|
|
Ex-Pys Article : 100 Questions you want to know more about SSEAYP |
100
คำถามที่คุณอยากรู้เกี่ยวกับโครงการเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
-สงวนลิขสิทธิ์- |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Question 1
โครงการเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์คืออะไร
ประเทศสมาชิกจะส่งเยาวชน (Participating youth) และ National Leader อีก 1 คน ร่วมเดินทางไปกับเรือเดินสมุทรลำใหญ่ชื่อ Nippon Maru เพื่อทำกิจกรรมร่วมกันทั้งบนบกของแต่ละประเทศและบนเรือ โดยจุดเริ่มต้นของโครงการจะเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปในแต่ละปี ใช้ระยะเวลาดำเนินโครงการนานประมาณ 50 วัน ในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคมของทุกปี โครงการมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษคือ
The Ship for Southeast Asian Youth Program
หรือเรียกโดยย่อว่า SSEAYP (ออกเสียงว่า
เซียพ)
ได้ดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี
ค.ศ.1974 จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2546
หรือ ค.ศ.2003) รวมทั้งสิ้น 30
รุ่น มีเยาวชนไทยผ่านการเข้าร่วมโครงการนี้นับพันคนจากทั่วประเทศ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Question 2 วัตถุประสงค์และกิจกรรมสำคัญของโครงการมีอะไรบ้าง
วัตถุประสงค์ของโครงการ
คือ โครงการเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์ มีรูปแบบกิจกรรมสำคัญที่หลากหลาย เช่น การ Discussion ในประเด็นที่เป็นประโยชน์ , Club activities ที่เชิญชวนเพื่อนชาวต่างชาติให้มาทำกิจกรรมตามวัฒนธรรมของตนเอง , Exhibition การจัดนิทรรศการ , Sport & Recreation กิจกรรมกีฬาและนันทนาการ , Courtesy call เข้าเยี่ยมคารวะบุคคลสำคัญของประเทศ , Institutional visit เยี่ยมชมสถานที่สำคัญ , Study tour ทัศนศึกษา และ Homestay การพักอาศัยเพื่อศึกษาวัฒนธรรมกับครอบครัวของทุกประเทศ เนื่องจากในปี ค.ศ.2003 นี้ เป็นปีที่โครงการได้ดำเนินมาครบรอบ 30 ปี จึงถือเป็นโอกาสสำคัญที่กลุ่มอดีตเยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการ จะได้จัดกิจกรรมพิเศษเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองโอกาสอันน่ายินดีนี้ สำหรับในประเทศญี่ปุ่นจะมีกิจกรรมเฉลิมฉลอง เรียกว่า The Commemorate of the 30th SSEAYP Anniversary จัดขึ้นที่โรงแรมนิวโอตานิ กรุงโตเกียว หน่วยงานราชการของประเทศไทยที่มีหน้าที่รับผิดชอบโครงการเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์ในปัจจุบันคือ สำนักงานส่งเสริมและพิทักษ์เด็ก เยาวชน คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ (Bureau of Children ,Youth , Person with disability , Vulnerable group and Older age - BPP) หรือเรียกชื่อย่อว่า ส.ท. ตั้งอยู่ที่ 618/1 ถนนนิคมมักกะสัน เขตราชเทวี กทม.10400 โทรศัพท์ 02-6516974 |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Question 3 ประเทศที่เข้าร่วมโครงการเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์มีกี่ประเทศ
อะไรบ้าง
ประเทศที่เข้าร่วมโครงการฯ ในปัจจุบันมีทั้งหมด 11 ประเทศ คือ 1.กลุ่มประเทศอาเซียน (Association of Southeast Asia Nations-ASEAN) จำนวน 10 ประเทศ ได้แก่
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Question 4 เยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการ
ต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง
สำหรับประเทศไทย หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการคัดเลือกเยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการ คือ สำนักงานส่งเสริมและพิทักษ์เด็ก เยาวชน คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ ุผู้มีสิทธิสมัครรับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์ไว้ดังต่อไปนี้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Question 5 รายละเอียดเกี่ยวกับเรือนิปปอนมารู
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Question 6 ศัพท์ทางเทคนิค
ที่มักใช้ในโครงการเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์(SSEAYP
technical words)ที่ควรทราบ
ในการเข้าร่วมโครงการเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์นี้มีศัพท์เทคนิค และคำย่อที่ควรรู้สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ และท่านผู้อ่านทั่วไปอยู่มากมายพอสมควร ซึ่งพอจะนำเสนอเป็นตัวอย่างได้ เช่น
Question 7 เส้นทางการเดินเรือของโครงการฯ
Question 8 มีโครงการอื่นของญี่ปุ่นในลักษณะเดียวกันกับโครงการเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์บ้างหรือไม่ นอกจากโครงการเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์แล้ว รัฐบาลญี่ปุ่นยังมีโครงการในลักษณะเดียวกันนี้ แต่จัดขึ้นสำหรับกลุ่มเป้าหมายนอกเหนือไปจากกลุ่มประเทศอาเซียน กล่าวคือ โครงการเรือเยาวชนโลก หรือ The Ship for World Youth (SWY) ซึ่งจะมีรูปแบบกิจกรรมที่คล้ายคลึงกัน แต่กลุ่มเยาวชนที่ร่วมโครงการมาจากกลุ่มประเทศต่างๆทั่วโลก นอกเหนือไปจากกลุ่มประเทศอาเซียน ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป โดยมีเยาวชนจากประเทศญี่ปุ่นประเทศเจ้าภาพเป็นกลุ่มเป้าหมายประจำยืนพื้น เส้นทางเดินเรือของโครงการ SWY นี้ตามปกติจะไม่ผ่านประเทศไทย บางปีจะเริ่มต้นที่ประเทศสิงคโปร์ซึ่งเป็นจุดเสร็จสิ้นโครงการเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์(ในปีนั้น) แต่ในปี ค.ศ.2001 เป็นกรณีพิเศษที่โครงการ SWY ได้แวะเวียนมาที่ประเทศไทยเพื่อให้เยาวชนของโครงการได้มีโอกาสเรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับประเทศไทยและวัฒนธรรมของไทย ถือเป็นครั้งแรกที่โครงการ SWY ได้เข้ามาทำกิจกรรมในประเทศไทยของเรา นอกจากนี้ก็มีโครงการแลกเปลี่ยนอื่นๆที่น่าสนใจของประเทศญี่ปุ่นอีก
เช่น The Friendship program for the 21st Century ฯลฯ
ซึ่งเยาวชนผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่สำนักงาน
ส.ท. |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Question 9 การสมัครเข้าร่วมโครงการเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์
เป็นเรื่องปกติธรรมดาที่มีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก ในขณะที่แต่ละปีประเทศไทยสามารถส่งเยาวชนเข้าร่วมโครงการได้เพียง 20 กว่าคนเท่านั้น จึงจำเป็นต้องมีการสอบคัดเลือกเพื่อสรรหาผู้ที่มีความเหมาะสมที่สุดเข้าร่วมโครงการ หน่วยงานราชการที่รับผิดชอบโครงการเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์ คือ สำนักงานส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิเด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ (หรือ ส.ท.) จะเป็นผู้รับผิดชอบในการคัดเลือกเยาวชนเข้าร่วมโครงการเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์ โดย สท.จะมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์(ในแต่ละปี) คณะอนุกรรมการคัดเลือก คณะอนุกรรมการฝึกอบรม คณะกรรมการต้อนรับ คณะกรรมการครอบครัวเจ้าภาพ และคณะอนุกรรมการชุดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ คณะอนุกรรมการคัดเลือกจะประกอบด้วยผู้แทนของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมโครงการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ กรมอาเซียน ทบวงมหาวิทยาลัย ฯลฯ รวมทั้งผู้แทนจากสมาคมเรือเยาวชนเอเซียอาคเนย์แห่งประเทศไทย โดยจะมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการคัดเลือกเยาวชนผู้เหมาะสมเข้าร่วมโครงการเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์ในแต่ละปี นับตั้งแต่การกำหนดคุณสมบัติ ประกาศรับสมัคร ตรวจสอบคุณสมบัติ จัดให้มีการสอบทั้งข้อเขียน และสอบสัมภาษณ์ จนกระทั่งประกาศผลสอบทั้งในส่วนของเยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการตัวจริงและตัวสำรอง (ในกรณีที่เยาวชนผู้ได้รับคัดเลือกสละสิทธิ หรือไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้) หลังจากนั้นคณะอนุกรรมการฝึกอบรมก็จะเข้ามารับช่วงในการฝึกอบรมให้เยาวชนมีความพร้อมที่จะเข้าร่วมโครงการต่อไป ดังนั้นผู้สนใจเข้าร่วมโครงการเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์ จะต้องติดตามตรวจสอบข้อมูลรายละเอียดการรับสมัครจาก ส.ท. ซึ่งจะปิดประกาศบนบอร์ดเพื่อรับสมัครเยาวชนเข้าร่วมโครงการในช่วงต้นปีของทุกปี สำหรับในต่างจังหวัด ส.ท.จะส่งหนังสือไปถึงทุกจังหวัดเพื่อปิดประกาศที่ศาลากลางจังหวัด และ/หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเยาวชน ดังนั้นเยาวชนที่กำลังศึกษาหรือทำงานอยู่ในต่างจังหวัด ก็สามารถตรวจสอบข้อมูลได้จากบอร์ดปิดประกาศที่ศาลากลางจังหวัด หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เช่นเดียวกัน หน่วยงานหลักของทางราชการที่รับผิดชอบในการคัดเลือกเยาวชนเข้าร่วมโครงการเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์คือสำนักงานส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิเด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ (หรือที่เรียกย่อๆว่า ส.ท.) ซึ่งจะเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ คุณสมบัติ จัดการสอบ และประกาศผล ตลอดจนการฝึกอบรมเยาวชนให้มีความพร้อมในการเข้าร่วมโครงการ นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องในการออกข้อสอบข้อเขียนภาษาอังกฤษ และสอบสัมภาษณ์ ซึ่ง ส.ท.จะได้เชิญเข้ามาเป็นคณะอนุกรรมการชุดต่างๆอีกหลายหน่วยงาน เช่น สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย ทบวงมหาวิทยาลัย กระทรวงศึกษาธิการ ฯลฯ ผลัดเปลี่ยนกันไป รวมไปถึงสมาคมเรือเยาวชนเอเซียอาคเนย์แห่งประเทศไทย ซึ่งจะส่งผู้แทนเข้าร่วมเป็นกรรมการสอบสัมภาษณ์เป็นประจำทุกปีมาโดยตลอด |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Question 10 เอกสารประกอบการสมัคร
ในการสมัครเข้าร่วมโครงการเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์นั้น ผู้สนใจจะต้องกรอกใบสมัครของ ส.ท.ให้ครบถ้วน โดยอาจขอรับในสมัครได้ที่ ส.ท. หรือหน่วยงานในต่างจังหวัดที่ปิดประกาศรับสมัคร โดยสามารถถ่ายสำเนาเอกสาร หรือพิมพ์ใหม่ทั้งฉบับได้ หรืออาจ download ได้จากเว็บไซต์ของ ส.ท. หรือเว็บไซต์ของสมาคมเรือเยาวชนเอเซียอาคเนย์แห่งประเทศไทย ในช่วงที่มีการประกาศรับสมัครรายละเอียดที่ผู้สมัครจะต้องกรอกในใบสมัครเข้าร่วมโครงการจะประกอบด้วย 2.หนังสือยินยอมจากผู้ปกครอง กรณียังเป็นผู้เยาว์ 3.หนังสือยินยอมจากสถานศึกษา หรือหน่วยงานที่เยาวชนสังกัด 4.หนังสือรับรองกิจกรรมเยาวชนจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ (ถ้ามี) 5.ภาพถ่ายหน้าตรง ตามแบบที่ ส.ท.กำหนด 6.เอกสารอื่นๆ ที่คณะอนุกรรมการคัดเลือกเห็นสมควร ผู้สนใจสมัครควรตรวจสอบรายละเอียดการสมัครและเอกสารประกอบการสมัครในแต่ละปีจากประกาศรับสมัครเยาวชนเข้าร่วมโครงการเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์ของ
ส.ท.
