|
.ยุคก่อน Dinosaur กำเนิด ยุคที่ 1 |
|
จากการศึกษาทางธรณีวิทยาพบว่า เราสามารถแบ่งชั้นหินออกเป็นยุคต่าง ๆ ได้ถึง 4 ยุคด้วยกัน คือ
1. มหายุค พรีแคมเบรียน (Precambrian Era) 570-3500 ล้านปีก่อน
ในยุคนี้เป็นยุคแรกที่มีสิ่งมีชีวิตชนิดแรกถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกใบนี้ ลักษณะของสิ่งมีชีวิตดังกล่าวจะมีลักษณะ แตกต่างจากมนุษย์หรือสัตว์ที่เรารู้จัก ทั้งนี้เพราะมันเป็นรูปแบบของสิ่งมีชีวิตที่มีรูปแบบง่ายที่สุด มีเพียงเซลล์เดียว เท่านั้น ไม่เหมือนดังเช่นมนุษย์ที่มีเซลล์อยู่ภายในร่างการนับล้าน ๆ เซลล์ การดำรงชีวิตของเราขึ้นอยู่กับเจ้าเซลล์ จำนวนมากมายมหาศาลเหล่านี้ แต่เนื่องจากเซลล์ดังกล่าวมีขนาดเล็กมาก เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ จึงจำเป็น ต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายสูง ๆ เข้ามาช่วย จึงจะทำให้สามารถมองเห็นเจ้าสิ่งมีชีวิตที่มีรูปแบบง่าย ๆ เหล่านี้ได้ นักวิทยาศาสตร์ ได้ตั้งชื่อให้มันว่า "โปรคารีโอต (Prokaryote)" ปัจจุบันนี้สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะ เช่นนี้ ได้แก่ เชื้อบัคเตรี เป็นต้น เมื่อเวลาผ่านไป 2,000 ล้านปี โปรคารีโอต เริ่มมีการพัฒนาตนเองให้มีความซับซ้อนมากขึ้น โครงสร้างภายในเริ่มมีอวัยวะมากขึ้น ภายในเริ่มมีนิวเคลียส ภายในจะบรรจุ DNA และสารพันธุกรรมอยู่เป็นจำนวนมากเซลล์ที่มี การวิวัฒนาการจนมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นนี้ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น "ยูคารีโอต (Eukaryote)" ภายใน ผนังเซลล์จะมีอวัยวะที่ทำหน้าที่แจกจ่ายพลังงานให้แก่เซลล์ มีอวัยวะที่สร้างสายพันธุกรรมเพื่อให้ลูกหลานมีลักษณะที่เหมือน เซลล์พ่อแม่ทุกประการ ช่วงเวลาของยุคแห่งการปรับเปลี่ยนทางวิวัฒนาการนี้จะกินเวลาประมาณ 2,000-3,000 ล้านปี หลังจาก นั้นจึงเริ่มเข้าสู่ มหายุค พาลีโอโซอิค ซึ่งเป็นยุคที่มีสิ่งมีชีวิตที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เริ่มถือกำเนิดขึ้น
|
.ยุคก่อน Dinosaur กำเนิด ยุคที่ 2 |
2. มหายุค พาลีโอโซอิค (Paleozoic Era) 280-570 ล้านปีก่อน
มหายุคพาลีโอโซอิค แบ่งเป็นยุคย่อย ๆ คือ
1. ยุค แคมเบรียน (Cambrian) 500-570 ล้านปี
สิ่งมีชีวิตที่มีการพัฒนาขึ้นมาในยุคนี้ถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีกระดูกสันหลัง และดำรงชีวิตอยู่ในน้ำที่มีอุณหภูมิพอเหมาะไม่เย็นจนเกินไป เนื่องจากบริเวณดังกล่าวนี้เริ่มมีพืชทะเล จำนวนมากเกิดขึ้นมา นักวิทยาศาสตร์พบว่าสิ่งมีชีวิตที่ถูกค้นพบในยุคนี้ ได้แก่ "ไทรละไบ (Trilobite)", "บราคิโอพอด(Brachiopods)","ซิสทอยด์(Cystoid)","เซฟาโลฟอด(Cephalopod)" และสัตว์จำพวกหอยทาก โดยจะพบจำนวนของไทรละไบ และ บราคิโอพอด อยู่ประมาณ 90% ของจำนวนสิ่งมีชีวิตทั้งหมด
2. ยุค ออโดวิเชียน (Ordovician) 480-500 ล้านปี
