ม 
- ตัวเชื้อมาลาเรียมีลักษณะกลมและมีจุดสีแดงคล้ายหัวแหวน
  จะอาศัย และแบ่งตัวอยูในเม็ดเลือด และทำให้เม็ดเลือดแตก
  ไปในที่สุด

bar5.jpg (6486 bytes)

สำหรับท่านที่เข้าชมผ่านทาง www.thailabonline.com

Write Health problem / ฝากคำถามปัญหาสุขภาพ View Health board / อ่านกระดานสุขภาพ        











ทาลัสซีเมีย Thalassemia

ลักษณะทั่วไป
เป็นโรคเลือดชนิดหนึ่งที่มีความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ทำให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงที่มีลักษณะผิดปกติ จึงมีการแตกสลายเร็วกว่าที่ควร ทำให้มีอาการซีดเหลืองเรื้อรัง
ผู้ที่มีอาการแสดงของโรคนี้ จะต้องรับกรรมพันธุ์ที่ผิดปกติมาจากทั้งฝ่ายพ่อและแม่ (ซึ่งอาจไม่มีอาการแสดง) ถ้ารับจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว จะไม่มีอาการแสดง แต่จะมีกรรมพันธุ์ที่ผิดปกติอยู่ในตัวและสามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลานต่อไป
ในบ้านเราพบว่ามีกรรมพันธุ์ที่ผิดปกติของโรคนี้ โดยไม่แสดงอาการเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคน
อีสาน อาจมีถึง 40% ของประชากรทั่วไปที่มีกรรมพันธุ์ของโรคนี้ ส่วนผู้ที่มีอาการของโรคนี้อย่างชัด ๆ มี
ประมาณ 1 ใน 100 คน โรคนี้อาจแบ่งออกเป็นหลายชนิด ซึ่งมีความรุนแรงมากน้อยแตกต่างกันไป

สาเหตุ
เกิดจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์

อาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการซีดเหลืองและตับม้ามโตมาตั้งแต่เด็ก ร่างกายเติบโตช้า ตัวเตี้ย และน้ำหนักน้อยไม่สมอายุ
ในรายที่เป็นทาลัสซีเมียชนิดอ่อนที่เรียกว่า โรคฮีโมโกลบินเอช (Hemoglobin H disease) ตามปกติจะไม่มีอาการ
ผิดปกติแต่อย่างไร แต่จะมีอาการซีดเหลืองเป็นครั้งคราวขณะที่เป็นหวัด เจ็บคอ หรือเป็นโรคติดเชื้ออื่น ๆ
แบบเดียวกับโรคโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก

สิ่งตรวจพบ
ผู้ป่วยจะมีอาการซีดเหลือง หน้าแปลก โดยมีสันจมูกแบะ (จมูกแบน) หน้าผากโหนกชัน กระดูกแก้มและ
ขากรรไกรกว้างใหญ่ ฟันยื่นเขยิน ลูกตาอยู่ห่างกันมากกว่าคนปกติ ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า หน้ามงโกลอยด์
หรือ หน้าทาลัสซีเมีย ผู้ป่วยมักจะมีม้ามโตมาก บางรายอาจโตถึงสะดือ (คลำได้ก้อนแข็งที่ใต้ชายโครงซ้าย)
อาการม้ามโต ชาวบ้านอาจเรียกว่า ป้าง หรือ อุปถัมภ์ม้ามย้อย (จุกกระผามม้ามย้อย)

อาการแทรกซ้อน
ถ้าซีดมาก อาจทำให้มีอาการหอบเหนื่อย บวม และตับโต เนื่องจากหัวใจวาย บางคนอาจเป็นไข้ เจ็บคอบ่อย
จนกลายเป็นโรคหัวใจรูมาติก หรือหน่วยไตอักเสบ ผู้ป่วยอาจมีนิ่วในถุงน้ำดี ได้บ่อยกว่าคนทั่วไป เนื่องจากมี
สารบิลิรูบินจากการสลายตัวของเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ ในรายที่มีชีวิตอยู่ได้นาน จะมีเหล็ก (ที่ได้จากการ
สลายตัวของเม็ดเลือดแดง) สะสมในอวัยวะต่าง ๆ เช่น ที่ผิวหนังทำให้ผิวออกเป็นสีเทาอมเขียว ที่ตับทำให้ตับเข็ง ที่หัวใจทำให้หัวใจโตและเหนื่อยง่าย เป็นต้น

