สาระน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพ        การตรวจวินิจฉัยโรคทางห้องแล็ป ตั้งแต่การได้รับตัวอย่าง เลือด/ ปัสสาวะ/ สารคัดหลั่งต่างๆ วิธีการทดสอบไปจนถึงการแปลผล
อาการและปัญหาของโรคภัยไข้เจ็บ       การดูแลป้องกันโรคติดต่อ        สรีระร่างกายของเรา       ชมรมเรารักสุขภาพมาช่วยกันดูแลสุขภาพกัน       สุขอนามัย

cdlogo.gif (7928 bytes)
Healthcare & Diagnostic

winshop.jpg (4697 bytes)
HealthShop l ช็อปปิ้งเพื่อสุขภาพ


สนใจรับข่าวสารสุขภาพใหม่ๆ 
พร้อมประโยชน์อื่นๆ เชิญสมัครฟรี !

Home ] Up ] Endocrine ] Muscle/Skeleton ] Cardio ] Skin/Dermal ] Digestive ] Kidney/Urinary ] Tumor/CA ] [ Infectious ] CBC ] Sexual ] Respiratory ] Brain ] Accident ] HIV ] TropicalParasite ] BabyDisease ] Mental ]
ban3.jpg (13652 bytes)

 

TOP             banner7.gif (48569 bytes)

ไข้รากสาดใหญ่ (ไทฟัส)
TYPHUS

ไข้เลือดออก
Hemorrhagic Fever

มาลาเรีย
(ไข้มาลาเรีย / ไข้จับสั่น )
MALARIA

เล็ปโตสไปโรซิส
LEPTOSPIROSIS

Acute/Chronic Gastritis
Peptic Ulcer

จากเชื้อ H.Pylori

เมลิออยโดซิส
Pseudomonas pseudomalliei 

  bar5.jpg (6486 bytes)















Ball29.gif (4893 bytes)

  ไข้รากสาดใหญ่ (ไทฟัส)

ลักษณะทั่วไป
ไข้รากสาดใหญ่ (ไทฟัส) เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากกลุ่มเชื้อริกเกตเซีย (rickettsia) ซึ่งมีอยู่หลาย

ชนิดในที่นี้จะกล่าวถึงชนิดที่พบได้ในบ้านเรา ได้แก่ สครับไทฟัส (Scrub typhus) ซึ่งเกิดจาก
เชื้อริกเกตเซีย โอเรียนทาลิส (Rickettsia orientalis) โดยมีไรอ่อนเป็นพาหะนำโรค ระยะฟักตัว
4-18 วัน ตัวไรแก่อาศัยอยู่บนหญ้า และวางไข่บนพื้นดิน ไข่จะฟักเป็นตัวอ่อนที่มี 6 ขาและมีสีแดง
 ไรอ่อนจะกระโดดเกาะสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์แทะ นก หรือคนที่เดินผ่านไปมาเพื่อดูดน้ำเหลืองเป็น
อาหาร ถ้าคนหรือสัตว์มีเชื้อริกเกตเซีย โอเรียนทาลิสอยู่ เชื้อก็จะเข้าไปอยู่ในลำไส้และต่อมน้ำลาย

ของไรอ่อน แล้วเจริญแบ่งตัว ในขณะที่ไรอ่อนกลายเป็นตัวแก่ ตัวแก่เมื่อวางไข่ก็จะมีเชื้อโรคแพร่
ติดอยู่ เมื่อฟักเป็นไรอ่อน ก็จะเป็นไรอ่อนที่มีเชื้อโรค เมื่อไปกัดคนหรือสัตว์ ก็จะแพร่เชื้อให้คนหรือ
สัตว์นั้นต่อไปในบ้านเราสัตว์ที่เป็นรังโรค (มีเชื้อโรคในร่างกาย) คือ หนูเป็นส่วนใหญ่ ส่วนน้อยอาจ
พบในกระแต และกระจ้อน สัตว์ที่เป็นรังโรคและไรอ่อนที่เป็นพาหะนำโรค อาจอยู่ตามพื้นที่ที่เป็น
ทุ่งหญ้า ป่าละเมาะ ทุ่งหญ้าคา ไร่พริก สวนยาง พุ่มไม้เตี้ย ๆ และป่าสูง ซึ่งมีอยู่แทบทุกภาคของ
ประเทศ โรคนี้มักจะพบในกลุ่มชาวไร่ ชาวสวน ทหาร นักล่าสัตว์ หรือนักวิทยาศาสตร์ที่ออกไปตั้ง
ค่ายในป่า

อาการ

หลังถูกไรอ่อนกัด 4-18 วัน จะมีอาการปวดศีรษะที่ขมับและหน้าผาก และจับไข้หนาวสั่น ไข้สูง

ตลอดเวลา (ไข้อาจเป็นอยู่นาน 2-3 สัปดาห์) หน้าแดง ตาแดง และกลัวแสง อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร
ท้องผูก บริเวณที่ถูกกัดจะเจ็บ และมีรอยไหม้ดำเหมือนถูกบุหรี่จี้ รอบ ๆ แผลจะมีอาการบวมแดง
แต่ไม่เจ็บ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม.
และเป็นอยู่นาน 2-3 สัปดาห์ มักจะพบที่รักแร้ ขาหนีบและรอบ ๆ เอว ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้ ๆ

จะโต และเจ็บด้วย ประมาณวันที่ 5-7 หลังมีไข้จะมีผื่นสีแดงคล้ำขึ้นที่ลำตัวก่อน แล้วกระจายไป
แขนขา ผื่นจะมีอยู่ 3-4 วันก็หายไป

สิ่งตรวจพบ

ไข้สูง อาจพบต่อมน้ำเหลืองโตทั่วไป ม้ามโต รอยแผลเหมือนถูกบุหรี่จี้ (เอสคาร์) หรือผื่นแดงตาม

ผิวหนัง

อาการแทรกซ้อน
ในรายที่เป็นรุนแรง อาจถ่ายอุจจาระดำ เพ้อคลั่ง หมดสติ หัวใจวาย (กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ) สมอง

อักเสบ หรือ ปอดอักเสบถึงตายได้

การรักษา
หากสงสัย ควรส่งชันสูตรเพิ่มเติม และให้การรักษาดังนี้
1. ถ้าอาการไม่รุนแรงให้ยาปฏิชีวนะ เช่น เตตราไซคลีน ครั้งละ 250-500 มก. วันละ 4 ครั้ง (เด็กวัน

ละ 40 มก.ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แบ่งให้วันละ 4 ครั้ง) หรือคลอแรมเฟนิคอล  ครั้งละ 1 กรัม วันละ
4 ครั้ง (เด็กวันละ 50-75 มก.ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แบ่งให้วันละ 4 ครั้ง) นาน 5-7 วัน หรือ ดอกซี
ไซคลีน ครั้งละ 100 มก. วันละ 1-2 ครั้ง (เด็กวันละ 2-4 มก.ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แบ่งให้วันละ
1-2 ครั้ง) นาน 1-3 วัน
2. ถ้าไข้ไม่ลดใน 4 วัน หรือมีอาการรุนแรง เช่น หอบ หัวใจวาย หรือหมดสติ ควรส่งโรงพยาบาลด่วน อาจต้องตรวจเลือด (โดยวิธี Indirect immunofluorescene assay/IFA, หรือ Polymerase chain

reaction/PCR) ตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์ หรือตรวจพิเศษอื่น ๆ

ข้อแนะนำ
1. โรคนี้มักมีไข้สูง หนาวสั่น อาจมีไข้นาน 2-3 สัปดาห์ ตาแดงและมีผื่นขึ้น อาการเหล่านี้มีลักษณะ

คล้ายมาลาเรีย ,ไทฟอยด์ , เล็ปโตสไปโรซิส , ไข้เลือดออก  และหัด แต่ลักษณะเฉพาะของโรคนี้ คือ
มีประวัติเดินทางไปต่างจังหวัด หรือเข้าไปในป่าในสวน หรือในไร่ และอาจพบแผลไหม้ดำ
เหมือนถูกบุหรี่จี้ ซึ่งเรียกว่า "เอสคาร์" (eschar) ดังนั้นเมื่อพบคนที่เป็นไข้ โดยยังไม่ทราบสาเหตุ

