สาระน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพ        การตรวจวินิจฉัยโรคทางห้องแล็ป ตั้งแต่การได้รับตัวอย่าง เลือด/ ปัสสาวะ/ สารคัดหลั่งต่างๆ วิธีการทดสอบไปจนถึงการแปลผล
อาการและปัญหาของโรคภัยไข้เจ็บ       การดูแลป้องกันโรคติดต่อ        สรีระร่างกายของเรา       ชมรมเรารักสุขภาพมาช่วยกันดูแลสุขภาพกัน       สุขอนามัย

cdlogo.gif (7928 bytes)
Healthcare & Diagnostic

winshop.jpg (4697 bytes)
HealthShop l ช็อปปิ้งเพื่อสุขภาพ


สนใจรับข่าวสารสุขภาพใหม่ๆ 
พร้อมประโยชน์อื่นๆ เชิญสมัครฟรี !

Home ] Up ] Endocrine ] Muscle/Skeleton ] Cardio ] Skin/Dermal ] Digestive ] Kidney/Urinary ] Tumor/CA ] Infectious ] CBC ] Sexual ] Respiratory ] Brain ] Accident ] HIV ] [ TropicalParasite ] BabyDisease ] Mental ]
ban3.jpg (13652 bytes)

 

Top                  banner8.gif (26157 bytes)

โรคพยาธิใบไม้ในลำไส้
Fasciolopsiasis

โรคพยาธิไส้เดือน
Ascariasis

โรคพยาธิตืดวัว
Taenia saginata Infection

โรคพยาธิใบไม้ตับ
Liver fluke Disease

โรคพยาธิเส้นด้าย/เข็มหมุด
Enterobiasis

โรคพยาธิตืดหมู
Taenia solium Infection

โรคพยาธิใบไม้ปอด
Paragonimiasis

โรคพยาธิปากขอ
Hookworm Disease

โรคพยาธิตืดหมา
Dipylidiasis

โรคพยาธิใบไม้ในเลือด
Schistosomiasis

โรคพยาธิแส้ม้า
Trichuriasis

โรคพยาธิตืดหนู
Hymenolepiasis

 

โรคพยาธิสตรองจีรอยด์
AStrongyloidiasis

โรคพยาธิตืดแคระ
Hymenolepiasis nana

 

โรคพยาธิตัวจื๊ด
Gnathostomaiasis

 
 

โรคพยาธิทริคิโนสิส
Trichinosis

 
 

โรคจากเชื้อบิดอะมีบา
Amoebic enteritis/colitis

โรคท้องเสีย ไกอาร์ดิเอซิส
Giardiasis

ช่องคลอดอักเสบทริโคโมนาส
Trichomonas vaginalis

ไข้จับสั่น/มาลาเรีย
Malaria

   

    bar5.jpg (6486 bytes) 

















โรคพยาธิใบไม้ในลำไส้
Fasciolopsiasis

เป็นโรคพยาธิที่มีสาเหตุจากตัวแก่ของพยาธิใบไม้ชนิด ฟาสซิโอลอปซิส บัสไก (Fasciolopsis buski) อาศัยอยู่ในลำไส้เล็ก

วงจรชีวิตของพยาธิ
คนและหมูเป็นโฮสท์เฉพาะที่พบบ่อย   พยาธิตัวแก่อาศัยอยู่ในบริเวณลำไส้เล็กแถว ดูโอดินั่ม และ เจจูนั่ม ไข่จะปนออกมากับอุจจาระลงไปเจริญอยู่ในน้ำ
ตัวอ่อน (miracidium) จะฟักออกมาจากไข่   เมื่อพบหอยน้ำจืดซึ่งจัดเป็นโฮสท์ตัวกลางลำดับที่หนึ่ง ตัวอ่อนจะไชเข้าสู่หอยน้ำจืด แล้วเจริญต่อไปเป็น
ตัวอ่อนเซอร์คาเรีย ( cercaria)   จะไชออกจากหอยและว่ายออกไปตามน้ำ เมื่อไปเจอพืชน้ำเช่น กระจับ สายบัว ผักบุ้ง ผักตบชวา แห้วจีน เป็นต้น พืช
เหล่านี้เป็นโฮสท์ตัวกลางลำดับที่สอง ซึ่งตัวอ่อนจะเปลี่ยนมีเปลือกอ่อนมาหุ้มเรียก เมตาเซอร์คาเรีย (metacercaria) ซึ่งจะเกาะอยู่แถวพืชเหล่านั้น
เมื่อคนกินพืชเหล่านั้นแบบดิบๆที่ยังไม่ทำให้สุก ก็จะเป็นการกินเอาตัวอ่อนเมตาเซอร์คาเรียเข้าไปในร่างกายเมื่อมาถึงกระเพาะ ตัวอ่อนจะแตกออกมาจาก
เปลือกหุ้ม แล้วเจริญไปเป็นตัวแก่บริเวณลำไส้เล็กส่วนบน ( duodenum /Jejunum) ต่อไป

อาการ
ขณะที่พยาธิตัวแก่เจริญเติบโตอยู่ในลำไส้เล็ก จะทำให้เกิดการอักเสบและเกิดแผลเล็กๆขึ้นบริเวณที่เกาะดูด ทำให้มีเลือดออกได้ นอกจากนั้นของเสียที่เกิด
จากพยาธิเมื่อถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายทำให้เกิดพิษแลพภูมิแพ้ได้   การตรวจเลือดจะพบเม็ดเลือดขาวชนิด อีโอซิโนฟิลขึ้นสูง ถ้ามีตัวพยาธิมากๆอาจทำให้
เกิดลำไส้อุดตันได้   อาการจะแปรผันตามปริมาณพยาธิในลำไส้อาจมีระดับน้อยๆไปจนถึงรุนแรงถึงตายได้ โดยอาการจะเริ่มต้นจาก อาการปวดท้อง
อุจจาระเหลวและบ่อย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย น้ำหนักลด   พวกที่มีอาการมากขึ้นจะมีอาการขาดอาหาร โรคแทรก บวมทั้งตัว ท้องมาน
ซีดเพราะเสียเลือดและธาตุเหล็ก   อุจจาระเหลว เหม็น ปวดท้องตลอดเวลา อาจถ่ายตัวพยาธิออกมาด้วย   ตายด้วยภาวะขาดอาหารและโรคแทรกซ้อน

การตรวจวินิจฉัยโรค
- ตรวจพบไข่พยาธิในอุจจาระ
- ตรวจพบตัวแก่หลุดปนออกมากับอุจจาระด้วย
- ตรวจพบเม็ดเลือดขาวชนิดอีโอซิโนฟิลสูง

การรักษา
1. รักษาบำรุงร่างกายให้แข็งแรงก่อน ให้อาหารที่มีประโยชน์เพื่อบำรุงร่างกาย
2. การถ่ายพยาธิ
    ใช้ยา Tetrachlorethylene ตัวเดียวกับใช้ถ่ายพยาธิปากขอ   แล้วให้ยาถ่ายตาม
    ใช้ยา Niclosamide ( yomesan)  ขนาด 0.5 กรัม/เม็ด  จำนวน 4 เม็ด   เคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน   สองชั่วโมงต่อมาจึงให้ยาถ่ายตามเช่น 
     ดีเกลือ
30 ซี.ซี. ตาม


การป้องกัน
1. ให้ประชาชนในเขตระบาดศึกษาเข้าใจถึงวงจรชีวิตรวมถึงการติดต่อของพยาธินี้
2. ในเขตที่มีการระบาด อุจจาระที่จะนำมาทำปุ๋ย ควรเติมสารเคมีเช่น ปูนขาว ก่อนนำไปใช้
3. ทำลายหอยน้ำจืดที่เป็นตัวกลาง
4. ไม่รับประทานพืชน้ำข้างต้นแบบดิบๆ หรือสดๆ พืชอาจใช้วิธีทำให้สุกก่อน หรือจุ่มลงในน้ำเดือดอย่างน้อย 2-3 นาทีก่อนรับประทาน
5. ใช้ยาถ่ายพยาธิ

bar5.jpg (6486 bytes)















โรคพยาธิใบไม้ตับ
Liver fluke Disease

พยาธิใบไม้ในตับของคนที่มีความสำคัญมีอยู่ 3 ชนิดด้วยกันได้แก่
- Clonorchis sinensis      คลอโนชิส ไซเนนซิส  พบระบาดแถบ จีน อินโดจีน ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลี ไต้หวัน
- Opisthorchis felineus   โอฟีสทอร์ชิส เฟลิเนียส  พบระบาดแถบ ยุโรป   ไซบีเรีย อินเดีย  อินโดจีน ญี่ปุ่น  เกาหลี ฟิลิปปินส์
- Opisthorchis viverrini โอฟีสทอร์ชิส วิเวอร์รินี
  พบระบาดแถบ ภาคตะวันออกเฉียวเหนือของไทย ลาว  อินโดจีน 
สำหรับในประเทศไทยตัวที่เป็นปัญหาได้แก่ Opisthorchis viverrini โอฟีสทอร์ชิส วิเวอร์รินี   โดยที่พยาธิตัวแก่อาศัยอยู่ในท่อน้ำดีภายในตับ
ประมาณการว่าประชากรในภาคอีสานเป็นโรคนี้สูงถึงร้อยละ 72-87 หรือประมาณ 3.5 ล้านคน

วงจรชีวิตของพยาธิ
Opisthorchis viverrini โอฟีสทอร์ชิส วิเวอร์รินี เป็นตัวที่จะกล่าวถึง   โดยตัวแก่จะอาศัยอยู่ในท่อน้ำดีในตับของคนและสัตว์ เช่น สุนัข  แมว
ซึ่งถือเป็นโฮสต์เฉพาะ   นอกจากนี้ยังอาจอาศัยอยู่ในถุงน้ำดีหรือตับอ่อนได้   ไข่จะปนออกมากับน้ำดี เข้าสู่ลำไส้เล็ก และไข่ปนออกมากับอุจจาระ ถ้าไข่
ตกลงในน้ำ  หอยน้ำจืดพวก bithynia species ซึ่งเป็นโฮสต์กลางลำดับที่หนึ่ง   จะกินไข่พยาธิเข้าไป ไข่จะฟักตัวออกมาเป็น ไมราซิเดียม
(miracidium) แล้วเจริญต่อไปจนกลายเป็น เซอร์คาเรีย ( cercaria)   เซอร์คาเรียจะว่ายออกจากหอยไปฝังตัวในปลาน้ำจืด ซึ่งจัดเป็นรโฮสต์ตัว
กลาวลำดับที่สอง   เช่นปลาแม่สะแด้ง   ปลาตะเพียนทราย   ปลาสร้อยนกเขา  ปลาสูตร   ปลากะมัง  เป็นต้น ในเนื้อปลาจะเจริญต่อไปเป็นเมตาเซอร์
คาเรีย(metacercaria) ฝังตัวในรูปขิงซีสต์ ซึ่งถีอว่าเป็นระยะติดต่อ   เมื่อคนและสัตว์กินปลาที่มีเมตาเซอร์คาเรียฝังอยู่แบบสุกๆดิบๆ เช่น ก้อยปลา
 ซึ่งเป็นอาหารยอดนิยมในภาคอีสาน เมตาเซอร์คาเรียจะแตกออกจากซีสท์ มาอยู่ในลำไส้ส่วนดูโอดีนัม แล้วเดินทางผ่าน เข้าสู่ท่อน้ำดีใหญ่   เดินทางต่อ
ไปถึงท่อน้ำดีเล็กแล้งฝังตัวเจริญเป็นตัวแก่ต่อไป


อาการ และ พยาธิสภาพ
จะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผนังท่อน้ำดี และการอุดตันของท่อน้ำดี เนื่องจากพยาธิมีการเคลื่อนตัวไปมาในนั้น บางตัวอาจไปทำให้เกิดอุดตันท่อน้ำดี
ส่วนปลาย นอกจากนั้นของเสียที่ขับออกมาจากตัวพยาธิยังก่อให้เกิดการระคายเคืองของท่อน้ำดีอีกด้วย   ทำให้ผนังของท่อน้ำดีหนาขึ้น ทำให้ท่อน้ำดีตีบ
จะทำให้เกิดน้ำดีคั่งอยู่ภายในท่อน้ำดีส่วนปลาย ทำให้เกิดท่อน้ำดีโป่งพอง   นอกจากนี้อาจเกิดการอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม การอักเสบลามไปถึง
เนื้อตับทำให้ตับอักเสบเป็นฝีหนองขึ้นได้ บางร้ายกลายเป็นมะเร็งของท่อน้ำดีต่อไป

อาการโดยทั่วไป ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง รู้สึกไม่ค่อยสบาย โดยเฉพาะบริเวณชายโครงขวา ยอดอก   ต่อไปเริ่มมีการอักเสบของท่อน้ำดีร่วมด้วย
ผู้ป่วยมีอาการเบื่ออาหาร มีไข้ต่ำๆ ตับอาจโตกดเจ็บ และเริ่มมีอาการตัวเหลือง   ต่อไปเริ่มมีภาวะแทรกซ้อนเช่น ท่อน้ำดีอักเสบเรื้อรัง เป็นๆหายๆ มีไข้สูง
ปานกลาง
ตัวเริ่มเหลืองมากขึ้น ตับโตกดเจ็บ เริ่มมีอาการตับแข็ง  ม้ามโต แรงดันเลือดสูง   อาจพบมะเร็งของท่อน้ำดีร่วมด้วย

การตรวจวินิจฉัยโรค

1. โดยการสำรวจจากภูมิลำเนาจากแหล่งระบาด พร้อมอาการตัวเหลือง ตับโต ให้นึกถึงพยาธิใบไม้ในตับ

2. การตรวจหาไข่พยาธิในอุจจาระ   ดูภาพไข่พยาธิ
3. การตรวจด้วย Peritoneoscopy เป็นการตรวจดูภายในของตับ ถ้าพบท่อน้ำดีขยายออกมาก ผิวของตับมีลักษณะขรุขระ

