สมเด็จย่า

พระราชประวัติ

         สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงพระราชสมภพเมื่อ วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม 2443 ณ เมืองนนทบุรี         พระนามเดิมว่า สังวาลย์ ทรง เป็นบุตรีของพระชนกชู และพระชนนีคำ ได้ถวายตัวเป็นข้าหลวงในสมเด็จเจ้าฟ้าวไลอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีสิรินธร  ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาพยาบาลจากโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์และหญิงพยาบาลแห่งศิริราช   เมื่อ พ.ศ. 2459   และทรงได้รับทุนของ  สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี  พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า  ไปทรงเรียนวิชาพยาบาลเพิ่มเติมที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๐     ทรงอภิเษกสมรสกับ    สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช  กรมหลวงสงขลานครินทร์ ( สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก)  พ.ศ. 2463   มีพระราชโอรสธิดา 3 พระองค์ คือ
                        
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
                         พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
                         พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
        สมเด็จพระบรมราชชนนีโปรดการดำรงชีวิตที่เรียบง่าย โปรดการทรงงานด้วยพระองค์เอง      ทรงใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์  เสมอ  ทรงใช้จ่ายอย่างประหยัด เพื่อนำพระราชทรัพย์ไปใช้ในกิจการกุศล โปรดการเดินป่า ปีนเขา ทอดพระเนตรดอกไม้และทิวทัศน์ธรรมชาติ    ทรงเป็นผู้ใฝ่รู้ในการศึกษาต่างๆ  ตลอดพระชนม์ชีพทรงศีกษาธรรมะในพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง  ทรงฝึกสมาธิและทรงดำเนินพระชนม์ชีพอยู่ในธรรมะ       ไม่ทรงยึดถือในลาภ ยศ สรรเสริญ เคยมีรับสั่งว่า  "คนเราไม่ควรลืมตัว ไม่อวดดี ไม่ถือดีว่าตนเก่ง"
 

พระมหาพิชัยราชรถ สร้างขึ้นตามพระราชปรารภของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1  ถูกใช้ครั้งสุดท้ายในงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอย ู่หัว

พระราชกรณียกิจ

          ตลอดพระชนม์ชีพ สมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงยึดมั่นในการบำเพ็ญประโยชน์ต่อประเทศชาติ และประชาชนชาวไทย พระราชภารกิจที่สำคัญยิ่ง คือ ทรงอภิบาลพระโอรสสองพระองค์  ซึ่งต่อมาทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงคุณธรรมอันประเสริฐ เป็นที่เคารพรักเทิดทูนของปวงพสกนิกร      ส่วนพระธิดาก็ทรงดำเนินรอยตามสมเด็จพระบรมราชชนนีในการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ต่างๆ ต่อประเทศชาติ
          นอกจากการถวายพระอภิบาลแล้ว สมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงประกอบพระราชกรณียกิจอื่นๆ อีกเป็นอเนกอนันต์
ได้พระราชทานพระราชานุเคราะห์แก่มูลนิธิและองค์การกุศลต่างๆ  ตามกำลังพระราชทรัพย์มาตลอดพระชนม์ชีพ และนับแต่ พ.ศ.๒๕๐๗      เป็นต้นมา ได้เสด็จฯ ออกไปเยี่ยมเยียนราษฎรในถิ่นทุรกันดารทั่วประเทศ พระราชทานสิ่งของ ความช่วยเหลือและทรงบำรุงขวัญ    กำลังใจแก่ราษฎร ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และพลเรือนในท้องถิ่นเหล่านั้น

ราชรถน้อย ถูกสร้าง ในปี พ.ศ. 2339 ใช้ครั้งแรกสำหรับสมเด็จพระสังฆราชนำพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชออก ถวายพระเพลิง  อายุกว่า  200 ปี

บั้นปลายพระชนม์ชีพ

            สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงพระประชวรพระโรคพระหทัย และเสด็จเข้ารักษาพระองค์     ที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๘ เสด็จสวรรคตเมื่อวันอังคารที่ ๑๘ กรกฎาคมพ.ศ.๒๕๓๘  เวลา ๒๑ นาฬิกา ๑๗ นาที     พระชนมายุ ๙๔ พรรษา ๘ เดือน ๒๗ วัน   ปวงพสกนิกรต่างเชื่อมั่นว่า ด้วยอานุภาพแห่งกุศลกรรมที่ทรงบำเพ็ญมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน พระผู้ทรงจากไปได้เสด็จสถิตในภพภูมิอันประะเสริฐอันควรแก่พระคุณธรรมของพระองค์แล้ว
 

