โทรศัพท์น่ารู้
ข้อแนะนำในการติดตั้งโทรศัพท์
แก้ไขปัญหาเบื้องต้น เมื่อโทรศัพท์ของท่านขัดข้อง
ข้อแนะนำในการติดตั้งโทรศัพท์
อุปกรณ์ในการติดตั้ง
1. เครื่องโทรศัพท์
2. ชุดอุปกรณ์กันฟ้า ประกอบด้วย เครื่องกันฟ้า เหล็กดิน สายดิน
3. สายโทรศัพท์ภายในอาคาร
4. เต้ารับโทรศัพท์
สายโทรศัพท์ภายในอาคาร
1. สายโทรศัพท์ภายในอาคารให้ใช้สายโทรศัพท์ชนิด 2 เส้น
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลวดตัวนำไม่น้อยกว่า 0.65 มม.
2. อุปกรณ์ยึดสาย สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม
- อาคารไม้ใช้ปืนยิงสาย ปลิงเกาะสาย หรือเข็มขัดรัดสายอย่างใดอย่างหนึ่ง
- อาคารคอนกรีต ใช้ปลิงเกาะสาย หรือเข็มขัดรัดสาย
การเดินสายโทรศัพท์ภายในอาคาร
1. การเดินสายโทรศัพท์ภายในอาคาร
เริ่มต้นจากเครื่องกันฟ้าไปถึงจุดที่ติดตั้งเครื่องโทรศัพท์
ตอนปลายของสายที่จะเข้า
เครื่องกันฟ้า
ให้เหลือปลายสายส่วนที่ออกจากอาคารไว้ ประมาณไม่น้อยกว่า 2 เมตร
(เพื่อความสะดวกในการหาจุดติดตั้งเครื่องกันฟ้า)
2. การเดินสายควรเกาะไปตามตัวผนังอาคาร ต้องอาศัยความปราณีตในการเดินสาย ตามแนวนอน หรือแนวตั้งก็ได้
ทางเดินสายควรมี ระยะทางสั้นที่สุด
การเกาะยึดสายควรจัดระยะให้ห่างกันประมาณ 15-30 ชม.
3. การเดินสายในท่อร้อยสาย
ควรใช้ท่อพิวีซีขนาดตามความสะดวกและเหมาะสม การร้อยสายปลายท่อที่ออกนอกผนัง
อาคารให้ปลายท่อโค้งงอลงอยู่ใกล้จุดที่จะติดตั้งเครื่องกันฟ้า กรณีที่เดินสาย
ภายในฝ้าเพดาน ควรใช้ท่อร้อยสาย
เพื่อป้องกันหนูหรือแมลงกัดสาย
ข้อควรระวังในการเดินสายโทรศัพท์ภายในอาคาร
1. ห้ามตัดต่อสายโดยไม่ใช้ตลับต่อสาย
หากมีความจำเป็นต้องตัดต่อสายให้ใช้ตลับต่อสายเพิ่มขึ้น ณ จุดนั้น
เป็นตัวต่อสาย
2. ถ้าต้องเจาะผนังอาคาร
ควรเจาะให้มีความลาดชัน เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลจากด้านนอกเข้ามาด้านใน
หรือขังอยู่
บริเวณรอยเจาะสาย
การลอดผ่านรอยเจาะผนังคอนกรีตให้ใส่ปลอกฉนวนหรือใช้ผ้ายางพันสายไว้ 2-3 ชั้น
เพื่อป้องกันการเสียดสียกเว้นกรณีใช้ท่อร้อยสาย
3. อย่าดึงสายให้ตึงเกินไปเมื่อยึดสายติดกับผนังอาคาร
เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายกับลวดตัวนำ
4.