ชัดเจน ควรค้นหาร่องรอยของเอสคาร์ โดยถามผู้ป่วยว่ามีแผลตามร่างกายหรือไม่ และตรวจดูตาม
ผิวหนังอย่างถี่ถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณรักแร้ ขาหนีบ หรือรอบ ๆ เอว
2. โรคนี้เมื่อได้รับการรักษา ไข้มักจะลดลงภายใน 24-72 ชั่วโมง และจะหายขาดโดยไม่มีภาวะ

แทรกซ้อนแต่อย่างใด แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษา บางคนอาจหายได้เอง โดยจะมีไข้อยู่นาน 2-3
สัปดาห์ แต่บางคนอาจมีภาวะแทรกซ้อน (เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ สมองอักเสบ ปอดอักเสบ) ซึ่งอาจร้ายแรงถึงตายได้

การป้องกัน
การป้องกัน อาจกระทำได้ ดังนี้
1. ถ้าจะออกไปตั้งค่ายในป่า พยายามอย่าเข้าไปในพุ่มไม้ บริเวณที่ตั้งค่ายควรถางให้โล่งเตียน ควรพ่นดีดีทีฆ่าไรบนพื้นดิน และไม่ควรนั่ง หรือนอนอยู่กับที่นาน ๆ
2. กินยาป้องกัน โดยกินคลอแรมเฟนิคอล หรือ เตตราไซคลีน  วันละ 1 กรัมทุกวัน หรือดอกซี

ไซคลีน 200 มก. สัปดาห์ละครั้ง ระหว่างที่อยู่ในพื้นที่ที่มีโรคนี้อยู่ และกินต่ออีก 14 วัน เมื่อกลับ
ออกมาแล้ว

รายละเอียด
ถ้าพบคนที่เป็นไข้โดยยังไม่ทราบสาเหตุ ควรตรวจดูรอยแผลตามผิวหนังทุกส่วน

                              Ball9.gif (5053 bytes)

bar5.jpg (6486 bytes)
















Ball29.gif (4893 bytes)

   ไข้เลือดออก - Dengue Hemorrhagic Fever


ลักษณะทั่วไป
ไข้เลือดออก เป็นโรคติดเชื้อที่พบได้บ่อยมากโรคหนึ่ง พบมากในเด็กอายุ 5-9 ปี, รองลงมา
10-14 ปี, ในขวบปีแรกมักพบใน อายุ 7-9 เดือน, ส่วนในกลุ่มอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ก็มีแนวโน้ม
พบได้มากขึ้น มักพบระบาดในฤดูฝนในช่วงที่มียุงลายชุกชุม

สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไข้เลือดออก ซึ่งเป็นไวรัส มีอยู่ 2 ชนิดได้แก่ เด็งกี (Dengue) กับชิกุนคุนยา
(Chigunkunya) ประมาณ 90% ของผู้ป่วยไข้เลือดออก จะมีสาเหตุจากเชื้อเด็งกี ซึ่งยังแบ่งออก
เป็นพันธุ์ย่อย ๆ ได้อีก 4 ชนิดได้แก่ ชนิด 1,2,3 และ 4 เชื้อเด็งกีเหล่านี้ สามารถทำให้เกิดไข้เลือด
ออกที่รุนแรงได้
โดยทั่วไปเมื่อได้รับเชื้อเด็งกีเข้าไปครั้งแรก (สามารถติดเชื้อตั้งแต่อายุได้ 6 เดือนขึ้นไป) โดยมีระยะ
ฟักตัวประมาณ 3-15 วัน ผู้ป่วยจะมีไข้สูงคล้ายไข้หวัดใหญ่ และส่วนมากจะไม่มีอาการเลือดออก
มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่อาจมีเลือดออก หรือมี อาการรุนแรงต่อมาเมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อซ้ำอีก (ซึ่งอาจเป็นเชื้อเด็งกีชนิดเดียวกัน หรือคนละชนิดกับที่ได้รับครั้งแรกก็ได้ และมีระยะฟักตัวสั้นกว่า
ครั้งแรก) ร่างกายก็จะเกิดปฏิกิริยาทำให้หลอดเลือดฝอยเปราะ และเกล็ดเลือดต่ำ จึงทำให้พลาสมา
(น้ำเลือด) ไหลซึมออกจากหลอดเลือด และมีเลือดออกง่าย เป็นเหตุให้เกิดภาวะช็อกโดยทั่วไป
การติดเชื้อครั้งหลัง ๆ ที่ทำให้เกิดอาการรุนแรง มักจะเกิดขึ้นภายหลังการติดเชื้อครั้งแรกประมาณ
6 เดือนถึง 5 ปี มักจะทิ้งช่วงไม่เกิน 5 ปี ด้วยเหตุนี้ไข้เลือดออกที่มีอาการรุนแรงจึงมักพบในเด็กอายุ
ต่ำกว่า 10 ปี มากกว่าในวัยอื่นประมาณ 10% ของผู้ป่วยไข้เลือดออก จะมีสาเหตุจากเชื้อชิกุนคุนยา
ซึ่งมักจะมีอาการไม่รุนแรง คือไม่ทำให้เกิดภาวะช็อก เช่นที่เกิดจากเชื้อเด็งกี โรคนี้มียุงลาย
(Aedes aegypti) เป็นพาหะนำโรค กล่าวคือ ยุงลายจะกัดคนที่เป็นไข้เลือดออกก่อน แล้วจึงไปกัด
คนที่อยู่ใกล้เคียง (ในรัศมีไม่เกิน 400 เมตร) ก็จะแพร่เชื้อให้คนอื่น ๆ ต่อไป ยุงชนิดนี้ชอบเพาะพันธุ์
ตามแหล่งน้ำนิ่งในบริเวณบ้าน เช่น น้ำในตุ่ม จานรองตู้กับข้าว ฝากะลา กระป๋อง หลุมที่มีน้ำขัง
เป็นต้น เป็นยุงที่ออกหากิน (กัดคน) ในเวลากลางวัน

