ข้าวตอกดอกมะเขือ > ความคิดและวิธีคิดของสมัคร บุราวาศ
 

เกี่ยวกับความคิด

-นักคิดผู้เขวออกจากสัจจธรรม มักเชี่ยวชาญในการใช้ความคิดแต่ขาดการแสวงหาข้อเท็จจริง หรือสาระวนกับปัญหาที่เปล่าประโยชน์ เปรียบเหมือนคนตาบอดซึ่งคิดว่ามีแมวดำในห้องมืด แล้วไปเที่ยวคลำหาโดยเปล่าประโยชน์นั้นเอง

-ตรงกันข้าม ผู้ที่ยังไม่รู้อะไร เต็มไปด้วยอวิชชา สามารถรับสัจจธรรมได้ง่ายกว่าปราชญ์ ซึ่งมักหลงทางและหลอกลวงตัวเองอยู่ตลอดเวลาก็ได้

-สัจจธรรมเผยออกมาเพราะมันเป็นสิ่งที่ไม่มีผู้ใดอาจแย้งให้เป็นอื่นไปได้ ..ซอเครตีสและพระพุทธเจ้าก็ชอบสอนสานุศิษย์ด้วยวิธีอภิปรายโต้แย้ง (Dialectics) การอภิปรายโต้แย้งระหว่างอาจารย์กับศิษย์นั้นดีอยู่ แต่ระหว่างคนมีทิฐิ มีปัญญาเสมอกันแล้ว จะไม่มีการลงเอยกันได้เลย

 

การคิดหรือวิธีคิด

  1. การคิดโดยจินตนาการ การวิเคราะห์และสังเคราะห์มโนภาพ
  2. การคิดแบบอภิปรายโต้แย้ง (Dialectics) ..thesis-anti thesis-synthesis
  3. การคิดด้วยสัญลักษณ์หรือเครื่องหมาย (Symbol & Sign) …เช่นการคิดทางคณิตศาสตร์
  4. การคิดให้เข้าหลัก (Induction ..Inductive Reasoning) ..คือถอดหลักออกจากข้อเท็จจริง ..เป็นวิธีคิดสร้างหลักหรือทฤษฎีขึ้นมาจากข้อเท็จจริงที่รับรู้มาทางผัสสะ
  5. และการคิดออกจากหลัก (Deduction ..Deductive Reasoning) …คือการคิดข้อเท็จจริงขึ้นจากหลัก หรือเก็งข้อเท็จจริง (Speculation) โดยคิดอนุมาน (Infer) ไปจากหลักที่ได้มา
  6. การคิดคืบไปจากทฤษฎี, การอนุมาน (Inference) ..การเอาผลทางทฤษฎีที่ทดสอบแล้วไปประยุกต์ใช้กับสิ่งอื่นๆที่มีคุณสมบัติเดียวกัน
  7. การคิดด้วยการสังเกตพิจารณา(Observation with Discrimination)
  8. การอุปมา (Analogy) …คนจีนนิยมใช้คำพังเพย คนอินเดียตอบปัญหาด้วยการอุปมา เช่น ในมลินท์ปัญหา ..ผัสสะเปรียบเหมือนแพะสองตัวเอาหัวชนกัน การอุปมา อาจนำไปสู่การเดาทฤษฎีหรือกฎของปรากฏการณ์ อาจมีทั้งเดาถูกและผิดก็ได้ ควรนับว่าเป็นการช่วยความคิดหรือสร้างมโนภาพใหม่วิธีหนึ่งก็ได้ เช่นการอุปมาของเหลาจื้อที่ว่า ..หนึ่งให้กำเนิดสอง สองให้กำเนิดสาม สามให้กำเนิดสรรพสิ่งทั้งปวง ..ตรงกันกับการค้นพบปฏิกริยาของนิวเคลียร์ฟิสิกส์ในปัจจุบัน ..คำพังเพยนั้นเป็นการนำสัญลักษณ์มากล่าวแทนของจริงที่มันแทนอยู่ เป็นเรื่องของศิลปะและวรรณคดีโดยเฉพาะ

 

ยงยุทธ ณ นคร

คัดย่อจาก ปัญญา... จุดกำเนิดและกระบวนพัฒนาทางปัญญาของมนุษย์ชาติ
โดย สมัคร บุราวาศ

สำนักพิมพ์ศยาม, พฤษภาคม ๒๕๒๐



หน้าแรก
| ปัญญาชนสยาม | หนุ่มสาวดัดจริต | กังวานเกี่ยวข้อง | ข้าวตอกดอกมะเขือ | กลับสู่ด้านบน

เว็บไซต์นี้จัดทำด้วยความกระตือรือล้นของใครหลายคนนั้น
ก้อนหิน และหรือดอกไม้ กรุณาหารือกับนักการ
พยายามปรับปรุงข้อมูลครั้งล่าสุด เมื่อวันที่
๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๗