ห้ามเดินสายโทรศัพท์ร่วมกับสายไฟฟ้าในท่อร้อยสายเดียวกัน และห้ามเดินสายลอดใต้ท่อ
ทุกชนิด
ยกเว้นกรณีใช้ท่อร้อยสาย
5.จุดที่สายออกนอกตัวอาคารเพื่อติดตั้งเครื่องกันฟ้าควรเป็นจุดที่จะสามารถฝังเหล็ก ดินของเครื่องกันฟ้าได้สะดวกที่สุด
สถานที่ตั้งเครื่องโทรศัพท์
สถานที่ตั้งเครื่องโทรศัพท์ ควรหาตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุด
โดยยึดหลักความสะดวกในการใช้ เครื่องโทรศัพท์
ความต้องการเสียงดังของกระดิ่ง
ความปลอดภัยของเครื่องโทรศัพท์ และความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้
เครื่องกันฟ้า
เครื่องกันฟ้าใช้ชนิด Castube
เป็นจุดต่อเชื่อมของสายภายนอกอาคารกับสายภายในอาคาร โดยองค์การโทรศัพท์ ฯ
เป็นผู้ติดตั้งให้ หรือผู้ใช้อาจติดตั้งเอง
จุดติดตั้งเครื่องกันฟ้า
จุดที่จะติดตั้งเครื่องกันฟ้า ควรติดตั้งบนผนังอาคารด้าน
นอกบนไม้แป้น ทั้งอาคารไม้และคอนกรีต
ต้องอยู่ใกล้จุดที่จะฝังหลักสายดิน และจุดที่สายโทรศัพท์จากภายนอก เข้ามา
เกาะอาคาร หลักสายดินและสายดินใช้แท่งเหล็กอาบสังกะสี
หรือแท่งเหล็กหุ้มด้วยทองแดงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อย
กว่า 12 มม.ยาวไม่น้อยกว่า 1.5 มม. (5 ฟุต)
ฝังดินในแนวดิ่ง ให้หัวหลักสายดินลึกลงไปในดิน 5-10 ซม. สายดินจาก
เครื่องกันฟ้า ให้ใช้สายทองแดงหุ้มฉนวน
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลวดตัวนำไม่น้อยกว่า 1.6 มม.
แก้ไขปัญหาเบื้องต้น เมื่อโทรศัพท์ของท่านขัดข้อง
โทรออกได้ โทรเข้าไม่ได้(กระดิ่งไม่ดัง) :
- ตรวจดูตำแหน่งของสวิตช์กระดิ่งว่า ปิดไว้หรือไม่
- หาเครื่องโทรศัพท์มาทดลองต่อแทน หากใช้ได้ แสดงว่าเครื่องโทรศัพท์เดิมชำรุด(วงจรกระดิ่ง)
โทรเข้าได้ โทรออกไม่ได้ :
- ตรวจดูตำแหน่งของสวิตช์TONE/PULSE ว่า อยู่ที่ TONE หรือไม่
- หาเครื่องโทรศัพท์มาทดลองต่อแทน หากใช้ได้ แสดงว่าเครื่องโทรศัพท์เดิมชำรุด(วงจรหรือปุ่มกดสวิตช์เลขหมายชำรุด)
โทรเข้าไม่ได้ โทรออกไม่ได้
- หาเครื่องโทรศัพท์มาทดลองต่อแทน หากใช้ได้ แสดงว่าเครื่องโทรศัพท์เดิมชำรุด
-ตรวจดูว่า มีโทรศัพท์เครื่องใดวางหูไม่สนิทหรือไม่
-เกิดออกไซด์บริเวณจุดต่อสาย(มักจะมีอาการสัญณาณรบกวนมาก่อนหน้านี้)เช่นบริเวณตลับต่อสาย ให้ทำความสะอาดหรือตัดต่อสายเปลี่ยนตลับต่อสายใหม่
- ตรวจหาว่ามีสายช็อตถึงกันหรือไม่
การสนทนาไม่ชัดเจน มีเสียงรบกวนในสาย
- เกิดออกไซด์บริเวณจุดต่อสายเช่นบริเวณตลับต่อสาย ให้ทำความสะอาดหรือตัดต่อสายเปลี่ยนตลับต่อสายใหม่
- หาเครื่องโทรศัพท์มาทดลองต่อแทน หากใช้ได้ แสดงว่าเครื่องโทรศัพท์เดิมชำรุด
กระดิ่งโทรเข้าดังครั้งเดียวแล้วเงียบ
- เกิดจากสภาพสายชื้น ทำให้เกิดออกไซด์บริเวณจุดต่อสาย
- สภาพสายชื้นจากการเดินสายฝังในผนังปูน แก้ไขโดยการเดินสายในท่อร้อยสายแทน