อาการ
อาการของไข้เลือดออกแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 ระยะไข้สูง ผู้ป่วยจะมีไข้สูงซึ่งเกิดขึ้นฉับพลัน มีลักษณะไข้สูงลอยตลอดเวลา (กินยาลดไข้
ก็มักจะไม่ลด) หน้าแดง  ตาแดง ปวดศีรษะ กระหายน้ำ ผู้ป่วยจะซึม มักมีอาการเบื่ออาหาร และ
อาเจียนร่วมด้วยเสมอ บางคนอาจบ่นปวดท้องในบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือชายโครงขวาหรือปวดท้องทั่วไป
อาจมีอาการท้องผูก หรือถ่ายเหลว ส่วนมากจะไม่ค่อยมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล หรือไอมาก (เช่น คนที่เป็นไข้หวัดหรือออกหัด) แต่บางคนอาจมีอาการเจ็บคอ คอแดงเล็กน้อย หรือไอบ้างเล็กน้อย
ในราววันที่ 3 ของไข้ อาจมีผื่นแดง ไม่คัน ขึ้นตามแขนขาและลำตัว ซึ่งจะเป็นอยู่ 2-3 วัน บางคนอาจ
มีจุดเลือดออกมีลักษณะเป็นจุดแดงเล็ก ๆ (บางครั้งอาจมีจ้ำเขียวด้วยก็ได้) ขึ้นตามหน้า แขน ขา ซอก
รักแร้ ในช่องปาก (เพดานปาก กระพุ้งแก้ม ลิ้นไก่) ในระยะนี้อาจคลำพบตับโต และมีอาการกดเจ็บ
เล็กน้อย การทดสอบทูร์นิเคต์* ส่วนใหญ่จะให้ผลบวกตั้งแต่วันที่ 2 ของไข้ และในวงกลมเส้นผ่าศูนย์
กลาง 1 นิ้ว มักจะพบมีจุดเลือดออกมากกว่า 20 จุดเสมอ ผู้ป่วยจะมีไข้สูงลอยอยู่ประมาณ 4-7 วัน
ถ้าไม่มีอาการรุนแรง ส่วนมากไข้ก็จะลดลงในวันที่ 5-7 มักจะมีไข้ไม่เกิน 7 วัน แต่ถ้าเป็นมาก ก็จะ
ปรากฏอาการระยะที่ 2
ระยะที่ 2 ระยะช็อกและมีเลือดออก มักจะพบในไข้เลือดออกที่เกิดจากเชื้อเด็งกีที่มีความรุนแรง
ขั้นที่ 3 และ 4 และไม่ค่อยพบผู้ป่วยที่เกิดจากเชื้อชิกุนคุนยา อาการจะเกิดขึ้นในช่วงระหว่างวันที่
3-7 ของโรคซึ่งถือว่าเป็นช่วงวิกฤตของโรค อาการไข้จะเริ่มลดลง แต่ผู้ป่วยกลับมีอาการทรุดหนัก
มีอาการปวดท้อง และอาเจียนบ่อยขึ้น ซึมมากขึ้น กระสับกระส่าย ตัวเย็น มือเท้าเย็น เหงื่อออก
ปัสสาวะออกน้อย ชีพจรเต้นเบาแต่เร็ว (อาจมากกว่า 120 ครั้งต่อนาที) และความดันต่ำ ซึ่งเป็น
อาการของภาวะช็อก เกิดขึ้นเนื่องจากพลาสมาไหลซึมออกจากหลอดเลือด ทำให้ปริมาตร
ของเลือดลดลงมาก ถ้าเป็น รุนแรง ผู้ป่วยอาจมีอาการไม่ค่อยรู้สึกตัว ตัวเย็นชืด ปากเขียว ชีพจร
คลำไม่ได้ และความดันตกจนวัดไม่ได้ หากไม่ได้รับ การรักษาได้ทันท่วงที ก็อาจตายได้ภายใน
1-2 วัน นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังอาจมีอาการเลือดออกตามผิวหนัง (มีจ้ำเขียวพรายย้ำขึ้น) เลือด
กำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือดสด ๆ หรือเป็นสีกาแฟ ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดสด ๆ หรือเป็นสีน้ำมัน
ดิบ ๆ ถ้าเลือดออกมักทำให้เกิดภาวะช็อกรุนแรงถึงตายได้อย่างรวดเร็ว ระยะที่ 2 นี้ จะกินเวลา
ประมาณ 24-72 ชั่วโมง ถ้าหากผู้ป่วยไม่ตาย สามารถผ่านช่วงวิกฤตไปได้ ก็จะเข้าสู่ระยะที่ 3
ระยะที่ 3 ในรายที่มีภาวะช็อกไม่รุนแรง เมื่อผ่านช่วงวิกฤตไปแล้ว ก็จะดีขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือแม้
แต่ผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกรุนแรง เมื่อได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที ก็จะฟื้นตัวสู่สภาพปกติ อาการที่ส่อว่าดีขึ้น ก็คือ ผู้ป่วยจะเริ่มอยากกินอาหาร แล้วอาการต่าง ๆ จะกลับคืนสู่สภาพปกติ รวมเวลาตั้งแต่เริ่มเป็นประมาณ 7-10 วัน ในรายที่มีอาการเพียงเล็กน้อย อาจเป็นอยู่ 3-4 วัน 
ก็หายได้เอง

สิ่งตรวจพบ
*การทดสอบทูร์นิเคต์ (Tourniquet test) โดยใช้เครื่องวัดความดันรัดเหนือข้อศอกของผู้ป่วย ด้วยค่าความดันกึ่งกลางระหว่างความดันช่วงบนและความดันช่วงล่างของคน ๆ นั้น (ความดัน
ช่วงบนบวกความดันช่วงล่างหารสอง) เป็นเวลานาน 5 นาที ถ้าไม่มีเครื่องวัดความดัน ให้ใช้
ยางหนังสติ๊กรัดเหนือข้อศอกให้แน่นเล็กน้อย (ยังพอคลำชีพจรที่ข้อมือได้) นาน 5 นาที ถ้าพบมี
จุดเลือดออก (จุดแดง) เกิดขึ้นที่บริเวณท้องแขนใต้ตำแหน่งที่รัดเป็นจำนวนมากกกว่า 10 จุด
ในวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว (เท่ากับเหรียญบาทโดยประมาณ) แสดงว่าการทดสอบได้ผล
บวก ถ้าน้อยกว่า 10 จุด ก็ถือว่าได้ผลลบ
ในผู้ป่วยไข้เลือดออก การทดสอบนี้จะได้ผลบวกได้มากกว่า 80% ตั้งแต่เริ่มมีไข้ได้ 2 วัน เป็นต้นไป
1-2 วันแรกอาจให้ผลลบ คนที่เป็นโรคเลือดที่มีเกล็ดเลือดต่ำ เช่น ไอทีพี , โลหิตจางอะพลาสติก  
หรือคนที่เป็นไข้หวัด หรือไข้อื่น ๆ ก็อาจให้ผลบวกได้เช่นกัน ผู้ป่วยไข้เลือดออกที่มีภาวะช็อก การทดสอบนี้อาจให้ผลลบได้

อาการแทรกซ้อน
ไข้สูง (39-40 ํซ.) หน้าแดง เปลือกตาแดง อาจคลำได้ตับโต มีผื่นแดง หรือจุดแดงจ้ำเขียว
การทดสอบทูนิเคต์ให้ผลบวก

การรักษา
นอกจากภาวะเลือดออกรุนแรงและภาวะช็อกแล้ว อาจเป็นปอดอักเสบ หรือหลอดลมอักเสบ
แทรกซ้อนได้ แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก นอกจากนี้ ถ้าให้น้ำเกลือมากไป อาจเกิดภาวะปอด
บวมน้ำ (pulmonary edema) เป็นอันตรายได้ ดังนั้นเวลา ให้น้ำเกลือทางหลอดเลือด ควรตรวจ
ดูอาการอย่างใกล้ชิด

ข้อแนะนำ
1. ถ้าอาการไม่รุนแรง (มีอาการในขั้นที่ 1) คือเพียงแต่มีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร โดยยังไม่มีอาการเลือดออกเองหรือมีภาวะช็อก ควรให้การรักษาตามอาการ ดังนี้
1.1 ให้ผู้ป่วยพักผ่อนมาก ๆ
1.2 หากมีไข้สูง ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวบ่อย ๆ และให้ยาลดไข้-พาราเซตามอล ห้ามให้แอสไพรินเพราะ
อาจทำให้มีเลือดออกได้ง่ายขึ้นอย่างไรก็ตาม ถึงแม้ให้ยาลดไข้ บางครั้งไข้ก็อาจจะไม่ลดก็ได้ ระวัง
อย่าให้พาราเซตามอลถี่กว่ากำหนด
1.3 ถ้าเด็กเคยชัก ให้ยากันชัก
1.4 ให้อาหารอ่อน ๆ เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก นม น้ำหวาน
1.5 ให้ดื่มน้ำมาก ๆ จนปัสสาวะออกมากและใส อาจเป็นน้ำเปล่า น้ำผลไม้ น้ำอัดลม (ควรเขย่าฟอง
ออกก่อน) หรือสารละลายน้ำตาลเกลือแร่
1.6 ควรเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด อาจต้องนัดผู้ป่วยมาตรวจดูอาการทุกวัน ควรจับชีพจร วัด
ความดันเลือด และตรวจดูอาการเลือดออก เมื่อพ้น 1 สัปดาห์ ผู้ป่วยก็มักจะทุเลาและฟื้นตัวได้หาก
มีเลือดออก หรือสงสัยเริ่มมีภาวะช็อก ควรส่งโรงพยาบาลด่วน
2. ถ้าผู้ป่วยอาเจียนมากหรือมีภาวะขาดน้ำ ควรให้น้ำเกลือชนิด 5% D/1/2NSS หรือ 5%D/1/3NSS
ประมาณ 100 มล. ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน ทางหลอดเลือดดำ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 1-2 วัน
หรือมีภาวะช็อก หรือเลือดออก ควรส่งโรงพยาบาลด่วน
3. ถ้าผู้ป่วยมีภาวะช็อกหรือเลือดออก (ขั้นที่ 3 และ 4) ควรส่งโรงพยาบาลด่วน โดยให้ 5% D/1/2 NSS
ประมาณ 10-20 มล. ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ไประหว่างทางด้วยทำการวินิจฉัยด้วยการ
เจาะเลือด ตรวจฮีมาโตคริต(hematocrit) เพื่อดูความเข้มข้นของเลือดเป็นระยะ ๆ ถ้าเลือดข้น
มากไป เช่น ฮีมาโตคริต มีค่ามากกว่า 50% ขึ้นไปก็แสดงว่าปริมาตรของเลือดลดน้อย ซึ่งเป็น
สาเหตุของภาวะช็อกได้ ควรให้น้ำเกลือจนกว่าความเข้มข้นของเลือดกลับลงเป็นปกติ (ฮีมาโตคริต
ประมาณ 40-45%) นอกจากนี้อาจเจาะเลือดตรวจดูเชื้อที่เป็นสาเหตุ (ตรวจทางไวรัสวิทยา) โดยเจาะในวันแรกครั้งหนึ่ง ก่อนผู้ป่วยกลับบ้านครั้งหนึ่ง และอีก 2 สัปดาห์ อีกครั้งหนึ่ง ถ้าอยู่ใน
โรงพยาบาลต่างจังหวัดอาจเก็บตัวอย่างเลือดโดยซับบนกระดาษซับ แล้วส่งไปตรวจยังหน่วยงาน
ที่สามารถทำการตรวจเลือดได้
การรักษา ให้น้ำเกลือรักษาภาวะช็อก ถ้าจำเป็นอาจให้พลาสมา หรือสารแทนพลาสมา (เช่น
แอลบูมิน หรือเดกซ์แทรน) และให้เลือดถ้ามีเลือดออก