การรักษา

- ถ้ามีอาการท่อน้ำดีอักเสบให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียก่อน
- ถ้ามีภาวะตัวเหลืองจากท่อน้ำดีอุดตัน อาจต้องผ่าตัดทำศัลยกรรมท่อน้ำดีใหม่ เพื่อให้น้ำดีระบายออกได้
- มะเร็งของท่อน้ำดี รักษาได้ยาก ผ่าตัดหรือใชยาเพื่อบรรเทาอาการ
- ยังไม่มียาใดที่สามารถรักษาได้โดยตรง ที่มีเป็นเพียงการลดการผลิตไข่ เช่น Chlorquine / Dehydroemetine / Hexachlorparaxylol ยาตัวนี้
ได้ผลดีกับระยะปานกลางซึ่งยังมีตัวพยาธิไม่มาก และยังไม่มีภาวะแทรกซ้อน ขนาด 100-200 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักต่อ 1 กิโลกรัม แบ่งให้วันละ 3 เวลา
หลังอาหาร วันเว้นวัน จำนวน 5 ครั้ง จำนวนไข่พยาธิอาจเพิ่มขึ้นในระยะแรกของการรักษา แต่จะค่อยๆหมดไปภายใน 3-5 สัปดาห์

การป้องกัน
1. ให้ประชาชนเข้าใจถึงวงจรชีวิตของพยาธิ และการป้องกัน
2. ไม่ถ่ายอุจจาระเรี่ยราด ไม่เป็นที่เป็นทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถ่ายลงน้ำ
3. เลิกการรับประทานปลาดิบๆสุก
4. ทำลายหอยน้ำจืดตัวกลาง

bar5.jpg (6486 bytes)

โรคพยาธิใบไม้ในปอด เกิดจากพยาธิใบไม้ชนิด Paragonimus westermani เข้าไปอาศัยอยู่ในปอด ทำให้มีอาการไอเรื้อรังและไอเป็นเลือด
การระบาดพบได้ทั่วโลก แต่จะพบได้มากแถบตะวันออกกลาง เช่น ญี่ปุ่น จีน เกาหลี ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ อินเดีย ไทย อัฟริกา และอเมริกาใต้ เป็นต้น
สำหรับในประเทศไทยมีพยาธิใบไม้ปอดในบริเวณ ภาคกลางของประเทศ เช่น เพชรบูรณ์   สระบุรี นครนายก เพราะบริเวณดังกล่าวมีกุ้งและปู
ชุกชุม ซึ่งนินมเอามากินแบบดิบๆสุกๆ เช่น พล่า ยำ เป็นต้น

วงจรชิวิตของพยาธิ
พยาธิตัวแก่จะอาศัยอยู่ในบริเวณปอดของโฮสท์เฉพาะ ได้แก่ คน สุนัข  แมว เสือ นอกจากปอดแล้วอาจพบได้บริเวณสมอง กล้ามเนื้อ  พยาธิที่อาศัย
อยู่ในปอดจะสร้างถุงหุ้มรอบตัวเอง (cyst) ถุงบางอันจะมีช่องติดต่อกับหลอดลม ฉะนั้นในการไอบางครั้งไข่จะปนออกมากับเสมหะ หรือเมื่อถูก
กลืนเสมหะลงในท้อง ไข่พยาธิก็ออกมาปนกับอุจจาระได้ เมื่อไข่ตกลงไปในน้ำจะใช้เวลาประมาณ 2-7 สัปดาห์ ฟักตัวออกมาเป็นตัวอ่อน ไมราซิเดียม
(miracidium) ไมราซิเดียมจะว่ายไปหาโฮสท์ตัวกลางลำดัที่หนึ่งได้แก่หอยน้ำจืดพวก melania แล้วเจริญต่อไปในตัวหอยกลายไปเป็น เซอร์คาเรีย
(cercaria) ซึ่งรัยะนี้ใช้เวลาประมาณ 10-12 สัปดาห์ เซอร์คาเรียจะว่ายออกจากตัวหอยไชเข้าไปฝังตัวอยู่ใน กุ้ง ปูน้ำจืด ซึ่งเป็นโฮสท์ตัวกลาง
ลำดับที่สอง ตัวอ่อนจะเริ่มเปลี่ยนตัวเองกลายไปเป็นเมตาเซอร์คาเรีย (metacercaria) ซึ่งอยู่ในสภาพของซิสท์ ซึ่งระยะนี้ถือเป็นระยะติดต่อ
ตัวอ่อนในระยะนี้มีความทนทานมาก ไม่ว่าจะแช่ในเหล้า หรือดองด้วยน้ำเกลือก็ไม่ตายง่ายๆ วิธีที่ได้ผลแน่นอนคือทำให้สุก   เมื่อคนกิน กุ้ง หรือปูที่มี
ตัวอ่อนระยะเมตาเซอร์คาเรียเข้าไปในร่างกาย ผนังของซีสท์จะถูกย่อยให้แตกออกบริเวณลำไส้เล็กส่วนดูโอดินั่ม ภายใน 24-48 ชั่วโมงพยาธิจะไข
ผ่านผนังลำไส้เข้าสู่ช่องท้อง แล้วไชผ่านกะบังลมและเยื่อหุ้มปอดเข้าไปฝังตัวอยู่ในเนื้อปอด ระยะเดินทางนี้กินเวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ ภายในปอด
พยาธิตัวอ่อนจะเจริญไปเป็นตัวโตเต็มวัยกินระยะเวลาประมาณ 5 - 6  สัปดาห์ รวมระยะเวลาของวงจรประมาณ   7 เดือน

อาการและพยาธิสภาพ
ในช่วงที่ตัวอ่อนไขผ่านผนังลำไส้ ผ่านกะบังลมเพื่อไปที่ปอด ในช่วงนี้ยังไม่มีอะไรสำคัญมากนัก แต่เมื่อพยาธิไปถึงปอดจะทำให้เนื้อปอดเกิดการอักเสบ
ทำให้มีเม็ดเลือดขาวบริเวณนั้นมาก เนื้อปอดบริเวณนั้นจะตายและมีพังผืดเกิดขึ้นมาหุ้มตัวพยาธิเป็นซิสท์ขึ้น ในซีสท์หนึ่งๆอาจมีตัวพยาธิได้มากกว่า
หนึ่งตัวขึ้นไป ซีสท์จะมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลแดงหรือสีช็อคโคแล็ท รอบๆตัวพยาธิมีหนองข้นเหนียว ปนเลือดและไข่พยาธิ เมื่อซีสท์แตกออกเข้าสู่หลอด
ลมในขณะไอ จะมีเสมหะปนหนองและไข่พยาธิออกมาด้วยเสมหะมีลักษณะสีสนิมเหล็ก ถ้าพยาธิเข้าสมองหรือไขสันหลังก็จะทำลายเนื้อสมองและ
ไขสันหลังทำใหเกิดอาการผิดปกติของระบบประสาทกลางได้ ถ้าพยาธิไปอยู่ที่กล้ามเนื้อหรือใต้ผิวหนัง ก็ทำให้เกิดเป็นแผลเรื้อรังได้

ผูป่วยจะค่อยๆเริ่มมีอาการมากขึ้นดังนี้ อาการไอเรื้อรัง ไอเพื่มมากขึ้นเรื่อยๆ เสมหะเริ่มจากลักษณะเหนียวสีขาว ต่อมาเป็นสีเขียว จนมีเลือดปนออกมา
โดยมากมักไอมากเวลาตื่นนอนในตอนเช้า หรือเวลาทำงานหนัก เลือดที่ปนออกมาจะค่อยๆมีมากขึ้น ผู้ป่วยเริ่มเจ็บบริเวณหน้าอก อาการจะดูคล้ายวัณโรค
โรคหลอดลมอักเสบ   ถุงลมโป่งพอง   ที่แตกต่างกันคือผู้ป่วยโรคพยาธิใบไม้ปอดจะไม่มีไข้ สุขภาพไม่เสื่อมโทรม   ลักษณะเสมหะเหนียวเป็นมัน มี
เลือดปน
บางครั้งออกเป็นสีน้ำตาลปนแดง   พบก้อนเล็กๆสีเหลืองทองปนอยู่ (ไข่พยาธิ) เสมหะมักออกมามากในตอนเช้า

การตรวจวินิจฉัยโรค
1. โดยการถ่ายเอ็กซ์เรย์ปอด อาจพบโพรงหรือเงาทึบ มีลักษณะกลมเป็นวงแหวน ขอบไม่ชัดเจน มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด
2. การตรวจเลือด CBC ระดับปริมาณเม็ดเลือดขาวไม่สูง แต่ชนิดเม็ดเลือดขาวอีโอซิโนฟิลขึ้นสูง
3. มีประวัติทานปูหรือกุ้งแบบดิบๆสุกๆ   มีเสมหะเหนียว และมีสีสนิทเหล็ก   ไอมากในตอนเช้า
4. ตรวจพบไข่พยาธิใบไม้ในปอดในเสมหะหรืออุจจาระ   ดูรูปประกอบ
5. การทดสอบน้ำเหลืองให้ผลบวก

การรักษาทั่วไป
- ผู้ป่วยที่ซีด ไอเป็นเลือดมากให้ยาที่มีธาตุเหล็ก เช่นเฟอร์รัส ซัลเฟต
- ตรวจหาเชื้อแบคที่เรีย เพื่อป้องกันการซ้ำเติมจากเชื้อโรค
- ถ้ามีมากจำเป็นต้องเจาะเอาน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดออก
- ใช้ยา Bithionol (Bitin) ขนาดยาที่ใข้ 40 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ให้รับประทานวันเว้นวัน จนครบ 10 ครั้ง
- ใช้ยา Bitin S อนุพันธ์ใหม่ ขนาดยาที่ใช้ 10-20 มิลลิกรัมต่อวัน ให้เหมือนข้างต้น
   ผลการรักษา ปริมาณเสมหะจะเริ่มลดลงอย่างรวดเร็ว เลือด และไข่พยาธิจะค่อยๆหายไปในระยะ 1-2 สัปดาห์หลังให้ยา   ภาพถ่ายเอ็กซ์เรย์ดีขึ้น

การป้องกัน
1. ให้ประชาชนเข้าใจถึงวงจรชีวิตของพยาธิ และการป้องกัน
2. ไม่ถ่ายอุจจาระเรี่ยราด ไม่เป็นที่เป็นทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถ่ายลงน้ำ ไม่บ้วนเสมหะเรี่ยราดตามพื้นดิน
3. เลิกการรับประทานกุ้ง ปูน้ำจืด แบบดิบๆสุกๆ
4. ทำลายหอยน้ำจืดตัวกลาง
5. รักษาด้วยยาอย่างถูกวิธี  

bar5.jpg (6486 bytes)

เป็นพยาธิใบไม้ในเลือดที่ร้ายแรงและมีความสำคัญอย่างยิ่งของมนุษย์ ทำอันตรายได้มากกว่าพยาธิใบไม้อื่นๆ สำหรับในคนจะพบได้ 3 ชนิดคือ
Schistosoma haematobium  พบได้แถบอัฟริกา   ตะวันออกกลาง  ปอร์ตุเกส   อินเดีย
Schistosoma mansoni  พบได้แถบ อัฟริกาใต้
Schistosoma japonicum  พบได้แถบ ตะวันออกไกล จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน   ฟิลิปปินส์ ไทย พม่า เป็นต้น

วงจรชีวิตของพยาธิ
Schistosoma japonicum ชิสโตโซม่า จาปอนนิคุม ซึ่งพบได้ในไทย พยาธิตัวแก่จะอาศัยอญุ่ในเส้นเลือดใหญ่ เป็นชนิดที่มีความร้ายแรงมากที่สุด
วางไข่ได้มากกว่าชนิดอื่น   ทำให้เกิดอาการของบิดและตับแข็ง ไข่พยาธิถ้าพลัดตกไปที่สมองทำให้เกิดอาการชักหรือเป็นอัมพาติได้
พยาธิตัวแก่ในคนหรือสัตว์จะปล่อยไข่ออกมาในกระแสเลือดและจะถูกขับออกมาทางปัสสาวะหรืออุจจาระ ไข่ที่ออกมาจะมี ไมราซิเดียมเจริญเต็มที่อยู่แล้ว
เมื่อไข่ลงไปในน้ำจะฟักตัวออกมา ว่ายอยู่ในน้ำเมื่อไปพบหอยที่เป็นโฮสท์ตัวกลาง ไมราซิเดียมจะไชเข้าไปฝังตัวในหอยและเจริญต่อไปเป็น เซอร์คาเรีย
ซึ่งถือเป็นระยะติดต่อ ก็จะว่ายออกจากหอยไปอาศัยอยู่ในน้ำ ระยะที่อยู่ในหอยกินระยะเวลาประมาณ 4-8 สัปดาห์ เมื่อคนหรือสัตว์ลงไปเล่นน้ำ อาบน้ำ
หรือดื่มน้ำที่มีตัวอ่อนเซอร์คาเรีย (cercaria) อยู่ เซอร์คาเรียจะไชผ่านผิวหนังเข้าสู่หลอดเลือดดำเล็ก เข้าสู่กกระแสเลือด ไปยังหัวใจซีกขวา  สู่ปอด
กลับมายังหัวใจซีกซ้าย   แล้วกระจายไปทั่วร่างกาย ไปเข้าสู่เส้นเลือดที่เข้าสู่ตับ (portal vein) พยาธิจะเจริญเติบดตต่อที่ตับเป็นพยาธิโตเต็มวัย จะเริ่ม
จับคู่ระหว่างเพศเมียและเพศคู่แล้วพากันออกจากตับไปอาศัยอยู่ในหลอดเลือดดำตามตำแหน่งต่างๆแล้วแต่ชนิดของพยาธิ ระยะเวลาที่เข้าสสู่ร่างกายและ
เปลี่ยนจากตังอ่อนไปจนเต้มวัยและจับคู่ผสมพันธุ์กันกินระยะเวลานาน 1-3 เดือน ไข่จะถูกปล่อยออกมากับกระแสเลือดจนไปถึงไตและถูกขัขออกมายัง
กระเพาะปัสสาวะ ออกมากับปัสสาวะ