หรือสอบถามได้จากสมาคมเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์แห่งประเทศไทย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Question 11 จะยื่นใบสมัครได้ที่ใด
ผู้สมัครในประเภทเยาวชนทั่วไปสามารถยื่นใบสมัครได้ด้วยตนเองได้ที่สำนักงาน ส.ท. เลขที่ 618/1 ถนนนิคมมักกะสัน เขตราชเทวี กทม. 10400 หรือส่งมาทางไปรษณีย์ภายในระยะเวลาที่กำหนดในประกาศรับสมัครของ ส.ท. โดยแนบภาพถ่ายและสำเนาเอกสารตามที่ ส.ท.กำหนดให้ครบถ้วนพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องมาด้วย คณะอนุกรรมการคัดเลือกจะพิจารณาจากวันที่ซึ่งประทับบนตราไปรษณียากรเป็นสำคัญ ในส่วนของเยาวชนที่หน่วยงานราชการเป็นผู้ส่งเข้ารับการคัดเลือก จะต้องผ่านกระบวนการคัดเลือกของหน่วยงานนั้นก่อน และหน่วยงานเป็นผู้ส่งใบสมัครมายัง ส.ท.โดยตรง สำหรับในปัจจุบัน (พ.ศ.2546) นอกจากการส่งผู้แทนร่วมเป็นคณะอนุกรรมการคัดเลือกแล้ว สมาคมเรือเยาวชนเอเซียอาคเนย์แห่งประเทศไทยยังมิได้มีบทบาทในการรับสมัครเยาวชนเพื่อเข้าร่วมโครงการฯโดยตรง ดังนั้นเยาวชนทั่วไปจึงยังไม่สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการโดยส่งใบสมัครมาที่สมาคมฯได้ จึงขอให้เยาวชนผู้สนใจระมัดระวังในส่วนนี้ด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Question 12 คุณสมบัติทั่วไปในการสมัครเข้าร่วมโครงการ
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครเข้าร่วมโครงการเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์จะเป็นไปตามประกาศของคณะอนุกรรมการคัดเลือก หรือประกาศรับสมัครเยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการของ ส.ท. อย่างไรก็ดีโดยทั่วไปแล้วเยาวชนผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 1.อายุระหว่าง
18-30 ปี
ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยเยาวชนของประเทศไทย อย่างไรก็ดี
เพื่อให้ทราบข้อมูลที่ถูกต้องและทันสมัย
เยาวชนผู้สนใจควรตรวจสอบคุณสมบัติและเงื่อนไขการสมัครจากประกาศรับสมัครของ
ส.ท.ในแต่ละปี
หรือจากเว็บไซต์ของสมาคมเรือเยาวชนเอเซียอาคเนย์แห่งประเทศไทยด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Question 13 การสอบคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ
เพื่อให้เกิดความยุติธรรมต่อเยาวชนผู้สนใจ การคัดเลือกเยาวชนเข้าร่วมโครงการเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์ จะใช้วิธีการสอบเพื่อคัดเลือกผู้เหมาะสมที่สุด โดยในส่วนของเยาวชนทั่วไป หลังจากผ่านขั้นตอนการรับสมัครและตรวจสอบคุณสมบัติแล้ว ส.ท. จะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบข้อเขียนเพื่อคัดเลือกเข้าร่วมโครงการฯ ณ บอร์ดประกาศของ ส.ท. เยาวชนผู้สนใจสามารถตรวจสอบรายชื่อได้โดยตรง ส.ท.จะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบคัดเลือก วัน เวลา และสถานที่ในการสอบ เยาวชนผู้สมัครจะต้องตรวจสอบข้อมูลการสอบของตนเองให้ถูกต้องครบถ้วน มิฉะนั้นอาจเสียสิทธิในการสอบได้ การสอบคัดเลือกเข้าร่วมโครงการเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์จะมีทั้งภาคข้อเขียนภาษาอังกฤษ และภาคสัมภาษณ์เพื่อความเหมาะสม ในส่วนของเยาวชนทั่วไป และเยาวชนที่หน่วยงานเป็นผู้ส่ง ผู้ที่จะมีสิทธิได้รับการพิจารณาคัดเลือก จะต้องผ่านการสอบทั้งภาคข้อเขียนและภาคสัมภาษณ์เพื่อความเหมาะสมทั้งสิ้น ในส่วนของเยาวชนต่างจังหวัด