การป้องกัน
1. ไข้เลือดออกมักแยกออกจากไข้หวัด   ได้ โดยที่ไข้เลือดออกไม่มีอาการคัดจมูกน้ำมูกไหล
อาจมีไข้สูงหน้าแดง ตาแดง หรือมีผื่นขึ้นคล้ายหัด แต่แยกออกจากหัด  ได้ โดยหัดจะมีน้ำมูกและ
ไอมาก และตรวจพบจุดค็อปลิก นอกจากนี้อาการไข้สูงโดยไม่มีน้ำมูก ยังอาจทำให้ดูคล้ายส่าไข้ ,
ไข้หวัดใหญ่ , ไข้รากสาดน้อย , มาลาเรีย , ตับอักเสบจากไวรัสระยะแรก , เล็ปโตสไปโรซิส  เป็นต้น
 ดังนั้นในช่วงฤดูฝนหรือในช่วงที่มีการระบาดของไข้เลือดออก ถ้าพบคนที่มีอาการไข้สูงเฉียบพลัน ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ ควรทำการทดสอบทูร์นิเคต์ เพื่อพิสูจน์ไข้เลือดออกทุกราย
2. ไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัส จึงไม่มียาที่ใช้รักษาโดยเฉพาะประมาณ 70-80% ของคนที่เป็นไข้
เลือดออก จะมีอาการเพียงเล็กน้อย และหายได้เองภายในประมาณ 1 สัปดาห์ (4-10 วัน) เพียงแต่
ให้การรักษาตามอาการ และให้ดื่มน้ำให้มาก ๆ เพื่อป้องกันภาวะช็อกก็เพียงพอ ไม่ต้องรับไว้รักษา
ในโรงพยาบาล ไม่ต้องฉีดยาให้น้ำเกลือ หรือให้ยาพิเศษ แต่อย่างไรประมาณ 20%-30% ที่อาจมี
ภาวะช็อกหรือเลือดออก ซึ่งก็มีทางรักษาให้หายได้ ด้วยการให้น้ำเกลือหรือให้เลือด มีเพียงส่วน
น้อยเท่านั้นอาจรุนแรงถึงตายได้
3. ระยะวิกฤตของโรคนี้คือวันที่ 3-7 ของไข้ ซึ่งผู้ป่วยอาจมีภาวะช็อกหรือเลือดออกได้ ดังนั้นจึง
ควรเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ถ้าพ้นระยะนี้ไปได้ ก็ถือว่าปลอดภัย ควรบอกให้ญาติสังเกต
อาการที่เป็นสัญญานอันตรายดังต่อไปนี้
- กระสับกระส่าย หรือซึมมาก
-ปวดท้องตรงยอดอกหรือลิ้นปี่
- อาเจียนมาก
-มือเท้าเย็นชืด มีเหงื่อออกและท่าทางไม่สบายมาก
- หายใจหอบและเขียว
-มีจ้ำเลือดตามตัวหลายแห่ง
- มีเลือดออก เช่น เลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจาระเป็นเลือด
ถ้าพบอาการดังกล่าวเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ควรพาไปหาหมอโดยเร็ว
4. ผู้ที่เป็นไข้เลือดออก ถ้ามีอาการปวดท้อง อาเจียนมาก หรือเบื่ออาหาร (ดื่มน้ำได้น้อย) อาจมีภาวะ
ช็อกตามมาได้ ดังนั้นถ้าพบอาการเหล่านี้ ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ ควรพยายามให้ดื่มน้ำให้มาก ๆ
ถ้าดื่มไม่ได้ควรให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ
5. เนื่องจากเชื้อไข้เลือดออกมีอยู่หลายชนิด ดังนั้นคนเราจึงอาจติดเชื้อไข้เลือดออกได้หลายครั้ง แต่ส่วนมากจะมีอาการ ไข้คล้ายไข้หวัด แล้วหายได้เอง ส่วนน้อยที่อาจเป็นรุนแรงถึงช็อก และแต่
ละคนจะมีโอกาสเป็นไข้เลือดออกชนิดรุนแรงเพียงครั้งเดียว ที่จะเป็นรุนแรงซ้ำ ๆ กันหลายครั้งนั้น
นับว่าน้อยมาก
6. คนที่เป็นไข้เลือดออก สามารถให้พาราเซตามอลเพื่อลดไข้ได้ แต่ควรแยกแยะอาการตัวเย็น
จากยาลดไข้ให้ออกจากภาวะช็อก กล่าวคือ ถ้าตัวเย็นเนื่องจากยาลดไข้ผู้ป่วยจะดูสบายดีและ
หน้าตาแจ่มใส แต่ถ้าตัวเย็นจากภาวะช็อก ผู้ป่วยจะซึม หรือกระสับกระส่าย

การป้องกันสามารถกระทำได้ ดังนี้
1. ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่น
- ปิดฝ่าโอ่งน้ำ และล้างโอ่งน้ำทุก 10 วัน
- เปลี่ยนน้ำในแจกันทุก 10 วัน สำหรับแจกันพลูด่าง ต้องใช้น้ำชะล้างไข่ หรือลูกน้ำที่เกาะติดตา
มราก
- จานรองตู้กับข้าว ควรใส่น้ำเดือดลงไปทุก 10 วันหรือใส่เกลือแกงในน้ำที่อยู่ในจานรองตู้ ขนาด
2 ซ้อนชาต่อน้ำ 1 แก้ว
- ควรเก็บกระป๋อง กะลา ยางรถยนต์เก่า ๆ หรือสิ่งที่จะเป็นที่ขังน้ำ ซึ่งอยู่ในบริเวณบ้าน โรงเรียน
และแหล่งชุมชน ทำลายหรือฝังดินให้หมด
- ปรับพื้นบ้านและสนามอย่าให้เป็นหลุมเป็นบ่อที่มีน้ำขังได้
- วิธีที่สะดวก คือ ใส่ทรายอะเบต (Abate) 1% ลงในตุ่มน้ำและภาชนะกักเก็บน้ำทุกชนิด ในอัตราส่วน
10 กรัมต่อน้ำ 100 ลิตร (ตุ่มมังกรขนาด 8 ปีบ ใช้อะเบต 2 ช้อนชา, ตุ่มซีเมนต์ขนาด 12 ปีบ ใช้อะเบต
2.5 ช้อนชา) ควรเติมใหม่ทุก 2-3 เดือน น้ำที่ใส่ทรายอะเบตสามารถใช้ดื่มกินได้อย่างปลอดภัย
2. ให้สุขศึกษาแก่ประชาชนเมื่อเข้าใกล้ฤดูฝน และทำการรณรงค์ให้มีการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
พรัอม ๆ กัน  ทั้งในบ้าน โรงเรียน และแหล่งชุมชน จึงจะได้ผลต่อการควบคุมยุงลาย
3. เด็กที่นอนกลางวัน ควรกางมุ้งอย่าให้ยุงลายกัด