อาการและพยาธิสภาพ
จะทำให้เกิดพยาธิสภาพกับระบบทางเดินอาหารเป็นสำคัญ เช่น ลำไส้ ม้าม ตับ 
ในระยะที่ตัวอ่อนไชผ่านผิวหนัง จะทำให้เกิดอาการตุ่มคัน แดง ลมพิษ ปกติจะหายไปใน 2 -3 วัน ตัวอ่อนจะอยู่ที่ผิวหนังประมาณ 1-2 วันก็จะเคลื่อนตัว
เข้าสู่เส้นเลือดและไปจนถึงปอด จะทำให้ปอดมีจุดเลือดออกเล็กๆ มีเม็ดเลือดขาวมาล้อมรอบตัวอ่อนพยาธิ ต่อมาเมื่อพยาธิเดินทางมาที่ตับ จะทำให้เกิด
ภูมิคุ้มกันไวเกิน ภูมิแพ้ต่อตัวพยาธิ ลมพิษ ตัวบวม คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ไอบาง เจ็บบริเวณตับ   เม็ดเลือดขาวชนิดอีโอซิโนฟิลสูง
ระยะที่พยาธิเริ่มออกไข่ ไข่เป็นแบบไมราซิเดียมซึ่งจะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 3 สัปดาห์ ไข่ส่วนหนึ่งจะออกมากับปัสสาวะและอุจจาระ อาจมีการถ่ายปัสสาวะ
ออกมาเป็นเลือดเพราะเกิดการอักเสบเป็นโพรงหนองที่ผนังของลำไส้และทางเดินปัสสาวะ ร่างกายจะทำปฏิกริยาต่อต้านต่อโปรตีนไข่ทำให้มีอาการแพ้และ
ลมพิษมากขึ้น   แผลที่เกิดขึ้นจะเริ่มมีผังผืด   อาจเกิดตับแข็งเนื่องจากหลอดเลือดดำที่มายังตับอุดตัน   ภาวะขาดอาหาร  บวม มีน้ำในท้อง  ท้องโต 
อาเจียน
ม้ามโต   ปอดเต็มไปด้วยแผลเล็กๆ ไข่อาจเคลื่อนไปทำให้เกิดพยาธิสภาพ   ที่ สมอง  ไขสันหลัง  ตา หรือผิวหนัง ได้อีก

การตรวจวินิจฉัย
- การตรวจหาไข่พยาธิจาก ปัสสาวะ อุจจาระ      ดูภาพไข่พยาธิ
- โดยการตัดชิ้นเนื้อมาตรวจ
- การทดสอบผิวหนัง ต่อตัวพยาธิใบไม้เลือด
- การทดสอบปฏิกริยาน้ำเหลือง

การรักษา
เนื่องจากมีความยุ่งยากและยาเป็นอันตรายต่อร่างกายจึงควรปรึกษาแพทย์โดยเฉพาะ   เพราะ ชิสโตโซม่า จาปอนนิคุม ที่พบได้ในบ้านเรามีการทนยา
ได้มาก


การป้องกัน
1. ให้ประชาชนเข้าใจถึงวงจรชีวิตของพยาธิ และการป้องกัน
2. ไม่ถ่ายอุจจาระปัสสาวะเรี่ยราด ไม่เป็นที่เป็นทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถ่ายลงน้ำ
3. เลิกการรับประทานกุ้ง ปูน้ำจืด แบบดิบๆสุกๆ
4. ทำลายหอยน้ำจืดตัวกลาง
5. รักษาด้วยยาอย่างถูกวิธี
6. หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำ อาบน้ำ ดื่นน้ำที่ยังไม่ได้ต้ม โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคพยาธิ


bar5.jpg (6486 bytes)

โรคพยาธใส้เดือนตัวกลม Ascariasis เป็นโรคที่เกิดจากหนอนพยาธิ แอสคารีส ลัมบิคอยดีส (Ascaris lumbricoides) พบมากในเขตร้อนชื้น 
ในประเทศไทยพบมากในพื้นที่ภาคใต้


วงจรชีวิตของพยาธิ
พยาธิตัวแก่จะอาศัยอยู่ในลำไส้เล็ก และคอยแย่งอาหารที่ย่อยแล้วในลำไส้กิน มีอายุเฉลี่ยอยู่ประมาณ 6 เดีอน - 1 ปี แยกเพศออกเป็นชนิดตัวผู้ และชนิดตัวเมีย
ตัวเมียจะออกไข่ประมาณ วันละสองแสนฟอง ไข่จะออกมาพร้อมกับอุจจาระถ้าตกลงไปบนพื้นดินที่มีความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสม ประมาณ 25 องศา
เซลเซียส เซลในไข่จะแบ่งตัวเจริญเป็นตัวอ่อนได้ภายใน 10 - 21 วัน เมื่อคนกินอาหารที่ปนเปื้อนไข่พวกนี้ ( Embryoated egg) เข้าไป ตัวอ่อนพยาธิจะ
ฟักตัวออกมา ไชทะลุลำไส้เข้าสู่กระแสเลือดหรือน้ำเหลืองผ่านตับเข้าสู่ หัวใจ ปอด หลอดลม คอหอย หลอดอาหาร แล้วกลับลงมาสู่ลำไส้เล็กมาเจริญเป็นตัว
แก่ต่อไป   นับตั้งแต่ได้รับไข่พยาธิเข้าไปจนเติบโตเป็นตัวแก่ที่พร้อมออกไข่ได้กินระยะเวลาเพียง 2 เดือน

การแพร่กระจายของโรค
อุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสมจะทำให้ไข่เจริญเติบโตเป็นตัวอ่อน ในภาคใต้พบการระบาดมากถึงร้อยละ 70 เนื่องมาจากสภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม
พื้นที่ทำการเพาะปลูกเป็นส่วนใหญ่ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบได้ประมาณ ร้อยละ 7.5    ภาคกลางและภาคเหนือพบร้อยละ 26.4
โรคนี้พบได้ในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ เพราะพฤติกรรมของเด็กมักชอบเล่น เก็บของตามพื้นทาน ถ่ายอุจจาระบริเวณพื้นรอบๆบ้าน ไข่พยาธิบริเวณนั้นอาจติด
มือเด็กและถูกกินเข้าในร่างกาย เมื่อพยาธิโตเต็มวัยก็จะปล่อยไข่ปนออกมากับอุจจาระแพร่กระจายให้คนยอื่นต่อไป

อาการและลักษณะทางคลีนิค
อาการช่วงที่ตัวอ่อนพยาธิกำลังเดินทาง
ในขณะที่พยาธืตัวอ่อนเดินทางผ่านผนังลำไส้ไปยังปอดนั้น ถ้ามีจำนวนมากจะทำให้ผู้ป่วยมีไข้ ไอ หายใจแน่นหน้าอก  หอบเหนื่อย   ไออาจมีเสมหะปนเลือด
บางครั้งอาจมีตัวพยาธิออกมาด้วย   นอกจากนี้ยังเกิดอาการลมพิษ จำนวนเม็ดเลือดขาวอีโอซิโนฟิลขึ้นสูง   อาจทำให้เกิดปอดอักเสบได้ เรียก Loeffer's
syndrome ( Ascaris pneumonia)

- อาการเกิดจากพยาธิตัวแก่
พยาธิตัวแก่จะคอยแย่งอาหารในลำไส้เล็กกิน ดังนั้นในเด็กที่มีพยาธิเป็นจำนวนมากจะเกิดการขาดอาหารได้ โดยเฉพาะพวกโปรตีน บางรายอาจมีอาการคัน
ลมพิษ หน้าบวม
ในกรณีที่มีพยาธิมากอาจไปจับตัวเป็นก้อน ทำให้เกิดอาการลำไส้อุดตันได้ จะมีอาการปวดท้องแบบโคลิค อาเจียน ท้องอืด  ถ่ายลำบาก เป็นต้น
ในบางครั้งพยาธิอาจเดินทางเข้าไปในกระเพาะอาหาร   ผู้ป่วยอาจอาเจียนเอาตัวแก้พยาธิออกมาได้   บางรายพยาธิอาจไชเข้าไปในรูไส้ติ่งทำให้เกิด
ใส้ติ่งอักเสบได้


การตรวจวินิจฉัยโรค
- พบพยาธิตัวแก่หลุดปนออกมากับอุจจาระหรือสิ่งอาเจียน
- ตรวจพบไข่พยาธิในอุจจาระ

การรักษา
1. Mebendazone (Fugacar) ยานี้ในรูปแบบยาเม็ด มีตัวยา 100 มิลลิกรัม/เม็ด ให้ทานในช่วงเช้าและเย็น เป็นเวลา 3 วัน ไม่ควรใช้ยานี้ในสตรีที่ตั้ง
ครรภ์ โดยเฉพาะในช่วง 1 - 3 เดือนแรก
2. Pyrantel pamoate (Combantrin)   เป็นยาเม็ดขนาด 125 มิลลิกรัม/เม็ด ใช้ขนาดยา 10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ครั้งเดียว
3. Levamisole ( Decaris) ประกอบด้วยตัวยา Levotetramisole ทำเป็นเม็ดขนาด 50 มิลลิกรัม สำหรับเด็ก และขนาด 150 มิลลิกรัมสำหรับ
ผู้ใหญ่ ขนาดยาที่ใช้ 2.5 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ให้เพียงครั้งเดียว
สำหรับรายที่มีการอุดกั้นลำไส้ ถ้าอุดกั้นเพียงบางส่วนให้รักษาตามอาการเช่น ใช้สานสวนดูดลมออก อาการอาเจียน ท้องอืดก็จะทุเลา แต่ถ้าอุดกั้นมากก็จำเป็น
ต้องใช้วิธีศัลยกรรม

การป้องกัน
- ถ่ายอุจจาระให้ถูกสุขลักษณะ ไม่ถ่ายลงพื้นเรี่ยราด
- ให้เการศึกษาแก่ประชาชนให้เข้าใจถึงสุขอนามัย   วงจรชีวิตของพยาธิ   ล้างมือก่อนทานอาหาร   ตัดเล็บให้สั้นเรียบร้อย   ล้างผักที่จะใช้ทานให้
  สะอาดก่อน

- ถ่ายพยาธิให้ผู้ป่วยทันทีทุกคนในละแวกบ้าน

bar5.jpg (6486 bytes)

โรคพยาธิเส้ยด้ายหรือพยาธิเข็มหมุด เป็นโรคที่เกิดจากหนอนพยาธิ เอ็นเทอร์โรเบียส เวอร์มิคูลาลีส (Enterobius vermicularis) พบระบาดได้
ทั้งในเขตร้อนและหนาว พบมากในเด็ก โดยเฉพาะเด็กในวัยเรียน


วงจรชีวิตพยาธิ
พยาธิตัวแก่อาศัยอยู่ในช่วงต้นๆของลำไส่ใหญ่และตอนปลายๆของลำไส้เล็ก   ตกกลางคืนพยาธิตัวเมียจะคลานมาใกล้บริเวณรูทวาร   ออกมาวางไข่
แล้วก็ตาย
ไข่จะติดอยู่บริเวณก้น เสื้อผ้า กางเกง ที่นอน ผ้าปูที่นอน ไข่ที่ออกมานี้จะเจริญต่อไปเป็นระยะติดต่อภายในเวลา 24-36 ชั่วโมง   เมื่อผู้ป่วย
เกาก้นไข่พยาธิจะติดไปตามมือ เล็บ เมื่อใช้มือจับอาหารรับประทานเข้าปากก็จะกินเอาไข่พยาธิเข้าไปด้วย เด็กบางรายติดนิสัยชอบดุดนิ้วก็เช่นกัน ไข่
พยาธิที่ถูกกินเข้าไปจะเจริญต่อไปเป็นพยาธิตัวอ่อนและเจริญเติบโตต่อไปในลำไส้เล็ก   หลังจากผสมพันธิ์แล้วพยาธิตัวแก่ก็จะตายไป ส่วนตัวเมียจะ
เดินทางมาอญุ่ยังบริเวณลำไส้ใหญ่ตอนต้นแล้วคลานออกมาวางไข่ในเวลากลางคืน


การแพร่กระจายของโรด
โรคนี่ติดต่อได้ง่าย มักพบว่าเวลาเป็นมักเป็นกันทั้งครอบครัว หรือที่ที่มีคนอยู่กันเป็นหมู่ เช่น โรงเรียน เด็กมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ใหญ่   ในเด็กนักเรียน
พบได้ประมาณร้อยละ 50 การติดต่อมีดังนี้

- พบได้บ่อยที่สุดคือการกินเอาไข่พยาธิเข้าไป โดยติดตามมือ เล็บ จากการเกาเพราคันรูทวาร
- ผู้ป่วยกินไข่ที่ติดตามเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม หรือผ้าปูที่นอน
- ได้รับไข่พยาธิที่ปลิวอยู่ในอากาศ
- ไข่พยาธิฟักเป็ฯตัวอ่อนที่บริเวณทวารแล้วไชกลับเข้าไปเจริญเป็นตัวแก่

อาการและลักษณะทางคลีนิค
มักไม่มีอาการรุนแรง ส่วนมากจะเป็นอาการคนทวารในเวลากลางคืน ทำให้เด็กนอนไม่ค่อยหลับ ร้องกวน   ถ้าเกามากอาจเกิดการอักเสบติดเชื้อแบคทีเรีย
ทำให้เกิดอาการเบื่ออาหาร หงุดหงิด น้ำหนักลด ปัสสาวะบ่อยในเพศหญิงอาจพบการอักเสบของปากช่องคลอดร่วมได้ด้วย

การวินิจฉัยโรค
- ตรวจพบไข่พยาธิบริเวณทวานหนัก โดยใช้วิธีสก็อตเทป เทคนิค โดยการใช้แผ่นเทปใสที่ปากทวารหนัก ในช่วงเช้าหลังตื่นนอน แล้วนำไปตรวจหา
ไข่พยาธิด้วยกล้องจุลทรรศน์

- พบพยาธิตัวแก่ที่บริเวณทวารหนัก

การรักษา
1. ป้องกันการติดต่อ โดยการรักษาสุขอนามัย ทำความสะอาดเสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน ล้างมือ ตัดเล็บ ทำความสะอาดบริเวณทวารหนัก เป็นการ
ตัดวงจรในการกลับมาติกต่อได้ใหม่ เพราะพยาธิจะมีชีวิจอยู่ได้นานประมาณ 3 -6 สัปดาห์

2. การให้ยาถ่ายพยาธิ
- Piperazine ใช้ขนาดของยาประมาณ 50-75 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เป็นเวลา 7 วัน
- Mebendazon  (Fugacar) ให้ทานขนาด 100 มิลลิกรัม กินครั้งเดียว ได้ผลดีมาก
- Pyrantal pamonate ( Combantrin) ใช้ขนาด 10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ให้เพียงครั้งเดียว

การป้องกัน
1. รักษาสุขอนามัย โดยหมั่นทำความสะอาดที่นอน ผึ่งแดด เสื้อผ้า   รักษาความสะอาดของร่างกาย รวมถึงห้องน้ำ พื้น
2. ให้ยาถ่ายพยาธิกับทุกคนในบ้าน โดนเฉพาพยาธิเส้นด้ายนี้มีโอกาสกลับมาติดใหม่ได้สูง

bar5.jpg (6486 bytes)

