![]() |
|
![]() |
![]() |
|||||||
|
![]() |
|
![]() |
![]() |
![]() |
กรมสรรพาวุธถือเป็นเกียรติประวัติที่น่าภูมิใจเมื่อได้รับการติดต่อจากสำนักพระราชวังในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2533 ให้ส่งชุดเจ้าหน้าที่ไปสำรวจปืนใหญ่จำนวน 115 กระบอก ซึ่งขุดพบระหว่างการเตรียมงานสมโภช กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ.2525 |
|
|
![]() |
![]() |
ปืนคู่บ้านคู่เมืองเหล่านี้ถูกฝังเอาไว้ริมกำแพงพระบรมมหาราชวังเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐาน ช่างแสงสมัยก่อนได้เอาลูกปืนใหญ่ใส่อุดลำกล้องไว้ไม่ให้ลำกล้องด้านในเสียหาย เมื่อมีการขุดพบได้นำออกตั้งแสดงกลางแจ้งไว้รอบ ๆ อาคารพิพิธภัณฑ์ในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาฐานซึ่งเป็นไม้ก็ผุกร่อน และลำตัวปืนก็มีสนิมจนทำลายหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับปืนนี้เสียเป็นอันมาก |
|
|
![]() |
![]() |
ทางเลขาธิการสำนักพระราชวังได้มอบหมายให้ ศจ.นพ.สำราญ วังศพาห ์ ทำการศึกษาและซ่อมแซม (ซึ่งต่อมาท่านก็ได้กลาย เป็นผู้เชี่ยวชาญปืนใหญ่โบราณของประเทศ) งานที่ทางกรมสรรพาวุธต้องทำส่วนมากคือ เคาะ ขัด ตกแต่งสีใหม่โดยใช้สีที่ดูเหมือนผิว เหล็กเคลือบ ทางรางวางปืน และหล่อฐานปืนคอนกรีต ทำรางปืนใหญ่ไม้ และล้อปืนใหญ่ไม้สัก |
|
|
![]() |
![]() |
ปืนใหญ่เล็ก ๆ ทำด้วยไม้
15 กระบอก ถูกเก็บไว้ ใต้พระที่นั่งจักรี มาเป็นเวลานานได้ถูกนำมาซ่อมแซมด้วย หลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่าไว้ยิงสัญญาณในพระราชพิธีต่าง ๆ มีชื่อประจำปืนอยู่
14 กระบอก คือ |
|
|
![]() |
|
[Home] [ประวัติความเป็นมา] [เดินชมพิพิธภัณฑ์] [ปืนดีที่สะพานแดง] [ผลงานที่ภูมิใจ] [ห้องภาพ] |