ความรุนแรงของไข้ของไข้เลือดออก
เราสามารถแบ่งระดับความรุนแรงของไข้เลือดออกเป็น 4 ขั้น ได้แก่
ขั้นที่ 1 (เกรด 1) มีไข้และมีอาการแสดงทั่ว ๆ ไปที่ไม่เฉพาะเจาะจง อาการแสดงของการมีเลือดออกมีเพียงอย่างเดียว
คือ มีจุดแดง ๆ ตามผิวหนังโดยไม่มีอาการเลือดออกอย่างอื่น ๆ และการทดสอบทูร์นิเคด์ให้ผลบวก
ขั้นที่ 2 (เกรด 2) มีอาการเพิ่มจากขั้นที่ 1 คือ มีเลือดออกเอง อาจออกเป็นจ้ำเลือดที่ใต้ผิวหนัง หรือเลือดออกจากที่อื่น ๆ
เช่น อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด แต่ยังไม่มีภาวะช็อก ชีพจรและความดันเลือดยังปกติ
ขั้นที่ 3 (เกรด 3) มีอาการแสดงของภาวะช็อก เช่น กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น เหงื่อออก ชีพจรเร็วและเบาความดันเลือดต่ำ หรือมีความแตกต่างระหว่างความดันช่วงบนและความดันช่วง
ล่าง ซึ่งเรียกว่า แรงชีพจร* (pulse pressure) ไม่เกิน 20 (เช่น ความดันช่วงบน 80 ช่วงล่าง 60 )
ขั้นที่ 4 (เกรต 4 ) มีภาวะช็อกอย่างรุนแรง ชีพจรเบาและเร็วจนจับไม่ได้ ความดันเลือดตกจนวัด
ไม่ได้ และหรือมีเลือดออกมาก เช่น อาเจียน หรือถ่ายเป็นเลือดมาก
ไข้เลือดออกที่เกิดจากเชื้อชิกุนคุนยา จะมีความรุนแรงในขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 จะไม่ทรุดต่อไปเป็น
ขั้นที่ 3 และ 4
ส่วนไข้เลือดออกที่เกิดจากเชื้อเด็งกี อาจมีความรุนแรงถึงขั้นที่ 3 และ 4 ประมาณ 20-30% ที่เหลือ
อีก 70-80% จะแสดงอาการในขั้นที่ 1 และ 2
การเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยตามขั้นต่าง ๆ จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงควรดูแลผู้ป่วยอย่าง
ใกล้ชิดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ การเปลี่ยนจากขั้นที่ 2 มาขั้น 3 และ 4 ควรจับชีพจร วัดความดันเลือด
 และถ้าเป็นไปได้ควรตรวจหาความเข้มข้นของเลือดโดยการเจาะเลือดตรวจฮีมาโตคริต 
(hematocrit) เป็นระยะๆ

รายละเอียด
* แรงชีพจรในคนปกติจะอยู่ระหว่าง 30-50 มิลลิเมตรปรอท ถ้าน้อยกว่า 30 เรียกว่า "แรงชีพจรแคบ"
เช่น 120/100, 90/70, 80/70 เป็นต้น ถ้ามากกว่า 50 เรียกว่า "แรงชีพจรกว้าง" เช่น 160/90, 150/70
เป็นต้น


                                      Ball9.gif (5053 bytes)

bar5.jpg (6486 bytes)







Ball29.gif (4893 bytes)
มาลาเรีย (ไข้มาลาเรีย ไข้จับสั่น ไข้ป่า) Malaria

ลักษณะทั่วไป
มาลาเรีย (ไข้มาลาเรีย ไข้จับสั่น ไข้ป่า ก็เรียก) ยังคงเป็นโรคที่พบได้บ่อยในบ้านเรา มักพบใน
บริเวณที่เป็นป่าเขา จึงพบได้แทบทุกภาคของประเทศ (ยกเว้นกรุงเทพฯ, ในบริเวณที่เป็นตัว
จังหวัด ตัวอำเภอ และที่ ๆ เป็นทุ่งนากว้างห่างจากป่าเขา) ในบ้านเราคนที่มีไข้หนาวสั่นมาก
หรือมีไข้นานหลายวัน เมื่อตรวจร่างกายไม่พบอาการอย่างอื่นชัดเจน หรือพบเพียงตับโตม้ามโต พึงนึกถึงโรคนี้กับไข้ไทฟอยด์   ไว้ก่อนเสมอ เชื้อที่ทำให้เป็นไข้มาลาเรียมีอยู่หลายชนิด แต่ที่
สำคัญในบ้านเรามี 2 ชนิด คือ พลาสโมเดียม ฟาลซิพารัม (Plasmodium falciparum) กับ
พลาสโมเดียม ไวแวกซ์ (Plasmodium vivax)
ชนิดฟาลซิพารัม พบได้ประมาณ 70-90% มักมีปัญหาดื้อยา และมีโรคแทรกซ้อนได้มาก เช่น
ดีซ่าน มาลาเรียขึ้นสมอง, ดีซ่าน, ไตวาย ฯลฯ เป็นอันตรายถึงตายได้   

                              Ball9.gif (5053 bytes)

bar5.jpg (6486 bytes)




Ball29.gif (4893 bytes)

ลักษณะทั่วไป
เล็ปโตสไปโรซิส เป็นโรคติดเชื้อที่พบได้เป็นครั้งคราวในแทบทุกจังหวัด พบมากในคนที่มีอาชีพ
ที่ต้องย่ำน้ำ เช่นทำนา ทำสวน เก็บขยะ ขุดท่อ เลี้ยงสัตว์ ทำงานในโรงฆ่าสัตว์ หรือทำเหมืองแร่
พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง

โรคนี้พบได้ประปรายตลอดปี แต่จะพบมากในช่วงเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่มี
น้ำขังหรือเกิดภาวะน้ำท่วม มีเชื้อโรคขังอยู่ในน้ำ เมื่อคนเดินลุยน้ำก็มีโอกาสได้รับเชื้อนี้ บางครั้ง
อาจพบมีการระบาด

เกิดจากเชื้อ Leptospira ใน order Spirochaetales เป็นแบคทีเรียที่มีรูปร่างเป็นเกลียว ขนาด
เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.1 um ความยาวประมาณ 6 - 20 um สามารถเคลื่อนที่ได้ แบ่งออกได้ 2 สปีชีส
- Leptospira biflexa   เป็นเชื้อที่ไม่ก่อให้เกิดโรค
- Leptospira interrogans  เป็นพวกที่ก่อให้เกิดโรคและเป็นพวกอาศัยแบบปรสิต เป็นโรคติดต่อ
จากสัตว์มาสู่คน
พื้นที่เสี่ยงได้แก่ภาคอีสานตอนใน และภาคอีสานตอนใต้ ภาคเหนือ ภาตกลาง และภาคใต้ เช่น บุรีรัมย์
มหาสารคาม สุรินทร์ หนองบัวลำภู อุดรธานี เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ พิษณุโลก กรุงเทพ อยุธยา ชัยนาท สระแก้ว กระบี่

สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อว่าเชื้อเล็ปโตสไปร่า (Leptospira) เชื้อนี้จะมีอยู่ในไต
ของสัตว์แทะ ที่พบบ่อย คือ หนูท่อ หนูนา หนูพุก นอกจากนี้ยังพบใน สุนัข หมู วัวควาย สัตว์เหล่านี้
จะปล่อยเชื้อออกมากับปัสสาวะ คนเราจะรับเชื้อโดยการกินอาหาร หรือดื่มน้ำที่เปื้อน ปัสสาวะของ
สัตว์เหล่านี้ หรือไม่ก็โดยการเดินลุยน้ำ หรืออาบน้ำที่แปดเปื้อนปัสสาวะของสัตว์เหล่านี้ แล้วเชื้อก็
จะเข้าทางบาดแผลขีดข่วนตามผิวหนัง หรือเข้าทางเยื่อบุจมูก ปาก หรือตาที่ปกติ   ระยะฟักตัว
2-20 วัน (ที่พบบ่อย คือ 7-12 วัน)