สิ่งมีชีวิตในยุคนี้ก็ยังจะเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังอยู่เช่นเดิม เนื่องจากสภาพแวดล้อม ของอุณหภูมิเริ่มที่จะอบอุ่นมากขึ้น ทำให้สาหร่ายทะเลและปะการังเริ่มมีจำนวนมากขึ้น จึงเหมาะสำหรับ เป็นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตจำนวนมากที่ถือกำเนิดในยุคนี้ ได้แก่ "ไบรโอซัว(Bryozoan)" , "กาสโตรพอด(Gastropod) " , "พีลีไซพอด(Pelecypod)" , "ออสตราโคเด(Ostracode)" และสัตว์ในตระกูล "อีซิโนเดิร์ม(Echi noderm)" เช่น " กราฟโตไลท์(Graptolite)" , "ปลาดาว(Starfish)" ,"บลาสทรอยด์(Blastoid)" ,"ไครนอยด์(Crinoid)" ,"ควึสโตอิด(Cystoid)" เป็นต้น สัตว์เหล่านี้ล้วนดำรงชีวิตอยู่ในน้ำทะเล และเริ่มมีสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังเป็นพวกแรก คือ ปลาขนาดเล็ก ชื่อว่า "ออสตราโคเดิร์ม(Ostracoderm)" จึงนับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงจากสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังมาเป็นสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง เป็นครั้งแรก
3. ยุค ซิลูเรียน 395-480 ล้านปี
สภาพอุณหภูมิของน้ำในยุคนี้มีความเหมาะสมกับการดำรงชีวิตมากขึ้น สัตว์ น้อยใหญ่จำนวนมากเริ่มแพร่พันธุ์กันอย่างกว้างขวาง ในขณะที่ในน้ำมีการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ บนบกก็มีสภาพที่ไม่แตกต่างกันเท่าใดนัก ทั้งนี้เพราะเริ่มปรากฏว่าบนบกเริ่มมีพืชปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรก ยุคนี้จึงจัดว่าเป็นยุครอยต่อที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของสิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้
4. ยุค ดีโวนีอัน (Devonian) 345-480 ล้านปี
ในยุคนี้สิ่งมีชีวิตที่เคยอาศัยอยู่ในน้ำเริ่มมีบางส่วนที่ปรับตัวขึ้นมาอาศัยอยู่บนบก แต่อยู่ได้ไม่นานนักก็ต้องกลับลงไปในน้ำชั่วคราว จึงทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหม่ขึ้น เรียกว่า "สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ" ปลาในยุคนี้มีการพัฒนาอย่างมาก ทำให้นักวิทยาศาสตร์เรียกยุคนี้ว่า ยุคของปลา มีการพัฒนาระบบการหายใจ จากเดิมที่ใช้เหงือกมาเป็นใช้ปอดสำหรับหายใจ ซึ่งปลาที่ปอดหายใจนี่เองนั่นได้ลองขึ้นมาใช้ชีวิตบนบก
5. ยุค คาร์บอนนิเฟอรัส (Carboniferous) 280-345 ล้านปี
เป็นยุคที่มีถ่านหินเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากมาย นักวิทยาศาสตร์จึงตั้งชื่อยุคนี้ว่า ยุคกำเนิดคาร์บอน สภาพ ภูมิอากาศในยุคนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เมื่อเทียบกับสภาพบรรยากาศในอดีต ทำให้บนบกเริ่มมีการพัฒนาขึ้นมาอย่างมาก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเริ่มมีจำนวนมากขึ้น ในยุคนี้มีแมลงเกิดขึ้นมากมายและ พืชในยุคนี้ก็เจริญเติบโตมากขึ้นอย่างนานาพันธุ์จนกระทั่ง เป็นป่ารกทึบ ทำให้แมลงสามารถแพร่พันธุ์ได้อย่างกว้างขวาง
6. ยุค เพอร์เมียน (Permian) 225-280 ล้านปี
ในยุคนี้สัตว์ไร้กระดูกสันหลังได้ลดน้อยลงไป แต่สัตว์ที่มีกระดูกสันหลังกลับเพิ่มจำนวนมากขึ้น สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ บางชนิดเริ่มเป็นสัตว์เลื้อยคลาน และกลับมาอาศัยอยู่บนบกอย่างถาวร สัตว์เลื้อยคลานที่มีความสำคัญอย่างมากชนิดหนึ่งคือ "พีลีโคซอร์(Pelycosaur)" บริเวณกลางสันหลัง จะมีครีบยาวติดกันตลอดทั้งลำตัว คาดกันว่าครีบดังกล่าวน่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยในการว่ายน้ำ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า เจ้า พีลีโคซอร์ นั้น น่าจะเป็นบรรพบุรุษต้นตระกูลของไดโนเสาร์นั่นเอง
|
|