พยาธิปากขอที่เป็นชนิดที่อาศัยอยู่ในคนมี species  คือ
- Necator americanus          นีคาเตอร์ อเมริกานัส
- Ancylostoma duodenale    แอนไซโลสโตรมา ดูโอดินาเล่
ทำให้ผู้ป่วยเสียเลือด และมีอาการต่างๆของโรคโลหิตจางเป็นอาการสำคัญ   สำหรับประเทศไทยเราพบว่า ชนิด Necator ระบาดมากกว่า 
Ancylostoma
พบได้ทุกภาคของประเทศ แต่ที่พบมากสุดจะเป็นทางภาคใต้

พยาธิปากขอชนิด Necator ตัวเมียจะออกไข่วันละประมาณ 6000 - 20000 ฟอง ส่วนชนิด Ancylostoma ตัวเมียออกไข่ 25000 - 30000 
ฟอง/วัน
ไข่จะปนออกมากับอุจจาระ ในบริเวณที่มีอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสมตัวอ่อนจะฟักออกจากไข่ภายในเวลา 24-48 ชั่วโมง เป็นตัวอ่อน
ระยะที่หนึ่ง เรียกระยะนี้ว่า แรบดิติฟอร์ม ( Rhabditiform larva) ตัวอ่อนระยะนี้จะเริ่มลอกคราบและเปลี่ยนไปเป็นตัวอ่อนระยะที่สอง ใช้ระยะ
เวลาช่วงนี้ประมาณ 3 วัน
หลังจากนั้นอีกประมาณ 3-5 วัน ก็จะเติบโตกลายเป็นตัวอ่อนระยะที่สาม เรียกตัวอ่อนในระยะนี้ว่า ฟิลาริฟอร์ม ( filariform
 larva) ซึ่งจัดเป็นระยะติดต่อมาศู่คนโดยสามารถไชทะลุผิวหนังเข้าสู่ร่างกายคนได้ ถ้าคนเดินเท้าเปล่า โดยจะไชเข้าทางบริเวณผิวหนังอ่อนเช่นง่าม
เท้า เข้ามาในร่างกายเดินทางต่อตามท่อน้ำเหลืองหรือกระแสเลือด เข้าสู่หัวใจ ปอด หลอดลม คอหอย หลอดอาหาร ลงมาสู่กระเพาะอาหาร มาสุดที่
ลำไส้เล็กและเจริญเติบโตเป็นตัวแก่ต่อไป


การกระจายของโรคพยาธิปากขอในประเทศไทย
เนื่องจากไทยเป็นประเทศกสิกรรมในเขตร้อนทำให้มีอุณหภูมิและความชื้นเหมาะสมมากสำหรับการเจริญเติบโตของพยาธิปากขอ คนที่อยู่ตามเรือก
สวน ไร่นา
ที่มีการศึกษาน้อย หรือไม่ถูกสุขอนามัย มักถ่ายอุจจาระไม่เป็นที่เป็นทางตามพื้นดิน ตามสุ่มทุมพุ่มไม้ และไม่นิยมสวมรองเท้า จึงมักเป็น
โรคนี้กันมาก จากการศึกษาพบว่า ภาคใต้เป็นมากที่สุด เนื่องจากสภาพอากาศ ร้อนชื้นตลอดไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง พื้นดินในสวนยาง สวนผลไม้ มี
ความร่มรื่น ทำให้มีความชื้นแฉะตลอดทั้งปี   คนที่ทำอาชีพสวนยาง จะต้องตื่นแต่เช้ามืด เดินเท้าเปล่าไปกรีดยางจากต้นยางในสวนยาง และมีการ
ถ่ายอุจจาระไม่เป็นที่เป็นทางตามพื้นดิน
ตามสุ่มทุมพุ่มไม้ จึงทำให้มีโอกาสพบการระบาดในพื้นที่ภาคใต้มากกว่าภาคอื่นๆ

อาการและลักษณะพยาธิสภาพ
เมื่อพยาธิไชเข้าทางง่ามเท้า จะทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นมีการอักเสบเป็นตุ่มแดงและคันเรียกอาการนี้ว่า ground itch ถ้าผู้ป่วยเกาบริเวณนั้นมากอาจทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ต่อมาประมาณ 1-2 อาทิตย์ เป็นระยะเวลาที่พยาธิปากขอเดินทางผ่านบริเวณปอด
ทำให้เกิดหลอดลมหรือปอดอักเสบได้ ผู้ป่วยจะมีอาการไอ มีไข้ จะมีจำนวนเม็ดเลือดขาวอีโอซิโนฟิลสูง
เมื่อพยาธิมาถึงลำไส้และเจริญเติบโตเป็นตัวแก่แล้ว จะทำให้รู้สึกอึดอัด ไม่สบาาย แน่น จุกเสียดท้อง โดยเฉพาะบริเวณยอดอก   อาจถึงกับปวดท้องได้ 
ที่สำคัญคือพยาธิจะดูดเลือดทำให้ร่างกายเสียเลือดมาก จะเกิดอาการ ซีด อ่อนเพลีย มึนงง เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก ซีด   บวมได้

ในเด็กที่มีพยาธิประมาณ 100 ตัวขึ้นไป จะมีอาการซีดและปัญญาทึบ   หรือถ้านับไข่ได้ประมาณ 2000-2500 ใบต่ออุจจาระ 1 กรัม ถือว่าจะเริ่มทำ
ให้ซีดได้


การวินิจฉัยโรค
การตรวจพบไข่พยาธิเป็นการวินิจฉัยที่แน่นอน   ไม่ควรครวจอุจจาระที่ทิ้งไว้ข้ามวัน เพราะถ้าเกิน 24 ชั่วโมงไปแล้ว ไข่จะฟักออกมาเป็นตัวอ่อนได้
ดูถาพประกอบ

การรักษา
การรักษาตามอาการทั่วไปถ้าซีดให้บำรุงโดยให้สารเหล็ก ferrous sulphate 200-400 mg ทานวันละ 3 เวลา จนระดับฮีโมโกลบินเริ่มขึ้นมาใกล้
ระดับปกติจึงจะเริ่มให้ยาถ่ายพยาธิ   การถ่ายพยาธิ

- มะเกลือ ( Diospillos moris) ใช้ปริมาณ 1 ผลต่ออายุ 1 ปี โดยมากที่สุดไม่เกิน 25 ผล ตำคั้นเอาน้ำ   เอาน้ำที่คั้นได้ผสมกับหัวกะทิ ให้รับประทาน
ตอนเช้ามืด

- Pyrantel pamoate ( Cambantrim) ชนิดเม็ดขชนาดเม็ดละ 125 มิลลิกรัม ขนาดที่ใช้ในการรักษา 10-20 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
ให้วันละครั้ง เป็นเวลา 2 วันจะให้ผลการรักษาดีกว่าให้ครั้งเดียว
- Mebendazole ( Fugacar) ขนาดเม็ดละ 100 มิลลิกรัม ให้ครั้งละ 1 เม็ด เช้าและเย็น เป็นเวลา 3 วัน

การป้องกัน 
1. ให้ประชาชนเข้าใจถึงวงจรชีวิตของพยาธิ และการป้องกัน
2. ไม่ถ่ายอุจจาระปัสสาวะเรี่ยราด ไม่เป็นที่เป็นทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าถ่ายแล้วโรยทับด้วยปูนขาวจะช่วยได้
3. รักษาด้วยยาถ่ายพยาธิอย่างถูกวิธี
4. หลีกเลี่ยงการเดินบนพื้นดินที่ชื้นแฉะด้วยเท้าเปล่า  

bar5.jpg (6486 bytes)

โรคพยาธิแส้ม้า เป็นโรคหนอนพยาธิที่เกิดจากพยาธิชนิด Trichuris trichiura และเนื่องจากพยาธิชนิดนี้มีส่วนคล้ายแส้จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า
Human whip worm  พบได้ทั่วโลก สำหรับประเทศไทยพบมากในภาคใต้ ประมาณร้อยละ 38   ภาคกลางประมาณร้อยละ 3.3   ภาคเหนือ
ประมาณร้อยละ 5.2   และภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 2.4

วงจรชีวิตของพยาธิ
พยาธิตัวแก่จะอาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่โดยเฉพาะส่วนที่เรียกว่าซีคั่ม   พยาธิตัวเมียจะออกไข่วันละประมาณ 3000 - 7000 ฟอง ต่อ 1 ตัว  ไข่จะปนออก
มากับอุจจาระและตกลงสู่พื้นดิน เมื่ออุณหภูมิและความชื้นเหมาะสม ไข่จะเจริญต่อไปเป็นไข่ในระยะติดต่อ (มีตัวอ่อนภายในไข่ ) ภายในเวลาประมาณ
3 - 6 อาทิตย์ หรือถ้าสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมอาจใช้ระยะเวลานานกว่านี้   เมื่อคนกินเอาไข่ระยะติดต่อเข้าไป เปลีอกไข่จะถูกย่อยโดยน้ำย่อยในกระเพาะ
อาหาร พยาธิตัวอ่อนจะออกมาแล้วจะเจริญเติบโตเป็นตังแก่ในลำไส้ต่อไป การเกาะโดยการใช้หัวและลำตัวส่วนหน้าเกาะฝั่งอยู่ในเยื่อบุลำไส้ นับตั้งแต่กิน
ไข่พยาธิระยะติดต่อจนพยาธิเติบโตเป็นตัวแก่กินระยะเวลานาน 3 เดือน

อาการและลักษณะทางคลีนิค
ถ้ามีพยาธิน้อยมักไม่มีอาการอย่างใด ในกรณีที่มีพยาธิอยู่เป็นจำนวนมาก อาจมีอาการ เช่น ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน  ท้องเดิน หรืออุจจาระเป็นมูกเลือด
ซีด อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ทั้งนี้เพราะการที่พยาธิฝั่งหังส่วนหน้าเข้าไปในเยื่อบุลำไส้ทำให้เกิดอาการอักเสบและเป็นแผลติดเชื้อแบคที่เรียได้

ในเด็กที่เป็นรุนแรง อาจมีลำไส้ส่วนเร็คตั้มปลิ้นออกมา พร้อมกับมีพยาธิตัวแก่เกาะติดอยู่กับเยื่อบุลำไส้ หรือพยาธิเข้าไปอาศัยอยู่ในไส้ติ่ง จึงอาจทำให้
เกิดอาการปวดท้องทางด้านขวาคล้ายไส้ติ่งอักเสบได้

การวินิจฉัย
การตรวจพบไข่พยาธิแส้ม้าในอุจจาระ

การรักษา.
การรักษายังให้ผลไม่ค่อยดีนัก ยาถ่ายที่นิยมใช้มีดังนี้
1. Thiabendazole ( Mintezol ) เป็น broad spectrum antihelminthic อาจมีอาการข้างเคียงบ้าง เช่น วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร
ขนาดยาให้ผู้ป่วย 25 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หลังอาหารเช้าและเย็น เป็นเวลา 3 วัน
2. Mebendazole ( Fugacar ) ขนาดยา 100 มิลลิกรัม ต่อ เม็ด โดยให้เช้าและเย็นเป็นเวลา 3 วัน ไม่ค่อยมีฤิทธ์ข้างเคียง ให้ผลดี

การป้องกัน
- ถ่ายอุจจาระให้ถูกสุขลักษณะ ไม่ถ่ายเรี่ยราด
- ให้เข้าใจถึงการบริโภคอาหาร โดยเฉพาะพวกผักต้องล้างให้สะอาด หรือที่ทำให้สุก   โดยเฉพาะพวกผักที่ใช้มูลมาเป็นปุ๋ยในการเพาะปลูก
- ล้างมือและเล็บให้สะอาด
- ศึกษาวงจรชีวิตของพยาธิ

bar5.jpg (6486 bytes)

โรคพยาธิสตรองจีลอยด์ เป็นโรคพยาธิที่มีสาเหตุมาจากหนอนพยาธิชนิด สตรองจีลอยด์ สเตอโคลาลีส  ( strongyloides stercoralis )
พบได้ทั่วไปในโรคเขตร้อน สำหรับประเทศไทยพบมากในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

วงจรชีวิตของพยาธิ
พยาธิตัวเมียของ สตรองจีลอยด์ สเตอโคลาลีส  ( strongyloides stercoralis
) ฝังอยู่ในเยื่อบุของลำไส้เล็กโดยเฉพาะแถวดูโอดีนั่มและเจจูนั่ม
ออกไข่แล้วตัวอ่อนในไข่เจริญเติบโต ฟักออกจากไข่เป็นตัวอ่อน rhabditiform larva อยู่ในลำไส้ ตัวอ่อนนี้จะถูกถ่ายปนออกมากับอุจจาระ จากนั้น
วงจรชีวิตเป็นไปได้หลายแบบดังนี้
1. แบบธรรมดา rhabditiform larva   ที่ถ่ายปนออกมากับอุจจาระ จะเจริญเติบโตต่อไปเป็นตัวอ่อนระยะ filariform larva โดยตรง และเป็นระยะ
ติดต่อไชทะลุผิวหนังคนเข้าสู่วงจรเลือด ผ่านหัวใจ ปอด หลอดลม คอหอย หลอดอาหาร แล้วกลับมาสู่ลำไส้ เจริญเติบโตเป็นตัวแก่ต่อไป
2. แบบอิสระ พยาธิดำรงชีวิตอยู่นอกภายนอกร่างกายโดยไม่ต้องอาศัยโฮสท์ เป็นการเจริญเติบโตโดยทางอ้อม คือตัวอ่อน rhabditiform larva เจริญ
ไปเป็นตัวแก่ ตัวผู้และตัวเมียผสมกันแล้วออกไข่ตามพื้นดิน ตัวอ่อนจะฟักออกมาเป็นตัวอ่อนชนิด rhabditiform larva หมุนเวียนกันไป บางส่สวน
เจริญต่อไปเป็นระยะ filariform larva แล้วไชเข้าผิวหนังคนเข้าไปเจริญเติบโตเป็นตัวแก่ในลำไส้ต่อไป
3. ติดเชื้อจากตัวเอง   ผู้ป่วยที่ได้รับพยาธินี้จากตนเองโดยตัวอ่อน rhabditiform larva เจริญไปเป็นระยะ filariform larva ภายในลำไส้หรือบริเวณ
ทวารหนักแล้วตัวอ่อนระยะติดต่อนี้ไชกลับเข้าไปในตัวผู้ป่วยอีก

อาการและลักษณะทางคลีนิค
ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการใดๆเลย แต่ในรายที่มีมากอาจเกิดอาการดังนี้
- อาการทางผิวหนัง   มีได้สองแบบ   แบบที่หนึ่งเป็นลมพิษ คัน   จากปฏิกริยาไวเกิน    แบบที่สอง เป็นแบบ creeping eruption คือพยาธิไชเป็น
ทางตรงหรือคดเคี้ยวใต้ผิวหนัง