อาการ
ผู้ป่วยจะมีไข้สูงหนาวสั่น เกิดขึ้นเฉียบพลัน ปวดศีรษะรุนแรง และปวดเมื่อยตามตัวมาก คล้าย
ไข้หวัดใหญ่ แต่จะรู้สึกปวดมากตรงบริเวณน่อง ผู้ป่วยจะมีอาการตาแดง เจ็บคอ เบื่ออาหาร
อาเจียนท้องเดิน ปวดท้องทั่ว ๆ ไป หรือปวดตรงชายโครงขวา (บางคนอาจปวดรุนแรงถึงกับต้อง
ผ่าตัดช่องท้องดู) เยื่อหุ้มสมองอักเสบ  มีผื่นที่เพดานปาก  อาจมีอาการตาเหลืองหลังมีไข้ 2-5 วัน
ต่อมาอาจมีจุดแดงจ้ำเขียวขึ้นตามผิวหนัง มีเลือดออกที่เยื่อตาขาว อาจไอ อาเจียน หรือถ่ายอุจจาระ
ปัสสาวะเป็นเลือด ในรายที่เป็นมาก อาจมีภาวะไตวายเฉียบพลัน ปัสสาวะออกน้อย หรือไม่ออกเลย
อาจมีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือมีอาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (ปวดศีรษะรุนแรง และคอแข็ง)
การติดเชื้อส่วนใหญ่มักไม่มีอาการหรือแสดงอาการแบบอ่อนจนไม่สามารถวินิจฉัยโรคนี้ได้ จนปล่อย
ให้เกิดอาการอย่างรุนแรง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ทำให้ถึงเสียชีวิตได้ สาเหตุการเสีย
ชีวิตที่สำคัญมักมาจาก ตับและไตวาย การที่มีเลือดออกมาก ทางเดินหายใจล้มเหลว
ระยะฟักตัวของโรคนี้กินเวลาประมาณ 10 วันหลังการได้รับเชื้อ ( ช่วงประมาณ 5-19 วัน) เชื้อจะถูก
ขับออกมาทางปัสสาวะพบได้หลังจากได้รับเชื้อประมาณ 1 เดือน

สิ่งตรวจพบ
ไข้สูง 39-40 ํซ. ตาแดง และมีอาการปวดน่องมากเมื่อใช้มือบีบ ตับมักโต และเจ็บเล็กน้อย
อาจพบอาการตาเหลืองตัวเหลือง มีจุดแดงจ้ำเขียวตามผิวหนัง ซีด หรือชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอ

การแยกวินิจฉัยออกจากโรคอื่น

ในพื้นที่ที่มีโรคนี้เป้นโรคประจำถิ่น การติดเชื้อส่วนใหญ่ มักไม่มีอาการหรือแสดงอาการแบบอ่อน
จนไม่สามารถวินิจฉัยโรคนี้ได้ นอกจากนี้ยังต้องแยกอาการออกจากโรคอื่นๆอีกหลายโรคเช่น โรค
ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก ตับอักเสบจากไวรัส สครับไทฟัส มาลาเรีย ไทฟอยด์ ไข้เลือดออกฮันตา
เยื่อหุ้มสมองอักเสบอื่นๆ
ในช่วง 24-72 ชั่วโมงแรก อาการจะคล้ายกับโรคสครัปไทฟัส และโรคไข้เลือดออกฮันตามาก โดยการ
ตรวจทางซีโรโลยี่ต่อโรคไข้เลือดออกฮันตา ในเกาหลีพบว่า มี 21 % เป็นแอนติบอดีย์ต่อเชื้อ เลปโต
สไปโรซีส ประมาณ 6% เป็นแอนติบอดีย์ต่อเชื้อสครัปไทฟัส เป็นต้น ดังนั้นจำเป็นต้องอาศัยผลการตรวจ
ทางห้องปฏิบัติการมาช่วย เช่นการตรวจหาระดับแอนติบอดีย์ต่อเชื้อเลปโตสไปโรซีส การตรวตค่า
ครีเอตินีน ยูเรีย เม็ดเลือดขาวเพิ่มสูง ในระยะหลังของการป่วยจะพบระดับ บิลลิรูบินขึ้นสูง ในขณะที่ค่า
SGOT/SGPT ปกติ ในการตรวจพิสูจน์โรคในผู้เสียชีวิตจะพบพยาธิสภาพ ดีซ่าน มีเลือดออกตามเนื้อ
เยื่อต่างๆ ไตโตและซีด มีเลือดออก มีการเสื่อมสลายของเซล renal tubula สามารถย้อมพบตัวเชื้อใน
เนื้อเยื่อได้

ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
1. ในรายที่ไม่มีเลือดออก ระดับฮีโมโกลบินจะปกติ
2. ผู้ป่วยที่มีอาการเหลือง จะมีเม็ดเลือดขาวขึ้นสูงระหว่าง 11000-20000 / cu.mm.
3. จำนวนเกล็ดเลือดมักต่ำกว่า 1000000- cu.mm.
4. พบค่า BUN / Creatinine ขึ้นสูง
5. ค่า Bilirubin ขึ้นสูง แต่ค่า SGPT ปกติหรือสูงเล็กน้อย (ซึ่งแตกต่างจากไวรัสตับอักเสบ)
6. ตรวจพบไข่ขาว Albumin ในปัสสาวะ อาจพบ Cast ต่างๆในปัสสาวะได้
7. ในรายเยื่อหุ้มสมองอักเสบ จะพบเม็ดเลือดขาวในน้ำเจาะไขสันหลัง

อาการแทรกซ้อน
ที่อาจพบได้ คือ ปอดอักเสบ , กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ , ภาวะไตวาย   หรือ
ช็อกจากการเสียเลือด

การรักษา
การรักษาจำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะที่รวดเร็วและระดับที่เหมาะสม การรักษาตามอาการเพื่อแก้ไข
ความผิดปกติและภาวะแทรกซ้อน และร่วมกับการรักษาแบบประคับประคอง

การให้ยาปฏิชีวนะโดยเร็วจะสามารถช่วยลดความรุนแรงของโรค ยาที่ได้ผลดีที่สุดในการรักษาคือ
เพนนิซิลีน สำหรับรายที่แพ้ต่อเพนนิซิลีนให้ใช้ doxycyclin แทนในรายอาการหนักแบ่งให้ Pennicillin
G ขนาด 1.5 ล้านหน่วยทุก 6 ชั่วดมง เป็นเวลา 7 วัน ฉีดเข้าเส้นเลือดดำ หรือให้ Ampicillin เข้าเส้น
เลือดดำ 4 กรัมต่อวันโดยแบ่งให้ 1 กรัมทุก 6 ชั่วโมง ติดต่อกัน 7 วัน ในรายแพ้ต่อกลุ่ม Penicillin ให้
Doxycycline เข้าเส้นเลือดดำขนาด 100 มิลลิกรัมทุก 12 ชั่วโมง นาน 7 วัน

หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว
- การตรวจเลือด จะพบจำนวนเม็ดเลือดขาวสูงกว่าปกติ บางคนอาจสูงถึง 50,000 ตัวต่อ 
  ลูกบาศก์มิลลิเมตร
- นอกจากนี้ยังอาจพบระดับของบียูเอ็น (BUN) และครีอะตินิน (creatinine) สูงกว่าปกติ
- การตรวจปัสสาวะพบสารไข่ขาว เม็ดเลือดแดง และเม็ดเลือดขาว
- ในรายที่ปวดศีรษะรุนแรง หรือสงสัยเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบแทรกซ้อน อาจต้องเจาะหลัง
- อาจต้องทำการเพาะเชื้อจากเลือด ปัสสาวะ หรือน้ำไขสันหลัง
- การทดสอบทางน้ำเหลือง จะพบแอนติบอดีต่อเชื้อนี้ขึ้นสูง
การรักษา ให้ยาปฏิชีวนะ เช่น ฉีดเพนิซิลลินจี อย่างน้อยวันละ 2 ล้านยูนิต (ในรายที่เป็นรุนแรง
อาจให้ถึง 4-6 ล้านยูนิต) หรือเตตราไซคลีน   ครั้งละ 250-500 มก. วันละ 4 ครั้ง หรือดอกซีไซคลีน
100 มก. วันละ 2 ครั้ง ซึ่งจะได้ผลในระยะต้นของโรคเท่านั้น (คือภายใน 4 วันหลังมีอาการ) ยิ่งเร็ว
เท่าไรยิ่งได้ผลดี และควรให้ยาอย่างนาน 7-10 วัน นอกจากนี้จะให้การรักษาตามอาการที่พบ เช่น
ให้ยาลดไข้ , ให้น้ำเกลือ ถ้ามีภาวะขาดน้ำ, ให้เลือดถ้ามีเลือดออก ถ้ามีภาวะไตวาย อาจต้องทำ
การฟอกล้างของเสีย หรือไดอะไลซิส (dialysis) ผลการรักษาขึ้นกับความรุนแรงโรค และสภาพของ
ผู้ป่วย ถ้าไม่มีอาการดีซ่าน อาการมักจะไม่รุนแรง แต่ถ้ามีดีซ่านร่วมด้วย มักจะมีภาวะแทรกซ้อน
รุนแรง และมีอัตราตายถึง 15% ซึ่งมักเกิดจากภาวะไตวาย หรือช็อกจากการเสียเลือด

การป้องกัน
ต้องอาศัยการเฝ้าระวังการระบาดของโรค ประกอบด้วย
- การเฝ้าระวังโรคในคนเพื่อทราบข้อมูลของผู้ป่วย ข้อมูลทางห้องปฏิบัติการ
- การสอบสวนการระบาดของโรคในสัตว์เลี้ยง สัตว์ป่า
- การตรวจแหล่งน้ำ ดินทราย เพื่อค้นหาแหล่งปนเปื้อนเชื้อ หรือแหล่งแพร่เชื้อ
- ควบคุมกำจัดหนู แยกสัตว์เลี้ยงที่ติดเชื้อไปรักษา ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
1. คื่มน้ำและอาหารที่รุงสุกใหม่ๆ ด้วยความร้อน
2. ป้องกันอาหารมิให้หนูมาปัสสาวะรดได้
3. ในพื้นที่เสี่ยงหลีกเลี่ยงการลุยน้ำที่อาจปนเปื้อนเชื้อได้ โดยเฉพาะถ้ามีแผลที่มือหรือเท้า แม้จะเป็น
    แผลถลอก รอยขีดข่วน ถ้าเลี่ยงไม่ได้ให้สวมรองเท้าบู๊ทแล้วรีบอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดหลัง
    แช่น้ำสกปรกมา
4. สวมรองเท้า ถุงมือยางเพื่อป้องกันการสัมผัสถูกน้ำโดยตรง
5. ควรเผาบริเวณที่จะทำการเพาะปลูกเพื่อไล่หนูออกไปไม่ให้มาปัสสาวะรดบริเวณที่จะทำงาน
6. ในพื้นที่เสี่ยงควรฉีดวัคซีนป้องกัน
7. ในผู้ที่ต้องคอยดูแลผู้ป่วย ควรระมัดระวังสัมผัสถูกเลือด ปัสสาวะ สารคัดหลั่งต่างๆจากผู้ป่วย เสื้อผ้า
    ที่เปื้อนปัสสาวะต้องนำไปฆ่าเชื้อก่อน



ข้อแนะนำ

ถ้าพบผู้ป่วยมีไข้สูงเฉียบพลัน ตาแดง ปวดเมื่อยตามตัวคล้ายไข้หวัดใหญ่ ควรตรวจโดยการบีบ
ดูน่องของผู้ป่วย ถ้ารู้สึกเจ็บน่องมาก ควรสงสัยว่าเป็นเล็ปโตสไปโรซิส (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ามี
ตับโต หรือดีซ่านร่วมด้วย) และควรส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลภายใน 24 ชั่วโมง

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  โดย พิมพ์ใจ  นัยโกวิท

                                     Ball9.gif (5053 bytes)

bar5.jpg (6486 bytes)






Acute/Chronic Gastritis Peptic Ulcer จากเชื้อ H.Pylori

Helicobacter pylori เป็นเชื้อชนิด gram negative spiral bacteria สามารถพบได้บ่อยในบุคคลทั่วไป
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนาที่ซึ่งประชาชนยังมีฐานะยากจน มีความเป็นอยู่ที่แออัดในชุมชน
คาดว่าโอกาสของการติดเชื้อเกิดเนื่องมาจาก inter-human transmission เช่น ปาก - ปาก /  น้ำย่อย -
 ปาก / จากอุจจาระ - ปาก เป็นต้น เราพบว่าในขณะนี้มีประชากรโลกโลกติดเชื้อนี้อยู่ประมาณ 50 %
 ทีเดียว และแทบทุกรายจะมีภาวะ กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง ( chronic gastritis ) แต่มีเพียงบาง
กลุ่มเท่านั้นที่จะแสดงอาการร่วมกับเกิดพยาธิสภาพที่เด่นชัดในกระเพาะอาหาร เช่น  peptic ulcer
 เป็นต้น
- ในผู้ป่วย gastric ulcer (G.U.)      มีโอกาสพบเชื้อ H.pylori ร่วมด้วยประมาณ 60-80 %
- ในผู้ป่วย duodenal ulcer ( D.U.) มีโอกาสพบเชื้อ H.pylori ร่วมด้วยประมาณ 95-100 %
- ในผู้ป่วย gastric cancer ( G.C.)  มีโอกาสพบเชื้อ H.pylori ร่วมด้วยประมาณ  72 % จากการทำ
   gastric biopsy และ 90 % จากการตรวจหาใน gastrectomy specimen จากข้อมูลของ WHO
   ปัจจุบันให้ความสำคัญต่อเจ้า H.pylori นี้ว่าเป็น "Carcinogen" เป็นตัวก่อให้เกิดมะเร็ง โดยประมาณ
   การว่าผู้ที่มีเชื้อ H.pylori นี้จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเกิด gastric cancer มากกว่าคนปกติถึง 8-9
   เท่า

Helicobacter pylori มีลักษณะเป็น curved gram negative rod (แบบแท่ง) มีขนาดกว้าง 0.5-0.9 um.
 ยาว 3 um. และสามารถเปลี่ยนรูปร่างเป็น cocciod form (ทรงกลม) หลังจากถูกอากาศภายในเวลว
2 ชั่วโมง พบ long motile sheathed flagella (ตัวช่วยในการเคลื่อนที่) ซึ่งจะพบเพียงข้างใดข้างหนึ่ง
ของเซล มักพบได้ประมาณ 4-5 อัน