เกรินหรือกว้าน ที่ใช้ประกอบการชักอัญเชิญพระบรมโกศขึ้นและลงจากราชรถ

พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนี

               กรมสรรพาวุธทหารบก  ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบการเชิญราชรถพระนำและพระมหาพิชัยราชรถ   ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในริ้วกระบวนที่ ๒ ของพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนี   โดย สพ.ทบ.ได้มอบหมายให้ส่วนต่างๆ รับผิดชอบจัดกำลังพลและเตรียมการ เพื่อร่วมการฝึกซ้อมการฉุดชักราชรถดังนี้
              
รร.สพ.สพ.ทบ .  รับผิดชอบกำลังพลฉุดชักหน้าพระมหาพิชัยราชรถ จัดกำลังพลฉุดชักจำนวน ๔ สายๆ ละ ๔๓ นาย รวม ๑๗๒ นาย และดำเนินการฝึกซ้อมฉุดชักราชรถฯ ทั้งหมดเป็นส่วนรวม
              
พัน สพ.  รับผิดชอบ กำลังพลฉุดชักหลังพระมหาพิชัยราชรถ จัดกำลังพล ๒ สายๆ ละ ๒๒ นาย รวม ๔๔ นาย
               
กชส.ศอ.สพ.ทบ.      รับผิดชอบ กำลังพลฉุดชักหน้าราชรถพระนำ ผู้บังคับราชรถ , เจ้าหน้าที่ประจำเกรินบันไดนาค ,  ชุดซ่อมฉุกเฉิน และจัดหารถจำลอง   เพื่อการฝึกซ้อมจัดกำลังพลฉุดชักราชรถ  จำนวน ๔ สายๆ ละ ๑๔ นาย รวม ๕๖ นาย ,    เจ้าหน้าที่ประจำเกรินฯ  และชุดกู้ซ่อมฉุกเฉิน ๖๐ นาย
               
กคย.สพ.ทบ.    รับผิดชอบกำลังพลฉุดชักหลังราชรถพระนำ จัดกำลังพลจำนวน ๒ สายๆละ ๙ นาย รวม ๑๘ นาย   ผู้กำกับราชรถ และผู้ช่วยผู้กำกับราชรถ   พิจารณาจัดจากผู้ควบคุมกำลังพลฉุดชักฯ ของแต่ละส่วนทั้ง ๔ นาย

การคัดเลือกกำลังพล
            การคัดเลือกจะดำเนินการโดย แต่ละหน่วยได้ประกาศรับสมัคร โดยพิจารณาจากผู้สมัครใจและผู้มีประสบการณ์จากงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ  สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี   พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ เมื่อ ๙ เม.ย.๒๘
           ลักษณะท่าทางที่ต้องใช้ในพระราชพิธี ก่อนที่จะไปทำการฝึกให้กำลังพล   โดยอาศัยหลักฐานจากบันทึกเหตุการณ์   และดำเนินการของกรมสรรพาวุธทหารบก     ในหนังสือ  "บทบาทของกรมสรรพาวุธทหารบกในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี    พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗"  โดยอดีต จก.สพ.ทบ.  พลโท สกล  นุตสถิตย์   ซึ่งขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่ง  รอง ผบ.รร.สพ.สพ.ทบ.เป็นผู้เรียบเรียงไว้  และวีดีโอเทปพระราชพิธี เมื่อ ๙ เม.ย.๒๘  เป็นหลักฐานอ้างอิงในการฝึกโดยเน้นให้กำลังพลเข้าใจลำดับขั้นตอนในพระราชพิธีโดยละเอียด    เน้นตามการเดินตามจังหวะเพลงพญาโศกให้พร้อมเพรียงกันทั้งกระบวน   และ การบังคับเลี้ยวราชรถ      โดยเฉพาะในส่วนของพระมหาพิชัยราชรถ  ซึ่งมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาถึง ๔๐ ตัน จะมีปัญหาในการบังคับเลี้ยวค่อนข้างมาก

หน้าที่ผ่านมา

หน้าต่อไป

[Home] [ประวัติความเป็นมา] [เดินชมพิพิธภัณฑ์] [ปืนดีที่สะพานแดง] [ผลงานที่ภูมิใจ] [ห้องภาพ]