- อาการทางระบบหายใจ   พบได้น้อย ในบางโอกาสผู้ป่วยมีอาการปอดอักเสบ ในช่วงที่พยาธิเดินทางผ่านปอด
- อาการทางระบบทางเดินอาหาร   มีได้ตั้งแต่ ปวดท้อง คลื่นไส้   อาเจียน ท้องเดิน จนกระทั้งการดูดซึมอาหารผิดปกติ ผู้ป่วยที่มีสุขภาพอ่อนแอมาก 
อาจมีอาการรุนแรงได้มาก คือมีอาการท้องเดินรุนแรง ขาดอาหาร บวม ตับโต


การวินิจฉัยโรค
การพบตัวอ่อนระยะ rhabditiform larva ปนออกมากับอุจจาระที่เพิ่งถ่ายออกมาใหม่ๆ

การรักษา
ยาถ่ายพยาธิในปัจจุบัน
1. Thiabendazole ( Mintezol)  เป็นยา broad spectrum anthelminthic ขนาดรับประทาน 25 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
หลังอาหารเช้าและเย็น เป็นเวลา 3 วัน อาจมีอาการแทรกซ้อนบาง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน วิงเวียน
2. Mebendazole (Fugacar) ขนาด 100 มิลลิกรัม ต่อ เม็ด ให้รับประทาน เช้าและเย็นครั้งละเม็ด เป็นเวลา 3 วัน

การป้องกัน
เช่นเดียวกับพยาธิปากขอ     

bar5.jpg (6486 bytes)

เกิดจากเชื้อพยาธิ Gnathostoma spinigerum (แนตโทสโตมา สไปนิจิรั่ม) พบมากใน ญี่ปุ่น ไทย จีน อินเดีย มาเลเซีย เป็นต้น

วงจรชีวิตของพยาธิ
พยาธิตัวแก่จะอาศัยอยู่ในโพรงก้อนทูมข้างกระเพาะอาหารของโฮสท์ธรรมดา ที่สำคัญคือ สุนัข และ แมว ไข่ของพยาธิจะออกมาทางรูที่ติดต่อกับ
กระเพาะอาหารและออกไปกับอุจจาระของสัตว์เหล่านั้น   ไข่จะเจริญและฟักตัวออกมาเป็นพยาธิตัวอ่อนระยะที่ 1 ในน้ำ  เมื่อกุ้งไร ซึ่งเป็นโฮสท์ตัว
กลางลำดับที่หนึ่ง มากินตัวอ่อนพยาธิเข้าไป   ตัวออ่นพยาธิจะเจริญเติบโตต่อไปในตัวกุ้งไรต่อไปเป็นพยาธิตัวอ่อนระยะที่สอง   เมื่อพวกสัตว์น้ำจืด
เช่น ปลา กบ   สัตว์เลื่อยคลานเช่น งู   สัตว์ปีก เช่น นก เป็ด ไก่   ซึ่งจัดเป็นโฮสท์ตัวกลางลำดับที่สองมากินกุ้งไรเข้าไป   ตัวอ่อนพยาธิระยะที่สอง ก็จะ
เจริญต่อไปเป็นตัวอ่อนพยาธิระยะที่สาม ซึ่งระยะนี้ถือเป็นระยะติดต่อ ในตัวสัตว์เหล่านั้น โดยจะอาศัยอยู่ในกล้ามเนื้อและมีซิสท์หุ้มตัวอยู่   เมื่อโฮสท์
ธรรมดาเช่น สุนัข  แมว มากินเข้าไป   ตัวอ่อนพยาธิระยะที่สามก็จะออกจากซิสท์ ไชผ่านกระเพาะอาหารและผ่านตับอย่างน้อยหนึ่งครั้ง แล้วในที่สุด
จะไปเจริญเติบโตเป็นตัวแก่ อาศัยอยู่ในบริเวณก้อนทูมของกกระเพาะอาหาร

คนจัดเป็นโฮสท์บังเอิญ (Accidental host) กินเอาโฮสท์กลางลำดับที่สอง (สัตว์น้ำจืดเช่น ปลา กบ  สัตว์เลื่อยคลานเช่น งู   สัตว์ปีก เช่น นก เป็ด ไก่)
เข้าไปโดยบังเอิญ โดยทานอย่างดิบๆสุกๆ เช่น ส้มฟัก ปลาดุกย่าง   พยาธิตัวอ่อนลำดับที่สามก็จะออกจากซีสท์ แล้วเดินทางไปตามที่ต่างๆ แต่จะไม่อยู่ที่
กระเพาะอาหาร เนื่องจากคนเป็นโฮสท์บังเอิญ ทำให้ตัวพยาธิตัวอ่อนระยะที่สามไม่เจริญเติบโตต่อไปเป็นพยาธิตัวแก่ และไม่ออกไข่

อาการและพยาธิสภาพ
ในคนซึ่งเป็นโฮสท์บังเอิญ พยาธิตัวอ่อนระยะที่สามจะไชเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆตามที่ต่างๆ   เมื่อเคลื่อนที่ไปอยู่ที่ใดก็ทำให้เกิดมีปฏิกริยาที่ตำแหน่งนั้นๆ
เมื่อมาอยู่ใต้ผิวหนังจะเห็นได้ชัด คือตรงตำแหน่งที่มีพยาธิจะบวมแดงๆและรอบๆตัวพยาธิจะถูกห้อมล้อมด้วยเม็ดเลือดขวาชนิดอีโอซิโนฟิลเป็น
จำนวนมาก   เมื่อพยาธิเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งอื่น ตำแหน่งเดิมที่เคยบวมจะค่อยๆยุบ และย้ายไปบวมในตำแหน่งที่พยาธิอยู่ใหม่
พยาธิตัวจื๊ดอาจไชเข้าไปอยู่ได้ในทุกอวัยวะของร่างกาย เช่น ตา หู ปอด ช่องท้อง สมอง ไขสันหลัง ในช่องท้องพยาธิจะทำให้เกิดก้อนทูม ซึ่งประกอบ
ด้วยเนื้อเยื่อพังผืด และมีเม็ดเลือดขวาอีโอซิโนฟิลเป็นจำนวนมาก ก้อนทูมนี้จะเปลี่ยนตำแหน่งไปตามพยาธิ ในสมองและไขสันหลังพยาธิจะทำลายเนื้อ
เยื่อสมองจากการเคลื่อนตัวของพยาธิ และมีปฏิกริยาบวมขึ้นเช่นเดียวกันตรงตำแหน่งนั้น

ลักษณะทางคลีนิค
ผู้ป่วยจะมีอาการอย่างไร มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่พยาธิจะเดินทางไป ถ้าไปในอวัยวะที่สำคัญๆ ก็จะทำให้เกิดอาการได้มาก   ถ้าอยู่ในที่ไม่
สำคัญอาจไม่แสดงอาการใดๆเลย

    อาการสำคัญที่ผิวหนังคือ   อาการบวมเคลืาอนที่ เช่นบวมที่มือ แล้วค่อยๆไปบวมที่แขน ไหล่ หน้า บวมในแต่ละแห่งเป็นอยู่นานประมาณ 3-10 วัน
ลักษณะการบวมแดงๆ ตึง มีอาการปวดจื๊ด หรือคัน
    อาการทางตา พบว่าพยาธิอาจไชมาอยู่ที่บริเวณหนังตาหรือเข้าไปในลูกตา ถ้าอยู่ที่หนังตาจะทำให้ตาบวม อาจบวมมากจนตาปิดได้ แต่ถ้าพยาธิไชเข้าไป
ในลูกตา เช่นใน anterior chamber, vitreous humour จะทำให้ลูกตาอักเสบ อาจถึงกับตาบอดได้
    อาการในช่องท้อง อาจพบก้อนทูมที่เปลี่ยนที่ได้ บางครั้งอาจมีอาการคล้ายภาวะปวดท้องเฉียบพลันในท้อง คล้ายไส้ติ่งอักเสบ
    อาการทางปอด ถ้าพยาธิไชเข้าไปในทรวงอก จะมีน้ำหรือลมเข้าไปในเยื่อหุ้มปอด ทำให้เกิดปอดอักเสบ ทำให้ไอมีเสมหะหรือเลือดปนได้ บางรายอาจไอ
จนตัวพยาธิหลุดออกมาได้
    อาการทางประสาท หากพยาธิไชเข้าไปในสมองและไขสันหลัง ทำให้เกิดอาการอักเสบชนิดที่มีจำนวนเม็ดเลือดขาวอีโอซิโนฟิลสูงในน้ำไขสันหลัง
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะ   มีไข้ คอแข็ง ปวดเสียวอย่างมากตามเส้นประสาท ง่วง ซึม หมดสติ หรือเป็นอัมพาต อาจถึงตายได้   พยาธิตัวจื๊ดอาจไชเข้าไป
ในหู ทำให้เกิดอาการปวดหูอย่างมาก และอาจพบพยาธิไชออกมาทางรูหู นอกจากนี้ทางระบบปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ของสตรีก็พบตัวพยาธุ์ได้
การตรวจทางเลือด พบปริมาณเม็ดเลือดขาวขึ้นสูง พบปริมาณอีโอซิโนฟิลขึ้นสูง อาจสูงถึงร้อยละ 80 ได้   อาการต่างๆข้างต้นจะเป็นชั่วระยะเวลาหนึ่ง
อาจเป็น 2-3 อาทิตย์ หรือนาน 2-3 เดือน แล้วอาการอาจสงบไม่มีอาการใดๆเป็นเดือนๆ แล้วกลับเป็นขึ้นมาใหม่อีก เป็นเช่นนี้นานได้เป็นปีๆ ระยะที่ไม่มี
อาการเข้าใจว่าตัวพยาธิเข้าซีสท์ชั่วคราว ในรายที่เข้าสมองอาจทำให้ถึงตายได้

การวินิจฉัยโรค
- ตรวจดูจากประวัติการรับประทานอาหาร
- ลักษณะอาการทางคลีนิค เช่น การปวดบวมแบบเคลื่อนที่ได้
- การตรวจเลือด มีปริมาณเม็ดเลือดขาว   และชนิดอีโอซิโนฟิลสูง
- การทดสอบทางผิวหนัง   ให้ผลบวก
- สามารถผ่าพบตัวพยาธิได้จากผิวหนัง ก้อนทูม เป็นต้น

การรักษา
ยังไม่มีการรักษาใดๆ ได้ผลดีเท่ากับการผ่าเอาตัวออก โอกาสเช่นตอนเคลื่อนตัวเข้ามาใกล้ผิวหนัง   โดยการพ่นบริเวณนั้นด้วย Ethyl chloride ตรง
ตำแหน่งตัวพยาธิจะช่วยทำให้พยาธิชาหยุดเคลื่อนที่ชั่วคราว ทำให้ช่วยในการผ่าเอาตัวพยาธิออกได้ง่ายขึ้น
ยังไม่มียาที่จะใช้ฆ่าหรือทำลายตัวพยาธิได้ ยาพวกเพรดนิโซโลน ช่วยบรรเทาอาการบวมและคันได้

โอกาสหายขาดก็โดยการผ่าเอาตัวพยาธิออกข้างต้นแล้ว อาจเกิดจากการบังเอิญในช่วงการไอ   หรือตัวพยาธิไชออกมาทางรูหู   หรือถูกขับออกมากับ
ปัสสาวะในกรณีที่ไชมาอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ   หรือเนื่องจากพยาธิตายไปเอง


การป้องกัน
- ให้ประชาชนทราบถึงวงจรชีวิตของพยาธิ การติดต่อ และผลร้ายของโรค
- ไม่รับประทานอาหารแบบสุกๆดิบๆ เช่นพวก ปลา ( ปลาดุก ปลาช่อน) กบ งู ไก่ เป็ด กุ้ง ปู หนู เป็นต้น

bar5.jpg (6486 bytes)

ทริคิโนซิส (Trichinosis) เป็นโรคที่เกิดจากพยาธิ ทริคิเนลล่า สไปราริส ( trichinella spiralis) อาการของโรคจะเป็นไปในลักษณะเฉียบพลัน
และรวดเร็ว ลักษณะอาการที่สำคัญตือ มีไข้ ท้องเดิน ปวดกล้ามเนื้อ และมีจำนวนเม็ดเลือดขาวอีโอซิโนฟิลสูง   พบได้ทั่วโลก แต่มักปรากฏในเขตหนาว
มากกว่าในเขตร้อน   ในประเทศไทยมักพบระบาดในเขตภาคเหนือ

วงจรชีวิตของพยาธิ
ทริคิเนลล่า สไปราริส ( trichinella spiralis) เป็นพยาธิตัวกลมที่มีขนาดเกือบเล็กที่สุด เมื่อโตเต็มวัยตัวผู้จะยาวประมาณ 104 - 1.6 มิลลิเมตร
ส่วนตัวเมียจะยาวประมาณ 3 - 4 มิลลิเมตร พยาธินี้อยู่ได้ทั้งในคนและสัตว์หลายชนิด และทั้งคนและสัตว์สามารถเป็นได้ทั่งโฮสท์เฉพาะและโฮสท์
ตัวกลาง โดยธรรมชาติคนจะได้รับพยาธิเข้าไปโดยการกินหมู หรือ หนู ที่มีซิสท์ของพยาธิฝังตัวอยู่ และไม่ได้ทำให้สุก เช่น ลาบ แหนม เป็นต้น  เมื่อ
ซิสท์มาถึงบริเวณลำไส้เล็ก   พยาธิตัวอ่อนจะออกมาจากซิสท์ และเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยภายในระยะเวลา 2 - 3 วัน ภายในเวลา 5 - 7 วัน จะเริ่ม
ผสมพันธ์กัน   ตัวเมียจะไชและไปฝังตัวอยู่ในเยื่อบุลำไส้เล็กตอนต้น แล้วออกลูกเป็นตัวอ่อน (larva) ตัวอ่อนจะไชเข้าหลอดเลือดหรือหลอดน้ำเหลือง
เข้าสู่กระแสเลือดและเข้าไปฝังตัวอยู่ตามกล้ามเนื้อประมาณวันที่ 9 - 25 หลังจากที่รับประทานซิสท์เข้าไป   กล้ามเนื้อบริเวณที่ตัวอ่อนชอบมากที่สุด
เป็นกล้ามเนื้อที่มีglycogen น้อยและทำงานมาก เช่น กระบังลม เป็นบริเวณที่ชอบมาก พยาธิตัวอ่อนจะขดตัวอยู่ในกล้ามเนื้อ เจริญต่อไปจนเป็ฯระยะ
ติดต่อ กินระยะเวลาประมาณ   14 - 16 วัน ก็จะมีซิสท์มาหุ้มรอบๆตัวถ้าซิสท์นี้ไม่ได้ถูกกิน นานไปตัวอ่อนก็จะตายไปและเกิดหินปูนมาหุ้มรอบๆซิสทื
นั้น
พยาธิตัวเมียจะมีชีวิตอยู่ได้ประมาธ 3 - 16 อาทิตย์  และออกลูกได้ 1000 - 1500 ตัว