การรักษา
ถ้าซีดมาก อาจทำให้มีอาการหอบเหนื่อย บวม และตับโต เนื่องจากหัวใจวาย บางคนอาจเป็นไข้
เจ็บคอบ่อย จนกลายเป็นโรคหัวใจรูมาติก หรือหน่วยไตอักเสบ ผู้ป่วยอาจมีนิ่วในถุงน้ำดี   ได้บ่อยกว่าคน
ทั่วไป เนื่องจากมีสารบิลิรูบินจากการสลายตัวของเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ ในรายที่มีชีวิตอยู่ได้นาน
จะมีเหล็ก (ที่ได้จากการสลายตัวของเม็ดเลือดแดง) สะสมในอวัยวะต่าง ๆ เช่น ที่ผิวหนังทำให้ผิวออกเป็น
สีเทาอมเขียว ที่ตับทำให้ตับเข็ง ที่หัวใจทำให้หัวใจโตและเหนื่อยง่าย เป็นต้น

ข้อแนะนำ
1. ควรให้ผู้ป่วยกินอาหารพวกโปรตีน และอาหารที่มีกรดโฟลิกสูง (เช่น ผักใบเขียว เนื้อสัตว์) มาก ๆ เพื่อใช้ใน
การสร้างเม็ดเลือดแดง
2. อธิบายให้ผู้ป่วยและญาติทราบว่า โรคนี้เป็นโรคกรรมพันธุ์ติดตัวไปตลอดชีวิต ไม่มีทางรักษาให้หายขาด แต่ถ้าได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องอาจมีชีวิตยืนยาวได้ ควรรักษาที่โรงพยาบาลที่อยู่ใกล้บ้านเป็นประจำ ไม่ควรกระเสือกกระสนย้ายหมอ ย้ายโรงพยาบาล ทำให้หมดเปลืองเงินทองโดยใช่เหตุ
3. แนะนำให้พ่อแม่ที่มีลูกเป็นทาลัสซีเมียคุมกำเนิด หรือผู้ที่มีประวัติว่ามีญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ ไม่ควรแต่งงานกัน หรือจำเป็นต้องแต่งงานก็ไม่ควรมีบุตร เพราะลูกที่เกิดมามีโอกาสเป็นโรคนี้ถึง 1 ใน 4 (ร้อยละ 25) ทำให้เกิดภาวะยุ่งยากในภายหลังได้ ถ้าหากมีการตั้งครรภ์ ในปัจจุบันมีวิธีการเจาะเอาน้ำคร่ำมาตรวจดูว่าทารก
เป็นโรคนี้หรือไม่ ดังที่เรียกว่า "การวินิจฉัยก่อนคลอด" (Prenatal diagnosis) ถ้าพบว่าผิดปกติ อาจพิจารณาทำแท้ง
4. ในปัจจุบันสามารถใช้วิธีการพิเศษ เพื่อตรวจดูว่ามีเชื้อกรรมพันธุ์ของโรคนี้หรือไม่ ถ้าเป็นไปได้ก่อนแต่งงานควร
ตรวจดูให้แน่นอน

bar5.jpg (6486 bytes)

สำหรับท่านที่เข้าชมผ่านทาง www.thailabonline.com

Write Health problem / ฝากคำถามปัญหาสุขภาพ View Health board / อ่านกระดานสุขภาพ        

wpe5.jpg (2190 bytes)
ThaiL@bOnLine Crystal Diagnostics Co.,Ltd.

Email : vichai-cd@usa.net