ในปัจจุบัน (พ.ศ.2546) ส.ท.ยังมอบให้จังหวัดเป็นผู้กลั่นกรองคัดเลือก
จึงยังไม่มีการสอบข้อเขียนที่เป็นมาตรฐานเดียวกันเหมือนเช่นเยาวชนทั่วไป
โดยผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจากแต่ละจังหวัด
จะต้องเข้ามาสอบสัมภาษณ์ที่
ส.ท.ตามวันเวลาที่กำหนด
พร้อมกับเยาวชนทั่วไปที่ผ่านการพิจารณาจากการสอบข้อเขียนแล้ว |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Question 14 การสอบข้อเขียน
เนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นคุณสมบัติสำคัญในการเข้าร่วมโครงการฯ ดังนั้นการสอบข้อเขียนเข้าร่วมโครงการเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์จึงเป็นการวัดความสามารถทางภาษาอังกฤษของผู้สมัคร ซึ่งโดยปกติแล้วข้อสอบจะประกอบด้วยภาค (part) ต่างๆดังต่อไปนี้
โดยจะมีหลายหน่วยงาน รับผิดชอบในการออกข้อสอบแต่ละภาค เพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ทุกฝ่ายในการคัดเลือก ในการสอบข้อเขียน เยาวชนควรเตรียมดินสอที่มีความเข้มมากๆและยางลบดินสอไปด้วย เพราะจะต้องใช้ฝนช่องในกระดาษคำตอบที่ตรวจและให้คะแนนด้วยคอมพิวเตอร์ ส่วนเรียงความให้ใช้ปากกาสีดำหรือน้ำเงินในการเขียน ระยะเวลาในการสอบข้อเขียนจะนานประมาณ
3 ชั่วโมง เยาวชนควรรักษาสุขภาพในช่วงที่สอบให้ดีเพื่อให้มีสุขภาพสมบูรณ์
อันจะทำให้การคิดและตอบข้อสอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Question 15 การเตรียมตัวในการสอบสัมภาษณ์
เมื่อหน่วยงานที่ออกข้อสอบได้ตรวจกระดาษคำตอบของเยาวชนทุกคนหมดแล้ว ก็จะนำส่งผลคะแนนต่อคณะอนุกรรมการคัดเลือกเพื่อพิจารณาประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบสัมภาษณ์ต่อไป เยาวชนสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิสอบสัมภาษณ์ได้จากประกาศของ ส.ท. หรือเว็บไซต์ของสมาคมเรือเยาวชนเอเซียอาคเนย์แห่งประเทศไทย โดยปกติ ส.ท.จะกำหนดวันสอบสัมภาษณ์ไม่นานจากวันประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบสัมภาษณ์มากนัก
ซึ่งมักจะเป็นสัปดาห์ถัดไป
เยาวชนจึงต้องเตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอ
การสอบสัมภาษณ์จะสอบทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย
เยาวชนจึงต้องเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับภาษาอังกฤษในส่วนของ
Speaking และ listening ให้มาก
ควรเตรียมการแนะนำตนเอง
การศึกษา หน้าที่การงาน
ความมุ่งหวังในการเข้าร่วมโครงการ
และอื่นๆที่เห็นว่าเหมาะสม
นอกจากนี้สิ่งที่เยาวชนควรให้ความสนใจคือข่าวสารบ้านเมืองและความเป็นไปของโลกปัจจุบัน
ประเด็นสำคัญที่เป็นที่สนใจ
เพื่อให้มีข้อมูลในการตอบคำถามที่อาจมีขึ้นในส่วนที่เกี่ยวกับความรู้ทั่วไป
หากเยาวชนเคยทำกิจกรรมเกี่ยวกับเยาวชนหรือโครงการแลกเปลี่ยนมาบ้างแล้วในอดีต
ก็สามารถที่จะนำผลงานหรือหลักฐานที่แสดงว่าตนเองเคยมีประสบการณ์ดังกล่าวมาแสดงต่อคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์ได้
เช่น วุฒิบัตร ประกาศนียบัตร