การระบาด
โฮสท์ที่สำคัญของพยาธิตัวนี้คือ หมู และ หนู คนจะได้รับโดยการกินเนื้อของหมูและหนู ที่ไม่ได้ทำให้สุก หรือ สุกๆดิบๆ เช่น แหนม ลาบ พบว่าหมู
ชาวเขาตรวจพบพยาธินี้ประมาณร้อยละ 11.43

อาการและพยาธิสภาพ
ทริคิเนลล่า สไปราริส ( trichinella spiralis) ทำให้เกิดการอักเสบและการตายของกล้ามเนื้อเฉพาะที่ จากการไชของพยาธิทำให้ใยกล้ามเนื้อขาด
ยิ่งเมื่อมีการเข้าซิสท์หุ้มยิ่งมีการทำลายกล้ามเนื้อมากขึ้น ถ้าเกิดไปปรากฏที่หัวใจ สามารถทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายได้ เมื่อตัวอ่อนตายลงมีโอกาสทำให้
เลือดเป็นพิษ ผู้ป่วยอาจตายได้ภายใน 4 - 8 อาทิตย์ ด้วยเลือดเป็นพิษ   กล้ามเนื้อหัวใจวาย สมองอักเสบ ปอดบวม เป็นต้น
ระยะแรก ที่พยาธิอยู่ในลำไส้ ระยะนี้กินเวลาประมาณ 5-7 วัน เป็นระยะที่พยาธิตัวอ่อนเจริญเติบโตเป็นพยาธิตัวแก่ในลำไส้ ผสมพันธ์ ตัวเมียเข้าไปฝังตัว
ในเยื่อบุลำไส้ อาการที่สำคัญเป็นอาการของระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน
ระยะที่สอง เป็นระยะที่ตัวเมียออกลูก พยาธิตัวอ่อนจะไชเข้าสู่กระแสเลือดแล้วกระจายไปทั่วร่างกายแล้วเดินทางไปฝังตัวอยู่ในกล้ามเนื้อ ระยะนี้เริ่ม
ประมาณ 7 วันหลังจากได้รับซิสท์ ผู้ป่วยจะมีอาการได้มาก มีไข้สูงได้นาน 1- 2 อาทิตย์ เจ็บปวดมากตามกล้ามเนื้อ เพราะเกิดการอักเสบ   อาจเป็นมาก
จนไม่สามารถกระดุกกระดิกได้ อาจหายใจลำบาก  การเคี้ยว การกลืน การพูดอาจลำบาก ผู้ป่วยมีอาการบวมที่หนังตา อาจมีผื่นแดง เลือดออกใต้เล็บ บาง
รายมีอาการเยื่อหุ้มสมองและสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบได้ เม็ดเลือดขาวชนิดอีโอซิโนฟิลขึ้นสูง
ระยะที่สาม เป็นระยะที่ตัวอ่อนเข้าซิสท์ อาการต่างๆของผู้ป่วยจะดีขึ้น ไข้และการเจ็บปวดของกล้ามเนื้อจะลดลง ซิสท์จะฝังตัวในกล้ามเนื้อตลอดไป ถ้าตัวอ่อนตายก็จะมีหินปูนมาหุ้ม

การวินิจฉัยโรค
- ซักจากประวัติการรับประทานอาหารสุกๆดิบๆ เช่น ลาบหรือแหนม และมีอาการเป็นพร้อมๆกันหลายๆคน
- จากการตรวจเลือด พบว่ามีจำนวนเม็ดเลือดขาวขึ้นสูงโดยเฉพาะชนิด อีโอซิโนฟิล
- โดยการตัดชิ้นเนื้อมาตรวจหาตัวอ่อน ถ้าพบตัวอ่อนเป็นการวินิจฉัยที่แน่นอน
- การทดสอบปฏิกริยาที่ผิวหนัง ต่อแอนติเจนของพยาธิถ้าให้ผลบวกก็เป็นการยืนยันได้

การรักษา
- การรักษาขั้นต้นเป็นการรักษาตามอาการ ถ้ามีไข้ ปวด ก้จะให้ยาแก้ปวด

- การให้ยา คอติโคสเตียรอยด์ จะช่วยบรรเทาอาการต่างให้เบาลง และมีอาการดีขึ้น โดยเฉพาะในรายที่มีอาการหนัก ให้เพรดนิโซโลน 20 มิลลิกรัม
ทุก 6 ชั่วโมง เป็นเวลา 3 วัน แล้วลดขนาดลงเป็น 10 มิลลิกรัมทุก 6 ชั่วโมง เป็นเวลา 10 วัน
- การให้ยา Thiabendazole โดยการให้ขนาด 25 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม นาน 2 - 5 วัน

การป้องกัน
- ควบคุมดรงฆ่าสัตว์ไม่ให้นำหมูที่เป็นโรคนี้มาชำแหละขาย หรือใช้หมูจากแหล่งระบาด
- แนะนำให้ประชาชนเลิกทานหมูแบบดิบๆสุกๆ เช่น ลาบ แหนม เป็นต้น

bar5.jpg (6486 bytes)
  
















โรคพยาธิตืดวัว
Taenia saginata Infection

โรคพยาธิตืดวัว เป็นโรคที่เกิดพยาธิตืดวัว Teania saginata ( ทีเนีย ซาจินาตา ) โดยมีวัวเป็นโฮสท์กลางที่สำคัญ การติดต่อของพยาธิเป็นได้ดัง
ต่อไปนี้
การเกิดโรคในคนที่มีตัวแก่อาศัยอยู่ในลำไส้คน และไม่ปรากฏว่ามีปรากฏการณ์ที่ตัวอ่อนพยาธิตืดวัวเข้าไปฝังตัวและมีถุงซิสท์หุ้มล้อมรอบ
ในเนื้อเยื่อเหมือนของพยาธิตืดวัว   พบได้ในคนที่นิยมรับประทายเนื้อวัว ควาย ดิบ สุกๆดิบๆ   วึ่งมีโอกาสที่มีพยาธิพวกนี้มาก


วงจรชีวิตของพยาธิ

ตัวแก่ของพยาธิตืดวัวอาศัยอยู่ในลำไส้เล็กของคนซึ่งจัดเป็นโฮสท์เฉพาะ   ปล้องแก่ของตัวพยาธิจะหลุดออกปนมากับอุจจาระหรือหลุดออกมาเอง 
ปล้องเดียวหรือ2-3 ปล้อง ในแต่ละปล้องจะมีไข่อยู่ประมาณ 1000 ฟอง ต่อมาปล้องจะแตกออกปล่อยไข่กระจายปนเปื้อนอยู่ปนพื้นดินหรือติดไปตาม
ต้นหญ้า   บางครั้งปล้องอาจแตกออกก่อนในลำไส้ใหญ่ ไข่จะปนออกมากับอุจจาระ ไข่ที่มีตัวอ่อนในระยะติดต่ออยู่จะเรียกว่า Oncospore (ออนโค
สปอร์)    ดูรูปภาพไข่พยาธิ
เมื่อวัวซึ่งเป็นโฮสท์กลาง กินเอาปล้องของพยาธิตัวตืด หรือไข่พยาธิระยะ Oncospore เข้าไปตัวอ่อนจะไชออกจากไข่
แล้วไชทุลุผนังลำไส้เข้าสู่วงจรเลือด
หรือน้ำเหลืองไปยังกล้ามเนื้อทั่วร่างกายของวัว ฝังตัวอยู่โดยมีถุงหุ้มล้อมรอบตัวอยู่เรียกว่า cysticercus 
( ซิสติเซอร์คัส ) ซึ่งถือเป็นระยะติดต่ออันตรายเนื้อวัวที่มี cysticercus ( ซิสติเซอร์คัส ) อยู่ เรียกว่า cysticercus bovis ( ซิสติเซอร์คัส โบวิส ) 
จะดูคล้ายๆเม็ดสาคูอยู่ในเนื้อวัวนั้นเมื่อคนกิน

เนื้อวัวที่มีระยะติดต่ออันตรายแบบดิบๆสุกๆเข้าไป เมื่อเนื้อวัวถูกย่อยก็จะปล่อย cycticercus ออกมา พอเคลื่อนตัวมาถึงลำไส้เล็กส่วนหัวเรียกว่า Scolex
(สโคเล็กซ์ ) จะยื่นโผล่ออกมา แล้วใช้ส่วนที่เป็น ขอ (hook) และส่วนดูดติด ( sucker) มาเกาะติดกับผนังลำไส้ ดูดเลือดและอาหารและจะค่อยๆงอก
ปล้องออกมาเรื่อยๆ เจริญต่อไปเป็นตัวแก่ต่อไป ระยะนี้กินเวลาประมาณ 2 - 3 เดือน   ปล้องแก่เมื่อมีไข่เต็มก็จะหลุดออกปนไปกับอุจจาระเพื่อไปติดต่อ 
ต่อไป


อาการและลักษณะพยาธิสภาพ
โดยทั่วไปมักไม่ทำให้เกิดอาการรุนแรงแต่อย่างใด แต่จะเป็นโรคที่เกิดจากการถูกแย่งอาหาร และการระคายเคืองจากสารพิษของพยาธิเอง ที่พบได้บ่อยเช่น
ผอมลง  น้ำหนักลด   ขาดอาหารทั้งที่ทานได้เป็นปกติ   หิวบ่อย  ปวดท้อง  ท้องอืด   คลื่นไส้อาเจียน อุจจาระบ่อย กระสับกระสาย นอนไม่หลับ อาการ
แพ้คัน
ลมพิษ

การตรวจวินิจฉัยโรค
1. ตรวจพบไข่พยาธิ ตัวตืดในอุจจาระ พยาธิตืดหมูและตืดวัวมีลักษณะใกล้เคียงกันมาก ต่างกันที่ขนาด การตรวจจากปล้องจะแน่นอนกว่า
2. การตรวจจากปล้องที่หลุดปนออกมากับอุจจาระ โดยที่ปล้องของตืดหมูจะมีแขนงภายในปล้องน้อยกว่าตืดวัว

การรักษา
1. Niclosamide ( Yomesan ) มีฤิทธ์ฆ่าเชื้อพยาธิตัวตืดหมู   เป็นยาเม็ดขนาด 0.5 กรัม  ทาน 4 เม็ด เคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน รอประมาณ 
2 ชั่วโมง
อาจทานยาถ่ายตามเช่น ดีเกลืออิ่นตัว 30 ซี.ซี.   เมื่อให้ยาถ่ายจะพบว่าตัวพยาธิจะถูกขับออกมา แต่ถ้าไม่ให้ยาถ่ายพยาธิที่ตายจะค่อยๆถูก
ย่อยสลายปนออกมากับอุจจาระไป ข้อควรระวังการให้ยาถ่ายคือควรให้ยากันอาเจียนก่อนให้ยาถ่าย   และควรให้ยาถ่ายเพื่อกำจัดปล้องออกมา  เพราะ
ถ้าตัวแก่ตายอยู่ภายในร่างกายปล้องที่ถูกย่อย กอรปกับการมีอาการท้องผูก ท้องอืด หรือคลื่นไส้อาเจียน จะทำให้ไข่พยาธิที่แตกออกมาจากปล้อง ถูก
ย่อยและขย้อยกลับมาที่บริเวณลำไส้เล็ก
ไข่พยาธิตัวอ่อนระยะ Oncospore (ออนโคสปอร์) ก็จะออกมาพร้อมกับไชทะลุลำไส้กระจายไปฝังตัวตาม
เนื้อเยื่อส่วนต่างๆทั่วร่างกายกลายเป็นระยะcysticercus ( ซิสติเซอร์คัส
) ขึ้นมาได้
2. Mebendazole (Fugacar) เป็นยาเม็ดขนาด 100 มิลลิกรัม ทานครั้งละ 2 เม็ด ให้กินเช้าเย็นติดต่อกันนาน 4 วัน ให้ผลในการรักษาถึง
ร้อยละ 90


การป้องกัน
1. เนื้อวัว ควาย ที่นำมารับประทานต้องไม่เป็นเนื้อที่มีตัวอ่อนพยาธิฝังตัวอยู่ เรียกเนื้อสาคู
2. รับประทานเนื้อวัว ควาย ที่ทำให้สุกแล้วเท่านั้น   ไม่ทานเนื้อที่กึ่งสุกๆดิบๆ เช่น ยำ  พล่า แหนม
3. กำจัดอุจจาระให้เป็นที่เป็นทางถูกหลักสุขอนามัย
4. ให้ยาถ่ายพยาธิแก่คนที่เป็นโรคนี้  


bar5.jpg (6486 bytes)

พยาธิตัวตืดเป็นพยาธิตัวแบนในกลุ่มของ Cestoidea มีลักษณะแบนเป็นปล้องๆ ต่อกันยาวคล้ายเส้นบะหมี่ทั้งเส้นเล็ก ใหญ่ ยาว สั้น และเนื่องจากพยาธิ
นี้มีลักษณะแบนยาวคล้ายเทป จึงมีชื่อเรียกกันทั่วๆไปว่า "Tapeworms"
พยาธิตัวตืดที่เป็นปรสิตในคนมีอยู่หลายชนิด ที่พบได้ค่อนข้างบ่อยมีดังต่อไปนี้
Taenia solium  พยาธิตืดหมู ( ทีเนีย โซเลียม )
Taenia saginata  พยาธิตืดวัว  ( ทีเนีย ซาจินาตา )
ที่พบได้บางแต่ไม่บ่อยเช่น   Hymenolepis nana, Hymenolepis deminuta  เป็นต้น