จากความสำคัญและการทำให้เกิดพยาธิสภาพของเชื้อ H.pylori นี้แล้ว เครื่องมือชุดทดสอบในการตรวจ
หาการติดเชื้อจึงมีความสำคัญมาก ทั้งในแง่ของการวินิจฉัยโรคและการติดตามผลการรักษา ในทาง
ทฤษฏี วิธีในการตรวจที่ดีต้องมีความถูกต้องแม่นยำสูง วิธีทำการทดสอบง่าย  ราคาถูก สามารถยืนยัน
ได้ว่าเชื้อยังมีชีวิตอยู่ นอกจากนี้ยังสามารถสะดวกในการติดตามผลการรักษา ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการ
ตรวจที่ถือว่าดีที่สุดแต่อาจใช้ในหลายๆแบบร่วมกัน แบ่งวิธีการตรวจได้
1. การตรวจจากการตัดชิ้นเนื้อ โดยการทำ  gastroscope จำเป็นต้องเก็บชิ้นเนื้อจากหลายๆจุดใน
กระเพาะอาหาร ทั่งส่วน upper body, incisura angularis และส่วน antrum วิธีการนี้มักจะใช้ทำใน
ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องส่องกล้องอยู่แล้ว เช่น ในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 45 ปี ที่มีอาการปวดท้อง จำเป็น
ต้องตรวจชิ้นเนื้อกระเพาะอาหารเพื่อตรวจหาเซลมะเร็ง และในผู้ป่วยที่มี alarm symptom แม้จะมีอายุ
น้อยอยู่ เช่นน้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว   กลืนลำบาก   มีการตกเลือดในระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น
2. การตรวจโดยการย้อมเชื้อ   เราสามารถพบเชื้อได้โดยการย้อม Hematoxylin-eosin แต่การเห็นจะ
ค่อนข้างลำบาก   การย้อมพิเศษโดยเฉพาะ Warthin-Starry siler stain จะช่วยให้เห็นตัวเชื้อได้ชัดเจน
มีความแม่นยำและความไว = 99% และ 93.1% ตามลำดับ จัดเป็นวิธีที่ดีแต่มีความยุ่งยาก ข้อเสียของ
วิธีนี้ก็คือ ต้องมีการดูดของเหลวในกระเพาะ   เชื้อที่เห็นไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นเชื้อที่ตายแล้วหรือ
ว่ายังมีชีวิตอยู่ และเนื่องจากการที่เชื้อสามารถเปลี่ยนรูปร่างได้ ทำให้ต้องใช้เจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญ
ในการตรวจแยกชนิดเชื้อ   ในบางกรณีจำเป็นต้องอาศัยการตรวจวิธีอื่นร่วมด้วย
3. การย้อมเชื้อแบบ Immune stain อาศัยหลักการ ImmunohistoChemistry Stain โดยการนำ
ตัวเชื้อมาทำให้บริสุทธิ์ (เรียกแอนติเจน) และนำไปใช้ในการสร้าง แอนติบอดีย์ที่จำเพาะเจาะจงต่อตัว
เชื้อ H.pylori มาช่วยในการย้อมดูตัวเชื้อทำให้มีการติดสีแตกต่างไปจากบริเวณอื่นๆ มีรายงานว่าการ
ย้อมแบบ immune stain มีความไวสูงมาก และช่วยยืนยันว่าเชื้อที่เราเห็นในการย้อมคือเชื้อ H.pylori
 แน่นอน  ข้อจำกัดของวิธีนี้คือ ราคาค่อนข้างแพง   ใช้ในการติดตามผลการรักษาได้ลำบาก 
อาจพบผลบวกปลอมได้ในรายหลังการรักษา
4. การเพาะเชื้อ   จัดเป็นวิธีที่แน่นอนวิธีหนึ่ง แต่ค่อนข้างยุ่งยากในการที่จะต้องจะต้องมีวิธีการในการ
เก็บชิ้นเนื้อ และต้องรีบทำการเพาะเชื้อในทันที (ภายใน 2 ชั่วโมง หลังจากตัดชิ้นเนื้อออกมา)  ต้องมีวิธี
ในการเตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อที่ดีมาก จึงจะให้ผลที่ดีเชื้อ H.pylori ต้องการภาวะ microaerobic การ
เพาะต้องทำใน CO2 incubator ที่มีการควบคุมให้มีระดับออกซิเจนประมาณ 5 % คาร์บอนไดออกไซด์
ประมาณ  5-10% ไนโตรเจนประมาณ 80-85% โดยมีความชื้นประมาณ 98% ในการเพาะเชื้อ สำหรับ
อาหารเลี้ยงเชื้อมีทั้งแบบ blood ager, horse serum agar หรือ Brain heart Infusion media ถึงแม้
จะ มีความแม่นยำสูง แต่ก็มีกรรมวิธีที่ยุ่งยาก
5. โดยวิธี PCR ตรวจหา DNA ของเชื้อ H.pylori ใช้หลักการในการหา DNA ของเชื้อจาก tissue เนื้อ
เยื่อที่ตัดออกมาเช่น gastric biopsy ข้อดีคือทำให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับยีน และสายพันธุ์ ของเชื้อ ความ
รุนแรงของเชื้อ แต่ข้อด้อยคือมีกรรมวิธีที่ยุ่งยาก ต้องใช้เครื่องมือที่มีราคาแพง จึงมักมีใช้ในงานวิจัย
เป็นส่วนใหญ่ เราสามารถตรวจสอบได้ว่ามี DNA ของเชื้อจริงแต่ไม่สามารถยืนยันได้ว่าเชื้อยังมีชีวิต
อยู่หรือตายไปแล้ว ต่างจากวิธีแบบการเพาะเชื้อที่สามารถยืนยันว่าเชื้อยังมึชีวิตอยู่ เป็นวิธีที่อยู่ใน
ระหว่างวิจัยและพัฒนาการตรวจให้มีความไวและความจำเพาะที่ดีขึ้น
6. Serologic test ในการตรวจหาเชื้อ H.pylori   การติดเชื้อ H.pylori จะทำให้ร่างกายสร้าง
แอนติบอดีย์ในรูปของ IgG , IgM หรือ IgA ขึ้นมาต่อต้านเชื้อ เอช.ไพโรไร ซึ่งเราสามารถตรวจพบได้
โดยทางอิมมูโน โดยการตรวจหา IgG และ IgA จะมีความแม่นยำในการตรวจหามากกว่า IgM โดยเรา
สามารถตรวจได้ทั้งจาก ซีรั่ม เลือด หรือจาก gastric biopsy   ส่วนวิธีการตรวจในปัจจุบันมีด้วยกัน
หลายวิธี เช่น Enzyme -Linked Immunosorbent assay , Immuno Blot , Latex Agglutination 
และวิธี Color Immunochromatographic Assay (CICA) ข้อดีคือราคาไม่แพงมากนัก วิธีทำการ
ทดสอบไม่ยุ่งยากเหมาะสำหรับการตรวจกรองขั้นต้น แต่ข้อด้อยอาจมีผลบวกปลอมได้โดยเฉพาะ
ในพื้นที่ endermic แบบประเทศไทยเราบ้าง เช่นมีความไวเกือบ 100 % แต่มีความจำเพาะแค่ 
50-60% ดังนั้นการทดสอบอาจแปลผลได้ว่าอาจเคยมีการติดเชื้อมาก่อน และไม่ได้บอกว่าในปัจจุบัน
มีการติดเชื้อหรือไม่ เพราะในการทำการรักษาจนปราศจากเชื้อแล้วแต่ในร่างกายเรายังมีระดับ IgG 
สูงอยู่เป็นเวลานานซึ่งในบางครั้งอาจเลี่ยงไปใช้ชุดในการตรวจหา IgA จากซีรั่มหรือ gastric biopsy 
ซึ่งจะให้ความจำเพาะสูงกว่า

ปัญหาในการตรวจหาเชื้อ H.pylori ในประเทศไทย การตรวจที่สดวกที่ดีควรเลือกแบบใช้ตัวอย่างที่เก็บ
ได้ง่าย เช่นจากซีรั่ม เลือด น้ำลาย เป็นต้น แต่เนื่องจากปัญหาในพื้นที่กระจายระบาดของโรค endermic
area การใช้ชุดตรวจชนิด IgG ยังมีความแม่นยำไม่เพียงพอ เนื่องจากมี ความไวสูง แต่มีความจำเพาะ
เจาะจงต่ำ อาจจะช่วยได้ในแง่การตรวจกรองขั้นต้น แต่ไม่สามารถใช้ตรวจยืนยันการติดเชื้อในขณะ
ปัจจุบันได้อย่างชัดเจน แนะนำให้ทำ gastric biopsy เพื่อการยืนยันการตรวจขั้นต้น เป็นวิธีที่ดีที่สุด
การรักษาส่วนใหญ่ยังต้องอาศัย   specialist อยู่ แต่ต่อไปเมื่อชุดช่วยวินิจฉัยโรคมีคุณภาพที่มีความ
แม่นยำสูงขึ้น การตรวจรักษาอาจแพร่หลายลงไปสู่แพทย์ทั่วไปมากยิ่งขึ้น

bar5.jpg (6486 bytes)

 

 

   เมลิออยโดซิส   Pseudomonas pseudomalliei

wpe5.jpg (2190 bytes)
ThaiL@bOnLine - CRYSTAL DIAGNOSTICS
E-mail : vichai-cd@usa.net