ภาพถ่าย ผลงาน ฯลฯ นอกจากนี้
ในส่วนของการแสดงความสามารถพิเศษ
หากเยาวชนประสงค์จะนำเสนอต่อคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์
ก็อาจนำเอาอุปกรณ์ประกอบการแสดงความสามารถไปได้
เช่น เครื่องดนตรี
อุปกรณ์ศิลปะประดิษฐ์ ฯลฯ
แต่ควรมีขนาดที่ไม่ใหญ่เกินไป
หรือก่อให้เกิดความยากลำบากมากเกินไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Question 16 สถานที่สอบสัมภาษณ์
โดยปกติ ส.ท.จะกำหนดให้สอบสัมภาษณ์ที่ห้องประชุม ชั้น 3 ของสำนักงานส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิเด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ ตั้งอยู่ที่ถนนนิคมมักกะสัน เขตราชเทวี กทม.10400 การสอบสัมภาษณ์จะใช้เวลาทั้งหมดนานประมาณ 2-3 วันขึ้นอยู่กับจำนวนเยาวชนที่ ส.ท.ประกาศให้มีสิทธิสอบสัมภาษณ์ โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ห้องสอบ ได้แก่ กลุ่มเยาวชนทั่วไป (ที่มีการสอบข้อเขียนภาษาอังกฤษ) และกลุ่มเยาวชนที่ผ่านการคัดเลือกเบื้องต้นจากจังหวัด เพื่อให้เกิดมาตรฐานและความยุติธรรมแก่เยาวชนทั้ง 2 กลุ่มที่เข้ามาสอบสัมภาษณ์ การสอบสัมภาษณ์แต่ละวันจะเริ่มตั้งแต่ 09.00 น.จนกระทั่งถึงเวลาประมาณ 17.00 น. หรือจนกว่าจะหมดรายชื่อผู้เข้าสอบสัมภาษณ์ในวันนั้น เยาวชนผู้มีสิทธิสอบสัมภาษณ์แต่ละคนจะถูกกำหนดช่วงเวลาสอบสัมภาษณ์ไว้อย่างชัดเจน จึงไม่ควรเดินทางไปถึงสถานที่สอบเกินกว่าช่วงเวลาที่กำหนด มิฉะนั้นอาจเสียสิทธิในการเข้าสอบสัมภาษณ์ได้ โดยเฉลี่ยแล้ว
จะใช้เวลาในการสอบสัมภาษณ์ประมาณ
10-15 นาทีสำหรับเยาวชนผู้เข้าสอบสัมภาษณ์แต่ละคน |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Question 17 กรรมการสอบสัมภาษณ์
กรรมการสอบสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกเยาวชนเข้าร่วมโครงการเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์
จะได้รับการแต่งตั้งจาก ส.ท.
โดยมาจากผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น กระทรวงศึกษาธิการ
ทบวงมหาวิทยาลัย
กระทรวงการต่างประเทศ ฯลฯ
รวมทั้งผู้แทนจาก ส.ท.
และผู้แทนสมาคมเรือเยาวชนเอเซียอาคเนย์แห่งประเทศไทย
ซึ่งร่วมเป็นคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์ในทั้ง
2 ห้อง
โดยแต่ละห้องสอบจะมีกรรมการสอบสัมภาษณ์ประมาณ
5-6 คน |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Question 18 เกณฑ์การสอบสัมภาษณ์
ในการสอบสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกเยาวชนตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมโครงการเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์นั้น จะวางหลักเกณฑ์การให้คะแนนที่เป็นมาตรฐานเหมือนกันสำหรับผู้เข้าสอบทุกคน โดยจะเน้นที่การพูดและฟังภาษาอังกฤษ ซึ่งมีคะแนนเต็มมากถึง 25% เนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นเงื่อนไขสำคัญในการเข้าร่วมโครงการเพราะเยาวชนจะต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารและทำกิจกรรมเป็นส่วนใหญ่ จะใช้ภาษาไทยก็เฉพาะกับเยาวชนไทยด้วยกันเท่านั้น นอกจากนั้นจะเป็นการพิจารณาในหัวข้อเกี่ยวกับความรู้รอบตัว บุคลิกภาพ เจตคติและความคาดหวังของเยาวชนในการเข้าร่วมโครงการ ประสบการณ์ในกิจกรรมเยาวชน และความสามารถพิเศษอีกอย่างละ 15% เป็นที่น่าเสียดายว่า
ในการสอบสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกเยาวชนเข้าร่วมโครงการเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์แต่ละปี
เยาวชนมักจะกังวลและให้ความสำคัญกับการแสดงความสามารถพิเศษมากเกินไป
จนทำให้ละเลยการเตรียมตัวในหัวข้ออื่นๆไป
ทั้งๆที่การแสดงความสามารถพิเศษ
เป็นการทดสอบการกล้าแสดงออกในทางที่ถูกที่ควร
แต่มีคะแนนให้เพียง 15%
จึงทำให้เสียคะแนนในหัวข้ออื่นไปอย่างน่าเสียดาย
ดังนั้นในการสอบสัมภาษณ์
เยาวชนจึงควรเตรียมตัวโดยให้ความสำคัญกับหัวข้อที่สำคัญที่สุดก่อนและเฉลี่ยการให้ความสำคัญและเตรียมตัวในหัวข้ออื่นๆให้เท่าเทียมกัน
ก็จะสามารถทำคะแนนได้ดีในการสอบสัมภาษณ์ต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Question 19 ประกาศผลการสอบสัมภาษณ์ได้ที่ใด
ส.ท.จะประกาศผลการสอบสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกเยาวชนเข้าร่วมโครงการเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์ภายในไม่เกิน 1 สัปดาห์หลังจากเสร็จสิ้นการสอบสัมภาษณ์ โดยติดประกาศที่บอร์ดประชาสัมพันธ์ของ ส.ท. เยาวชนสามารถโทรศัพท์มาสอบถามที่ ส.ท.ได้ที่หมายเลข 02-6516974 ในเวลาราชการ การประกาศรายชื่อผู้ผ่านการสอบสัมภาษณ์นั้น
ส.ท.จะประกาศทั้งผู้ที่ผ่านการคัดเลือกตัวจริง
และผู้ผ่านการคัดเลือกสำรองจำนวนหนึ่ง
โดยผู้ผ่านการคัดเลือกสำรองจะมีสิทธิเข้าร่วมอบรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติร่วมกับผู้ผ่านการสอบคัดเลือกตัวจริง
หากมีกรณีที่ผู้ผ่านการคัดเลือกตัวจริงสละสิทธิเข้าร่วมโครงการหรือไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้
ส.ท.ก็จะเรียกผู้ผ่านการคัดเลือกสำรองที่ขึ้นบัญชีไว้ตามลำดับ
ขึ้นเป็นเยาวชนผู้ร่วมโครงการในทันที
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Question 20 เมื่อผ่านการสอบสัมภาษณ์แล้ว
ต้องทำอย่างไรต่อไป
เมื่อผ่านการคัดเลือกแล้ว เยาวชนจะต้องไปรายงานตัวกับ ส.ท.ตามวัน เวลา และสถานที่ ที่กำหนดในประกาศโดยเคร่งครัด หากในประกาศระบุว่าเยาวชนคนใดยังขาดส่งเอกสารหรือต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ครบถ้วนก่อน เยาวชนก็จะต้องจัดการส่งเอกสารหรือดำเนินการนั้นๆโดยด่วนที่สุด มิฉะนั้นอาจเสียสิทธิในการเข้าร่วมโครงการได้ หลังจากรายงานตัวแล้ว ส.ท.ก็จะจัดการปฐมนิเทศในเบื้องต้นแก่เยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการทั้งตัวจริงและตัวสำรอง มีการประชุมกลุ่ม แนะนำตัวเอง สร้างความคุ้นเคยในกลุ่มเยาวชนด้วยกัน ดำเนินการด้านเอกสารต่างๆเช่น VISA เอกสารด้านสุขภาพ และเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ รายละเอียดต่างๆ จะเป็นไปตามที่ ส.ท.กำหนด ในวันรายงานตัวและปฐมนิเทศดังกล่าว สมาคมเรือเยาวชนเอเซียอาคเนย์แห่งประเทศไทย จะส่งผู้แทนซึ่งเป็นกรรมการบริหารสมาคมฯ และบรรดาอดีตผู้ร่วมโครงการในปีก่อนๆ มาให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น และแนะนำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ในการร่วมโครงการต่อไป |
-สงวนลิขสิทธิ์-