พยาธิตืดหมู   เป็นโรคพยาธิที่เกิดจากพยาธิตืดหมู ทั้งนี้เพราะหมูเป็นโฮสท์กลางตัวสำคัญที่มีระยะติดต่ออันตรายของพยาธินี้ พยาธิตืดหมูทำให้เกิดโรค
ในคนได้ 2 อย่างคือ
- การที่มีพยาธิตัวแก่เต็มวัยอยู่ในลำไส้โดยที่คนจัดเป็นโฮสท์เฉพาะ ( Definitive host )
- การที่มีพยาธิตัวอ่อนเข้าไปฝังตัวในกล้ามเนื้อคน และมีถุงซีสต์หุ้มล้อมรอบอยู่ เรียก ซีสติเซอร์คัส เซลลูโลเซ (Cystucercus cellulosae) โดยที่คน
ถือเป็นโฮสท์กลาง ( Intermediate host )
พบได้บ่อยในคนที่นิยมกินเนื้อหมูแบบดิบๆสุกๆ   ในกลุ่มพวกยิว และอิสลามที่ไม่ทานหมู จึงไม่พบคนที่เป็นโรคนี้เลยหรือพบได้น้อยมาก
สำหรับในประเทศไทยเราพบพยาธิตืดหมูได้น้อยกว่าพยาธิตืดวัวมาก   พบได้ในภาคอีสานมากกว่าที่อื่นๆเนื่องจากชอบทานแบบสุกๆดิบๆ เช่น ลาบเนื้อ
ลาบหมู  ยำเนื้อ พล่าเนื้อ แหนม เป็นต้น

วงจรชีวิตของพยาธิ
ตัวแก่ของพยาธิตืดหมูอาศัยอยู่ในลำไส้เล็กของคนซึ่งจัดเป็นโฮสท์เฉพาะ   ปล้องแก่ของตัวพยาธิจะหลุดออกปนมากับอุจจาระหรือหลุดออกมาเอง ปล้องเดียว
หรือ2-3 ปล้อง ในแต่ละปล้องจะมีไข่อยู่ประมาณ 1000 ฟอง ต่อมาปล้องจะแตกออกปล่อยไข่กระจายปนเปื้อนอยู่ปนพื้นดินหรือติดไปตามต้นหญ้า   บางครั้ง
ปล้องอาจแตกออกก่อนในลำไส้ใหญ่ ไข่จะปนออกมากับอุจจาระ ไข่ที่มีตัวอ่อนในระยะติดต่ออยู่จะเรียกว่า Oncospore (ออนโคสปอร์)    ดูรูปภาพไข่พยาธิ
เมื่อหมูซึ่งเป็นโฮสท์กลาง กินเอาปล้องของพยาธิตัวตืด หรือไข่พยาธิระยะ Oncospore เข้าไปตัวอ่อนจะไชออกจากไข่แล้วไชทุลุผนังลำไส้เข้าสู่วงจรเลือด
หรือน้ำเหลืองไปยังกล้ามเนื้อทั่วร่างกายของหมู ฝังตัวอยู่โดยมีถุงหุ้มล้อมรอบตัวอยู่เรียกว่า cysticercus ( ซิสติเซอร์คัส ) ซึ่งถือเป็นระยะติดต่ออันตราย
ระยะเวลาทั้งหมดกินเวลาประมาณ 60 - 70 วัน เนื้อหมูที่มี cysticercus ( ซิสติเซอร์คัส ) อยู่ เรียกว่าหมูสาคู เพราะจะดูคล้ายๆเม็ดสาคูอยู่ในเนื้อหมูนั้น
เมื่อคนกินเนื้อหมูสาคูที่มีระยะติดต่ออันตรายแบบดิบๆสุกๆเข้าไป เมื้อเนื้อหมูถูกย่อยก็จะปล่อย cycticercus ออกมา พอเคลื่อนตัวมาถึงลำไส้เล็กส่วนหัว
เรียกว่า Scolex (สโคเล็กซ์ ) จะยื่นโผล่ออกมา แล้วใช้ส่วนที่เป็น ขอ (hook) และส่วนดูดติด ( sucker) มาเกาะติดกับผนังลำไส้ ดูดเลือดและอาหาร
และจะค่อยๆงอกปล้องออกมาเรื่อยๆ เจริญต่อไปเป็นตัวแก่ต่อไป ระยะนี้กินเวลาประมาณ 2 - 3 เดือน   ปล้องแก่เมื่อมีไข่เต็มก็จะหลุดออกปนไปกับอุจจาระ
เพื่อไปติดต่อ ต่อไป

อาการและลักษณะพยาธิสภาพ
โดยทั่วไปมักไม่ทำให้เกิดอาการรุนแรงแต่อย่างใด แต่จะเป็นโรคที่เกิดจากการถูกแย่งอาหาร และการระคายเคืองจากสารพิษของพยาธิเอง ที่พบได้บ่อยเช่น
ผอมลง  น้ำหนักลด   ขาดอาหารทั้งที่ทานได้เป็นปกติ   หิวบ่อย  ปวดท้อง  ท้องอืด   คลื่นไส้อาเจียน อุจจาระบ่อย กระสับกระสาย นอนไม่หลับ อาการแพ้
คัน
ลมพิษ

การตรวจวินิจฉัยโรค
1. ตรวจพบไข่พยาธิ ตัวตืดในอุจจาระ พยาธิตืดหมูและตืดวัวมีลักษณะใกล้เคียงกันมาก ต่างกันที่ขนาด การตรวจจากปล้องจะแน่นอนกว่า
2. การตรวจจากปล้องที่หลุดปนออกมากับอุจจาระ โดยที่ปล้องของตืดหมูจะมีแขนงภายในปล้องน้อยกว่าตืดวัว

การรักษา
1. Niclosamide ( Yomesan ) มีฤิทธ์ฆ่าเชื้อพยาธิตัวตืดหมู   เป็นยาเม็ดขนาด 0.5 กรัม  ทาน 4 เม็ด เคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน รอประมาณ 2 ชั่วโมง
อาจทานยาถ่ายตามเช่น ดีเกลืออิ่นตัว 30 ซี.ซี.   เมื่อให้ยาถ่ายจะพบว่าตัวพยาธิจะถูกขับออกมา แต่ถ้าไม่ให้ยาถ่ายพยาธิที่ตายจะค่อยๆถูกย่อยสลายปนออกมา
กับอุจจาระไป ข้อควรระวังการให้ยาถ่ายคือควรให้ยากันอาเจียนก่อนให้ยาถ่าย   และควรให้ยาถ่ายเพื่อกำจัดปล้องออกมา เพราะถ้าตัวแก่ตายอยู่ภายในร่างกาย
ปล้องที่ถูกย่อย กอรปกับการมีอาการท้องผูก ท้องอืด หรือคลื่นไส้อาเจียน จะทำให้ไข่พยาธิที่แตกออกมาจากปล้องถูกย่อยและขย้อยกลับมาที่บริเวณลำไส้เล็ก
ไข่พยาธิตัวอ่อนระยะ Oncospore (ออนโคสปอร์) ก็จะออกมาพร้อมกับไชทะลุลำไส้กระจายไปฝังตัวตามเนื้อเยื่อส่วนต่างๆทั่วร่างกายกลายเป็นระยะ
cysticercus ( ซิสติเซอร์คัส ) ขึ้นมาได้
2. Mebendazole (Fugacar) เป็นยาเม็ดขนาด 100 มิลลิกรัม ทานครั้งละ 2 เม็ด ให้กินเช้าเย็นติดต่อกันนาน 4 วัน ให้ผลในการรักษาถึงร้อยละ 90

การป้องกัน
1. เนื้อหมูที่นำมารับประทานต้องไม่เป็นเนื้อที่มีตัวอ่อนพยาธิฝังตัวอยู่ เรียกเนื้อสาคู
2. รับประทานเนื้อหมูที่ทำให้สุกแล้วเท่านั้น   ไม่ทานเนื้อที่กึ่งสุกๆดิบๆ เช่น ยำ  พล่า แหนม
3. กำจัดอุจจาระให้เป็นที่เป็นทางถูกหลักสุขอนามัย
4. ให้ยาถ่ายพยาธิแก่คนที่เป็นโรคนี้  

อาการซีสติเซอร์คัส เซลลูโลเซ (Cysticercus cellulosae)
เป็นช่วงวงจรที่แปลกไปจากวงจรปกติ คือคนเกิดไปทานเอาไข่พยาธิตัวตืดในระยะ Oncospore (ออนโคสปอร์)
ที่ติดอยู่ตามพืชผัก ผลไม้ หรือการอาเจียน
ขย้อนเอาปล้องแก่พยาธิตัวตืด (สำหรับคนที่เป็นพยาธิอยู่แล้ว) กลับเข้ามาอยู่ในกระเพาะอาหาร คนก็จะกลายเป็นโฮสท์ตัวกลางในรูปแบบนี้แทนที่หมู โดยเมื่อ
ไข่พยาธิถูกย่อยตัวอ่อนก็จะฟักออกจากไข่ และไชทะลุลำไส้เข้าสู่กระแสเลือดหรือน้ำเหลือง ไปยังกล้ามเนื้อหรืออวัยวะต่างๆของร่างกาย แล้วฝังตัวมีซิสท์มาหุ้ม
รอบตัวพยาธิกลายเป็นระยะ
cysticercus ( ซิสติเซอร์คัส เซลลูโลเซ ) ในระยะแรกจะมีอาการอักเสบเฉพาะที่ๆมีพยาธิฝังอยู่ นานเข้าก็จะมีหินปูนมาจับทำ cysticercus ( ซิสติเซอร์คัส เซลลูโลเซ ) ในระยะแรกจะมีอาการอักเสบเฉพาะที่ๆมีพยาธิฝังอยู่ นานเข้าก็จะมีหินปูนมาจับทำ
ให้มีลักษณะนูนสูงขึ้น ขนาดที่พบได้ประมาณ 0.5 - 3 ซ.ม.

ยังไม่มีวิธีการรักษาที่ดี มักเป็นการรักษาบรรเทาตามอาการ การผ่าตัดเอาออกเป็นเรื่องยากและขึ้นกับตำแหน่งที่ฝังตัวอยู่ ดังนั้นการผ่าต้ดมักเป็นเพื่อการตรวจ
วินิจฉัยดรคมากกว่าการรักษา   

bar5.jpg (6486 bytes)

Dipylidiasis เป็นโรคที่เกิดจากพยาธิตัวตืด Dipylidium caninum หรือมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Dog tapeworm อาศัยอยู่ในลำไส้ของคน

วงจรชีวิตของพยาธิ

โฮสท์กลางได้แก่ ตัวหมัดต่างๆ  เช่นหมัดสุนัข หมัดแมว หมัดคน โฮสท์กลางเหล่านี้กินไข่พยาธิตัวอ่อนเข้าไป ตัวอ่อนจากไข่พยาธิจะไชไปอยู่ใน
body cavity แล้วเจริญต่อไปเป็น cysticercoid  เมื่อสุนัข แมวหรือคนซึ่งเป็นโฮสท์โดยธรรมชาติกินหรือได้รับโฮสท์กลางที่มีตัวอ่อนเข้าไป
cysticercoid ก็จะเจริญเติบโตต่อไปเป็นพยาธิตัวแก่ในลำไส้ต่อไป

อาการและลักษณะทางคลีนิค
มักพบได้ในเด็ก อาจไม่ปรากฏอาการใดๆเลย หรืออาจมีปัญหากับระบบทางเดินอาหาร เช่น เบื่ออาหาร  ปวดท้อง   ท้องเดิน อาจมีอาการทางประสาท
ร่วมด้วย

การวินิจฉัยโรค
ตรวจพบไข่พยาธิในอุจจาระ หรือตรวจพบไข่รวมกันเป็นแคปซูลในปล้องแก่ของพยาธิตัวตืด

การรักษา
เช่นเดียวกับการรักษาตืดหมูและตืดวัว

bar5.jpg (6486 bytes)

Hymenolepiasis diminuta ไฮเมโนเลปซิส ไดมินูตา เป็นโรคพยาธิที่เกิดจากพยาธิ ไฮเมโนเลปซิส ไดมินูตา อาศัยอยู่ในลำไส้ พยาธินี้มีชื่อเรียกอีก
อย่างว่า ตืดหนู Rat tapeworm

วงจรชีวิตของพยาธิ
วงจรชีวิตของพยาธิชนิดนี้ จำเป็นต้องอาศัยโฮสท์ตัวกลาง 2 ชนิด  โฮสท์กลาง ได้แก่ ตัวหมัด   แมลงปีกแข็ง  แมลงสาป และแมลงอื่นๆ   เมื่อแมลงเหล่านี้
กินไข่พยาธิตัวอ่อนเข้าไป ตัวอ่อนจะแตกออกมาจากไข่แล้วเจริญเติบโตต่อไปเป็น cysticercoid ในตัวสัตว์เหล่านั้น   โฮสท์เฉพาะซึ่งได้แ่ คน หนู   มากิน
แมลงที่มีตัวอ่อนพวกนี้เข้าไป cysticercoid ก็จะเจริญไปเป็นพยาธิตัวแก่ต่อไปในลำไส้

อาการและลักษณะทางคลีนิค
อาจไม่ปรากฏอาการใดๆเลย หรืออาจมีปัญหากับระบบทางเดินอาหารบ้าง เช่น ปวดท้อง  ท้องเดิน

การวินิจฉัยโรค
ตรวจพบไข่พยาธิในอุจจาระ

การรักษา
เช่นเดียวกับการรักษาตืดหมูและตืดวัว


bar5.jpg (6486 bytes)

ไฮเมโนเลปซิส นานา เป็นโรคที่เกิดจากพยาธิตัวตืด Hymenplepiasia nana ที่อาศัยอญุ่ในลำไส้คน มีขนาดเล็กว่าแบบพยาธิตืดหมูและตืดวัว เรียกว่า
พยาธิตืดแคระ (Dwart tapeworm)

วงจรชีวิตของพยาธิ
เป็นพยาธิที่ไม่ต้องอาศัยโฮสท๋กลาง เพราะพยาธิสามารถเจริญเติบโตได้ตั้งแต่เป็นตัวอ่อนได้เอง จนกระทั่งเป็นตัวแก่ได้ภายในโฮสท์เดียวกัน คนหรือหนูซึ่ง
เป็นโฮสท์ (แหล่งอาศัย) ตามธรรมชาติเมื่อกินไข่พยาธิตัวอ่อนในระยะติดต่อเข้าไป   เมื่อมาถึงกระเพาะตัวอ่อนจะฟักตัวออกมา ไชเข้าวิลลัส (villus)  ของ
ลำไส้เล็กแล้วรอเจริญเติบโตไปเป็น ซิสติคเซอร์คอย ( cysticercoid) ต่อมาวิลลัสจะแตกออกพยาธิจะออกมาอยู่ในลำไส้และเจริญเติบโตต่อไปเป็นตัวแก่ภาย
ในเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ พยาธินี้สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำซ้อนได้ (Autoinfection) โดยที่พยาธิตัวอ่อน oncosphere ฟักออกจากไข่ที่อยู่ใน
ลำไส้เล็ก แล้วไชเข้าเยื่อบุลำไส้โดยตรง ไม่ต้องถูกถ่ายปนออกมากับอุจจาระก่อนแล้วถูกกินเข้าไปในร่างกายใหม่

นอกจากวงจรปกติข้างต้น พยาธิอาจจะอาศัยหมัดหนูและแมลงบางชนิดเป็นโฮสท์กลางก็ได้ โดยที่หมัดหนู แมลงกินไข่พยาธิตัวอ่อนเข้าไป แล้วตัวอ่อน
ฟักตัวออกมาเป็นตัวอ่อน แล้วไชไปฝังตัวเป็น cysticercoid ในตัวหมัดหรือแมลงนั้น เมื่อคนหรือหนุโดยเฉพาะเด็กๆอาจได้รับต่อมาจากหมัดหนูหรือ
แมลงเหล่านั้นเข้าไปในร่างกาย แล้วตัวอ่อนเจริญเติบโตต่อไปเป็นตัวแก่ในลำไส้ต่อไป

อาการ และลักษณะทางคลีนิค
โรคนี้มักพบได้บ่อยในเด็ก ปกติมักไม่แสดงอาการ ในกรณีที่มีพยาธิอยู่เป็นจำนวนมากทำให้เกิดอาการ ปวดท้อง  ท้องเดิน  คลื่นไส้   คัน  วิงเวียนศีรษะ
เบื่ออาหารได้

การตรวจวินิจฉัยโรค
การตรวจพบไข่พยาธิตืดแคระในอุจจาระ  

การรักษา
เช่นเดียวกับการรักษาตืดหมูและตืดวัว


bar5.jpg (6486 bytes)












โรคบิดจากเชื้ออมีบา หรือบิดมีตัว เป็นการอักเสบของลำไส้ใหญ่ซึ่งเกิดเนื่องจากเชื้อ Entamoeba histolytica ทำให้เกิดอาการถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือด
ถ่ายบ่อย ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งแบบเรื้อรัง และแบบเฉียบพลัน หรือไม่มีอาการใดๆเลย สามารถทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน คือ เป็นฝีบิดอมีบาที่อวัยวะอื่นๆได้ เช่น
ฝีที่ตับ สมอง ปอด ผิวหนัง เป็นต้น   มักพบได้บ่อยในพื้นที่ที่มีการสาธารณสุขและอนามัยยังไม่ดี

การระบาด
โดยปกติของโปรโตซัวลำไส้ของคนจะแบ่งออกได้เป็น 2 ระยะ คือ ระยะ trophozoite (โทรโฟซอตย์ ) ซึ่งเป็นระยะที่ทำให้เกิดพยาธิสภาพ และระยะ
cyst (ซีสต์)   ซึ่งเป็นระยะการแพร่และติดต่อ ดังนั้นการระบาดเกิดได้เนื่องจาก
 
- ผู้ป่วยที่มีซีสต์อยู่ในลำไส้ใหญ่ (ซีสต์ติดต่อได้ เป็นชนิดมี 4 นิวเคลียส)   มีภาพประกอบในห้องโถง หมวดภาพปาราสิต
- ซิสต์ติดต่อที่ปนออกมากับอุจจาระ
- น้ำและอาหารที่มีซิสต์ปนเปื้อน เช่นจากปุ๋ย   ท่อน้ำประปาที่ไหลผ่านแหล่งโสโครก   ปนมากับแมลงวันต่อมหรือสิ่งสำรอกจากแมลง   คนได้กินเข้าสู่
ร่างกายเมื่อซิสต์มาถึงบริเวณลำไว้ใหญ่ จะแตกออกมากลายเป็นระยะโทรโฟซอตย์ (1ซิสต์จะกลายเป็น 4 ตัว) และไชเข้าไปในผิวของลำไส้ทำให้เกิดแผล
ขึ้น ขณะเดียวกันแต่ละตัวก็จะแบ่งตัวเองเพื่อเพิ่มจำนวนต่อไปด้วย การแบ่งตัวก็จะเพิ่มการทำลายของเนื้อเยื่อของลำไส้ไปเรื่อยๆ บางส่วนก็จะเริ่มเปลี่ยน
กลับไปอยู่ในรูปของซิสต์ พร้อมที่จะปนออกมากับอุจจาระเพื่อการระบาดและติดต่อ


อาการ
แบบเฉียบพลัน
ขึ้นอยู่กับว่าเชื้อบิดแพร่กระจายไปมากหรือไม่   และขึ้นกับสายพันธุ์ของเชื้อ   และยังขึ้นกับเชื้อแบคทีเรียปกติในลำไส้อีกด้วย  
จะมีระยะฟักตัวประมาณ 8-10 วันหลังจากได้รับเชื้อเข้าไป จะเริ่มเกิดอาการ ด้วยการถ่ายอุจจาระเหลว ปวดท้อง ปวดเบ่ง  ไม่มีไข้ จะค่อยๆเริ่มมีมูกปน
ออกมา และมีกลิ่นเหม็นมากเหมือนหัวกุ้งเน่า   จะมีอาการปวดท้องถ่ายบ่อย ถ่ายได้ครั้งละเล็กน้อย เฉลี่ยไม่เกิน 10 ครั้งต่อวัน   อาจมีมูกปนเลือดได้ด้วย
ตรวจร่างกายไม่พบความผิดปกติอื่นนอกจาก กดเจ็บทั่วไปตรงบริเวณลำไส้ใหญ่ตรงจุดที่เป็น   เมื่อตรวจมูกอุจจาระจะพบ โทรโฟซอตย์
แบบเรื้อรัง
เป็นผลจากการรักษาแบบเฉียบพลันไม่ถูกต้อง หรือไม่เพียงพอที่จะทำให้ตัวเชื้อตายหมด   อาการปวดท้อง ถ่ายเป็นมูกเลือด   อาจหายไปได้ในระยะแรก
แล้วจะกลับมาเป็นใหม่ บางครั้งอาจหายเป็นพักๆ เมื่อทานอาหารผิดแปลกไปหรือแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้เปลี่ยนไป ก็จะทำให้เกิดอาการบิดขึ้นได้อีก   
ในระยะนี้จะตรวจพบได้ทั้ง โทรโฟซอตย์ และ ซิสต์

แบบพาหะไม่แสดงอาการ
อาการโดยปกติจะไม่แสดงอาการผิดปกติ อาจมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก   อาจมีอาการเจ็บเล็กๆน้อยบริเวณท้องน้อยด้านขวา   การตรวจอุจจาระ
จะพบได้ในชนิด ซิสต์
โรคบิดอมีบาที่ตับ
ตับอักเสบ และฝีในตับ เป็นภาวะแทรกซ้อนของบิดอมีบาที่สำคัญที่สุดแลพพบได้บ่อยที่สุด   โดยพบได้ในเพศชาย > เพศหญิง ประมาณ 7 : 1 มักเป็นใน
ผู้ใหญ่ช่วง 30-50 ปีมากกว่าเด็ก   จำนวนฝีมักพบแบบหัวเดียวเป็นส่วนใหญ่   มักพบที่ตำแหน่งกลีบขวามากกว่าตับกลีบซ้าย          ดูลักษณะของตับ
โดยปกติมักเกิดแผลบิดที่ลำไส้ก่อน   เชื้ออมีบ้าเดินทางไปถึงตับได้โดย ทางเลือด ทางน้ำเหลือง ทางแผลจากลำไส้ไปสู่ตับ
ทำให้เกิดโพรงของฝีบิดอมีบา ในบริเวณโพรงจะเป็นส่วนของเซลตับที่ตายแล้วปนกับเศษหนองข้นเหนียวสีเหลืองปนเขียว หรือสีกะปิ   ส่วนตัวเชื้อจะเกาะ
อยู่ในส่วนเซลตับที่ยังดีอยู่ ทำให้การเจาะดูดหนองออกเพื่อตรวจหาตัวเชื้อมักไม่ค่อยพบ ถ้าจะพบจะพบได้ในส่วนของโทรโฟซอตย์เท่านั้น จะไม่พบเชื้อ
แบคทีเรียเลย
การรักษา ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องโดยการให้ยา และมีการดูดหนองออกเป็นระยะในกรณีที่โพรงหนองมีขนาดใหญ่ ยาที่ใช้เช่น Metronidazole
ซึ่งสามารถฆ่าได่ทั้งโทรโฟซอตย์และซิสต์ ขนาด 400-800 มิลลิกรัม 3 เวลา นาน 5 วันสำหรับแบบเฉียบพลัน / นาน 15 วัน สำหรับแบบเรื้อรัง  
การเกิดอาการมักมีประวัติการเป็นโรคบิดอมีบามาก่อนหน้านี้ เมื่อเริ่มเป็นฝีบิดที่ตับ จะเริ่มมีอาการเจ็บชายโครงขวา มีไข้ ถ้าเป็นที่กลีบซ้ายของตับก็จะมี
อาการเจ็บตรงลิ้นปี่ ผู้ป่วยจะมีร่างกายทรุดโทรมลง มีอาการขาดน้ำและอาหารร่วมด้วย มีการโป่งนูนขึ้นมาในบริเวณที่เป็น กดเจ็บ

bar5.jpg (6486 bytes)











เชื้อโปรโตซัวชนิด Giardia lamblia ทำให้เกิดอาการ ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องอืด ท้องเฟ้อ จนถึงท้องเสียได้ เป็นโปรโตซัวชนิดแบบมีหนวดในการ
เคลื่อนที่
flagellate (แฟลกเจลเลท) มีทั้งชนิด โทรโฟซอตย์ (ระยะทำให้เกิดอาการ) และซิสต์ (ระยะแพร่และติดต่อ)      ดูภาพประกอบ

แหล่งอาศัย พบได้ในลำไส้เล็ก และพบบางในถุงน้ำดี   โดยปกติจะไม่ทำลายเนื้อเยื่อของผนังลำไส้   โดยถ้ามีจำนวนไม่มากจะไม่แสดงอาการผิดปกติใดๆ 
แต่ถ้ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในลำไส้ ก็จะทำให้เกิดอาการท้องเดินได้ ขัดขวางการดูดซึมไขมันเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ไขมันปนออกมากับอุจจาระมาก (
 steatorrhoea)
ผู้ป่วยจะผอมลง อาจเกิดท่อทางเดินน้ำดีและถุงน้ำดีอักเสบได้

การตรวจวินิจฉัย
โดยการตรวจอุจจาระแบบสดๆ จะพบซีสต์ได้มากกว่าแบบโทรโฟซอตย์ แต่จะพบโทรโฟซอตย์ได้ในช่วงที่มีอาการท้องเดิน

การรักษา
โดยการให้ยา Atabrine             ขนาด 0.1 กรัม           3 เวลาหลังอาหาร     เป็นเวลานาน 5 วัน   อาจให้ซ้ำอีกชุดได้
โดยการให้ยา Metronidazole     ขนาด 250 มิลลิกรัม   3 เวลาหลังอาหาร     เป็นเวลานาน 5 วัน

bar5.jpg (6486 bytes)













เป็นโรคที่ทำให้เกิดการอักเสบของช่องคลอด และการอักเสบของท่อทางเดินปัสสาวะ ที่มีสาเหตุจากโปรโตซัวชนิดแฟลกเจลเลท ชื่อ Trichomonas vaginalis
(ทริโคโมแนส วาจินาลิส)   สามารถพบได้ทั้งในหญิงและชาย การตรวจพบจะพบในเพศหญิงได้ง่ายกว่าชาย

สาเหตุ
เชื้อทริโคโมแนส วาจินาลิส จะเป็นชนิดที่อาศัยอยู่ในเฉพาะในช่องคลอดและท่อทางเดินปัสสาวะ ( ต่างกับชนิด ทริโคโมแนส โฮมินิส ซึ่งจะเป็นชนิดที่
อาศัยเฉพาะในลำไส้ )   โดยปกติจะตายได้ในช่องคลอดที่มีภาวะเป็นกรด (pH 3.8-4.4)


การติดต่อ

จากการร่วมเพศ หรือการใช้เสื้อผ้าปะปนกัน

อาการ

อาการที่เริ่มพบได่ก่อนคือ อาการคันบรเวณช่องคลอด และมีอาการตกขาวอย่างมาก   ถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ไดรับการรักษา จะพบอาการผิวหนังอักเสบรอบๆ
ช่องคลอด ซึ่งสามารถลามได้ไปจนถึงหน้าขาทั้งสองข้างได้   การตรวจช่องคลอดพบว่า เยื่อบุช่องคลอดอักเสบ  แดงบวม   มีตกขาวมากมีกลิ่นเหม็นได้
ในผู้ชายจะพบอาการอักเสบเรื้อรังของท่อทางเดินปัสสาวะ

การตรวจวินิจฉัยโรค
โดยการตรวจจากตกขาวที่ได้จากช่องคลอด ท่อปัสสาวะ จะสามารถตรวจพบตัว ทริโคโมแนส วาจินาลิสได้    ดูลักษณะของเชื้อ

การรักษา
การรักษาค่อนข้างยากต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วยเป็นอย่างดีด้วย โดย
- ต้องมีการรักษาความสะอาดของช่องคลอด
- ให้ยาฆ่าเชื้อ ทริโคโมแนส วาจินาลิส ได้แก่
Metronidazole (Flagyl)  ขนาด 1 กรัม   โดยแบ่งให้เป็น 3 เวลาหลังอาหาร  เป็นเวลา 10 วัน   ในกรณีที่แต่งงานแล้ว ควรให้ทานทั้งสามีและ
ภรรยา พร้อมกันเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นใหม่
ยาชนิดแบบสอด สดวกในการใช้แต่การรักษาอาจได้ผลไม่เต็มที่เนื่องจากการสอดยาอาจไม่ถึงตำแหน่งของเชื้ออยู่ หรือเชื้ออยู่ในท่อทางเดินปัสสาวะ
        ทำให้มีการกลับมาเป็นได้ใหม่อีก
การรักษาควรติดตามอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะตรวจไม่พบเชื้อเป็นเวลานาน 3 เดือนขึ้นไป    

bar5.jpg (6486 bytes)














ไข้จับสั่น/มาลาเรีย
Malaria



bar5.jpg (6486 bytes)

 


bar5.jpg (6486 bytes)